สรีดภงส์ จัดเป็นภูมิปัญญาในสมัยใด

ทำนบพระร่วง : เขื่อนโบราณสมัยสุโขทัย

     เมืองสุโขทัยโบราณนั้นมีภูมิประเทศเอียงลาดเพราะพื้นที่อยู่ติดภูเขา จนไม่สามารถเก็บน้ำได้ตามธรรมชาติ จำเป็นต้องมีการพัฒนาแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง พระร่วงเจ้ากษัตริย์สุโขทัยสมัยนั้นจึงได้สร้างทำนบส่งไปตามลำรางส่งน้ำที่ขุดพบเป็นท่อสังคโลก ซึ่งเรียกว่า “ท่อปู่พญาร่วง” ส่งน้ำเข้าไปในตัวเมือง เพื่อเก็บขังในสระน้ำใหญ่เล็กหลายสระ และมีสระขนาดใหญ่ในกำแพงเมืองหรือที่เรียกว่า “ตระพัง” เช่น ตระพังทอง ตระพังเงิน ตระพังสอ ตระพังตระกวน นอกจากนี้ยังมีการขุดบ่อน้ำกรุอิฐไว้เป็นจำนวนมาก ทำให้พื้นที่ในเมืองสุโขทัยไม่ขาดแคลนน้ำ ดังจะเห็นได้จากจารึกว่า “เมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตะพังโพยสี ใสกินดี … ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง”

เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง ถือว่าเป็นเขื่อนแห่งแรกของประเทศไทย สร้างเพื่อการชลประทาน มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นลักษณะทำนบคันดิน หรือเรียกว่าเป็นเขื่อนดินก็ได้ สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาคือ เขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา ที่สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมือง และพระราชวังในสมัยโบราณ

ปัจจุบันกรมชลประทานร่วมกับกรม ศิลปากรได้ปรับปรุงบูรณะ และซ่อมแซมขึ้นใหม่ ให้มีความสูงและแข็งแรงกว่าเดิมสำหรับใช้กักเก็บน้ำ มีความสูงประมาณ 10 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 400,000 ลูกบาศก์เมตร
ความชาญฉลาดของคนสุโขทัยในอดีต จึงรู้จักสร้างคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ในระหว่างตีนเขากิ่วอ้ายมาถึงตีนเขาพระบาทใหญ่ อันเป็นที่รวมของน้ำจากโซกต่างๆ ตามบริเวณเขาถึง 17 โซก เป็นคันดินสำหรับผันแปรทิศทางของน้ำ ภูเขาทั้งสองลูกนี้ (เขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา) อยู่ในทิวเขาหลวงด้านหลังตัวเมืองเก่าสุโขทัย ลึกเข้าไปในทิวเขานี้เป็นซอกเขาอันเป็นต้นกำเนิดของทางน้ำเรียกว่า "โซกพระร่วงลองขรรค์"
สำหรับชื่อเขื่อนสรีดภงค์ นั้นมีที่มาจาก ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่เขียนไว้ว่า "เบื้องหัวนอนเมืองสุโขไทนี้ มีกุฏิ พิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้" จะเห็นว่ามีคำกล่าวถึง สรีดภงส ซึ่งคงหมายถึงทำนบชลประทานแห่งนี้นั้นเอง

ที่ตั้ง เขื่อนสรีดภงส์ หรือทำนบพระร่วง ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าสุโขทัย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

สรีดภงส์ จัดเป็นภูมิปัญญาในสมัยใด

http://sadoodtasukhothai.com/content/เขื่อนสรีดภงค์-หรือ-ทำนบพระร่วง-เขื่อนโบราณสมัยสุโขทัย

สรีดภงส์ จัดเป็นภูมิปัญญาในสมัยใด
 

          ��մ��� ���� �ӹ������ǧ �繷ӹ��Թ��������ҧ�ҡ��������ҡѺ�Ҿ�кҷ�˭� �ѹ��ɰҹ��� ����¾�͢ع������˧����Ҫ ��ͷ��ӹ�������纡ѡ��Өҡ⫡��ҧ� �������dz�Ҷ֧ 17 ⫡ �������ҧ�к�¹������ҵ�����ͧ ����纡ѡ�����������˭������������੾����й�ӵ���Ѵ��ҧ� ���� ��оѧ �� ��оѧ�Թ ��оѧ�ͧ ��оѧ�� �繵�

เขื่อนสรีดภงส (สรีดภงส์) หรือที่สมัยก่อนเรียกกันว่า ทำนบพระร่วง เป็นคันดินโบราณ ซึ่งในยุคหลังได้สร้างต่อเติมเป็นแนวระหว่างเขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายม้าเพื่อใช้กักเก็บน้ำที่ไหลจากหุบเขาในโซกพระร่วง เป็นที่เชื่อกันว่าแต่เดิมน่าจะสร้างโดยกษัตริย์สุโขทัยพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ดังหลักฐานที่ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคำแหง

อย่างไรก็ดี สุจิตต์ วงษ์เทศ มองว่า ลำพังหลักฐานดังกล่าวไม่อาจบอกได้แน่ชัดว่า “สรีดภงส” หมายถึงสิ่งใด มันอาจเป็นไปได้ทั้งเขื่อนหรือทำนบ หรืออาจเป็นเพียงคันดินที่ใช้เบี่ยงเบนทางน้ำก็ได้ และอาจมีอยู่หลายแห่ง ไม่ได้ตั้งอยู่ ณ ที่แห่งเดียวโดดๆ ตามความหมายที่ใช้ในปัจจุบัน ดังคำอธิบายต่อไปนี้

“เนื่องจากระบบน้ำของเมืองสุโขทัยมีขนาดใหญ่โต จึงทำให้ร่องรอยระบบชักน้ำและระบายน้ำมีลักษณะซับซ้อน และสร้างความสับสนให้กับผู้ศึกษาค้นคว้าหลายๆ ฝ่าย ดังกรณีชื่อ ‘สรีดภงส’

แม้จารึกพ่อขุนรามคำแหงจะระบุว่า ด้านทิศใต้มี ‘สรีดภงส’ (มาจากภาษาสันสกฤต) ที่เชื่อกันว่าหมายถึงเขื่อนหรือทำนบกั้นน้ำของเมืองสุโขทัย แต่จารึกก็ไม่ได้บอกว่ามีรูปร่างหรือลักษณะอย่างไร?

และไม่ได้กำหนดว่า ‘สรีดภงส’ มีตำแหน่งแห่งหนอยู่แน่ๆ ที่ตรงไหน?

หากพิจารณาเจตนาของจารึกพ่อขุนรามคำแหงแล้ว จะเห็นว่าข้อความในจารึกตอนนี้ (และอาจมีตอนอื่นๆ ด้วย) มีลักษณะ ‘กวีวรโวหาร’ พรรณาบรรยากาศกว้างๆ และอย่างคร่าวๆ โดยบอกแต่เพียงว่ามีสิ่งที่เรียกว่า ‘สรีดภงส’ อยู่ ‘เบื้องหัวนอน’ คือด้านทิศใต้เท่านั้น และจะมีความหมายว่าเขื่อนหรือทำนบกั้นน้ำหรือไม่? ก็ไม่มีใครรู้แน่ๆ

แต่ด้านทิศใต้ต่อเนื่องกับด้านตะวันตกของเมืองสุโขทัย มีร่องรอยคันดินที่มนุษย์ทำขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือสกัดกั้นและทั้งเบี่ยงเบนทิศทางการหลากไหลของกระแสน้ำหลายต่อหลายแห่งด้วยกัน

เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรด่วนสรุปว่า ‘สรีดภงส’ หมายถึงเขื่อนหรือทำนบแห่งใดแห่งหนึ่งแต่เพียงแห่งเดียว“

สรีดภงส์ จัดเป็นภูมิปัญญาในสมัยใด
“สรีดภงส์” ในวันที่น้ำฝนมาช่วยเติมเต็มเขื่อนอีกครั้งหนึ่ง ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 (ภาพจากเพจ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)

คลิกอ่านเพิ่มเติม : สรีดภงส์ “ทำนบพระร่วง” อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


อ้างอิง: สุจิตต์ วงษ์เทศ. แคว้นสุโขทัย : รัฐในอุดมคติ, ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2539

การสร้างสรีดภงส์ /ตระพัง เป็นภูมิปัญญาสมัยใด

สรีดภงส หรือ ทำนบพระร่วง เป็นทำนบดินกั้นระหว่างเขากิ่วอ้ายมากับเขาพระบาทใหญ่ สันนิษฐานว่า ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือที่ทำนบที่ใช้เก็บกักน้ำจากโซกต่างๆ ตามบริเวณเขาถึง 17 โซก โดยมีลำรางระบายน้ำส่งเข้าตัวเมือง และเก็บกักน้ำไว้ในสระใหญ่และสระเล็กโดยเฉพาะสระน้ำตามวัดต่างๆ หรือ ตระพัง เช่น ตระพังเงิน ตระพังทอง ตระพังสอ ...

สรีดภงส์เป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากปัจจัยใด

“เนื่องจากระบบน้ำของเมืองสุโขทัยมีขนาดใหญ่โต จึงทำให้ร่องรอยระบบชักน้ำและระบายน้ำมีลักษณะซับซ้อน และสร้างความสับสนให้กับผู้ศึกษาค้นคว้าหลายๆ ฝ่าย ดังกรณีชื่อ 'สรีดภงส'

เขื่อนสรีดพงศ์เริ่มสร้างในสมัยใด

เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง ถือว่าเป็นเขื่อนแห่งแรกของประเทศไทย สร้างเพื่อการชลประทาน มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นลักษณะทำนบคันดิน หรือเรียกว่าเป็นเขื่อนดินก็ได้ สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาคือ เขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา ที่สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง ...

ภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัยที่สําคัญมีอะไรบ้าง

1. ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ในสมัยสุโขทัยได้พัฒนาสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบเฉพาะของตนเอง เช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ... .
2. ขนบธรรมเนียมประเพณี ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น ประเพณีการบวช การทำบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา และประเพณีทอดกฐิน.
3. อักษรไทย ... .
4. เครื่องสังคโลก ... .
5. การชลประทาน.