สถูป เจดีย์ ใน ประเทศไทย ได้ รับ อิทธิพล มา จาก ชาติ ใด

เจดีย์แบบก่อนกรุงศรีอยุธยา และกรุงศรีอยุธยา (ราว พ.ศ. ๑๘๐๐-๒๓๑๐)

ก่อนราชธานีกรุงศรีอยุธยาราว ๑๐๐ ปี คือ เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมืองลพบุรีซึ่งอยู่ในเครือข่ายวัฒนธรรมขอมมาก่อน มีการสร้างเจดีย์ทรงปรางค์อันเป็นแบบอย่างระยะแรก ต่อมา ได้กลายเป็นต้นแบบให้แก่เจดีย์ทรงปรางค์ ช่วงระยะแรกของกรุงศรีอยุธยาที่สถาปนาเป็นราชธานีในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๘๙๓ เช่น เจดีย์ประธานทรงปรางค์ พระศรีรัตนมหาธาตุ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี เจดีย์ประธานทรงปรางค์ที่สำคัญองค์นี้มีลักษณะทางพัฒนาการอันเป็นระยะแรก ต้นแบบ คือ ปราสาทแบบขอม แต่ปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุมีรูปทรงที่เพรียวกว่าต้นแบบ ความซับซ้อนของส่วนประกอบทั้งหลายก็ลดลงมากด้วย อย่างไรก็ดี ชั้นซ้อนแบบปราสาทขอมยังชัดเจนใกล้เคียงกับต้นแบบ

สถูป เจดีย์ ใน ประเทศไทย ได้ รับ อิทธิพล มา จาก ชาติ ใด

เจดีย์ประธานทรงปรางค์ พระศรีรัตนมหาธาตุ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี
เจดีย์ทรงปรางค์ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของราชธานีกรุงศรีอยุธยา โดยมีการสร้างเป็นปรางค์ประธานของวัดตั้งแต่แรกเริ่มราชธานี มาเป็นลำดับ เช่น ปรางค์ประธานของวัดราชบูรณะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่สร้างขึ้นในรัชกาล สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. ๑๙๖๗ ปรางค์ประธานองค์นี้มีรูปทรงเพรียว พัฒนามาจากเจดีย์ทรงปรางค์ระยะแรก คือ ส่วนบนซึ่งเป็นชั้นซ้อนคลี่คลายเป็นแท่ง ที่ดูเรียบง่ายกว่าเดิม การทำตรีมุขยื่นออกทางด้านตะวันออก รวมทั้งส่วนฐานที่เพิ่มความสูงยิ่งกว่าต้นแบบ ปรางค์ประธานของวัดนี้ ยังอยู่ในสภาพที่ดีกว่าปรางค์ประธานของวัดอื่นที่สร้างขึ้นก่อน
สถูป เจดีย์ ใน ประเทศไทย ได้ รับ อิทธิพล มา จาก ชาติ ใด

เจดีย์พระศรีรัตนมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เจดีย์ทรงปรางค์แบบกรุงศรีอยุธยายังมีให้เห็นที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย อันเป็นเมืองเก่าแก่สมัยสุโขทัย คือ เจดีย์พระศรีรัตนมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งสร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๐๑๘ ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รูปแบบโดยรวมเทียบได้กับปรางค์ประธานของวัดราชบูรณะ ในกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสร้างขึ้น ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ คือ รูปทรงเพรียวสูงที่สอบเรียวโดยลำดับจากชุดฐานที่กว้าง ผ่านเรือนธาตุขึ้นไป เป็นชั้นซ้อนทรงแท่งสอบมนที่ปลาย โดยต่อเนื่องเป็นนภศูล เจดีย์ทรงปรางค์เป็นเสมือนหลักฐานอันแสดงถึงอำนาจ ของกรุงศรีอยุธยาที่มีเหนือดินแดนสุโขทัย รูปทรงสัดส่วนของปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง นอกจากเป็นแบบอย่าง ของศิลปะอยุธยาในช่วงเวลานั้นแล้ว ผลการศึกษาความหมายและรูปแบบงานปูนปั้นเรื่องราวพุทธประวัติที่ประดับหน้าบันซุ้ม ของเรือนธาตุ ก็บ่งชี้ว่าปั้นขึ้นในคราวเดียวกับงานสร้างปรางค์ด้วย
สถูป เจดีย์ ใน ประเทศไทย ได้ รับ อิทธิพล มา จาก ชาติ ใด

เจดีย์ประธาน ๓ องค์
วัดพระศรีสรรเพชญ

ในราชธานีกรุงศรีอยุธยา นอกจากเจดีย์ ทรงปรางค์แล้วยังมีเจดีย์รูปทรงอื่น คือ เจดีย์ทรงระฆังที่มีขนาดใหญ่เด่นชัด ได้แก่ เจดีย์ประธาน ๓ องค์ ที่วัดพระศรีสรรเพชญ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้น ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พ.ศ. ๒๐๓๕ เจดีย์ประธานทรงระฆังในศิลปะอยุธยา มีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ทรงระฆัง คือ มีเส้นนูนคล้ายหวายผ่าซีกคาดอยู่โดยรอบ จำนวน ๓ เส้น โดยซ้อนลดหลั่นกัน เรียกว่า มาลัยเถา และเหนือขึ้นไปก่อนถึงทรงระฆัง เป็นบัวปากระฆัง เจดีย์ทรงระฆังในศิลปะสุโขทัยก็มีบัวปากระฆังเช่นกัน แต่ไม่ได้ทำมาลัยเถา ทำเป็นชุดบัวถลาแทน เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมยกเก็จซึ่งทำให้มีจำนวนมุมเพิ่มขึ้น จึงมักเรียกกันว่า เจดีย์เพิ่มมุม แทนชื่อเดิมที่เคยเรียกกันว่า "เจดีย์ย่อมุม" ตัวอย่างเจดีย์ลักษณะดังกล่าว เช่น เจดีย์ศรีสุริโยทัย ศิลปะอยุธยา สร้างขึ้นราวรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (หลัง พ.ศ. ๒๐๙๑) อยู่ในวัดร้างชื่อ วัดสวนหลวงสบสวรรค์ แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุมของเจดีย์องค์นี้ เป็นลำดับจากส่วนฐานขึ้นไปเรือนธาตุ และทรงระฆัง ส่วนยอดเป็นทรงกรวยกลม เจดีย์ยอดเหนือหลังคาของจัตุรมุข (มุขประจำ ๔ ด้านของเจดีย์) มีมาก่อนแล้ว คือ เจดีย์ทรงระฆัง ๓ องค์ ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัดพระศรีสรรเพชญ ปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ปรับปรุง และใช้เป็นบริเวณของสำนักงานโครงการนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เจดีย์เพิ่มมุมองค์นี้ คงเป็นแบบอย่างระยะแรก เชื่อว่าเกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ คือ หลัง พ.ศ. ๒๐๙๑ อันเป็นปีที่สมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์กลางศึกพม่า

แบบอย่างของเจดีย์เพิ่มมุมได้คลี่คลายไป อีกระดับหนึ่งในเวลาต่อมา เช่น เจดีย์ประธาน วัดภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนลดหลั่น แต่ละฐานยกเก็จและเอนสอบยื่นออกมาเต็มฐาน ซึ่งแตกต่างจากฐานของเจดีย์ในศิลปะอยุธยาทั่วไป ดังนั้น ฐานของเจดีย์ประธาน วัดภูเขาทอง จึงเป็นแบบพิเศษ ทำนองเดียวกับฐานเจดีย์แบบมอญ-พม่า ขณะที่เหนือจากชุดฐานดังกล่าวขึ้นไป เป็นเจดีย์เพิ่มมุม คล้ายแบบอย่างของเจดีย์ศรีสุริโยทัย แต่เชื่อว่ามีการปรับรูปแบบด้วย คือ การใช้ฐานเจดีย์ตามแบบอย่าง มอญ-พม่า ปัจจุบัน ไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ว่า ฐานเจดีย์แบบนี้ ได้ผ่านพัฒนาการ ในศิลปะอยุธยามาก่อน จึงอาจเชื่อได้ว่า เจดีย์ประธานองค์นี้ สร้างขึ้น ในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากที่ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๗ หรือหลังจากนั้น คือ คราวที่ทรงกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ของพม่า ใน พ.ศ. ๒๑๓๕ เหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ทำให้เชื่อว่า เป็นที่มาของการสร้างฐานเจดีย์แบบมอญ-พม่า รองรับเจดีย์ทรงไทย ซึ่งเจดีย์แบบพิเศษนี้ มีอยู่เพียงองค์เดียวในกรุงศรีอยุธยา

สถูป เจดีย์ ใน ประเทศไทย ได้ รับ อิทธิพล มา จาก ชาติ ใด

เจดีย์ประธานวัดภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลังจากนั้นต่อมา เจดีย์เพิ่มมุมก็ได้รับการปรับปรุงใหม่อีกครั้ง เรียกว่า เจดีย์สี่เหลี่ยมเพิ่มมุม และกลายเป็นรูปแบบเฉพาะ ของเจดีย์ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ดังตัวอย่างเช่น เจดีย์ที่วัดไชยวัฒนาราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๑๗๓ และในรัชกาลนี้ เจดีย์แบบกรุงศรีอยุธยาได้รับการปรับเปลี่ยนมาเป็นลำดับ จนมีลักษณะใหม่ คือ ไม่มีทั้งเรือนธาตุและจระนำ

นอกจากเจดีย์เพิ่มมุมแบบปกติแล้ว ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ยังมีเจดีย์เพิ่มมุมแบบพิเศษที่เรียกว่า เจดีย์ทรงเครื่อง เจดีย์ทรงเครื่องสมัยอยุธยาตอนปลายเป็นเจดีย์ขนาดเล็ก ๒ องค์อยู่เคียงกัน มีขนาดเท่ากัน สร้างไว้เคียงคู่กับเจดีย์เพิ่มมุม ที่วัดภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อครั้งบูรณะวัดนี้ ราว พ.ศ. ๒๒๘๗ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แบบอย่างของเจดีย์ทั้ง ๒ องค์นี้สามารถช่วยให้กำหนดอายุได้ในคราวบูรณะ คือ ฐานของเจดีย์ทุกแบบเมื่อเข้าสู่ระยะปลายของราชธานีจะมีลักษณะเฉพาะคือ ฐานสิงห์จำนวน ๓ ฐานซ้อนลดหลั่นกันเป็นชุด อันเป็นแบบแผนของสมัยอยุธยาตอนปลาย ทั้งนี้ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย เจดีย์ทรงเครื่องได้รับความนิยมแทนที่เจดีย์เพิ่มมุมปกติ โดยสืบทอดความนิยมต่อเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย