ข้อ เท้า พลิก หา หมอ ที่ไหน ดี

ใครหลาย ๆ คนที่ชื่นชอบกับการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือ ชอบใส่รองเท้าส้นสูง เป็นเวลานาน ๆ อาจจะทำให้ข้อเท้าพลิกได้ ซึ่งดูเหมือนเป็นอาการทั่ว ๆ ไป ที่สามารถเกิดขึ้นได้อยู่เป็นประจำ แต่ถ้าปล่อยปละละเลยทิ้งไว้นาน ๆ แล้วอาจส่งผลให้เกิดข้อเท้าหลวมได้ อ่านต่อ…

อาการแบบไหน…ข้อเท้าหลวม

หากข้อเท้าพลิกบ่อยหรือข้อเท้าหลวม ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาและป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงกว่าเดิม โดยแพทย์จะให้เริ่มทำกายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเอ็นรอบข้อเท้าและฝึกการทรงตัวของข้อเท้า พร้อมกับใช้อุปกรณ์เสริมพยุงข้อเท้า อ่านต่อ…

3 สาเหตุเดินแล้วปวดเท้า

เวลาเดินแล้วรู้สึกปวดข้อเท้า หรือ ปวดเท้า สงสัยกันไหม ว่าทำไมถึงปวด และมันเป็นสัญญาณเตือนโรคร้ายแรงที่เกี่ยวกับเท้าของเราหรือเปล่า ?? อ่านต่อ…

3 แบบเท้าผิดรูปที่ทุกคนต้องสังเกต

“เท้า” เป็นอวัยวะที่สำคัญที่ต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวเรา ในทุก ๆ ก้าว การใส่รองเท้าส้นสูงบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดความผิดปกติที่เท้าได้ หรือ มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดโดยไม่รู้ตัว พออายุมากขึ้น ขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะวิ่ง , เล่นกีฬา ก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ อ่านต่อ…

ข้อเท้าพลิกอันตรายกว่าที่คิด!! อุบัติเหตุข้อเท้าพลิก ไม่ว่าจะเกิดจากการเล่นกีฬา หรือเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน หลายคนอาจมองว่าเป็นอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย แต่หากละเลยและขาดการดูแลที่เหมาะสมก็อาจเสี่ยงต่อภาวะข้อเท้าหลวมได้

สาเหตุของข้อเท้าพลิก

สาเหตุของอาการข้อเท้าพลิก หรือข้อเท้าแพลง เกิดจากการที่ข้อเท้าบิดตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หกล้มหรือเสียการทรงตัว ส่วนมากมักเกิดกับนักกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวข้อเท้าอย่างรวดเร็ว หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องการทรงตัว อย่างผู้สูงอายุ รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ที่เสี่ยงต่อการล้มหรือข้อเท้าพลิกได้ง่าย เช่น การใส่รองเท้าส้นสูง การเดินบนพื้นผิวขรุขระ

ความรุนแรงของอาการข้อเท้าพลิกมีความแตกต่างกันออกไป บางรายอาจจะบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย พักการเดินหรือยืนเพียงไม่กี่วันและรับประทานยาแก้ปวดก็อาจจะกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ แต่ในบางรายที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเส้นเอ็นฉีกขาดต้องพักรักษาตัวนานกว่าปกติ ดังนั้น แม้ว่าอาการบาดเจ็บไม่รุนแรง แต่หากผ่านไป 2-3 เดือนแล้วยังปวดข้อเท้าอยู่ แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพราะอาจจะเสี่ยงต่ออาการข้อหลวมได้

อาการข้อเท้าพลิก

เมื่อข้อเท้าพลิกและเส้นเอ็นอักเสบจะทำให้เกิดอาการบวม แดงและปวด แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถลงน้ำหนักได้ อาจบ่งชี้ว่าเส้นเอ็นข้อเท้าฉีกขาดหรือมีกระดูกหักร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์

การรักษาอาการข้อเท้าพลิก

ในกรณีที่ข้อเท้าพลิกแล้วอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยวิธี PRICE ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • Prevent ป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติมด้วยการไม่ลงน้ำหนักที่เท้าหรือใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเดิน
  • Rest หยุดกิจกรรมและพักการใช้งานข้อเท้าทันที
  • Ice ประคบเย็น
  • Compression ใช้ผ้ายืดสำหรับพันข้อเท้ารัดและพยุงบริเวณที่บาดเจ็บไว้
  • Elevation วางขาและเท้าให้อยู่เหนือระดับหัวใจในขณะนั่งหรือนอนเพื่อให้เลือดไหลเวียนง่ายและลดอาการบวม

เมื่อปฐมพยาบาลตามขั้นตอนดังกล่าว อาการต่าง ๆ จะดีขึ้นใน 2 – 3 วัน และหายภายใน 2 – 3 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหรือปวดบวมกว่าเดิมอย่านิ่งนอนใจ ควรรีบพบแพทย์และตรวจอย่างละเอียด หากมีอาการบ่งชี้แพทย์อาจให้ตรวจ MRI เพื่อดูว่ามีกระดูกบาดเจ็บหรือมีเส้นเอ็นข้อเท้าฉีกขาดร่วมด้วยหรือไม่

ในกรณีที่มีอาการปวดบวมเรื้อรังหรือมีภาวะข้อเท้าหลวม แพทย์จะให้ยาลดอาการอักเสบร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเอ็นรอบข้อเท้าและฝึกการทรงตัวของข้อเท้า พร้อมกับใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยพยุงข้อเท้า แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นใน 3 – 6 เดือน แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดส่องกล้องและเย็บซ่อมแซมเส้นเอ็น

ไม่ว่าใครต่อใครก็มีโอกาสจะก้าวพลาดจนก่อให้เกิดอาการข้อเท้าแพลงได้ทั้งสิ้น และนั่นทำให้อาการบาดเจ็บข้อเท้าแพลงครองสถิติอาการที่พบบ่อยที่สุดในห้องฉุกเฉิน แต่ถ้ามันเกิดขึ้นซ้ำๆ และเรื้อรังจนก่อให้เกิดความรำคาญ เป็นอุปสรรคต่อการออกกำลังกาย และการเดินเหินอย่างคล่องแคล่วในชีวิตประจำวัน—อย่าเพิ่งโทษตัวเองว่าอาจจะซุ่มซ่ามเกินไป แต่เราขอแนะนำให้คุณรู้จักอาการ“ข้อหลวม” !!!

ข้อหลวม เป็นอาการที่แพทย์วินิจฉัยกรณีข้อแพลงแบบเรื้อรัง ได้รับการรักษาทางกายภาพเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเท้าแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดผ่านกล้องเย็บซ่อมเอ็นข้อเท้าที่ขาดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาเดินเหินได้อย่างปกติโดยเร็วที่สุด

 

ใครบ้างที่มักมีอาการข้อเท้าแพลง?

เพราะข้อเท้าแพลงมักเกิดจากการบิดข้อเท้าเข้าในขณะที่ปลายเท้าจิกลง เราทุกคนจึงอาจมีโมเม้นต์การบาดเจ็บข้อเท้าแพลงได้อย่างเท่าเทียมกันจากหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุจากเล่นกีฬา  จากการเดินต่างระดับ ตกบันได หรือตกจากที่สูง แต่เชื่อแน่ว่าอาการนี้พบบ่อยที่สุดในกลุ่มนักกีฬา และนักกีฬาที่ละเลยการรักษาที่ถูกต้องก็จะนำไปสู่อาการ “ข้อหลวม” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข้อ เท้า พลิก หา หมอ ที่ไหน ดี

ข้อเท้าแพลงต้องเจ็บแค่ไหน?

ปกติเอ็นข้อเท้าที่สำคัญ มี  3 เส้น คือเอ็น ด้านหน้า ด้านนอก และ ด้านใน  ความรุนแรงของการบาดเจ็บขึ้นกับว่ามีการบาดเจ็บของเอ็นกี่เส้น และการบาดเจ็บนั้น ทำให้เอ็นฉีกขาดหรือไม่ ถ้าขาดขาดบางส่วน หรือขาดทั้งหมด

แพทย์แบ่งความรุนแรงของข้อเท้าแพลงได้ 3 ระดับคือ

1  ถ้าเดินลงน้ำหนักได้ เอ็นปกติ ข้อเท้าบวมเล็กน้อย ถือว่า “อาการน้อย”

2 ถ้าเดินกระเผลก ข้อเท้าบวม เอ็นข้อเท้าขาดบางส่วนหรือยืด ถือว่า “อาการปานกลาง”

3 ถ้าเดินลงน้ำหนักไม่ได้ ข้อหลวม ข้อเท้าบวมมาก เอ็นข้อเท้าขาด ถือว่า “อาการมาก”

 

RICE การรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง

R = Rest  พักการใช้ข้อเท้า

I = Ice ประคบน้ำแข็ง ห้ามทายาร้อน ยาหม่อง

C = Compression พันผ้ายืดพยุงข้อเท้า

E = Elevation ยกข้อเท้าสูง

 

เสียงคลิก!

หากคุณได้ยินเสียง คลิก! ขณะอุบัติเหตุ  ข้อเท้ารู้สึกหลวม ข้อเท้าบวมมาก ปวดมาก เดินลงน้ำหนักไม่ได้ หากพยายามดูแลรักษาตามหลักการเบื้องต้นที่กล่าวมาแล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้มาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจร่างกายเพื่อประเมินความรุนแรงอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการประเมินจากภาพถ่ายทางรังสี กรณีกดเจ็บที่กระดูกตาตุ่มด้านใน-ด้านนอก กระดูกเท้าด้านใน-ด้านนอก

การรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  1. ตามหลักการ RICE ที่แนะนำผู้ป่วยเบื้องต้น = Rest , Ice , Compression , Elevation
  2. ให้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาแก้ปวด ยาลดบวม ในรูปแบบรับประทานและยาทาภายนอก
  3. พันผ้ายืดล๊อคข้อเท้า ที่พยุงข้อเท้า หรือ พิจารณาใส่เฝือกอ่อน จนกว่า อาการปวดจะดีขึ้น ประมาณ 7-10 วัน หลังจากนั้น เริ่มบริหารข้อเท้าและออกกำลังกล้ามเนื้อ จนกว่าจะหายปกติ
  4. ในรายกรณี เป็นเรื้อรัง รักษาทางกายภาพเพิ่ม ความแข็งแรงกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเท้า แล้วอาการไม่ดีขึ้น ข้อหลวมมากจนออกกำลังกายไม่ได้ หรือ มีปัญหาในชีวิตประจำวันปกติ ใส่ส้นสูงไม่ได้ มีปัญหาข้อพลิกซ้ำบ่อยๆ อาจพิจารณาผ่าตัดผ่านกล้องเย็บซ่อมเอ็นข้อเท้าที่ขาด

หากผู้ป่วยมีอาการข้อเท้าแพลง ควรดูแลตัวเองด้วยหลักการ RICE ในเบื้องต้นก่อน ต่อเมื่ออาการรุนแรงหรือเจ็บปวดมากขึ้นจนทนไม่ได้ หรือมีอาการเรื้อรัง มีอาการข้อพลิกบ่อยๆ จนผิดสังเกต ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีโดยเร็ว เพื่อให้สามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถใส่ส้นสูง หรือเล่นกีฬาได้อย่างมั่นใจ

เท้าแพลงแบบไหนต้องไปหาหมอ

ข้อเท้าพลิก แบบไหนต้องรีบพบแพทย์ ยืนลงน้ำหนักไม่ได้ ยืนลงน้ำหนักแล้วเจ็บ เดินไม่ไหว เดินกะเผลก

ข้อเท้าพลิกใช้เวลากี่วันถึงจะหาย

โดยปกติแล้ว หากเป็นอาการข้อเท้าพลิกธรรมดาที่เกิดจากเส้นเอ็นฉีกขาด เส้นเอ็นเหล่านี้จะสามารถสมานได้เองและหายดีภายใน 2-3 สัปดาห์ ซึ่งหากเวลาผ่านไปมากกว่า 1 เดือนแล้วผู้ป่วยยังมีอาการเจ็บอยู่ แนะนำว่าควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด เพราะอาการเจ็บนี้อาจไม่ได้เกิดจากเส้นเอ็นฉีกขาดเพียงอย่างเดียว แต่อาจมีเรื่องของ ...

ข้อเท้าพลิกมีกี่ระดับ

3 ระดับความรุนแรง ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง ระดับ 1 การบาดเจ็บภายในเส้นเอ็น แบบไม่มีการฉีกขาดให้เห็น ระดับ 2 มีการฉีกขาดบางส่วนของเส้นเอ็น ระดับ 3 มีการฉีกขาดแบบสมบูรณ์

ข้อเท้าพลิกแบบไหนอันตราย

ส่วนมากมักเกิดร่วมกับการบิดหมุนในระหว่างที่ข้อเท้าพลิก ถ้าหากพลิกธรรมดาโอกาสน้อยที่จะเกิด หรือให้สังเกตอาการเจ็บ ถ้าหากเจ็บด้านนอกเพียงอย่างเดียว อาจไม่ใช่ข้อหลวม แต่ถ้าหากมีอาการเจ็บทั้งด้านนอกและด้านใน โดยเฉพาะการพลิกที่มีการบิดหมุนด้วย มีโอกาสเกิดสูงมาก แนะนำให้รีบพบแพทย์โดยด่วน