แอร์ split type กับ wall type

แอร์บ้านกับแอร์โรงงาน ต่างกันอย่างไร

ตามหัวข้อเลยครับ แอร์บ้านกับแอร์โรงงานต่างกันอย่างไรครับ

ขนาดห้อง 3x3x2.5 เมตร ผมเลือกที่ 12,000 btu เท่ากัน  จะมีชนิดของแอร์ต่างกันหรือเปล่าครับ
คือผมติดแอร์ในห้องทำงานในโรงงาน ใช้แอร์แบบติดผนัง ช่างแอร์ในโรงงานบอก เอาแอร์บ้านมาติดไม่ได้ ต้องใช้แอร์โรงงานเพราะเปิด 24 ชั่วโมง ความทนทานไม่เหมือนกัน

แล้วเค้าก็อธิบายชนิดของแอร์บ้าน แอร์โรงงาน ว่าเป็นแบบตามรูปนี้ครับ

รูปนี้แอร์โรงงาน
v

แอร์ split type กับ wall type

ส่วนแบบนี้แอร์บ้าน
v

แอร์ split type กับ wall type

คำถาม

คือ
- ตามรูปด้านบน มันคนละชนิดกันหรอครับ(แอร์บ้านแอร์โรงงาน) ผมว่ามันต่างกันแค่ติดผนังกับแขวนใต้ฝ้านะ
- ในรูปที่ช่างบอกว่าเป็นแอร์โรงงาน มันเป็นแอร์โรงงานจริงๆหรอครับ
- ขอความรู้เกี่ยวกับ หลักการทำงาน การใช้งาน แอร์บ้าน แอร์โรงงาน แอร์สำนักงาน ต่างกันตรงไหนครับ

แก้ไข อธิบายคำถามให้ชัดเจน

แอร์ split type กับ wall type

หลังจากเราทราบ วิธีการเลือกใช้คอยล์ร้อน (CDU) ของระบบปรับอากาศแบบ VRF ไปแล้ว วันนี้ HARN จะพาทำความรู้จัก ประเภทและวิธีการเลือกใช้คอยล์เย็น (FCU) แบบติดผนังของระบบปรับอากาศ VRV/VRF กันครับ

คำว่าคอยล์เย็นเป็นคำเรียกง่ายๆ ที่เอาไว้ใช้พูดคุย  ส่วนชื่อที่เป็นทางการจะเรียกว่า เครื่องเป่าลมเย็น  ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Fancoil Unit และใช้ตัวย่อว่า FCU ต่อไปนี้เราจะเรียกคอยล์เย็นว่า FCU นะครับ เพราะเป็นคำที่คนในวงการเครื่องปรับอากาศนิยมใช้เรียกกัน  และในแบบ Drawing ก็มักจะใช้คำว่า FCU ระบุลงไปบนคอยล์เย็นแต่ละเครื่อง  เวลาท่านไปเห็นในแบบ Drawing ท่านจะได้เข้าใจ

บางครั้งเราจะพบว่ามีการเรียก FCU ว่า Indoor Unit และย่อว่า IDU ก็สามารถใช้เรียกได้เช่นกัน  ซึ่งคำว่า Indoor Unit หมายถึง เครื่องที่อยู่ภายในอาคาร  เหตุที่ใช้คำนี้เพราะว่าบางประเทศที่ฤดูหนาวมีอุณหภูมิหนาวกว่าบ้านเรา เช่น ต่ำกว่า 15  °C  จะใช้ระบบปรับอากาศ VRV/VRF ชนิดที่สามารถทำความร้อนได้ด้วยหรือเรียกว่าสามารถทำงานใน Mode Heating  และพอถึงฤดูร้อนระบบก็สามารถเปลี่ยนกลับมาทำความเย็นหรือเรียกว่าทำงานใน Mode Cooling  ฉะนั้นแล้วการเรียก FCU ซึ่งหมายถึงเครื่องเป่าลมเย็นจึงไม่ถูกต้อง เพราะในขณะที่ระบบอยู่ใน Mode Heating  เครื่องนี้จะเป่าลมร้อนออกมา การเรียกเครื่องนี้ว่า Indoor Unit จึงเหมาะสมกว่าเพราะสามารถเรียกได้ถูกต้องทุกสภาวะ

ส่วน CDU หรือคอยล์ร้อนก็เช่นกัน  ในขณะที่ระบบทำงานใน Mode Heating  นั้น CDU จะเป่าลมเย็นออกมาแทนที่จะเป็นลมร้อน   ฉะนั้นการเรียกเครื่องนี้ว่า CDU หรือคอยล์ร้อนจึงไม่ถูกต้อง  เขาจึงเรียกว่า Outdoor Unit หรือ ODU แทน ซึ่งหมายถึงเครื่องที่อยู่นอกอาคาร

ในระบบปรับอากาศ VRV/VRF นั้น CDU สามารถต่อกับ FCU ได้หลายเครื่อง  FCU แต่ละเครื่องจะมี Remote Control ของใครของมัน  และมีอิสระในการตั้งค่าต่าง ๆ ตั้งแต่

  • การตั้งอุณหภูมิ
  • การตั้งแรงลม
  • การตั้ง Weekly Schedule
  • เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะมี Alarm Code ปรากฎขึ้นที่หน้าจอทำให้ประหยัดเวลาในการวิเคราะห์หาสาเหตุ  
  • นอกจากนี้ Remote Control ยังมีให้เลือกทั้งแบบมีสายและแบบไร้สายแล้วแต่ความชอบ

ถ้าพูดถึงหน้าตา FCU แล้วจะมีให้เลือกถึง 10 แบบ ได้แก่ แบบติดผนัง แบบคาสเส็ท 4 ทิศทาง แบบมินิคาสเส็ท 4 ทิศทาง  แบบคาสเส็ท 2 ทิศทาง  แบบคาสเส็ท 1 ทิศทาง แบบท่อลม แบบแขวนใต้ฝ้า แบบตั้งพื้น แบบตั้งพื้นชนิดซ่อน และแบบคอนโซล  วันนี้เรามาเจาะลึกกันแบบติดผนังกันครับ

FCU แบบติดผนัง (Wall Mounted Type)

แอร์ split type กับ wall type

เห็นหน้าตาแล้วทุกท่านคงจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี  เพราะเป็นหน้าตาแบบที่เรานิยมใช้ในบ้านและในอาคารหลากหลายประเภท  มีขายทั่วไปตามร้านขายแอร์และห้างสรรพสินค้าหรือแม้กระทั่งใน Online Shop  แต่ต้องเรียนก่อนนะครับว่านั่นเป็นแอร์คนละระบบกัน  ระบบนั้นจะเรียกว่าแอร์ Split Type ซึ่งหมายถึง CDU 1 ตัวจะต่อกับ FCU ได้แค่ 1 ตัวเท่านั้น  และถึงแม้ว่าหน้าตาจะเหมือนกันก็ไม่สามารถใช้แทนกันได้  สมมติท่านมี FCU ของแอร์ระบบ Split Type เหลืออยู่  ท่านไม่สามารถนำมาต่อกับ CDU ในระบบ VRV/VRF ได้นะครับ  เพราะมันจะสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง  FCU ในระบบปรับอากาศ VRV/VRF จะมีอุปกรณ์ภายในหลายอย่างไม่เหมือนกับระบบปรับอากาศ Split Type อาทิ

  • FCU ของระบบ VRV/VRF จะมีแผงวงจรที่อัจฉริยะกว่าเพราะสามารถรับส่งข้อมูลการทำงานเชิงลึกต่างๆ กับรีโมทคอนโทรล กับ CDU และกับระบบควบคุมส่วนกลางได้ ข้อมูลดังกล่าวได้แก่ อุณหภูมิลมกลับ อุณหภูมิที่ตั้ง  อุณหภูมิน้ำยาในสถานะของเหลว อุณหภูมิน้ำยาในสถานะแก๊ส อัตราส่วนการเปิดของ EEV (Electronic Expansion Valve)  ซี่งข้อมูลเหล่านี้มีความจำเป็นสำหรับการวิเคราะห์อาการของระบบปรับอากาศ  

การที่ FCU ของระบบปรับอากาศ VRV/VRF สามารถรับส่งข้อมูลกับระบบควบคุมส่วนกลางของระบบปรับอากาศ VRV/VRF ได้ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้บริหารอาคารเพราะสามารถใช้ระบบควบคุมส่วนกลางสั่งบังคับการทำงานของ FCU แต่ละเครื่องได้ เช่น สามารถล็อกอุณหภูมิขั้นต่ำของ FCU เพื่อให้ผู้ใช้งานไม่สามารถตั้งอุณหภูมิต่ำเกินไปเพื่อการประหยัดพลังงาน เป็นต้น ในขณะที่ FCU ของระบบปรับอากาศ Split Type นั้นไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบควบคุมส่วนกลางของระบบ VRV/VRF ได้

FCU แบบติดผนังในระบบปรับอากาศ VRV/VRF นั้นมีขนาดให้เลือกตั้งแต่ 5,800 Btu/h ถึง 28,000 Btu/h (อ้างอิงจากผลิตภัณฑ์ Hisense) จึงเหมาะที่จะใช้กับห้องขนาดกลางและขนาดเล็ก  ถ้าคำนวณคร่าวๆ แล้ว FCU ขนาด 28,000 Btu/h จะสามารถรองรับห้องขนาดประมาณ 30 ตร.ม. ถ้าห้องใหญ่กว่านี้แนะนำให้ท่านเลือกใช้ FCU แบบอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า 28,000 Btu/h จะดีกว่าเพื่อที่ท่านจะได้ไม่ต้องติดตั้ง FCU แบบ Wall Mounted Type จำนวน 2 เครื่องซึ่งยุ่งยากกว่าและมีต้นทุนค่าเครื่องและค่าติดตั้งโดยรวมสูงกว่า

ท่านสามารถใช้ FCU แบบ Wall Mounted Type กับห้องได้หลากหลายประเภท แต่ให้พึงระวังอยู่ห้องหนึ่งคือ ห้องนอน  ถ้าท่านเป็นคนที่มีความอ่อนไหว (Sensitive) กับเสียงขณะนอนหลับ  หมายถึง ถ้ามีเสียงรบกวนนิดหน่อยท่านก็ไม่สามารถนอนหลับได้แล้ว  เราขอแนะนำให้ท่านหลีกเลี่ยงที่จะใช้ FCU แบบ Wall Mounted Type เพราะว่าในขณะที่ EEV (Electronic Expansion Valve) ซึ่งอยู่ใน FCU มีการปรับปริมาณการฉีดน้ำยา  บางจังหวะจะเกิดเสียงดัง ชึ๊ดดดดดดด เบาๆ บางท่านที่ Sensitive อาจจะได้ยิน  แต่บางท่านที่ไม่ Sensitive ก็อาจจะไม่ได้ยิน 

แอร์ split type กับ wall type

มาถึงจุดนี้ท่านอาจจะสงสัยว่าเหตุใด FCU แบบ Wall Mounted Type ในระบบปรับอากาศแบบ Split Type ถึงไม่มีปัญหานี้และก็นิยมใช้ในห้องนอนอย่างแพร่หลายด้วย เราขอชี้แจงดังนี้ครับ ในระบบปรับอากาศแบบ Split Type ที่เป็นแบบ Wall Mounted Type นั้น EEV จะอยู่ใน CDU ครับ ไม่ได้อยู่ที่ FCU เพราะผู้ผลิตต้องการหลีกเลี่ยงเสียงฉีดน้ำยาที่อาจจะดังในห้องนอนนั่นเอง  เมื่อ EEV ฉีดย้ำยาแล้วน้ำยาจะเย็นลงและเดินทางจาก CDU ไปหา FCU ในอาคาร 

EEV (Electronic Expansion Valve)

ถ้าจะพูดถึงเรื่องนี้ให้กระจ่างและครบถ้วนนะครับ  ขออธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับแอร์ Split Type ดังนี้ครับ ในระบบปรับอากาศแบบ Split Type ที่เป็นชนิด Inverter จะใช้อุปกรณ์ลดแรงดันเป็น EEV เช่นเดียวกับระบบปรับอากาศ VRV/VRF แต่ถ้าเป็นระบบปรับอากาศ Split Type ที่ไม่ใช่ Inverter จะใช้เพียงแค่ Capillary Tube เท่านั้น แต่ก็มีเสียงดังเช่นเดียวกับ EEV ผู้ผลิตจะติดตั้ง Capillary Tube ไว้ใน CDU แทนที่จะเป็น FCU เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเสียงดังเช่นเดียวกัน  การติดตั้งอุปกรณ์ลดแรงดันไม่ว่าจะเป็น EEV หรือ Capillary Tube ไว้ที่ CDU นั้นก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไปนะครับ  ข้อด้อยก็มี คือทำให้ระยะท่อน้ำยาที่เชื่อมระหว่าง CDU กับ FCU นั้นทำได้สั้นลง  ไม่สามารถเดินไกลมากได้  ฉะนั้นผู้ผลิตจึงต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้งาน ถ้าเป็น FCU แบบ Wall Mounted Type นั้นมักจะใช้ในบ้านและในห้องนอน จึงต้องคำนึงถึงเรื่องเสียงรบกวนเป็นหลัก ผู้ผลิตจึงเอาอุปกรณ์ลดแรงดันไปไว้ที่ FCU แต่ถ้าเป็น FCU แบบอื่นๆที่ใช้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม  ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องเสียงฉีดน้ำยา  จึงเอาอุปกรณ์ลดแรงดันไปไว้ที่ FCU เพื่อให้เดินท่อน้ำยาได้ไกล

 ในระบบปรับอากาศ VRV/VRF นั้นไม่สามารถย้าย EEV จาก FCU มาไว้ที่ CDU ได้เนื่องจากว่าในระบบปรับอากาศ VRV/VRF นั้น CDU จะเชื่อมต่อกับ FCU จำนวนมาก  ซึ่ง EEV ที่อยู่ใน FCU แต่ละเครื่องนั้นจะทำหน้าที่ปรับปริมาณการฉีดน้ำยาให้เหมาะสมกับห้องนั้นๆ  ลองคิดเล่นๆนะครับว่าถ้าผู้ผลิตย้าย EEV จาก FCU ทั้งหมดในระบบมาไว้ที่ CDU จะเกิดอะไรขึ้น   CDU ตัวนั้นจะต้องมีท่อน้ำยาต่อออกมาจำนวนมากมายมหาศาลเลยใช่ไหมครับ  สมมติในระบบมี FCU อยู่ 20 เครื่อง ก็แปลว่าจะต้องมีท่อน้ำยาถึง 20 คู่ต่อออกมาจาก CDU และก็เดินเข้าไปหา FCU ทางใครทางมัน  มิหนำซ้ำยังเดินได้แค่ 20-30 เมตร แทนที่จะเป็น 165 เมตรเหมือนในปัจจุบัน  จะเห็นว่าระบบแบบนี้ไม่ใช่ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ที่ดีแล้วใช่ไหมครับ   

การเลือก FCU ในระบบปรับอากาศ VRV/VRF สำหรับห้องนอนแล้วเราขอแนะนำให้ท่านเลือก FCU แบบที่ตัวเครื่องถูกติดตั้งอยู่บนฝ้า อาทิเช่น FCU แบบคาสเส็ท 1 ทิศทาง, FCU แบบคาสเส็ท 4 ทิศทาง, หรือ FCU แบบท่อลม  ปัญหาเรื่องเสียงฉีดน้ำยาก็จะไม่มีเพราะว่าเสียงจะอยู่บนฝ้าไม่สามารถลงมาได้  เสียงฉีดน้ำยานี้อันที่จริงเป็นเสียงที่เบามากนะครับ  ต้องเปิดฝาเครื่องแล้วเอาหูไปจ่อใกล้ๆตัว EEV ถึงจะได้ยิน 

แอร์ split type กับ wall type

การเลือกใช้ FCU แบบ Wall Mounted Type นี้ต้องคำนึงถึงแนวทางการเดินท่อน้ำทิ้งให้ดีเพราะในเครื่องจะไม่มีปั๊มน้ำสำหรับส่งน้ำทิ้งขึ้นไปบนฝ้าก่อน  ทำให้ต้องเดินท่อน้ำทิ้งลาดลงจากตัวเครื่องเลยเพื่อให้สามารถระบายน้ำออกไปได้ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก  ถ้าติดตั้ง FCU ที่ผนังภายนอกก็จะสะดวกเพราะสามารถเจาะผนังให้ท่อน้ำทิ้งเดินออกไปนอกอาคารได้เลยแล้วค่อยหาจุดลงอีกที  

แอร์ split type กับ wall type

แต่ในทางปฎิบัติแล้วอาคารที่เลือกใช้ระบบปรับอากาศ VRV/VRF มักจะมีขนาดแบบแปลนที่ค่อนข้างใหญ่  ฉะนั้นแล้วจึงมีห้องหลายห้องที่อยู่บริเวณส่วนกลางของแบบแปลน   ถ้าท่านเลือกใช้ FCU แบบ Wall Mounted Type ในห้องเหล่านี้ท่านจึงจำเป็นต้องเดินท่อน้ำทิ้งเป็นระยะทางยาวเพื่อไปหาจุดลงให้ได้ 

แอร์ split type กับ wall type
ภาพแสดงแบบแปลนของโรงแรมแห่งหนึ่งที่ใช้ระบบปรับอากาศ VRF ผลิตภัณฑ์ Hisense

ผู้ติดตั้งจำเป็นต้องประสานงานกับช่างก่อสร้างให้ดีเพื่อให้สามารถเดินท่อน้ำทิ้งฝังในผนังก่อนที่จะฉาบปูนเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยสวยงามหลังจากปิดผนังแล้ว

แอร์ split type กับ wall type

การเลือก FCU ระบบปรับอากาศ VRV/VRF สำหรับห้อง Server

มีห้องประเภทหนึ่งที่เหมาะที่จะใช้ FCU แบบติดผนังคือ ห้อง Server ขนาดเล็ก เพราะว่าการล้างหรือซ่อม FCU สามารถทำได้สะดวก  ไม่ต้องกังวลว่าจะมีน้ำหยดลงบน Server หรือไม่  เพราะ FCU ไม่ได้ถูกติดตั้งอยู่ด้านบนของ Server นอกจากนี้ทิศทางการจ่ายลมก็เหมาะสมกับ Server เพราะว่าลมเย็นจะถูกจ่ายเฉียงลงไปหา Server โดยตรงเพื่อระบายความร้อนให้ Server  หลังจากนั้น Server จะเป่าลมร้อนออกมาด้านหลังหรือด้านบน  ลมร้อนจะลอยขึ้นเนื่องจากอากาศที่ร้อนจะมีน้ำหนักเบากว่าอากาศที่เย็น  ด้านดูดของ FCU แบบติดผนังจะอยู่ด้านบนจึงสอดรับกันพอดีเพราะจะดูดลมร้อนกลับไปที่ตัวเครื่องได้เลยโดยที่ลมร้อนและลมเย็นจะไม่ผสมกัน  การจัดทางเดินของอากาศถ้าทำได้ดี มิให้ลมร้อนและลมเย็นผสมกันจะทำให้เกิดการแยกตัวเป็นช่องทางเดินเย็น (Cold Aisle) และช่องทางเดินร้อน (Hot Aisle)

แอร์ split type กับ wall type
ตัวอย่างการติดตั้ง Wall Mounted Type FCU ในห้อง Server ขนาดเล็ก

การที่ลมเย็นที่เป่าออกจาก FCU สามารถจ่ายตรงไปที่ Server ได้โดยที่ไม่ถูกลมร้อนมาผสมก่อนเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะสามารถระบายความร้อนให้ Server ได้มาก  ปกติลมเย็นที่จ่ายออกจาก FCU ที่ปากเครื่องจะมีอุณหภูมิประมาณ 12c – 15 °C   ถ้าการจัดเรียงแนวทางการเดินลมไม่ดีจนทำให้มีลมร้อนมาผสมก่อน  ลมเย็นจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก เช่นกลายเป็น 22c – 30 °C   ได้  จะเกิดการลดทอนความสามารถในการระบายความร้อนให้ Server เป็นอย่างมาก  เปรียบเสมือนการที่ Server เป่าลมร้อนออกมาและดูดลมร้อนกลับมาหาตัวเองอีกครั้งซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดี

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับ FCU แบบติดผนังสำหรับระบบปรับอากาศ VRV/VRF หวังว่าบทความนี้จะทำให้ท่านทราบแนวทางการเลือกใช้ FCU แบบติดผนังมากขึ้นนะครับ หากท่านสนใจระบบปรับอากาศ VRV/VRF  ติดต่อเราได้ที่นี่ครับสำหรับบทความหน้าเราจะมาพูดคุยกันต่อถึง FCU แบบอื่นๆกันบ้างนะครับ  แล้วพบกันครับ

ติดตาม Harn Engineering Solutions

เรามีบทความดีๆ และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์