บอกคําจํากัดความของการทดลอง คือ

การวิจัยเชิงทดลอง เป็นการวิจัยที่เน้นกระบวนการค้นหาความเป็นจริง หลักการทฤษฎี องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยมุ่งเน้นการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของตัวแปร ที่เกี่ยวข้องภายใต้เงื่อนไขที่มีการควบคุมโดยกระบวนการวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมหรือสถานการณ์ว่า เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่ โดยวิธีการเปรียบเทียบของความแตกต่าง ของตัวแปรที่เปลี่ยนไปกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ในสภาพที่ถูกควบคุมและทำการสรุปผลความจริงที่ค้นพบ และนำไปอธิบายพฤติกรรมต่างๆในเชิงเหตุผลได้

จึงเป็นการวิจัยจากสาเหตุไปหาผลว่า ตัวแปรที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดผลหรือไม่ และได้ยอมรับว่าเป็นการวิจัย ที่ให้ผลได้น่าเชื่อถือมากที่สุด โดยเฉพาะหากนำมาใช้กับการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถนำมาพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงทดลอง

  1. เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงของสาเหตุ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรม
  2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลของตัวแปร
  3. เพื่อนนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้
  4. เพื่อวิเคราะห์หาข้อบกพร่องของระบบ และนำไปแก้ไขปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้น
  5. เพื่อนำไปใช้ในการทดลอง

องค์ประกอบของการวิจัยเชิงทดลอง

กลุ่มทดลอง หมายถึง กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการทดลองที่ได้กำหนดไว้ 2 กลุ่มควบคุม หมายถึงกลุ่มลักษณะที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มทดลอง ทั้งเรื่องคุณสมบัติและจำนวนถูกปล่อย ให้เป็นไปตามสภาพปกติที่มีอยู่เดิม เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบพฤติกรรมต่างๆกับกลุ่มที่ทดลอง

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยเชิงทดลอง มี 4 ชนิดด้วยกันคือ

  1. ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น คือตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นต้นเหตุ หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จะเรียกอีกอย่างว่าตัวแปรทดลองก็ได้ ใช้ตัวย่อว่า X
  2. ตัวแปรตาม หมายถึงตัวแปรที่คาดว่า จะเป็นผลจากตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น มีอิทธิพลมาจากการกระทำของตัวแปรอิสระ ใช้ตัวย่อว่า Y 
  3. ตัวแปรเชื่อมอยู่คือ ตัวแปรที่สอดแทรกเป็นตัวแปร ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมใดๆในระหว่างการดำเนินการทดลอง
  4. ตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรภายนอกคือ ตัวแปรที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการ ดำเนินการทดลองที่อาจมีอิทธิพลต่อการทดลอง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตัวแปรควบคุม

ประโยชน์ของการวิจัยเชิงทดลอง

  1. ทำให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมต่างๆได้อย่างชัดเจน
  2. เป็นการวิจัยที่เหมาะสม สำหรับการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. สามารถนำมาพัฒนาการศึกษาให้ดีมากยิ่งขึ้น ทำให้ทราบจุดอ่อนจุดแข็งได้เป็นอย่างดี
  4. มุ่งพัฒนาและสร้างสรรค์ทฤษฎีและองค์ความรู้ใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยี เช่น นาโนเทคโนโลยี เป็นต้น

วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงทดลอง

  1. ทำการพิสูจน์ว่าตัวแปรอิสระ เกิดขึ้นก่อนตัวแปรตาม
  2. ตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม มีความสัมพันธ์ในเชิงหลักการ
  3. มีการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต้น

ข้อเสียของการดำเนินการวิจัยเชิงทดลอง

  1. กลุ่มตัวอย่างส่งผลทำให้การวิจัยคลาดเคลื่อนได้หากกลุ่มตัวอย่างนั้นมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันมาก เช่น ประเพณีและวัฒนธรรม
  2. กระบวนการวิจัย หากขาดการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนที่รัดกุม อาจจะทำให้ผลการทดลองไม่ได้เป็นผล มาจากการทดลองที่แท้จริง
  3. หากขาดแบบแผนการทดลองที่ดี อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาด
  4. ไม่สามารถตรวจสอบสมมุติฐานได้ทุกข้อ
  5. หากเลือกสถิติไม่เหมาะสมกับการทดลอง
  6. การสรุปผลไม่ถูกต้อง จะทำให้ขาดความเชื่อมั่น

การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนในการวิจัยเชิงทดลอง

  1. การวิจัยเชิงทดลองนั้น มักมีตัวแปรแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้เสมอ ผู้วิจัยจะต้องพบกลุ่มตัวแปรต่างๆไม่ให้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามอันเนื่องมาจากการศึกษาตัวแปรอิสระ ที่กำลังศึกษาอยู่เพื่อทำให้ทราบว่าตัวแปรตาม เป็นผลมาจากอิทธิพลของตัวแปรอิสระอย่างแท้จริง  ดังนั้นการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน จึงต้องใช้หลักการควบคุมที่เรียกว่าmax-min-con principle  เพื่อเพิ่มความแปรปรวนนี้ ให้เป็นระบบมากที่สุด
  2. ลดความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อน
  3. ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน ที่ส่งผลอย่างมีระบบ
  4. ใช้สถิติ ซึ่งเทคนิคทางวิธีการสถิติ สามารถนำมาควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้เป็นอย่างดี
  5. การตัดทิ้ง เป็นการกำจัดตัวแปรที่คิดว่ามีส่วนร่วมกับการทดลองออกไป จะสามารถคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ที่มีความน่าสนใจเหมือนกันได้ เป็นต้น

แบบแผนในการวิจัยเชิงทดลอง

  1. แบบแผนการทดลองขั้นต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการวิจัยเชิงทดลอง นำมาใช้ในการวางแผนการทดลอง โดยมุ่งเน้นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม เนื่องมาจากอิทธิพลของตัวแปรต้น
  2. แบบแผนการทดลองจริง มุ่งเน้นการวิจัยเชิงทดลองแบบเต็มรูปแบบคือ มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้เกิดการกระจาย ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ให้ครอบคลุมประชากรทั้งหมด รวมถึงมีการควบคุมตัวแปรต้นและมีการสร้างกลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลอง
  3. แบบแผนการทดลองกึ่งการทดลอง เป็นแบบแผนการทดลองที่มุ่งเน้น การดำเนินการเพื่อควบคุมตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น กับการควบคุมเพื่อเปรียบเทียบ ผลการทดลองโดยไม่มีการสุ่มให้กลุ่มทดลองแต่อย่างใด
  4. แบบแผนการทดลองอื่นๆ ซึ่งแบบแผนการทดลองอื่นๆ ที่ใช้ในการวิจัยเชิงทดลองเช่น One shot repeated measured design, Latin square design เป็นต้น

ดังนั้นใครก็ตามที่กำลังมองหาทีมงานมืออาชีพ ที่พร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับทำวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)ที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของราคาที่ยุติธรรม

ติดต่อทางไลน์ @thanasat

ติดต่อเรา 02-088-8506

สายด่วน 086-826-1888

[email protected]

รับทำ thesis วิจัยเชิงทดลอง, รับทำวิจัยภาคสนาม, รับทำวิจัยเชิงทดลอง, รับทำวิจัยเชิงปริมาณ, รับทำวิทยานิพนธ์วิจัยเชิงทดลอง, รับปรึกษาวิจัยเชิงทดลอง, รับวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงทดลอง, วิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)

การทดลองประกอบด้วยกิจกรรม 3 กระบวนการคืออะไรบ้าง

การทดลองประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอนคือ 1.การออกแบบการทดลอง 2.การปฏิบัติการทดลอง 3.การบันทึกผลการทดลอง ทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป

ขั้นตอนการทดลองมีอะไรบ้าง

1. สังเกตและระบุปัญหา 2. ตั้งสมมุติฐาน 3. ทาการทดลองหรือทดสอบสมมติฐาน 4. เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 5. สรุปผลการทดลอง

การทดลองมีความสําคัญอย่างไร

การทดลองเป็นวิธีสอนที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้จากประสบการณ์ตรง เพื่อสร้างทักษะการคิดและลงมือทำด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครูมีส่วนสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การทดลอง การตั้งสมมติฐาน การลงความเห็นจากข้อมูลการตีความหมายข้อมูลและ ...

ชุดการทดลองคืออะไร

1) ชุดทดลอง หมายถึง ชุดที่เราใช้ศึกษาผลของตัวแปรต้น 2) ชุดควบคุม หมายถึง ชุดของการทดลองที่ใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิง เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ซึ่งชุดควบคุมนี้จะมีตัวแปรต่าง ๆ เหมือนชุดทดลองแต่จะแตกต่างจากชุดทดลองเพียง 1 ตัวแปรเท่านั้น คือตัวแปรที่เรา จะตรวจสอบหรือตัวแปรควบคุม