คู่สมรสมีเงินได้ 40 1 เช่น เงินเดือน อย่างเดียว และแยกยื่น

สมัยที่เราตัวคนเดียวการยื่นภาษีเป็นเรื่องที่มีทางเลือกเพียงหนึ่งเดียว คือ ยื่นด้วยจำนวนรายได้ที่เรามี และหักลดหย่อนตามสัดส่วนต่าง ๆ แต่เมื่อเรามีคนอีกคนกลายเป็นสามี-ภรรยา ทำให้เรามีทางเลือกที่จะจ่ายภาษีในสถานะใหม่ ทางเลือกก็คือ แยกยื่น กับ ยื่นร่วมกัน อย่างไรน่าสนใจกว่ากันลองมาดูกรณีศึกษาต่อไปนี้

กรณีแรก “คู่สมรสมีเงินได้อยู่ในฐานภาษีเดียวกัน หรือรายได้ใกล้เคียงกัน”


ในกรณีนี้แนะนำให้แยกยื่น โดยต่างฝ่ายต่างแยกยื่นเงินได้ในชื่อของตนเอง จะทำให้โดยรวมแล้วทั้งคู่จะเสียภาษีน้อยกว่าการร่วมยื่น เนื่องจากคู่สมรสจะได้รับยกเว้นภาษี 1.5 แสนบาทแรกทั้งคู่ แต่ถ้าหากคิดจะร่วมยื่นกัน จะทำให้เงินรวมรายได้สุทธิสูงมากขึ้น ก็จะไปเข้าในฐานภาษีที่สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสส่งผลให้เสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นนั่นเอง

Show

กรณีที่สอง “คู่สมรสทั้งสองคนมีรายได้ไม่สูง แต่มีรายการใช้เป็นค่าลดหย่อนได้มาก”


ในกรณีที่คู่สมรสทั้งสองคนมีรายได้ไม่สูง แต่มีรายการใช้เป็นค่าลดหย่อนได้มาก แนะนำให้ยื่นร่วมกัน โดยรวมเงินได้ทุกประเภทเข้าด้วยกัน ทั้งกรณีสามีเป็นผู้ยื่นแบบ หรือภรรยาเป็นผู้ยื่นแบบ

สำหรับกรณีที่สามีภรรยาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีรายได้ไม่สูงนัก แต่มีรายการที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้มาก ถ้าไปแยกยื่นจะทำให้เกิดเหตุการณ์ดังนี้

  • แยกยื่นแล้วรายได้สุทธิถึงเกณฑ์ไม่ต้องเสียภาษี ในกรณีนี้หลายคนอาจคิดว่าก็ดีแล้วที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ความจริงคือเราถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปตั้งแต่แรกแล้ว ถ้ารายได้เราไม่ถึงเราจะไม่สามารถขอคืนภาษีได้ ในขณะที่ทั้งคู่มีรายการที่ใช้หักลดหย่อนภาษีได้มาก แบบนี้ถ้าแยกยื่นอาจเสียประโยชน์ ควรร่วมยื่นนำรายได้ทั้งสองมารวมกัน และยื่นทีเดียว และนำรายการหักลดหย่อนภาษีได้ไปหักเพื่อขอภาษีในส่วนนี้คืน ไม่เสียสิทธิ์
  • แยกยื่นแล้วต้องเสียภาษีมากกว่าการยื่นร่วม ในกรณีที่รายได้ของคู่สมรสและตัวเราเองมีไม่มาก แต่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี การแยกยื่นเราจะต้องเสียภาษีมากกว่าการยื่นร่วม และรายการที่หักลดหย่อนอาจจะกระจัดกระจาย แบบนี้ควรยื่นร่วมกัน แต่ต้องพิจารณาว่ายื่นร่วมแล้วยังอยู่ในฐานภาษีเดิม และนำรายการลดหย่อนมารวมกันหักลดหย่อนได้อย่างเต็มที่จะดีกว่า

กรณีที่สาม “ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินได้ประเภทเงินเดือนสูง”


ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินได้ประเภทเงินเดือนสูง แนะนำยื่นรวมเฉพาะเงินได้ประเภทอื่น แต่ให้แยกยื่นเงินเดือนออกมา โดยกรณีที่คู่สามีภรรยาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินได้ประเภทเงินเดือนสูง และอาจมีเงินได้ประเภทอื่น ๆ บ้าง เช่น รายได้จากค่าเช่า รายได้จากเงินปันผลหุ้น ค่าคอมมิชชั่นจากงานเสริม ถ้าคู่สมรสมีฐานภาษีสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง แนะนำให้ฝ่ายที่มีเงินเดือนสูงยื่นแบบเสียภาษีเฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือนในชื่อของตนเอง แล้วนำเงินได้ประเภทอื่นไปยื่นรวมกับคู่สมรสแทน วิธีการนี้จะช่วยให้ฐานภาษีของตนเองลดลง และทำให้โดยรวมแล้วทั้งคู่จะเสียภาษีน้อยกว่าการแยกยื่น

อย่างไรก็ตามการจะเลือกว่าควรยื่นเสียภาษีแบบใดนั้นต้องพิจารณาฐานภาษีเงินได้ของตนเอง และคู่สมรสเป็นหลัก ถ้าการแยกยื่นจะทำให้เราเสียประโยชน์การขอคืนดังกรณีข้างต้น ก็แนะนำให้ยื่นร่วมกันจะดีกว่า แต่หากการยื่นร่วมกันจะทำให้ฐานภาษีสูงขึ้น และต้องจ่ายภาษีมากขึ้น แบบหลังแนะนำให้แยกยื่นจะดีที่สุด

ฐานภาษีใหม่ในปี 2560

สำหรับฐานภาษีใหม่ในปี 2560 มีดังต่อไปนี้

รายได้ อัตราภาษีที่ต้องเสีย
รายได้ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 5
รายได้เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ร้อยละ 10
รายได้เกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 750,000 บาท ร้อยละ 15
รายได้เกิน 750,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท ร้อยละ 20
รายได้เกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท ร้อยละ 25
รายได้เกิน 2,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท ร้อยละ 30
รายได้เกิน 5,000,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 35

ทั้งนี้ฐานภาษีใหม่จะเริ่มใช้ภายในปี 2560 ดังนั้น เราควรวางแผนการเสียภาษี และมองหาการลงทุนเพื่อนำมาหักลดหย่อนภาษีไว้ล่วงหน้า แม้ฐานภาษีใหม่จะดูต่ำกว่าเก่า แต่จะมีการซอยระดับรายได้ของเราให้ถี่ขึ้น ถ้ารายได้เราโตเร็วก็จะต้องเสียภาษีในฐานใหม่เร็วกว่าที่เราคาดคิด ควรวางแผนแต่เนิ่น ๆ จะได้ไม่ต้องมาปวดหัวทีหลัง ถ้าวางแผนดีนอกจากจะประหยัดภาษีได้แล้ว ยังสบายใจอีกด้วยนะครับ

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

เงินได้ประเภทที่ 2 คือ เงินได้พึงประเมิน ในรูปของ เงินค่าจ้างทั่วไป ค่าคอมมิชชั่น หรือค่าตอบแทนที่คุณไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้านายลูกน้อง ที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(2)1

อย่างไรก็ดี ถ้าคุณมีคู่สมรสที่จะแยกยื่นภาษีเองอยู่แล้ว คุณสามารถเลือกให้คู่สมรสนำเงินได้ประเภทนี้ของคุณไปยื่นเป็นรายได้ของเขาแทนก็ได้2

การหักค่าใช้จ่าย

เงินได้ประเภทที่ 2 จะหัก ค่าใช้จ่าย ได้วิธีเดียว คือ หักแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน ฿100,0003

แต่ถ้ามีทั้งเงินได้ประเภทที่ 2 และ เงินได้ประเภทที่ 1 (เช่น เงินเดือนจากงานประจำ) ด้วย จะหักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมาได้เพียงวิธีเดียว โดยหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกัน แต่จะหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดไม่เกิน ฿100,0004

(เงินได้ประเภทที่ 1 + เงินได้ประเภทที่ 2) x 50% = ค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน ฿100,000

ดังนั้น วิธีคิดง่ายๆ คือ ทันทีที่เรามีเงินได้ประเภทที่ 1 และ เงินได้ประเภทที่ 2 รวมกันเกิน ฿200,000 คุณจะหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดแค่ ฿100,000 เท่านั้น

ตัวอย่าง

ถ้าคุณมีเงินได้จากค่านายหน้าตลอดท้ังปี ฿360,000 เมื่อกฎหมายอนุญาตให้คุณหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ได้เพียงทางเดียวเท่าน้ัน คุณจึงน่าจะหักค่าใช้จ่ายสำหรับค่านายหน้าของคุณได้

฿360,000 x 50% = ฿180,00

แต่เนื่องจากกฎหมายกำหนดเพดานให้หักค่าใช้จ่ายสำหรับค่านายหน้าได้สูงสุดเพียง ฿100,000 ดังน้ัน เราจึงหักค่าใช้จ่ายสำหรับค่านายหน้าได้

-฿180,000- ฿100,000 เท่าน้ัน

อะไรเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 ได้บ้าง?

โดยทั่วไป เงินได้ประเภทที่ 2 จะครอบคลุมถึงรายได้ในรูปค่าตอบแทนการรับจ้างทั่วไปที่คุณไม่มีความสัมพันธ์เป็นเจ้านายลูกน้อง และไม่เข้าข่าย การประกอบวิชาชีพอิสระ เช่น

  • ค่านายหน้า ค่าคอมมิชชั่น หรือค่าตอบแทนของเซลส์แมน, ตัวแทนประกันชีวิต, นักธุรกิจขายตรง, นักธุรกิจเครือข่าย และอาชีพอื่นที่คุณไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือลูกน้อง
  • ค่าตอบแทนของพริตตี้, พิธีกร, Model, MC, PG, PC ตามงานโชว์ตัวหรืองาน Event ต่างๆ
  • รับงานรีวิวสินค้า หรือ Advertorial หรือ Sponsored post ในโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, Twitter, Youtube
  • ค่าปรึกษาของผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพแพทย์/พยาบาล, ที่ปรึกษากฎหมาย, วิศวกร, สถาปนิก, นักบัญชี หรือนักประณีตศิลปกรรม
  • ผู้ว่าจ้างหาที่อยู่ให้โดยไม่คิดค่าเช่า หรือออกเงินค่าเช่าบ้านให้ (ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างของคุณไม่ใช่หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ) ซึ่งเบื้องต้นจะคิดเป็นมูลค่า 20% ของค่าจ้างตลอดทั้งปี5
  • ผู้ว่าจ้างเคลียร์ภาระหนี้สินให้คุณ
  • เบี้ยประชุม ค่าสอน ค่าสอบที่หน่วยงานเอกชนจ่ายให้คุณ
  • ค่าปรึกษาของผู้ประกอบวิชาชีพอิสระที่ไม่ได้คิดตามความยากง่ายและปริมาณงาน เช่น ค่าวิชาชีพทางการแพทย์/พยาบาลอื่นๆที่เหมาจ่ายเป็นรายเดือน หรือไม่เข้าข่ายการประกอบวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6)
  • ค่าจ้างการสร้างผลงานที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา และสุดท้ายผู้ว่าจ้างจะเป็นเจ้าของสิทธิ์ขาดในงานนั้น เช่น รับจ้างเขียนคอลัมน์, แต่งเพลง, เขียน website, software ฯลฯ
  • ค่าตอบแทนของผู้ประกาศข่าว โฆษก พิธีกร นักจัดรายการวิทยุ นักจัดรายการในสถานบันเทิง ผู้บรรยายหรือนักพากย์ ผู้จัดการส่วนตัวของนักแสดงสาธารณะ ผู้กำกับการแสดง ผู้จัดการทีมกีฬา ผู้ฝึกสอนนักกีฬาหรือบุคคลที่ทำหน้าที่ทำนองเดียวกัน
  • เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับจากผู้ว่าจ้างและเกี่ยวข้องกับการรับจ้างทั่วไป

ไม่ว่าคุณจะประกอบอาชีพอะไร มีรายได้มาจากช่องทางไหนบ้าง คุณจะต้องให้ความสำคัญกับการคำนวณและวางแผนภาษีด้วย และหากคุณไม่รู้ว่าจะต้อง คำนวณภาษี หรือ วางแผนภาษีจากตรงไหน คุณสามารถใช้บริการ iTAX application เพื่อคำนวณภาษีและวางแผนภาษีได้แม้ไม่มีความรู้เรื่องภาษีเลยก็ตาม นอกจากนี้ คุณยังสามารถ ค้นหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี ได้อีกด้วย อยากรู้ว่ารายได้แบบเรา ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ คลิกเลย!!


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 40(2) ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    ข้อ 2.2 หน้า 2-3 คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา (ฉบับที่ 2),www.rd.go.th

  3. ^

    มาตรา 42 ทวิ ประมวลรัษฎากร

  4. ^

    มาตรา 42 ทวิ ประมวลรัษฎากร

  5. ^

    คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 23/2533