สมเด็จหลวงพ่อพรหมหลังยันต์สิบ

Pinterest

Today

Watch

Explore

When autocomplete results are available use up and down arrows to review and enter to select. Touch device users, explore by touch or with swipe gestures.

Explore

Education

Subjects

สมเด็จหลวงพ่อพรหมหลังยันต์สิบ

Save

Uploaded to Pinterest

Buddha Image

พระสมเด็จเนื้อระฆังหลังยันต์สิบ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์

สมเด็จหลวงพ่อพรหมหลังยันต์สิบ

ช. เหลือง

2k followers

More information

พระสมเด็จเนื้อระฆังหลังยันต์สิบ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์

Find this Pin and more on พระเครื่อง by Khanpasith.

Buddha Image

Monk

Amulet

Dog Tags

Dog Tag Necklace

Treasures

Small

Jewelry

Jewlery

More information

พระสมเด็จเนื้อระฆังหลังยันต์สิบ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์

Find this Pin and more on พระเครื่อง by Khanpasith.

More like this

พระสมเด็จหลังยันต์สิบ หลวงพ่อพรหม (เนื้อทองระฆัง) ปี 2516 วัดช่องแค จ.นครสวรรค์

พระสมเด็จเนื้อทองระฆังหลังยันต์สิบ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค..จัดสร้างใน ปี 2516 พระสวยประกันแท้-ผิวเดิม-ไม่แตกไม่ราน สวยคมสมบูรณ์..

(พร้อมบัตรรับรองมาตราฐาน K Card รหัส/Code 09767 วันที่ออกบัตร 26 มีนาคม 2563 โดย เก่ง คลองขวาง)

พระสมเด็จเนื้อทองระฆังหลังยันต์สิบ หลวงพ่อพรหม..จัดสร้างจำนวนน้อยเพียง 2,000 องค์เท่านั้น.

"หลวงพ่อพรหม ถาวโร" สุดยอดเกจิอาจารย์ขลังอีกองค์หนึ่ง ซึ่งคงความเป็นอมตะยอดนิยมติดต่อมานานตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ ความเลื่อมใสศรัทธาของบรรดาสานุศิษย์ก็ยังไม่เสื่อมคลาย วัตถุมงคลของท่าน ทุกรุ่น..ทุกแบบ ยังคงได้รับความนิยมและเสาะแสวงหากันอยู่ทั่วไป และนับวันจะหายากยิ่งขึ้นไปทุกที....

"หลวงพ่อพรหม ถาวโร" ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปี มะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พศ. 2426 ณ.ตำบลบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บุตรนายหมี-นางล้อมโกสะลัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน

หลวงพ่อพรหม ในขณะเยาว์วัยได้ศึกษา อ่านเขียนกับพระในวัดใกล้บ้าน ศึกษาอักษรขอมควบคู่กับภาษาไทยตั้งแต่ก่อนอุปสมบท เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2447 ได้รับฉายาว่า "ถาวโร" โดยมีหลวงพ่อถม วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมจนชำนาญและเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

หลวงพ่อพรหม เริ่มศึกษาวิชาไสยศาสตร์และคาถาอาคมกับอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ชื่ออาจารย์พ่วง ต่อมาเมื่ออุปสมบทแล้วจึงได้ศึกษาอสุภกรรมฐาน สมถะกรรมฐาน วิปัสสนา จากหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ไม่ทราบวัดอยู่ประมาณ 4 ปี ในพรรษาที่ 5 อาจารย์พ่วง ได้พาไปฝากอาจารย์ปู่วอน ซึ่งเป็นฆราวาส และได้ศึกษาวิชาแขนงต่างๆเป็นเวลา 5 ปีเต็ม จนกระทั่งอาจารย์ปู่วอนถึงแก่กรรม ซึ่งในภายหลังหลวงพ่อพรหมได้นำกระดูกมาเก็บไว้ที่วัดช่องแค จากนั้นหลวงพ่อพรหม ก็ไม่ได้ไปศึกษากับอาจารย์ท่านใดโดยตรงมีแต่ศึกษาแลกเปลี่ยนวิชากับอาจารย์รุ่นพี่และรุ่นเดียวกันในระหว่างธุดงค์ เช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ เป็นต้น

หลวงพ่อพรหม จะเดินธุดงค์ทั้งเส้นทางใกล้และไกล โดยหลวงพ่อเคยเดินธุดงค์ไปประเทศพม่าถึงเมืองร่างกุ้ง และได้มีโอกาสที่มนัสการพระเจดีย์ชะเวดากอง และเดินธุดงค์ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านเทือกเขาน้อยใหญ่ และธุดงค์อยู่ในประเทศพม่าเป็นเวลานาน จึงเดินทางกลับประเทศไทยทางด่านแม่ละเมา จ.ตาก และเดินเรื่อยๆไปจนถึงเขาช่องแค ต.พรหมนิมิตร อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เกิดฝนตกหนัก หลวงพ่อพรหม ได้หลบเข้าไปอยู่ในถ้ำซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงพ่อพรหม เห็นว่าเป็นที่วิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญธรรม จึงเริ่มปลูกต้นไม้แห่งศรัทธาลง ณ. ช่องเขาแห่งนี้

ขณะที่หลวงพ่อพรหมจำศีลปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ที่วัดช่องแคมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่แล้ว 2 รูป แต่ยังไม่มีเจ้าอาวาส ภายในวัดยังไม่มีเสนาสนะใดๆ บริเวณวัดรกร้าง

ต่อมาชาวบ้านในแถวนั้นซึ่งมีความนับถือเลื่อมใสหลวงพ่อได้นิมนต์ให้หลวงพ่อพรหมลงมาจำพรรษาข้างล่าง คือวัดช่องแคในปัจจุบัน หลวงพ่อพรหม จึงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดช่องแค โดยที่ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคที่ดินเพิ่มขึ้น หลวงพ่อพรหมได้เริ่มต้นสร้างวัดจากวัดที่รกร้างไม่มีเสนาสนะใดๆ เมื่อปี 2460 มาเป็นวัดที่มีกุฏิ ศาลาการเปรียญ โรงครัว ซึ่งส่วนหนึ่งของทรัพย์สินมาจากการขายสมบัติส่วนตัวและมรดกของหลวงพ่อเอง ต่อมาเมื่อทางวัดจะสร้างโบสถ์ ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์สูง คณะกรรมการของวัดจึงขอ อนุญาติหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลขึ้น

หลวงพ่อพรหม ชอบระฆัง การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อจึงมีรูประฆังและกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของหลวงพ่อพรหม

หลวงพ่อพรหม ไม่เคยย้ายไปอยู่วัดใดเลยตลอดระยะเวลา 58 ปี โดยที่หลวงพ่อได้ลาออกจากเจ้าอาวาสเมื่อปี 2514 รวมเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องแค 54 ปี เพื่อให้พระปลัดแบงค์ ธมมวโร เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อพรหม มรณภาพเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2518 เมื่อเวลา 15.00 น. ณ โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี รวมอายุได้ 91 ปี 71 พรรษา

หลังจากหลวงพ่อพรหม มรณภาพแล้ว คณะกรรมการวัดได้บรรจุศพของท่านไว้ในโลงแก้ว อยู่บนศาลาการเปรียญ ศพของหลวงพ่อพรหมไม่เน่าเปื่อย มด ไร มอด และ แมลง ไม่ได้รบกวนทำลายชิ้นส่วนใดๆในร่างกายของท่านแม้แต่น้อย คล้ายกับหลวงพ่อนอนหลับอยู่ แม้ว่าท่านจะมรณภาพมาแล้วถึง 30 กว่าปี

สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นคือ หลังจากหลวงพ่อได้มรณภาพแล้วศพของหลวงพ่อไม่เน่าเปื่อย แถมยังมี..
1.เส้นผมงอกยาว 5-6 มม.
2.เส้นขนคิ้วงอกยาว 5-6 มม.
3.เส้นขนตางอกยาว 1 ซม.
4.หนวดงอกยาว 5-6 มม.
5.เคราใต้คางยาว 5-6 มม.
6.เล็บมืองอกยาว 1 ซม.
7.เล็บเท้างอกยาว 4-5 มม.

หลวงพ่อพรหม มีวิธีการปลุกเสกวัตถุมงคลไม่เหมือนใคร ส่วนใหญ่หลวงพ่อจะปลุกเสกในบาตร ถ้ามีเทียนชัยจะจุดเทียนชัยหยดน้ำตาเทียนลงในบาตรน้ำมนต์แล้วนำเทียนชัยวนรอบๆ 9 รอบ แล้วจึงนำดินสอพองมาเจิมที่วัตถุมงคล เอามือคนไปรอบๆโดยที่หลวงพ่อลืมตาเพ่งกระแสจิตอัดพลังแล้วจึงนำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมวัตถุมงคลทั้งหลายแล้วหลวงพ่อจับบาตรใส่วัตถุมงคล เพ่ง กระแสจิตอีกครั้งจนกระทั่งวัตถุมงคลเหล่านั้น มีรังสีพุ่งออกมา จึงนำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมอีกครั้งเป็นเสจ็รพิธี

ดังนั้นเราจะสังเกตุได้ว่าพระเนื้อผงของหลวงพ่อจะมีรอยบิ่น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เพราะเกิดจากหลวงพ่อเอามือคนในบาตร ดังนั้นพระที่มีรอยบิ่นจึงสันนิษฐานได้ว่า ได้สัมผัสกับมือหลวงพ่อโดยตรง

ขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครสวรรค์

+ พุทธคุณ+
" ฉันใส่ไปหมดทุกอย่าง เมตตา-มหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน โชคลาภ มีอย่างเดียว ที่กันไม่ได้ คือกันคนอิจฉาริษยา เพราะฉันไม่มีคาถาห้ามปากและใจคน "

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หลวงพ่อพรหม มรณภาพเมื่อ วันที่ 30 มกราคม 2518 ณ โรงพยาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี รวมสิริอายุได้ 91 ปี พรรษา 71

คลิ๊กที่รูปบ้าน-(ดูหน้าร้าน)
หรือตามลิ้งค์ http://www.web-pra.com/Shop/jamadevi53
เผื่อเจอพระที่ท่านถูกใจ..085-9891660