ประกันสังคมมาตรา 40 ทำที่ไหน

วิธีสมัครประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th รับ 5,000 บาท ง่ายไปอีก!

24 ส.ค. 64 (09:03 น.)ความคิดเห็น 9

กก

Add @Sanook.com

ประกันสังคมมาตรา 40 ทำที่ไหน

Tassaran C.

ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ การเงิน-การลงทุน

สมัครประกันสังคมมาตรา 40 ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ รับเงินเยียวยา 5,000 บาท ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th จากมาตรการคุมเข้มใน 29 จังหวัดของรัฐบาล

ผู้ที่มีอาชีพอิสระ หรือฟรีแลนซ์ รวมถึงผู้ที่อยู่นอกระบบประกันสังคมที่อยู่ในพื้นที่ 29 จังหวัด ที่รัฐบาลประกาศให้เป็นพื้นที่สีแดงและคุมเข้มการระบาด สามารถลงทะเบียนสมัครประกันสังคมมาตรา 40 เพื่อขอรับเงินเยียวยาประกันสังคมจำนวน 5,000 บาทได้ 

ประกันสังคมมาตรา 40 ทำที่ไหน

คุณสมบัติผู้สมัครประกันสังคมมาตรา 40 มีดังนี้

  • มีสัญชาติไทย
  • อายุ 15-65 ปีบริบูรณ์
  • เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (มาตรา 33)
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39)
  • ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย00)
  • ผู้พิการที่รับรู้สิทธิก็สมัครได้

ช่องทางการสมัครประกันสังคมมาตรา 40

  • เซเว่น-อีเลฟเว่น ทุกสาขา
  • ธนาคาร ธ.ก.ส. ทุกสาขา
  • เว็บไซต์ www.sso.go.th
  • Big C ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
  • เครือข่ายประกันสังคม ทั่วประเทศ
  • สายด่วนประกันสังคม 1506

วิธีสมัครประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th มีดังนี้

ประกันสังคมมาตรา 40 ทำที่ไหน

  • เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th
  • เลือกลงทะเบียนผู้ประกันตน ตามมาตรา 40

ประกันสังคมมาตรา 40 ทำที่ไหน

  • กรอกข้อมูลผู้สมัคร ประกันสังคมมาตรา 40
    • เลขประจำตัวประชาชน
    • เลขหลังบัตรประชาชน
    • คำนำหน้า ชื่อ-นามสกุล
    • วันเดือนปีเกิด
    • อีเมล์ (ถ้ามี)
  • จากนั้นกดตรวจสอบ
  • กรอกที่อยู่ปัจจุบัน เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้
  • กรอกกลุ่มอาชีพ รายได้ต่อเดือน, สภาพร่างกาย (กรณีเป็นผู้พิการ)
  • เลือกจ่ายเงินสมทบ (มีให้ 3 ทางเลือก) เลือกสำนักงานประกันสังคมที่อยู่ใกล้บ้าน
  • ตอบคำถามว่าเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญหรือไม่?
  • กด "ยอมรับเงื่อนไข/ข้อตกลง" แล้วกด "ยืนยัน"
  • หากผ่านทุกขั้นตอนแล้ว ระบบจะยืนยันผ่าน SMS ถือว่าขึ้นทะเบียนสำเร็จ

ข่าวเยียวยาประกันสังคม เพิ่มเติม

  • วิธีตรวจสอบสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 ผ่าน www.sso.go.th รับเงินคนละ 5,000 บาท
  • สมัครประกันสังคมมาตรา 40 จะเสียสิทธิบัตรทองด้วยหรือเปล่า
  • วิธีผูกพร้อมเพย์บัตรประชาชน ทุกธนาคาร เพื่อรับเงินเยียวยาประกันสังคม "ม.33-ม.39-ม.40"

โหลดเพิ่ม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคมมาตรา 40สมัครมาตรา 40มาตรา 40ประกันสังคมเยียวยาล่าสุดเยียวยาประกันสังคมwww sso go thวิธีสมัครประกันสังคม มาตรา 40วิธีสมัครผู้ประกันตนมาตรา40ข่าวเศรษฐกิจธุรกิจ

ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561 และพระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งอาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2561 นั้น

1. คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.1 มีสัญชาติไทย

1.2 เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย โดยมีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 6 หรือ เลข 7

1.3 เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว   เพื่อรอการส่งกลับ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 0 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยแต่มีเลขประจำตัวหลักแรกและหลักที่สองเป็นเลข 0 (00)

1.4 ผู้สมัครต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบุูรณ์

1.5 ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39

1.6 ไม่เป็นสมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญของส่วนราชการ รวมทั้งไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร หรือกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น

1.7 หากเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะหรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด (ยกเว้น  ผู้พิการทางสติปัญญาและผู้พิการที่ไม่อาจรับรู้สิทธิที่พึงจะได้รับจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่สามารถสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้)

2. หลักฐานการสมัคร

2.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทนบัตรประจำตัวประชาชน

2.2 แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40) กรณีไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ใช้การประทับลายนิ้วมือแทนการลงชื่อและให้มีผู้รับรองลายมือชื่อจำนวน 2 คน

3. สถานที่ในการสมัคร

3.1 สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา  ทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

3.2 อินเตอร์เน็ต WWW.sso.go.th/section40_regist

3.3 บริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่น อีเลฟเว่น (7-11)

4. ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  3  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  4  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ

กรณีตาย และกรณีชราภาพ

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  5  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

หมายเหตุ :

1)  ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (ออมเพิ่ม) ได้ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน

2)  กำหนดให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน

5. ช่องทางการชำระเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40

5.1 เคาน์เตอร์บริการ 

5.2 หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร

ชำระงวดปัจจุบัน  ได้ที่

1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (มหาชน)

4. ธนาคารออมสิน

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

6. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

7. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

8. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

9. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

5.3 ช่องทางอื่น

ชำระงวดปัจจุบัน งวดล่วงหน้า 12 เดือน และออมเพิ่มไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน ได้ที่ ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)

เสียค่าธรรมเนียมตามที่ไปรษณีย์กำหนด

หมายเหตุ

1. การจ่ายเงินสมทบผ่านทางเคาน์เตอร์เซอร์วิส โปรดแจ้งพนักงานให้ชัดเจนว่าจะจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าหรือจ่ายเงินออมเพิ่ม เพื่อไม่ให้จ่ายเงินผิดพลาด

2. จ่ายเงินสมทบผ่านการหักบัญชีธนาคาร ธนาคารจะหักเงินในบัญชีของผู้ประกันตน ทุกวันที่ 20 ของเดือน

3. ลืมหรือขาดส่งเงินสมทบ ไม่สามารถส่งเงินสมทบย้อนหลังได้ แต่ไม่ถือเป็นการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สามารถส่งเงินสมทบงวดปัจจุบันและส่งเงินล่วงหน้าได้ไม่เกิน 12 เดือน

4. เงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จ่าย สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

5. ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่ถูกตัดสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

6. การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล

6.1 เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านามชื่อ - สกุล ที่อยู่ที่ติดต่อ เปลี่ยนแปลงสำนักงานประกันสังคมรับผิดชอบ หรือเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ เป็นต้น ให้ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือทางเลือกการจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/1) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

6.2 กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกการจ่ายเงินสมทบจะทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยเมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลงทางเลือกแล้ว  จะมีผลในเดือนถัดไป

6.3 หากไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ต่อไป (ลาออก) ให้ยื่นแบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/2)

ใคร ทำ ประกันสังคมมาตรา 40 บ้าง

เงื่อนไข คุณสมบัติผู้สมัครรับสิทธิประกันสังคมมาตรา 40.
สัญชาติไทย.
อายุ 15 – 65 ปีบริบูรณ์.
เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ.
ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน ที่มีประกันตน ม.33 อยู่แล้ว.
ไม่เป็นผู้ประกันตน ม.39..
ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ.
เป็นผู้ถือบัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 ยกเว้น 00..

สมัครประกันสังคมมาตรา 40 ทำยังไง

การสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถทำได้ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้ - หน่วยบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่นทุกสาขา , ธนาคาร ธ.ก.ส.ทุกสาขา และบิ๊กซี หรือสมัครที่สํานักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ผ่านเครือข่ายประกันสังคม - สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506. หลักฐานการสมัครใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว

มาตรา 40เตรียมอะไรบ้าง

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตน และของบิดา มารดา (ถ้ามี) สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร

ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 คืออะไร

ผู้ประกันตนมาตรา 40 หมายถึง บุคคลที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 เรียกว่า ผู้ประกันตนโดยอิสระ คุณสมบัติในการสมัคร อายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม