สวนสุนันทา มนุษยศาสตร์ จีน

สวัสดีครับ เราเป็นนศ. ศิลปศาสตร์จีนปี1 ปีการศึกษา2564 เราเป็นคนหนึ่งที่ตอนก่อนสอบสัมภาษณ์ก็มาเปิดตามกระทู้ต่าง ๆ ดูเหมือนกัน แต่พบว่าได้ข้อมูลน้อยมาก ๆ เพราะกระทู้ส่วนมากไม่ค่อยมีคนตอบเลย คนโฆษณาก็น้อย จึงว่าจะมาเขียนบอกต่อไว้เผื่อว่าจะมีประโยชน์กับคนที่สนใจครับ

เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดจึงทำให้หลายอย่างต้องใช้ระบบออนไลน์ การสำภาษณ์ในปีนี้ก็เช่นกันครับ โดยรอบ 1 ในปีนี้มีผู้สมัครทั้งสิ้น 252 คน ทางสาขาวิชาไม่ได้มีการให้ส่งแฟ้มสะสมผลงาน แต่ให้เรานำเสนอตอนสำภาษณ์เลย จึงทำให้มีผู้รับการสำภาษณ์เท่ากับจำนวนผู้สมัคร

สำหรับการสำภาษณ์ผ่านกูเกิลมิท โดยเขาแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย แล้วเริ่มสำภาษณ์พร้อมกันโดยจะส่งไฟล์มาว่าใครเข้ามิท(google meet)ตอนกี่โมง ทุกคนมีเวลาคนละ 5 นาที คนแรกออกคนสองเข้าต่อไปเรื่อย ๆ ที่สำคัญคือเมื่อเขาเรียกให้เข้าต้องเข้าทันทีหากติดปัญหาหรือมาไม่ทันหมดสิทธิ์ไม่มีทดเวลาให้ ในตอนสำภาษณ์ เข้าไปอาจารณ์ให้แนะนำตัวเอง(สนทนาภาษาจีน)เราก็ตอบจีนตามที่เตรียมไป 3 นาทีแต่มันไปติดบางช่วงทำให้เวลาไหลไปเกือบ 4 นาที(คิดว่าไม่ติดแน่ ๆ ติดหยุดคิดไป 10 วินาทีได้) ต่อมาเขาถามอะไรไม่รู้(แปลไม่ออกเราก็บอกเขาเราฟังไม่รู้เรื่อง) แล้วเขาก็เปลี่ยนคำถาม ว่า อยากทำอาชีพอะไร/เคยสอบ HSK ไหมได้คะแนนเท่าไรเราก็ตอบไป ซึ่งเรามีระดับ4 230คะแนนเราก็ตอบไป ครบ 5 นาทีครับ อาจารณ์ไม่ได้ดูแฟ้มสะสมผลงานเลยเราก็พูดไปเรื่อยเลย แล้ววันประกาศเราผ่าน เพื่อน นศ.บางคนก็สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาไทยและจีนเล็กน้อยแล้วผ่านก็มีครับ (เราถามรุ่นพี่ก็มีเหมือนกันครับ)

นั่นละครับ ตามกำหนดการระบุว่ารับ 64 คน เท่าที่ตรวจสอบมามีรายงานตัว 124 คน ตามนี้ https://cts.ssru.ac.th/File/IS/Announce/Files/0tevgcj2.pdf ซึ่งปีนี้รับ นศ.เยอะกว่าปีก่อน

ที่เห็นนะครับ คนที่ผ่านบางคน ไม่ได้มีพื้นภาษาจีน และ คนที่มีพื้นภาษาจีน บางคนไม่ได้ผ่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความประทับใจครั้งแรก(มั้ง)ที่เราแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจครับ ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าถ้าไม่ได้ภาษาจีนจะสำภาษณ์ผ่านไหม เราตอบได้เลยครับว่าต้องลองดูครับ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการพัฒนาควบคู่กับมหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทาในระยะแรกเริ่มยังมิได้แยกเป็น คณะวิชาคณาจารย์สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์รับผิดชอบการสอนรายวิชา ต่างๆ ที่เป็นส่วนสําคัญของหลักสูตรการ ศึกษาในปี พ.ศ. 2518 มีพระราชบัญญัติให้ วิทยาลัยครูทุกแห่งเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาจึงได้มีการก่อตั้ง “คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” โดยได้เปิดสอนในระดับ อนุปริญญาระดับปริญญาตรี 4 ปี และ ปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา) สาขา การศึกษามีวิชาเอก 3 วิชา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา หลังจากนั้นใน ปี พ.ศ. 2527 มีการพัฒนาหลักสูตรและ เปิดสอนหลักสูตรศิลปะศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2535 “คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” เปลี่ยนเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์” ตามพระราชบัญญัติสถาบัน ราชภัฏและตําแหน่ง “หัวหน้าคณะ” เปลี่ยน เป็น “คณบดี” โดยมีภาควิชาในกํากับดูแล 11 ภาควิชาต่อมาในปี พ.ศ. 2542 มีการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาควิชาเป็นโปรแกรม วิชาตามหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิต จํานวน 11 โปรแกรมวิชา และในปี พ.ศ. 2543 โปรแกรม วิชาศิลปกรรม โปรแกรมวิชานาฏศิลป์ โปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการละคร และ โปรแกรมดนตรีแยกไปตั้งเป็นคณะศิลปกรรม ศาสตร์ คณะฯจึงมีโปรแกรมที่เปิดสอนใน ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาการศึกษาและ สาขาศิลปศาสตร์ รวม 7 โปรแกรมวิชา

เนื่องจากปัจจุบันมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศมากขึ้น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางคณะได้เปิดสอนวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส และภาษาจีนเป็นวิชาเลือกของโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว วิชาเลือกเสรีของโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ และโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษซึ่งมีนักศึกษาสนใจเรียนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปีการศึกษา 2545 คณะฯจึงได้จัดทําศักยภาพของโปรแกรมวิชาภาษาญี่ปุ่น และโปรแกรมวิชาภาษาจีน ซึ่งประกอบด้วยหลักสูตรแผนการเรียน อาจารย์ผู้สอนสื่อการสอนแหล่งวิทยาการ แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยเปิดสอน “โปรแกรมวิชาภาษาญี่ปุ่น” และ “โปรแกรมวิชาภาษาจีน” ในระดับปริญญาตรีในปีการ ศึกษา 2546 ได้มีการทําความร่วมมือทาง วิชาการกับมหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน (Yunnan Normal University) ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนในการจัดตั้งศูนย์ ภาษาและวัฒนธรรมจีน (Chinese Language and Culture Center) โดยทําพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2545 และได้เปิดอบรมหลักสูตร ภาษาจีนให้กับคณาจารย์และประชาชนผู้สนใจ รวมทั้งให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยใน การจัดการเรียนการสอน “โปรแกรมวิชาภาษาจีน” ระดับปริญญาตรี 4 ปีต่อมาในปี การศึกษา 2546 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ลงนามความร่วมมือทาง วิชาการในการจัดการศึกษาสําหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน (Joint Venture 2+2 Bachelor's Degree Program) ทั้งนี้นักศึกษาจะเรียนที่มหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน 2 ปี และอีก 2 ปี ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในสาขา วิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและ บริการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยนักศึกษาชาวจีนดังกล่าวจะเริ่มเรียนที่ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และบริการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นไป

อนึ่งในปีการศึกษา 2547 คณะได้ ดําเนินการพัฒนาหลักสูตรและเปิดสอนระดับ ปริญญาตรี 4 ปี ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการ ทางวัฒนธรรมในปีการศึกษา 2548 ได้เปิด การเรียนการสอนเพิ่ม 2 สาขาวิชา คือ สาขา วิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก สาขา วิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ในปีการ ศึกษา 2550 ได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ 2 สาขา วิชา คือ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม และสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ โดยสาขา วิชาการจัดการนวัตกรรมสังคมได้เปิดรับ นักศึกษาในภาคเรียนที่ 1/2550 และสาขา วิชาการจัดการสารสนเทศเริ่มเปิดรับนักศึกษา ในภาคเรียนที่ 1/2551

ปีการศึกษา 2554 พัฒนาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตเปิดการสอน สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น

ปีการศึกษา 2555 คณะได้ดําเนินการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานวัตกรรมการบริหารปกครองท้องถิ่นและ สาขาวิชาการสอนภาษาจีน

ปีการศึกษา 2557 คณะได้ดําเนินการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตํารวจตามโครงการ ร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนนายร้อยตํารวจ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รับผิดชอบในการ จัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปให้กับนักศึกษาของคณะต่างๆ รวมทั้งสอนในรายวิชาเอก/วิชาเฉพาะให้กับนักศึกษาของคณะ รวมทั้งสิ้น 7 สาขาวิชาดังนี้

ระดับปริญญาตรี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  1. สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
  1. สาขาวิชาภาษาไทย
  2. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  3. สาขาวิชาภาษาจีน
  4. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  5. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  6. สาขาวิชาการจัดการสังคมและวัฒนธรรม
    • แขนงวิชาการจัดการพัฒนาสังคม
    • แขนงวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม

แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปัจจุบัน สภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางแข่งขันกันมากขึ้น ดังนั้นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จึงต้องพัฒนาด้านการเรียน การสอน เพื่อก้าวให้ทันโลกและให้มีศักยภาพ ด้านบริการการศึกษาในระดับมาตรฐานให้ เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาประเทศ