วงมโหรีเครื่องเดี่ยว ประวัติ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : วงมโหรี

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความ

ปีที่พิมพ์ : 2555

มูลเพิ่มเติม : ได้ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง  กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์  จรรยาวุฒิ สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

วงมโหรี      เป็นบทความที่   ผศ.สิทธิศักดิ์  จรรยาวุฒิ ผู้สอนในรายวิชาดนตรีปฏิบัติเพื่อธุรกิจบันเทิง    สาขาวิชาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง    ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้เรียบเรียงบทความนี้ ให้กับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อใช้ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง โดยผศ.สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสาขาศิลปะการแสดง ตั้งแต่ปี พ.. 2554 จนถึงปัจจุบัน จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ซึ่ง วงมโหรีได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ใน ปี พ..2555 อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ในการสืบค้นข้อมูลด้านวงเครื่องสายไทย ให้กับผู้สนใจ (นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน)  ได้สืบค้นและนำเป็นอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการต่อไป  โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ  คำนิยามของคำว่า วง มโหรี   ลักษณะสำคัญของวงมโหรี  ประเภทของวงมโหรี โอกาสในการบรรเลง  บทเพลงที่นิยมบรรเลงด้วยวงมโหรี  ประกอบด้วย  เพลงโหมโรง เพลงเถา เพลงตับ เพลงใหญ่ เพลงลูกล้อลูกขัด  เพลงเกร็ด เพลงลา  วิวัฒนาการ  สภาพปัจจุบันและแนวโน้มของวงมโหรี  บุคคลที่มีชื่อเสียงและเกี่ยวข้องกับวงมโหรีของประเทศไทย


 

วงมโหรี

        สิทธิศักดิ์    จรรยาวุฒิ

    มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

       วงมโหรี เป็นมรดกวัฒนธรรมไทย ที่สำคัญและทรงคุณค่ายิ่ง มีโครงสร้าง องค์ประกอบ แบบแผน การพัฒนา การสืบทอด มาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน   ในการนำเสนอเนื้อหาสาระของวงมโหรีเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงในครั้งนี้ จะครอบคลุม นิยามลักษณะสำคัญของวงมโหรี ประเภทของวงมโหรี โอกาสในการบรรเลง หน้าที่และความหมายทางสังคมวัฒนธรรม การสืบทอดองค์ความรู้ สภาพการในอดีตจนปัจจุบัน การอ้างอิงนามองค์ศิลปิน และศิลปิน บางพระองค์บางท่านทั้งที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงบางท่านที่ยังคงมีชีวิตและยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ เป็นการนำเสนอข้อมูลในลักษณะภาพรวมที่สำคัญและจำเป็นเพื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมการดนตรีของไทยที่มีการสั่งสมและพัฒนาจนมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นไม่แพ้ชนชาติใด แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณและวิถีความเป็นไทยที่จำเป็นต้องอนุรักษ์และพัฒนาต่อไปให้คงอยู่คู่สังคมไทยได้ในยุคกระแสโลกาภิวัฒน์เฉกเช่นในปัจจุบัน

นิยาม

       วงมโหรีหมายถึงวงดนตรีที่แสดงถึงภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทางการแสดงดนตรีของไทยที่ทรงคุณค่ามีความโดดเด่นด้วยขนบประเพณีวิธีคิดวิธีปฏิบัติมีการดำเนินวิถีทางวัฒนธรรมดนตรีที่หล่อหลอมสืบทอดมาหลายยุคหลายสมัยนับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันมีขอบเขตครอบคลุมถึงการประสมวงดนตรีเครื่องดนตรีรูปแบบการบรรเลงบทเพลงศิลปินผู้บรรเลงขับร้องนักประพันธ์เพลง  โอกาสการนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆและบริบทที่เกี่ยวข้อง สำหรับวงมโหรีที่กำหนดในนิยามนี้ ได้แก่ วงมโหรีเครื่องสาม วงมโหรีเครื่องสี่ วงมโหรีเครื่องหก วงมโหรีเครื่องแปด วงมโหรีเครื่องเก้า วงมโหรีเครื่องสิบ วงมโหรีวงเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่ และวงมโหรีเครื่องใหญ่

ลักษณะสำคัญของวงมโหรี    

       วงมโหรีจัดเป็นวงดนตรีวงหนึ่งของไทยที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องดังปรากฏในงานจิตรกรรมประติมากรรมเช่นภาพปูนปั้นภาพแกะสลัก  ภาพเขียนลายทองบนตู้หนังสือ ฯลฯ ตั้งแต่ครั้งโบราณกาล  สาระจากงานจิตรกรรม ประติมากรรมเหล่านี้เป็นร่องรอยหลักฐานที่ใช้สืบค้นความเป็นมาเป็นไปอันเกิดมีขึ้นในวัฒนธรรมดนตรีของไทยที่ เป็นวิวัฒนาการของวงมโหรีของไทยได้   จิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยามีภาพพุทธประวัติตอนที่ทรงฉัน ปัจฉิมบิณฑบาตรที่บ้านนายจุนทะกัมมารบุตร เมืองปาวา มีภาพเครื่องดนตรีคือ กระจับปี่ ซอสามสาย และทับ (โทน) ปัจจุบันอยู่ที่วังสวนผักกาด กรุงเทพฯ จากภาพจิตรกรรมนี้แสดงให้เห็นว่า เป็นวงมโหรีเครื่องสาม   นอกจากนี้ยังพบภาพแกะสลักวงมโหรีเครื่องสี่อันประกอบด้วย คนสีซอสามสาย คนดีดกระจับปี่ คนตีทับหรือโทน และคนตีกรับที่เป็นผู้ขับลำนำ   ปรากฏอยู่บนฝาตู้ไม้จำหลักสมัยอยุธยา   ตรงกับที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้ว่า มโหรีนั้นเดิมวงหนึ่งมีคนเล่นเพียงสี่คน เป็นคนขับร้องลำนำและตีกรับพวงให้จังหวะเองคนหนึ่ง คนสีซอสามสายประสานเสียงคนหนึ่ง คนดีดกระจับปี่ให้ลำนำคนหนึ่ง คนตีทับ (โทน) ประสานจังหวะกับลำนำคนหนึ่ง สังเกตเห็นได้ชัดว่ามิใช่อื่นคือการเครื่องบรรเลงพิณกับเครื่องขับไม้มารวมกันนั่นเอง เป็นแต่ใช้กระจับปี่ดีดแทนพิณ ตีทับแทนไกวบัณเฑาะว์ และเติมกรับพวงสำหรับให้จังหวะเข้าอีกอย่างหนึ่ง  ในหนังสือจินดามณีเล่ม 1 – 2 หน้า 45 ได้กล่าวถึงวงมโหรีไว้ว่า

นางขับขานเสียงแจ้ว      พึงใจ

  ตามเพลงกลอนกลใน     ภาพพร้อง

  มโหรีบรรเลงไฉน          ซอพาทย์

  ทับกระจับปี่ก้อง             เร่งเร้ารัญจวน

       พิจารณาตามโคลงบทนี้ วงมโหรีนี้มีห้าคนคือ นางขับร้องซึ่งน่าจะตีกรับด้วยคนหนึ่ง คนเป่าปี่หรือขลุ่ยคนหนึ่ง คนสีซอสามสายคนหนึ่ง คนตีทับคนหนึ่ง คนดีดกระจับปี่คนหนึ่ง จึงนับเป็นมโหรีเครื่องห้า จากภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านทิศตะวันตกในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 มีภาพของวงมโหรีเครื่องหก   มีผู้เล่น 6 คนประกอบไปด้วย ซอสามสาย กระจับปี่ โทน รำมะนา ขลุ่ย และคนขับลำนำ   สำหรับมโหรีเครื่องแปดนั้นมีการกล่าวว่าในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีผู้คิดเพิ่มเครื่องดนตรีอีกสองชนิดคือ ระนาดไม้และระนาดแก้ว   จากหลักฐานที่ปรากฏบนตู้ไม้ลายจำหลักเรื่อง ภูริทัตตชาดก สมัยกรุงศรีอยุธยา มีคนเป่าขลุ่ยสองคน และมีคนตีฆ้องวงอีก 1 คน ฆ้องวงที่เพิ่มมานี้ภายหลังปี่พาทย์นำไปผสมในวงปี่พาทย์   อาจสันนิฐานได้ว่าวงมโหรีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจะมีวงมโหรีเครื่องเก้าแล้ว    มีหลักฐานจิตรกรรมฝาผนังวิหารพระนอนตรงเบื้องพระเศียรพระพุทธไสยาสน์ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีผู้เล่นดนตรีสิบคนและบทเพลงยาวไหว้ครูมโหรีครั้งกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า (patakorn, 2554 : ระบบออนไลน์)

ขอพระเดชาภูวนาท พระบาทปกเกล้าเกศี

  ข้าผู้จำเรียงเครื่องมโหรี ซอกรับกระจับปี่รำมะนา

  โทนขลุ่ยฉิ่งฉาบระนาดฆ้อง ประลองเพลงขับกล่อมพร้อมหน้า

  จลเจริญศรีสวัสดิ์ ทุกเวลา ให้ปรีชาชาญเชี่ยวในเชิงพิณ

       ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่ามีมโหรีเครื่องเก้าและมโหรีเครื่องสิบในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้ว

ประเภทของวงวงมโหรี

       วงมโหรีที่นิยมบรรเลงในปัจจุบันนี้ คือวงมโหรีวงเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่  และวงมโหรีเครื่องใหญ่   ส่วนวงมโหรีโบราณนั้นไม่ค่อยจะได้มีโอกาสพบเห็นกันแล้วด้วยหาผู้ดีดกระจับปี่ไม่ได้ แต่ก็มีบางโอกาสที่วงมโหรีเครื่องสี่และวงมโหรีเครื่องหก จะมีการนำมาบรรเลงในวาระพิเศษสำคัญต่างๆ

1.   วงมโหรีเครื่องสี่   จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย1คันกระจับปี่1ตัวโทน1ใบกรับพวง1พวง

2.   วงมโหรีเครื่องหก   จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย1คันกระจับปี่1ตัวโทน1ใบรำมะนา1ใบขลุ่ยเพียงออ1 เลากรับพวง1พวง

3.   วงมโหรีเครื่องแปด   จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย1คันกระจับปี่1ตัวระนาดไม้1รางระนาดแก้ว1รางโทน1ใบรำมะนา1ใบขลุ่ยเพียงออ1เลากรับพวง1พวง

4.   วงมโหรีวงเล็ก   จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย1คันซอด้วง1คันซออู้1คันจะเข้1ตัวขลุ่ยเพียงออ1เลาระนาดเอก1รางฆ้องวงใหญ่1วงโทน   รำมะนา1คู่ฉิ่ง1คู่ฉาบ1คู่กรับ1คู่โหม่ง1ใบ

5.   วงมโหรีเครื่องคู่   จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย1คันซอสามสายหลิบ1คันซอด้วง2คันซออู้2คันจะเข้2ตัวขลุ่ยเพียงออ1เลาขลุ่ยหลิบ1เลาระนาดเอก1รางระนาดทุ้ม1รางฆ้องวงใหญ่1วงฆ้องวงเล็ก1วงโทน1คู่ฉิ่ง1คู่ฉาบ1คู่กรับ1คู่โหม่ง1ใบ

6.   วงมโหรีเครื่องใหญ่   จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย1คันซอสามสายหลิบ1คันซอด้วง2คันซออู้2คันจะเข้2ตัวขลุ่ยเพียงออ1เลาขลุ่ยหลิบ1เลาระนาดเอก1รางระนาดทุ้ม1รางระนาดเอกเหล็ก1รางระนาดทุ้มเหล็ก1รางฆ้องวงใหญ่1วงฆ้องวงเล็ก1วงโทน   รำมะนา1คู่ฉิ่ง1คู่ฉาบ1คู่กรับ1คู่โหม่ง1ใบ


โอกาสในการบรรเลง

       การนำเครื่องดนตรีทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า ที่มีการปรับขนาดของเครื่องตีให้เล็กกว่าที่ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์นั้นเป็นความเหมาะสมลงตัวที่ทำให้การบรรเลงเครื่องดนตรีทุกชิ้นร่วมกันร่วมกันในวงมโหรี   มีสุ้มเสียงนุ่มนวลไพเราะอ่อนหวานน่าฟังประดุจเสียงทิพย์จากสรวงสวรรค์   เพราะมีความดังของเสียงที่พอเหมาะไม่ดังจนเกินไป   เหมาะที่จะใช้บรรเลงภายในอาคารบ้านเรือน หรือสามารถบรรเลงในบริเวณริมอาคารที่เป็นบริเวณโล่งแจ้งก็ทำได้   เหมาะสมกับในการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคลต่างๆ   จึงมักพบวงมโหรีได้ตามงานมงคลต่างๆทั่วไป อาทิ งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ งานวันเกิด งานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ  เป็นต้น   

 

บทเพลงที่นิยมบรรเลงด้วยวงมโหรี

       เพลงโหมโรง

โหมโรงไอยเรศ
โหมโรงปฐมดุสิต
โหมโรงครอบจักรวาล
โหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง
โหมโรงเจิญศรีอยุธยา
โหมโรงแปดบท
โหมโรงมหาฤกษ์
โหมโรงสามม้า (ม้ารำ, ม้าสะบัดกีบ, ม้าย่อง)
โหมโรงขับไม้บัณเฑาะว์
โหมโรงต้องตลิ่งโหมโรงกระแตไต่ไม้
โหมโรงจอมสุรางค์
โหมโรงเยี่ยมวิมาน
โหมโรงรัตนโกสินทร์
โหมโรงมหาราช
โหมโรงนางกราย
โหมโรงราโค
.
โหมโรงมะลิเลื้อย
โหมโรงเพลงเรื่องชมสมุทร

      เพลงเถา

นกเขาขะแมร์ มอญอ้อยอิ่งแขกมอญบางขุนพรมเขมรพวงลาวเสียงเทียนสร้อยมยุราสุรินทราหูแขกกุลิตโสมส่องแสงแขกอาหวังโยสลัมราตรีประดับดาวมอญรำดาบแสนคำนึงแป๊ะสารถีแขกมอญ เขมรปากท่อสร้อยลำปางแขกขาวสุดสงวนนางครวญมอญขว้างดาบอาถรรพ์เขมรพายเรือแขกต่อยหม้อจีนเลือกคู่เขมรโพธิสัตว์เงี้ยวรำลึกโลนอนงค์ไส้พระจันทร์ยอเรแขกสายอาหนูเหราเล่นน้ำครวญหาแขกมอญบางช้างจระเข้หางยาวขอมทรงเครื่องญวนเคล้าเขมรพายเรือขอมเงินมอญชมจันทร์สาวเวียงเหนือพราหมณ์ดีดน้ำเต้าแขกแดงอะแซหวุ่นกี้พม่าเห่จีนขิมเล็กมะลิซ้อนสี่บทหกบทแปดบทเขมรลออองค์ล่องลมกล่อมนารีชมแสงจันทร์เทพรัญจวนพันธ์ฝรั่งลาวกระแซกาเรียนทองลาวสวยรวยสาวน้อยเล่นน้ำเขมรเลียบพระนครแขกเล่นกลแขกสาหร่ายการะเวกทองกวาวหวนคำนึงลมพัดชายเขาขอมใหญ่วายุบุตรยาตรามุล่งขอมโบราณทองย่อนล่องเรือพม่าชมเดือนกัลยาเยี่ยมห้องช้างประสานงาแขกเชิญเจ้าลาวสมเด็จเขมรชนบทนกจากแขกบรเทศนาคบริพัตรลงสรงลาวหงส์ทองระหกระเหินยโสธรกล่อมพญาคู่มอญรำดาบบุหลันพญาสี่เสาครุ่นคิดพราหมณ์เข้าโบสถ์เทพชาตรีแขกไทรสาลิกาชมเดือนตวงพระธาตุสาริกาเขมรต้อยตลิ่งเขมรเหลืองเพชรน้อยลาวเลียบค่ายเต่าเห่พม่าแปลงเทพบรรทมมังกรทองสาวสอดแหวนฝรั่งควงลาวลำปางใหญ่เขมรใหญ่สาลิกาแก้วแสนเสนาะสาวสุดสวยจินตะหราวาตีมอญโยนดาบจระเข้ขวางคลองนารายณ์แปลงรูปจีนขิมใหญ่ใฝ่คนึงกระต่ายเต้นพัดชาภิรมย์สุรางค์ผกากาญจน์เขมรชมดงวิเวกเวหาทักษิณราชนิเวศน์ขอมระทมขอมกล่อมลูกองเชียงสือสุดสายใจน้ำลอดใต้ทรายลมหวนตามกวางกำสรวลสุรางค์เขมรภูมิประสาทสมิงทองกราวรำสีนวลจีนนำเสด็จฝรั่งกลายอนงค์สุชาดานาคเกี้ยวดาวกระจ่างเทพสร้อยสนมหาราชาอศิรวาทชื่มชุมนุมกลุ่มดนตรีนางหงส์

เพลงตับ

วิวาห์พระสมุทรลาวเจริญศรีอะบูหะซันต้นเพลงฉิ่งเย็นย่ำขะแมร์กอฮอมสมิงทองนางซินราชาธิราชมอญคละแม่ศรีทรงเครื่องภุมรินจูล่งพระลอคลั่ง ตับมโหรี

 

เพลงใหญ่ เพลงลูกล้อลูกขัด

พม่าห้าท่อนเชิดจีนโอ้ลาวใบ้คลั่งบังใบแขกโอดแขกลพบุรีทยอยเขมรทยอยลาวเขมรราชบุรีจีนลั่นถันทยอยในทยอยนอก

 

เพลงเกร็ด

ลาวคำหอมเขมรปี่แก้วเขมรปี่แก้วน้อยลาวสมเด็จจระเข้หางยาวทางสักวาจระเข้หางยาวทางดอกสร้อยลาวดวงดอกไม้เขมรอมตึ๊กมอญมอบเรือลาวดำเนินทรายมยุราภิรมย์จีนเก็บบุปผาจีนรำพัดบุหลันลอยเลื่อนมหาฤกษ์มหาชัยนางนาคแขกภารตะแขกฉิ่งญวน ทีโห่

เพลงลา

เต่ากินผักบุ้งปลาทองพระอาทิตย์ชิงดวงนกขมิ้นอกทะเล

วิวัฒนาการ  สภาพปัจจุบันและแนวโน้มของวงมโหรี

       ความนิยมในการบรรเลงมโหรีนั้นมีมานานมาก ดังมีบันทึกปรากฏในงานจิตรกรรม ประติมากรรม เช่น ภาพปูนปั้น ภาพแกะสลัก  ภาพเขียนลายทองบนตู้หนังสือ ฯลฯ   องค์ความรู้ต่างๆที่ได้จากงานจิตรกรรม ประติมากรรมเหล่านี้เป็นร่องรอยหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความเจริญและวิวัฒนาการทางการดนตรีของไทยได้เป็นอย่างดี   ด้วยการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นไม่เป็นวิถีปฏิบัติของบรรพบุรุษไทยสักเพียงใดด้วยนิยมใช้การสืบทอดในเชิงมุขปาฐะเป็นสำคัญ   ดังนั้นในการสืบค้นร่องรอยหลักฐานในภายหลัง จึงมีการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเข้ามาเป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงาน   ความนิยมในการขับร้องบรรเลงมีปรากฏเด่นชัดมาแต่ครั้งในอดีตก่อนกรุงสุโขทัย  แม้ในกฏมณเฑียรบาลในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ แผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ประมาณ ปี พ.. 1991 – 2031 ก็มีบันทึกไว้ว่า ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดจะเข้ ดีดกระจับปี่ ตีโทนตีทับ ในเขตพระราชฐาน” (อุทิศ นาคสวัสดิ์, 2525: 4) แสดงให้เห็นว่าการบรรเลงเครื่องดนตรีต่างๆนั้นได้รับความนิยมกันมากมายจนต้องห้ามไว้ในเขตพระราชฐาน  ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีการนำเครื่องสายมาจัดให้บรรเลงประสมเข้าด้วยกันกับวงปี่พาทย์ที่มีการลดขนาดสัดส่วนของเครื่องดนตรีลง  เพื่อให้มีเสียงที่เหมาะสมที่จะบรรเลงร่วมกัน   จนเกิดเป็นรากฐานของการพัฒนาวงมโหรีของไทยมาจนปัจจุบันนี้   ทั้งวงมโหรีวงเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่  วงมโหรีเครื่องใหญ่ ประเทศไทยนั้นได้มีการสืบทอดและบรรเลงวงมโหรีกันอยู่แม้จะไม่ได้มีการนำมารับใช้ในวิถีชีวิตทั่วๆไปของชาวไทยอย่างในอดีตที่ผ่านมา   แต่การเรียนดนตรีของเยาวชนไทยในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาก็ยังคงมีความชัดเจนอยู่ในทุกๆภูมิภาคของประเทศไทย   ด้วยความสนับสนุนอันดีของภาครัฐและเอกชน   และจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปตราบที่แผ่นดินไทยยังยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบันนี้   และตราบที่ชาวไทยกลุ่มหนึ่ง  ที่ยังคงรักและหวงแหนในมรดกภูมิปัญญาไทยทางการแสดงดนตรีมโหรีของบรรพบุรุษไทย   แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีผู้คนที่จะไม่ยอมตกเป็นเมืองขึ้นทางวัฒนธรรมให้กับชาติใด   แม้จะมีทีท่าส่อเค้าทวีความรุนแรงอย่างยิ่ง 

 

บุคคลอ้างอิง

1. บุคคลอ้างอิงเกี่ยวกับวงการวงมโหรีในอดีต   เช่น

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
สมเด็จฯเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
เจ้าเทพกัญญา ณ เชียงใหม่
พระยาประสานดุริยศัพท์
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
พระสรรเพลงสรวง
จางวางทั่ว พาทยโกศล
ขุนสนิทบรรเลงการ
ครูปลั่ง วนเขจร
ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล
ครูคงศักดิ์   คำศิริ
ครูเทียบ  คงลายทอง
ครูอุษา สุคันธมาลัย
ครูท้วม  ประสิทธิกุล
ครูบรรเลง สาคริก
ครูแสวง อภัยวงศ์
ครูทองดี  สุจริตกุล
ครูระตี  วิเศษสุรการ
ครูเฉลิม  บัวทั่ง
ครูจันทร์  โตวิสุทธิ์
ครูชิต  แฉ่งฉวี
ครูประเวช  กุมุท
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระสุจริตสุดา
.
พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)
พระยาภูมีเสวิน
หลวงว่องจะเข้รับ
หลวงเสนาะเสียงกรรณ
หลวงไพเราะเสียงซอ
ครูชุ่ม กมลวาทิน
ครูไป  ล่ วนเขจร
คุณหญิงไพฑูรย์ กิติวรรณ
ครูมนตรี  ตราโมท
ครูละเมียด  จิตตเสวี
ครูชิ้น ศิลปบรรเลง
ครูศรีนาฏ  เสริมศิริ
ครูสุมิตรา สุจริตกุล
ครูนิภา  อภัยวงศ์
ครูฉลวย  จิยะจันทร์
ครูลิ้ม  ชีวสวัสดิ์
ครูจำเนียร  ศรีไทยพันธ์
ครูสุวิทย์   บวรวัฒนา
ดร.อุทิศ  นาคสวัสดิ์
ครูเจริญใจ  สุนรวาทิน

2.   บุคคลอ้างอิงเกี่ยวกับวงการวงมโหรีในปัจจุบัน

.เบ็ญจรงค์  ธนโกเศศ
อ.สุรางค์  ดุริยพันธ์
.ระวิวรรณ  ทับทิมศรี
.ปกรณ์  รอดช้างเผื่อน
.วิเชียร  จันทร์เกษม
.ชนก  สาคริก
.สุวัฒน์  อรรถกฤษณ์.สุดจิตต์  ดุริยประณีต
อ.เฉลิม  ม่วงแพรศรี
.สุวัฒนา  แสงทับทิม
.ประสิทธิ์ คุ้มทรัพย์
.ชยุดี  วสวานนท์
.ปิ๊ป  คงลายทอง

เอกสารอ้างอิง

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2542). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย. กรุงทพฯ :โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ปัญญา รุ่งเรือง. (2533). อ่านและฟังดนตรีไทยประกอบเสียง.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ. (2551). ย้อนรอยคีตังวังพญาไท.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา..

จุธาทิพย์ ดาศรี. (2551). ย้อนรอยคีตังวังพญาไท.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

อนุชา ทีรคานนท์, บรรณาธิการ.(2552). เล่าเรื่องเครื่องดนตรีชิ้นเอก.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

พูนพิศ อมายกุลและคณะ. (2550). จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

www.patakorn.com/modules.php/Bangkok

www.krudontri.com/artietes /111 music_men

วงมโหรีเครื่องเดี่ยว ประวัติ

วงมโหรีเครื่องเดี่ยวเกิดขึ้นเมื่อใด

๔.วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก คือ วงมโหรีที่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีและเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ครั้งแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวง (ภายหลังเรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี) (ดู ฆ้องมโหรี ประกอบ) ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ ส่วนกระจับปี่นั้นเปลี่ยนเป็นใช้จะเข้แทน เนื่องจากเวลาบรรเลง ...

วงมโหรีเครื่องสีเกิดขึ้นในสมัยใด

วงมโหรีเครื่องสี่ เกิดจากการการประสมกันระหว่างการบรรเลงพิณและการขับไม้ ปรากฏครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชนิดดังนี้ โทน ซอสามสาย กระจับปี่

วงมโหรีเครื่องเดี่ยวคืออะไร

วงมโหรีเครื่องเล็กหรือเครื่องเดี่ยว เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย ๑.ซอสามสาย, ๒.ซอด้วง,๓.ซออู้, ๔.จะเข้, ๕.ขลุ่ยเพียงออ, ๖.ระนาดเอกมโหรีฒ ๗.ฆ้องกลาง, ๘.โทน- รำมะนา, ๙.ฉิ่ง

วงมโหรีเกิดจากวงใดบ้าง

วงมโหรี วงมโหรี คือ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีครบทั้ง 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี และเป่า ซึ่งเครื่องดนตรีดังกล่าวมาจากวงปี่พาทย์ และวงเครื่องสายรวมกัน โดย กำหนดว่าเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ทั้งเครื่องดำเนินทำนอง และเครื่องประกอบจังหวะ