นอนแล้วเวียนหัว

นอนแล้วเวียนหัว

อาการมีนงงจะเป็นลม (Lightheadedness)
เป็นอาการที่มีความรู้สึกมีน ๆ หวิว คล้ายจะเป็นลมแต่ไม่มีความรู้สึกว่ารอบ ๆ ตัวหมุนไป มักเกิดจากภาวะที่มีความดันโลหิตต่ำลง หรือเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาการจะดีขึ้นเมื่อได้นั่งหรือนอนพัก
อาการเวียนหัวร่วมกับบ้านหมุน (Vertigo)
เป็นอาการที่มีความรู้สึกว่ารอบ ๆ ตัวกำลังหมุนไป เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้น ก็จะรู้สึกอยากคลื่นใส้อาเจียนตามมา อาจทำให้ไม่สามารถยืนหรือเดินได้ เนื่องจากสมดุลเสีย ทำให้หกล้มและได้รับอันตรายได้ สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของะบบรับรู้สมดุลการทรงตัวของร่างกายปัญหาอาจกิดจากสายตา หรือระบบประสาทรับการทรงตัวที่อยู่ในหูชั้นใน (เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน) หรือความผิดปกติของสมอง
หากมีอาการเวียนหัวบ้านหมุน ไม่ควรตกใจ
เพราะสามารถคิดได้จากหลายสาเหตุ แต่หากสังเกตอาการแล้วพบว่ามีอาการคลื่นไส้มาก มีภาวะหมดสติ หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังพักหรือมีอาการบ่อยและรุนแรง ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป

ข้อมูล ณ วันที่ 29 กันยายน 2563
ที่มา : อ. นพ.พรชัย อนิวรรตธีระ

ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการที่ร่างกายและหัวใจของเรานั้น “ปรับตัวไม่ทัน” เวลาเราลุกจากการตื่นนอน จากมุม 0 องศา เป็น 90 องศา จะทำให้หัวใจเราบีบตัวเร็วขึ้นเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ทัน เมื่อร่างกายของเราไม่สามารถปรับตัวได้ปกติเหมือนตอนเป็นหนุ่มสาว เลยส่งผลทำให้เกิดอาการหน้ามืดอย่างที่เห็น

วิธีแก้ไขอาการนี้ทำได้ง่ายๆ คือ

  1. เวลาเราตื่นนอนให้พยายามลุกให้ช้าลง พยายามอย่ารีบร้อน เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวได้ทันท่วงที
  2. ออกกำลังกาย เพราะหัวใจของเราเริ่มทำงานไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ ให้ร่างกายฟื้นฟูอย่างเต็มที่ รวมถึงทานอาหารให้ตรงเวลาครบทั้ง 5 หมู่

เมื่อเราทำได้ตามที่กล่าวข้างต้นอาการหน้ามืดเวลาตื่นนอนก็จะบรรเทาลงได้ แต่หากยังไม่ดีขึ้นอาจจะต้องมาพบแพทย์เพื่อทำการซักประวัติและและทำการรักษาต่อไปตามขั้นตอน

อาการเวียนศีรษะ (Vertigo) คือ ความรู้สึกหมุน ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าตนเองหมุน หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวเคลื่อนไหวผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยไม่สบายหรือเสียการทรงตัว และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาการเวียนศีรษะอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความผิดปกติของระบบการทรงตัวของร่างกาย ตลอดจนความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน เป็นต้น

การบริหารแบบคอว์ธอร์น (Cawthorne Excercises)

เป็นการฝึกเพื่อปรับสมดุลของการทรงตัว โดยใช้สายตาและกล้ามเนื้อต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อที่มักใช้ในการเคลื่อนไหว และช่วยให้กระแสโลหิตไหลเวียนดีขึ้น การบริหารในช่วงแรกควรมีผู้ดูแลอยู่ด้วย เพื่อป้องกันการล้ม และเพื่อให้ได้ผลดีควรบริหารอย่างสม่ำเสมอ

ประโยชน์ของการบริหารแบบคอว์ธอร์น

1. เพื่อให้เกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อคอและไหล่ ป้องกันการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่มักใช้ในการเคลื่อนไหว ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตไปสมองดีขี้น

2. ฝึกการเคลื่อนไหวของลูกตาและศีรษะให้เป็นไปอย่างอิสระ

3. ฝึกให้เกิดสมดุลของการทรงตัวในการใช้สายตาและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นประจำวัน

4. ฝึกให้เกิดความเคยชินกับการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติทั้งในกลางวันและกลางคืน

5. สร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างง่ายๆ จากการฝึกการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ

การบริหารตา

    

นอนแล้วเวียนหัว

  • มองขึ้นลงอย่างช้าๆ หลังจากนั้นให้ทำเร็วขึ้น 20 ครั้ง

           

นอนแล้วเวียนหัว

  • มองไปทางซ้ายและขวาอย่างช้าๆ หลังจากนั้นให้ทำเร็วขึ้น 20 ครั้ง

         

นอนแล้วเวียนหัว

  • ยกนิ้วชี้ห่างจากหน้าประมาณ 1 ช่วงแขน และค่อยๆ เลื่อนนิ้วเข้าหาตัวให้ห่างจากหน้าประมาณ 1 ฟุต เริ่มทำอย่างช้าๆ จากนั้นให้ทำเร็วขึ้น 20 ครั้ง

           

นอนแล้วเวียนหัว

  • มองจ้องวัตถุที่อยู่นิ่ง จากนั้นหันศีรษะไปทางซ้ายและขวาโดยที่ทางตาทั้ง 2 ข้างยังจ้องอยู่ที่เดิม เริ่มอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ ทำให้เร็วขึ้น 20 ครั้ง

การบริหารศีรษะ

               

นอนแล้วเวียนหัว

  • ก้มหน้าและเงยหน้า เริ่มทำอย่างๆ ช้าๆ และค่อยๆ ทำให้เร็วขึ้น 20 ครั้ง หลังจากนั้นให้หลับตา ก้มหน้า และเงยหน้า ทำเช่นเดียวกัน 20 ครั้ง

               

นอนแล้วเวียนหัว

  • หันศีรษะจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง เริ่มต้นทำอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ ทำให้เร็วขึ้น 20 ครั้ง หลังจากนั้นหลับตา หันศีรษะจากอีกด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง แล้วทำเช่นเดียวกัน 20 ครั้ง

การนั่ง

                   

นอนแล้วเวียนหัว

  • ยกไหล่ขึ้น-ลงทั้ง 2 ข้างสลับกัน 20 ครั้ง
  • หันไหล่ไปทางขวา แล้วสลับไปทางซ้าย 20 ครั้ง
  • ก้มตัวไปข้างหน้าแล้วหยิบของจากพื้น หลังจากนั้นกลับมานั่งตรง ทำเช่นเดียวกัน 20 ครั้ง

การยืน

            

นอนแล้วเวียนหัว
 

  • เปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน เริ่มทั้งอย่างช้าๆ แล้วให้ทำเร็วขึ้น 20 ครั้ง หลังจากนั้นให้หลับตาแล้วเปลี่ยนท่านั่งเป็นท่ายืน 20 ครั้ง

                

นอนแล้วเวียนหัว

  • โยนลูกบอลจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่ง โดยให้บอลอยู่เหนือระดับสายตา 10 ครั้ง

     

นอนแล้วเวียนหัว

  • โยนลูกบอลจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งใต้ระดับเข่า 10 ครั้ง

               

นอนแล้วเวียนหัว

  • ลุกขึ้นจากที่นั่ง ยืนนิ่ง หมุนตัวไปทางขวาแล้วนั่งลง หลังจากนั้นลุกจากที่นั่ง ยืนนิ่ง หมุนตัวไปทางซ้ายแล้วนั่งลง ทำต่อเนื่อง 10 ครั้ง

การเคลื่อนไหว

นอนแล้วเวียนหัว

  • เดินจากผนังของห้องด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งขณะลืมตา 10 ครั้ง หลังจากนั้นให้หลับตาแล้วเดินจากผนังห้องด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งทั้งหมด 10 ครั้ง

นอนแล้วเวียนหัว

  • เดินขึ้น – ลงตามทางลาดขณะลืมตา 10 ครั้ง หลังจากนั้นหลับตาแล้วเดินขึ้น – ลงตามทางลาด 10 ครั้ง

               

นอนแล้วเวียนหัว

  • เดินขึ้น – ลงบันไดขณะลืมตา 10 ครั้ง หลังจากนั้นหลับตาแล้วเดินขึ้น – ลงบันได 10 ครั้ง

           

นอนแล้วเวียนหัว

  • อาจเล่นกีฬาที่มีการหันศีรษะหรือจ้องมองวัถตุที่เคลื่อนไหว เช่น บาสเกตบอล หรือการโยนลูกบอลไป – กลับ เป็นการช่วยบริหารได้อีกทางหนึ่ง

** ในระยะแรกของการฝึกการบริหารแบบคอว์ธอร์นนี้ อาจทำให้เกิดอาการมึนงงและเวียนศีรษะเพราะยังไม่คุ้นเคย แต่หลังจากบริหารเป็นประจำอาการดังกล่าวจะค่อยๆ ลดลงและหายไปในที่สุด

นอนแล้วเวียนหัวเกิดจากอะไร

ระบบรับสัญญาณประสาทของสมองส่วนกลาง เช่น ประสาทส่วนกลางถูกกดจากการทานยานอนหลับ ดื่มสุราหรือภาวะอดนอน ภาวะความเครียด วิตกกังวล หวาดกลัว หรือมีโรคทางกายที่มีผลต่อสมอง ได้แก่ ภาวะขาดสารอาหาร น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำผิดปกติ โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง เป็นต้น

ทำไมนอนตะแคงแล้วเวียนหัว

สาเหตุ อาจเกิดได้จาก - โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด หรือ โรคหินปูนในหูชั้นใเคลื่อนที่ (BPPV) - น้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere's Disease) - ประสาทการทรงตัวอักเสบ (vestibular neuronitis)

ตื่นมาแล้วเวียนหัวทำไง

ตื่นนอนแล้วมึนหัว แก้อย่างไรดีให้ถูกจุด.
ไม่ควรนอนหลัง 24.00น. ... .
ไม่ควรนั่งทํางานติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ... .
กินอาหารให้ถูกสัดส่วน ... .
กระตุ้นการทํางานของระบบประสาทด้วยท่าบริหาร.

อาการปวดหัวเวียนหัวเกิดจากอะไร

สาเหตุทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ - ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น เกิดอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ โรคลมบ้าหมู เส้นเลือดตีบ โรคพาร์กินสัน เนื้องอกในสมอง สมองเสื่อม เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ปากเบี้ยว ซึ่งอาการอาจบ่งบอกถึงปัญหาหลอดเลือดสมอง เช่น หลอดเลือดในสมองตีบ เป็นต้น