โปรแกรมคํานวณโซล่าเซลล์ excel

ใครอยากรู้ว่าบ้านเราต้องติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบ On Grid ขนาดเท่าไร สามารถ คำนวณการติดโซล่าเซลล์ เบื้องต้นเองได้จากการใช้ไฟในช่วงกลางวัน (8.00-17.00 น.) ด้วย 2 วิธี คือ

โปรแกรมคํานวณโซล่าเซลล์ excel

วิธีที่ 1 การดูหน่วยการใช้ไฟจริงที่มิเตอร์

คำนวณการติดโซล่าเซลล์ จากการไปจดหน่วยการใช้ไฟจริง 3-7 วัน เพื่อหาค่าเฉลี่ย

1.หาค่าเฉลี่ยการใช้ไฟช่วงกลางวัน โดยไปจดที่เวลา 8.00 และ 17.00 น. เช่น

  • วันที่ 1 ใช้ไฟไป 20 kWh
  • วันที่ 2 ใช้ไฟไป 25 kWh
  • วันที่ 3 ใช้ไฟไป 20 kWh

ตัวอย่างการคำนวณ    20+25+20 หาร 3 วัน  =  21.6 kWh

2.ใช้แผงโซลาร์เซลล์กำลังผลิตเท่าไร

แผงโซลาร์เซลล์ 1 วัน ผลิตไฟคิดเป็นค่าเฉลี่ย 5 ชั่วโมง ดังนั้น 21.6 หาร 5 = 4.32 kW

แสดงว่าบ้านเราควรติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ประมาณ  5 kW (5,000 W) (จำนวน kW ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจของแต่ละบริษัท)

3.จำนวนแผง

โซลาร์เซลล์  1 แผง ผลิตไฟได้ 400-500 W  ใช้ตัวเลขกลางๆที่ 450 W ดังนั้น 5,000 หาร 450 = 11.1     

แสดงว่าควรติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวน  12 แผง  

4.พื้นที่ติดตั้ง

1 แผง ขนาดประมาณ 1×2 ม. = 2 ตร.ม.           

ดังนั้นใช้พื้นที่ติดตั้งทั้งหมด 12×2 = 24 ตร.ม.

5.การประหยัดค่าไฟ

คิดที่ค่าไฟหน่วยละ 4 บาท  จะลดค่าไฟ วันละ     21.6 x 4 = 86.4 บาท หรือเดือนละ  86.4 x 30 = 2,592 บาท

(คิดจากการใช้ไฟช่วงกลางวันที่ลดลง ไม่ได้คิดจากการผลิตไฟได้สูงสุด เพราะระบบโซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้าตามที่มีการใช้จริง)

6.ระยะคืนทุน

1 ปี ลดค่าไฟ 2,592 x 12 =  31,104 บาท

กำลังผลิต 5 kW ราคา 2-3 แสนบาท  คิดที่ราคากลางๆ ประมาณ 250,000  หาร  31,104  = 8 ปี

โปรแกรมคํานวณโซล่าเซลล์ excel

วิธีที่ 2 คำนวณจากการใช้ไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด

เป็นการหากำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปิดในช่วงกลางวัน โดยดูกำลังไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็นวัตต์ (W) ที่ฉลากของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด

1.หาการใช้ไฟในช่วงกลางวัน

สามารถใช้สูตรคำนวณคือ

การใช้ไฟ =  กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในช่วงกลางวัน

เช่น

-เครื่องปรับอากาศขนาด 12000 บีทียู ใช้ไฟ 1,000 วัตต์ x จำนวน 1 เครื่อง x 5 ชั่วโมง = 5,000 วัตต์

-เครื่องปรับอากาศ ขนาด 24000 บีทียู ใช้ไฟ 2,500 วัตต์ x จำนวน 1 เครื่อง x 3 ชั่วโมง = 7,500 วัตต์

-ตู้เย็น 14 คิว ใช้ไฟ 200 วัตต์ x จำนวน 1 เครื่อง x 9 ชั่วโมง = 1,800 วัตต์

-ทีวี ใช้ไฟ 100 วัตต์ x จำนวน 1 เครื่อง x 3 ชั่วโมง = 300 วัตต์

รวมมีการใช้ไฟ  5,000 + 7,500 + 1,800 + 300 = 14,600 วัตต์ หรือเท่ากัน 14.6 กิโลวัตต์ (kW)

2.ใช้แผงโซลาร์เซลล์กำลังผลิตเท่าไร

แผงโซลาร์เซลล์ 1 วัน ผลิตไฟคิดเป็นค่าเฉลี่ย 5 ชั่วโมง  ดังนั้น  14.6 หาร 5  = 2.92 kW

แสดงว่าบ้านเราควรติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ประมาณ  3 kW (จำนวน kW ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจของแต่ละบริษัท)

หมายเหตุ ตัวอย่างนี้เป็นการคำนวณโดยใช้ตัวเลขโดยประมาณ ซึ่งการคำนวณของแต่ละบริษัทอาจแตกต่างกัน และใช้ปัจจัยในการคิดต่างกัน จึงควรให้บริษัทผู้ติดตั้งมาประเมินหน้างานจึงจะได้ผลแม่นยำที่สุด

ผลต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งและอัตรา FIT ประกาศตามจริงในปี 2556 ***ตัวเลขต่างๆ อ้างอิงจากสมมติฐานที่ใช้ในการคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยของความเข้มแสง ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันในแต่ละจังหวัด

การประเมินพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบเซลล์แสงอาทิตย์

แยกตามรายจังหวัด(เบื้องต้น)

 CLICK HERE  กดตรงนี่เลย

หมายเหตุ : การจัดทำโปรแกรมการคำนวณอย่างง่ายสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจเท่านั้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานขอสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ใด ๆ ก็ได้ และการนำไปอ้างอิงไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงาน ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

หากท่านสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ โทร 02 221 0021 ถึง 9 ต่อ 1246 คุณกุลวรีย์ บูรณสัจจะวราพร หรือ คุณธัญลักษณ์ มีทรัพย์

***********************************************************************************************************************************

1. หลักการคำนวณหาขนาดแผงโซล่าเซลล์
        ขนาดแผงโซล่าเซลล์ คือ ขนาดของ Watt นะครับ ไม่ใช่ขนาดกว้าง-ยาวของแผง โดยตัวแปรที่จะเป็นผู้กำหนดขนาด
แผงโซล่าเซลล์คือ "ค่า Watt รวมของเครื่องใช้ไฟฟ้า"ที่จะใช้ในบ้านในแต่ละวันครับ
        เริ่มต้น คือ ดูเสียก่อนว่าเราอยากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างในบ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ตรงจุดนี้แสดงถึงความต้องการของ
แต่ละคนที่แตกต่างกัน และเป็นตัวแปรสำคัญเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย เอาเป็นว่า ใครที่มีความต้องการความสดวกสบายเยอะ
ก็ต้องยอมจ่ายมากหน่อยเท่านั้นเองครับ ตัวอย่างการคำนวณ

โปรแกรมคํานวณโซล่าเซลล์ excel

ตัวอย่างที่ 1
    - ทีวี 14 นิ้ว 1 เครื่อง เปิดประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวัน
    - หลอดไฟตะเกียบ 3 หลอด / เปิดประมาณ 4 ชั่วโมง จำนวน 2 หลอด , เปิดใว้ทั้งคืนจำนวน 1 หลอด
    - ชาร์จโทรศัพท์  ชาร์จไฟฉาย
ความต้องการไฟฟ้าสำหรับ
    - วิทยุเครื่องเล็กๆ
การคำนวณ
    - ทีวี 14 นิ้ว ต้องการกำลังไฟประมาณ 50 Wต่อชั่วโมง เปิด 5 ชั่วโมงต่อวัน ต้องใช้กำลังไฟทั้งหมด  50 x 5 = 250 W ต่อ วัน
    - พัดลมตั้งพื้น ต้องการกำลังไฟประมาณ 50 Wต่อชั่วโมง เปิด 8 ชั่วโมงต่อวัน ต้องใช้กำลังไฟทั้งหมด  50 x 8 = 400 W ต่อ วัน
    - หลอดตะเกียบ ยกตัวอย่างหลอด 18 W ต้องการกำลังไฟทั้งหมด (18 x 2 x 4)+(18 x 1 x 12) = 360 W ต่อ วัน
    - เครื่องชาร์จโทรศัพท์ชาร์ไฟฉาย คิดรวมๆ 50W ต่อวัน
    - วิทยุเล็ก คิดรวม 50W ต่อวัน
        นำค่ารวมทั้งหมดมารวมกัน ดังนี้ 250 + 400 + 360 + 50 + 50 = 1,110 W ต่อวัน
        นั่นคือ เราต้องการกำลังไฟฟ้าใช้ในบ้าน 1,110W ต่อวัน
        ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = กำลังไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน / ชั่วโมงแดด (เอาซัก 6 ชั่วโมงต่อวันละกันครับ)
        ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = 1,110 / 6 = 185 W
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ 9,000-16,000 บาท แตกต่างกันตามคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์ครับ

ตัวอย่างที่ 2
ความต้องการไฟฟ้าสำหรับ
    - ทีวี 21 นิ้ว 1 เครื่อง เปิดประมาณ 6 ชั่วโมง/วัน
    - พัดลมตั้งพื้น 2 เครื่อง เปิดประมาณ 8 ชั่วโมง/วัน/เครื่อง
    - หลอดไฟตะเกียบ 12 หลอด / เปิดประมาณ 5 ชั่วโมง จำนวน 8 หลอด , เปิดใว้ทั้งคืนจำนวน 2 หลอด
    - ตู้เย็น 5-7 คิว
    - หม้อหุงข้าว
    - ปั๊มน้ำขนาดเล็กใช้ในบ้าน
    - คอมพิวเตอร์
    - ชาร์จโทรศัพท์ ชาร์จไฟฉาย
การคำนวณ
    - ทีวี 21 นิ้ว 1 เครื่อง เปิดประมาณ 6 ชั่วโมง/วัน  (80 W x 6 = 480 W)
    - พัดลมตั้งพื้น 2 เครื่อง เปิดประมาณ 8 ชั่วโมง/วัน/เครื่อง (50 W x 2 x 8 = 800 W)
    - หลอดไฟตะเกียบ 12 หลอด / เปิดประมาณ 5 ชั่วโมง จำนวน 8 หลอด , เปิดใว้ทั้งคืนจำนวน 2 หลอด (18 W x 8 x 5)+(18 W x 2 x 12) = 1152 W
    - ตู้เย็น 5-7 คิว (100 W x 10 = 1000 W) ตู้เย็นไม่ได้ทำงานตลอดเวลา เลยคิดที่ 10 ชั่วโมงต่อวันครับ
    - หม้อหุงข้าว คิดรวม 1500 W
    - ปั๊มน้ำขนาดเล็กใช้ในบ้าน คิดรวม 250 W
    - คอมพิวเตอร์  คิดรวม 300 W
    - ชาร์จโทรศัพท์ ชาร์จไฟฉาย คิดรวม 50 W
        นำค่ารวมทั้งหมดมารวมกัน ดังนี้ 480 + 800 + 1152 + 50 + 1000 + 1500 + 250 + 300 + 50 = 5,582 W ต่อวัน
        นั่นคือ เราต้องการกำลังไฟฟ้าใช้ในบ้าน 5,582 W ต่อวัน
        ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = กำลังไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน / ชั่วโมงแดด (เอาซัก 6 ชั่วโมงต่อวัน)
        ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = 5,582 / 6 = 930.33 W
นั่นคือเราต้องใช้แผงโซล่าเซลล์อย่างน้อย 930 W ขึ้นไปครับ
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ 45,000 - 80,000 บาท แตกต่างกันตามคุณภาพของแผงครับ

2. หลักการคำนวณเครื่องควบคุมการชาร์จ
        สำหรับเครื่องควบคุมการชาร์จนั้น ส่วนมากเราจะคำนวณหาค่า A ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ในระบบได้
ตัวแปรที่จะเป็นตัวกำหนดคือ
        1. ขนาดของแผงโซล่าเซลล์ ทั้งค่า W , A และ V โดยปกตินั้นค่าทั้ง 3 จะสัมพันธ์กันอยู่แล้ว เราอาจใช้แค่ W และ V
มาใช้ในการคำนวณออกแบบก็ได้ โดยใช้สูตร W = V x A  หรือ A = W / V
        2. ขนาดความต้องการ A ของ Lode ที่จะนำมาต่อเข้ากับเครื่องควบคุมนี้

โปรแกรมคํานวณโซล่าเซลล์ excel


จาก ตัวอย่างที่ 1 ที่ต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ขนาด 185 W เราสามารถคำนวณหาขนาดเครื่องควบคุมการชาร์จได้ดังนี้
    - จากสูตร A = W / V กรณีที่เป็นแผงโซล่าเซลล์ 12V แทนค่าลงสูตร A = 185 / 12 = 15.4
        นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 15.4 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 20 A  12 V ครับ
        นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 7.7 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 10 A  24 V ครับ
จาก ตัวอย่างที่ 2 ที่ต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ขนาด 930 W เราสามารถคำนวณหาขนาดเครื่องควบคุมการชาร์จได้ดังนี้
        นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 77.5 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 80 A  12 V ครับ
        นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 38.7 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 40 A  24 V ครับ
        นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 19.3 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 20 A  48 V ครับ
     แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแผงโซล่าเซลล์แผงใดเป็นแผงระบบ 12 V หรือ 24 V
ให้ใช้โวลต์มิเตอร์วัดครับ หรือง่ายๆให้ดูใต้แผงโซล่าเซลล์นั่นแหละ ตรงค่า Voc ครับ
    - แผงโซล่าเซลล์ระบบ 12 V ค่า Voc ระบุช่วง 18 V - 23 V หากใช้มิเตอร์วัดแผงโซล่าเซลล์ตอนมีแดดส่อง
จะอ่านค่าได้ประมาณ 18 V - 23 V เช่นกัน วัดในร่มชายคาที่ด้านนอกยังมีแดดอยู่หรือตอนเช้าตรู่ที่ยังไม่มีแดด(แต่ไม่มืด)
จะอ่านค่าได้ประมาณ 16 V - 18 V (ถ้าอ่านค่าได้น้อยกว่านี้ถือว่าแผงโซล่าเซลล์คุณภาพต่ำมาก หรือ เสียไปแล้ว)
    - แผงโซล่าเซลล์ระบบ 24 V ค่า Voc ระบุช่วง 36 V - 45 V หากใช้มิเตอร์วัดแผงโซล่าเซลล์ตอนมีแดดส่อง
จะอ่านค่าได้ประมาณ 36V-45V เช่นกันครับ

3. การคำนวณขนาดเครื่องแปลงไฟ (Inverter)
        เบื้องต้นนั้นท่านต้องทราบดีว่า ระบบโซล่าเซลล์ของท่านเป็นระบบอะไร 12 V , 24 V หรือ 48 V เพราะจะเป็นตัวแปรแรกใน
การเลือกใช้ Inverter ส่วนอีกตัวแปรก็คือค่า W รวมของ Lode ที่คาดว่าจะมีโอกาสเปิดพร้อมกัน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง แล้วเผื่อใว้
อีก 3-5 เท่า ของค่า W รวมนั้นๆ
        จาก ตัวอย่างที่ 1 อาจมีโอกาสเปิดทีวี,พัดลม,หลอดไฟทั้ง3หลอดและชาร์จโทรศัพท์ พร้อมกันได้ เราก็เอาค่า W ของแต่ละ
อุปกรณ์มารวมกัน จะได้ 50 + 50 + (18 x 3) + 50 = 204 W ดังนั้น ควรใช้ Inverter ขนาด 600 - 1,000 W ส่วนจะใช้กี่ V นั้นก็
แล้วแต่ระบบที่ท่านออกแบบใว้ครับ
        จาก ตัวอย่างที่ 2 อาจมีโอกาสเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดพร้อมกันได้ เราก็เอาค่า W ของแต่ละอุปกรณ์มารวมกัน จะได้
70 + (50 x 2) + (18 x 12) + 100 + 800 + 150 + 80 + 50 = 1,566 W ดังนั้น ควรใช้ Inverter ขนาด 4,500 - 5,000 W ส่วนจะ
ใช้กี่ V นั้นก็แล้วแต่ระบบที่ท่านออกแบบใว้ ถ้าใช้ Inverter เครื่องเดียวเลยจะต้องเป็นชนิด Pure Sine Wave
ซึ่งราคาประมาณ 4 - 8 หมื่นบาท แล้วแต่คุณภาพ แต่เพื่อความประหยัด ผมจึงขอแนะนำให้ใช้ Inverter 2 เครื่องแทนครับ
ดังนี้
    - Inverter 1,000 W แบบ Pure Sine Wave ราคาประมาณ 8,000 - 20,000 บาท สำหรับตู้เย็น,ปั๊มน้ำและ Computer
    - Inverter 3,000 W แบบ Modifier Sine Wave ราคาประมาณ 8,000 - 9,000 บาท สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
(ประหยัดได้ตั้งหลายพันบาทครับ เวลามีเครื่องใดเสีย ก็ยังมีอีกเครื่องที่ยังใช้ได้ด้วย)

4. การคำนวณหาขนาดแบตเตอรี่
        ตัวแปรที่เป็นตัวกำหนดขนาดแบตเตอรี่ คือ Lode ครับ ว่าต้องการกำลังไฟเท่าไหร่ในแต่ละช่วงเวลาที่ต้องการ
ขนาดแบตเตอรี่ สามารถคำนวณได้จากสูตร
ขนาดแบตเตอรี่ = กำลังไฟฟ้าที่ Lode ต้องการ x ระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน  /
                           แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ x ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ x ประสิทธิภาพของ Inverter
โดย
    * ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ ถ้าใช้แบตเตอรี่รถยนต์ = 0.60 ถ้าใช้แบตเตอรี่ชนิด Deep Cycle = 0.80
    * ประสิทธิภาพ Inverter (คุณภาพดี) = 0.85

โปรแกรมคํานวณโซล่าเซลล์ excel


        จาก ตัวอย่างที่ 1 ความต้องการกำลังไฟต่อวันรวม 1,110 W  และใช้แบตเตอรี่ 12 V ธรรมดา ดังนั้น
ขนาดของแบตเตอรี่ = 1110 / 12 x 0.6 x 0.85 = 181.37 Ah
นั่นคือต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 12 V  180 Ah หรือมากกว่า อาจใช้ลูกใหญ่ลูกเดียวเลย(แต่ไม่แนะนำ) หรือ
ใช้แบตเตอรี่ 12 Vลูกเล็ก 2-3ลูก ต่อขนานกันให้ได้ความจุประมาณนั้นครับ
        จาก ตัวอย่างที่ 2 ความต้องการกำลังไฟต่อวันรวม 5,582 W  และใช้แบตเตอรี่ 12 V Deep Cycle ดังนั้น
ขนาดของแบตเตอรี่ = 5582 / 12 x 0.8 x 0.85 = 684 Ah
นั่นคือต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 12 V  684 Ah หรือมากกว่า
กรณีออกแบบระบบเป็น ระบบ 24 V สามารถคำนวณหาขนาดแบตได้ดังนี้
ขนาดของแบตเตอรี่ = 5582 / 24 x 0.8 x 0.85 = 342 Ah
นั่นคือต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 24 V  342 Ah หรือมากกว่า ครับ

5. ขนาดของสายไฟ
        โดยทั่วไปนั้น เราไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียของกำลังไฟฟ้าในสายไฟมากกว่า 5% ดังนั้นในระบบ 12 V  DC  ของ
ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เราจะต้องไม่ให้ตกมากกว่า 0.6 V หรือถ้าเป็นระบบ 24 V  DC ก็ต้องไม่ให้ตก
มากกว่า 1.2 V จากตารางด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างขนาดสายไฟที่เหมาะสมกับระบบ 12 V  DC

โปรแกรมคํานวณโซล่าเซลล์ excel


 

Voltage Loss Per 100m Of Wire Run

(Volts Per 200m Of Wire)

Flow

(Amps)

Wire Size (mm2)1.52.54.00.10.210.140.080.20.430.270.170.30.640.410.250.40.860.540.340.51.070.680.420.61.290.810.510.71.500.950.590.81.721.080.680.91.931.220.761.02.151.350.852.04.292.701.693.06.444.052.544.08.585.413.385.010.736.764.236.012.838.115.087.015.029.465.928.017.1610.816.779.019.3112.167.6210.021.4513.518.46
ยกตัวอย่าง  สมมุติว่าเราติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ห่างจาก Solar Charge Controller ที่ระยะ 8 เมตร และมีกระแสใหล
ประมาณซัก 6 A เมื่อดูจากตารางจะพบว่าถ้าเราใช้สายทองแดงขนาด 1.5 mm แรงดันไฟฟ้าสูญเสียในสายระยะ
100 เมตร เท่ากับ 12.83 V (ตีไปซะ 13 นะครับ) แต่เราเดินสายเพียง 8 เมตร ดังนั้นแรงดันไฟฟ้าที่สูญเสียในสาย
จะเท่ากับ 8 x 13 / 100 = 1.04  ซึ่งเกินกว่าค่าที่เรายอมรับได้(คือ 0.6 V)  แต่ถ้าเราเปลี่ยนมาเป็นสายไฟฟ้าขนาด 2.5 mm
แรงดันไฟฟ้าที่สูญเสียในสายจะเท่ากับ 8 x 8 / 100= 0.64  ซึ่งใกล้เคียงกับค่าที่เราต้องการ

       และจากประสบการณ์ในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์  ผมแนะนำให้ท่านเลือกใช้สายอ่อนครับ เพราะหากท่านใช้สาย
แข็ง(สายที่ใช้เดินไฟตามบ้าน)จะมีปัญหาเรื่องการต่อสายและการเข้าสายกับ terminal box ครับ จะเป็นสายอ่อนแบบคู่
หรือเดี่ยวหรือจะเป็นสายVCT เลยก็ดีครับ

ที่มาบทความ

http://www.eastern-energy.net/article-th-12590-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%93+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C.html (บริษัท อิสต์เทิร์น เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด)