เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต

ก่อนจะมาเป็นคอนเสิร์ตสุดประทับใจที่ได้รับการกล่าวถึงนั้น การออกแบบเวทีคอนเสิร์ตที่ดีถือเป็นหัวใจสำคัญในการถ่ายทอดแนวคิดและเรื่องราวของศิลปินออกมาให้เป็นจริง โดยปรากฏมาในรูปแบบภาพและเสียงอย่างสมบูรณ์ เมื่อวางแผนและออกแบบคอนเซ็ปต์ต่าง ๆ ตลอดจนร่างลำดับการแสดงเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคิวลงมือออกแบบเวทีคอนเสิร์ตให้เป็นไปตามแนวทางที่คิดไว้

บทความนี้ได้รวบรวม 5 ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยในการออกแบบเวทีคอนเสิร์ต มาดูกันว่ากว่าจะมาเป็นคอนเสิร์ตในฝัน ต้องดูเรื่องใดกันบ้าง

ออกแบบเวทีคอนเสิร์ต ต้องดูอะไรบ้าง

ปัจจัยออกแบบเวทีคอนเสิร์ต 1: มุมมองผู้ชม

เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต

ไม่ว่าคุณจะออกแบบตกแต่งเวทีคอนเสิร์ตให้อลังการสวยหรูแค่ไหน ก็ไม่มีประโยชน์หากผู้ชมไม่สามารถชื่นชมภาพเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน มุมมองหรือจุดรับชมของผู้ชมจึงถือเป็นเรื่องแรกที่ผู้จัดงานควรพิจารณา ก่อนเริ่มออกแบบเวทีคอนเสิร์ตจึงควรเข้ามาดูสถานที่จริง โดยสำรวจทุกตำแหน่งที่นั่งผู้ชม เพื่อเก็บรายละเอียดมุมมองของแต่ละที่นั่งและนำไปปรับปรุงและวางแผนออกแบบเวทีจริงให้ตอบโจทย์ยิ่งขึ้น ควรดูว่าสถานที่จัดคอนเสิร์ตนั้นออกแบบที่นั่งแบบขั้นบันไดหรือไม่ หรือผู้ชมที่ซื้อบัตรยืนด้านหลังจะมองเห็นการแสดงบนเวทีได้หมดหรือไม่ หากมองเห็นไม่ชัดจะหาทางออกอย่างไร ควรเพิ่มหน้าจอใหญ่ไว้ตรงมุมใดบ้าง คำตอบของสิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราออกแบบและจัดวางสิ่งต่าง ๆ ภายในสถานที่จัดงานได้ชัดเจน โดยต้องคิดเสมอว่าผู้ชมทุกคนต้องได้รับประสบการณ์ชมคอนเสิร์ตครบถ้วนและเต็มอิ่มเหมือนกัน

ปัจจัยออกแบบเวทีคอนเสิร์ต 2: แสงสี

เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต

การสร้างจุดสนใจหรือโมเมนต์น่าจดจำถือเป็นอีกเรื่องที่ทีมงานและผู้จัดงานต้องหารือร่วมกัน โจทย์หลักก็คือควรใส่แสงและสีแบบใด มากน้อยแค่ไหนถึงจะสร้างบรรยากาศอันนำไปสู่การทำให้เกิดอารมณ์ร่วมตามที่ต้องการได้ โดยเฉพาะกรณีที่ต้องการยกระดับและสร้างสีสันให้กับเวทีคอนเสิร์ตแบบเต็มที่ การลงทุนสร้างเอฟเฟกต์แสงสีจะช่วยสร้างบรรยากาศในงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้จัดงานควรทำงานร่วมกับฝ่ายโปรดักชันมืออาชีพที่มีบริการออกแบบไฟ LED ไฟประดับ หรือการควบคุมระบบไฟต่าง ๆ หากผู้จัดงานและทีมงานสามารถออกแบบการแสดงให้สัมพันธ์กับการจัดแสงสี ก็จะทำให้การแสดงโดยรวมกลมกลืนและราบรื่นยิ่งขึ้น

ปัจจัยออกแบบเวทีคอนเสิร์ต 3: ขนาดและพื้นที่เวที

เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต

ขนาดและสเกลของเวทีคอนเสิร์ตส่งผลต่อประสบการณ์รับชมของคนดูการแสดงได้มากทีเดียว เวทีขนาดเล็กรายล้อมด้วยกลุ่มผู้ชมแบบ 360 องศา จะให้ความรู้สึกใกล้ชิดแนบแน่นเป็นพิเศษ ในขณะที่เวทีคอนเสิร์ตขนาดใหญ่จะให้ประสบการณ์รับชมที่ดูยิ่งใหญ่ต่างกันออกไป จริงอยู่ที่การออกแบบเวทีคอนเสิร์ตจะคิดออกมาได้หลากหลายรูปแบบ แต่เมื่อพูดถึงการลงมือทำจริงแล้วย่อมมีข้อจำกัดทางเทคนิคตีกรอบเอาไว้ โดยเฉพาะขนาดและสเกลเวทีคอนเสิร์ตทั้งหมด หากคุณสร้างเวทีคอนเสิร์ตที่ตกแต่งด้วยไฮไลต์สาดส่องในมุมสูงทั่วฮอล์ไม่ได้ ก็เน้นสร้างเวทีคอนเสิร์ตที่ดูแล้วกว้างขวางแทน ที่สำคัญ เวทีที่กว้างเหมาะกับสถานที่จัดคอนเสิร์ตแบบปิดที่อยู่ใกล้กับตึกสูงระฟ้า ยิ่งเวทีกว้างมากเท่าไหร่ ก็ออกแบบและสร้างสรรค์การแสดงในแต่ละส่วนได้มากยิ่งขึ้นด้วย

ปัจจัยออกแบบเวทีคอนเสิร์ต 4: เทคนิคพรางตา

เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต

การจัดงานคอนเสิร์ตจำเป็นต้องติดตั้งและวางระบบหลายอย่าง แน่นอนว่าต้องมีอุปกรณ์และสายไฟต่าง ๆ วางพาดระเกะระกะ โจทย์ต่อมาหลังออกแบบและวางผังเวทีคอนเสิร์ตลงตัวแล้ว ก็คือหาเทคนิคตกแต่งหรือเก็บอุปกรณ์และสายไฟอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องให้มิดชิดและกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งกับเวทีคอนเสิร์ตนั้น ไม่ว่าจะเป็นสายไฟ ล้อเลื่อน หรืออุปกรณ์บันทึกภาพการแสดงที่ตั้งในจุดต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ควรเก็บไว้ให้พ้นสายตาผู้ชม วิธีที่ง่ายที่สุดคือรวบรวมทุกอย่างไปเก็บไว้หลังม่านหรือหลังฉากที่เตรียมไว้เป็นพื้นที่เก็บของนอกฉาก นอกจากนี้ ทีมงานอาจพิจารณาเรื่องการใช้แสงสีเข้้ามาช่วยในส่วนนี้ได้ กล่าวคือ ทีมงานอาจออกแบบเวทีคอนเสิร์ต โดยควบคุมระบบแสงสี ส่องไฟไปที่การแสดงบนเวทีเท่านั้น แต่เฟดแสงให้มืดตรงบริเวณที่มีอุปกรณ์วางอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

ปัจจัยออกแบบคอนเสิร์ต 5: ระบบเสียง

เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต

ปัจจัยสุดท้ายก็คือระบบเสียง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญของการจัดงานคอนเสิร์ต กระบวนการเตรียมระบบเสียงหรือ soundcheck จะดำเนินงานและควบคุมโดย sound engineer ซึ่งจะดูทั้งเรื่องเสียงดนตรี กีตาร์ เบส รวมทั้งเสียงร้องและเสียงประกอบการแสดงทั้งหมด ก่อนเริ่มทำการแสดงจำเป็นต้องซักซ้อม เพื่อทดสอบคุณภาพของระบบเสียงทั่วไปและระบบเสียงตอนแสดงจริง เพื่อให้แน่ใจว่าเสียงมีความสมดุลและราบรื่น การซักซ้อมและทดสอบระบบเสียงอาจทำก่อนเริ่มงานจริงประมาณ 15 - 30 นาที หรือ 1 - 2 ชั่วโมง ตามความยาวและสเกลของงาน

admin

| 20/08/2016

| ไม่มีความเห็น

| สอนร้องเพลง

เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต

สอนร้องเพลง – 40 วิธีการเป็นนักร้อง

 

วันนี้ว่างเลยแวะเอาบทความเก่าๆ
สมัยยังเป็นเว็บ e-muzic.net มาปรับปรุงใหม่ให้ทุกคนได้อ่านกันครับ
มาดูกันว่าอะไรคือสิ่งที่นักร้องควรและไม่ควรทำ

1. อย่ากระทำการใดก็ก็ตามที่ทำให้รู้สึกระคายเคืองต่อเส้นเสียง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บคอ

2. เมื่อคุณต้องการหาที่เรียนร้องเพลง ลองสอบถามดูว่าอาจารย์ที่จะมาสอนคุณเป็นใคร
มีความเกี่ยวข้องและความสามารถ ทางดนตรีและการร้องเพลงอย่างไร

3. แม้ว่าคุณจะมีเนื้อเสียงที่ฟังแล้วดูเพราะดี แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นนักร้องได้

4. เมื่อคุณร้องเพลง แล้วรู้สึกว่า ทำไมนะ เนื้อเสียงของเราดูแปลกๆ
ไม่หวานซึ้ง ไม่ใสปิ๊ง เหมือนใครๆ อย่าตกใจ…
จงภูมิใจในสิ่งที่ตนมี และพยายามทำให้สิ่งที่คุณมีนั้นดูมีค่าที่สุด
ด้วยการร้องอย่างเป็นคุณเอง

5. ฟังให้ออกว่าโน้ตและจังหวะที่ถูกต้องคืออะไร เพราะนั่นคือพื้นฐานที่สำคัญที่สุด
ถ้าเรื่องแค่นี้ยังทำไมได้แล้วจะร้องเพลงให้เพราะได้ยังไง

6. ไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ นอกจากทำให้คุณตายไว
ด้วยโรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯ แล้ว
มันยังทำลายเส้นเสียงของคุณอีกด้วย

7. ไม่ควรดื่มสุรา นอกจากทำให้คุณเป็นโรคตับแข็ง พิษสุราเรื้อรัง
รวมไปถึงการที่คุณต้องเมาพับไม่เป็นท่าแล้ว
การดื่มสุรา อาจทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณเส้นเสียงของคุณขยายมากจนเกินไป
เมื่อใช้เสียงในช่วงเวลานั้น อาจทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นแตก
และเกิดอาการเส้นเสียงอักเสบได

8. ห้ามเด็ดขาดสำหรับการหันไปพึ่งยาเสพติด

9. ห้ามให้ใครทำอะไรกับเส้นเสียงของคุณเด็ดขาด
แม้กระทั่งหมอคุณก็ไม่ควรให้เค้าทำอะไรกับเส้นเสียงของคุณเด็ดขาด
เพราะคุณอาจไม่มีเสียง หรืออาจร้องเพลงไม่ได้อีกเลย
หมอก็เป็นคน โอกาสผิดพลาดมีได้เสมอ
แต่เรื่องเสียงไม่ควรให้ใครมาทดลอง
หากพลาด นั่นคือหายนะของคุณเลยล่ะ

10. ห้ามตะโกนแหกปากเสียงดัง
พวกนักร้องร็อค ไม่รู้ว่าคอทำด้วยอะไร ถึงสามารถทำได้ขนาดนั้น
สำหรับปุถุชนธรรมดาทั่วไป ผมแนะนำว่า อย่าลอง!!

11. พยายามลืมไปได้เลยสำหรับเครื่องดื่มที่เย็นๆ คุณอาจชอบ (ผมก็ชอบ)
เพราะเครื่องดื่มที่เย็นจัด ทำให้เส้นเสียงของคุณหดตัว
การดื่มน้ำธรรมดา (น้ำไม่ร้อน-ไม่เย็น)
ช่วยให้เส้นเสียงมีอุณหภูมิปกติ เหมาะแก่การใช้เสียงและร้องเพลง

12. อย่าพูดมาก….เดี๋ยวเส้นเสียงอักเสบ

13. อย่าใช้ชีวิตอยู่ในที่ๆมีฝุ่นละอองมากๆ

14. อย่าไอแรงๆ หรือขากเสมหะแรงๆ เพราะอาจทำให้เส้นเสียงอักเสบได้
หากรู้สึกระคายคอจริงๆ ควรใช้วิธีกระแอมช่วยลดอาการระคายคอ
หรือวิธีแก้ที่ง่ายที่สุดคือ จิบน้ำดื่มอุณหภูมิห้อง

15. ถ้าอยากเป็นนักร้องนำ อย่าพยายามร้องในกลุ่มนักร้องประสานเสียงบ่อยๆ
เพราะอาจทำให้ระบบการฟังของเราเสียไป
เนื่องจากเราต้องฟังคนเสียงอื่นมากๆ ซึ่งร้องกันคนละแนวกับเรา โดยไม่ได้พัก
หมายเหตุ : การร้องประสานเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนที่ชอบฝึกการร้องในแบบขั้นคู่
แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยฝึกได้การฟัง (Ear Training)
ไม่ควรร้องในวงประสานเสียงบ่อยๆ เพราะอาจทำให้เกิดอาการหูเพี้ยนได้

16. อย่าร้องเพลงทุกเพลงที่มีเสียงสูงหรือต่ำเกินขีดความสามารถของคุณ
ควรเริ่มจากการฝึกเสียงที่คุณมีให้ดีก่อน แล้วหาครูแนะนำอย่างถูกต้อง

17. อย่าใช้เสียงอย่างหนักในการร้องเพลง เกินสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
พักเสียงบ้างเถอะ หากคุณยังรักมันอยู่ และต้องการใช้มันนานๆ

18. อย่าฝึก หรือพยายามใช้ลูกคอ หากคุณไม่มั่นใจว่าคุณเป็นคนที่ร้องเพลงได้ดี
และสามารถควบคุมเสียงได้ตรง pitch แล้วล่ะก็ อย่ารีบร้อนฝึกหัดการใช้ลูกคอ
เพราะนั่น อาจทำให้คุณเป็นนักร้องที่ไม่ได้เรื่อง
เพราะเสียงของคุณจะแกว่งไปมา ไม่ตรง pitch
สิ่งที่คุณควรทำคือการฝึกควบคุมเสียงให้นิ่ง ตรง pitch
เมื่อคุณชำนาญในการควบคุมเสียงแล้ว จึงค่อยฝึกการใช้ลูกคอ

19. อย่าเต้นไปร้องไปเป็นเวลานาน
ถ้าคุณรู้จักไมเคิล แจ๊คสัน แล้วลองสังเกตุคอนเสิร์ตของเค้าทุกคอนเสิร์ต
คุณจะรู้ว่าเค้าร้องสดเพียงไม่กี่เพลง นอกนั้นต้องร้องลิปซิงค์
เพราะการร้องไปเต้นไปเป็นเวลานานๆ ทำให้เสียงของคุณหมดไวผิดปกติ
เพราะคุณต้องใช้ความสามารถสูงในการควบคุมลมหายใจ
เมื่อคุณกังวลกับท่าเต้นมากๆ กังวลกับลมหายใจทุกเพลง
นั่นละ เสียงของคุณจะไม่เป็นท่าก็เมื่อนั้น

20. ไม่ร้องเพลงด้วยเสียงที่ดังที่สุดของคุณเป็นเวลานานๆ

21. รู้จักถามให้มากที่สุด เมื่อคุณเจอคนที่สามารถให้คำแนะนำคุณได้ในด้านการร้องเพลง

22. อย่าไปเรียนร้องเพลงกับคนที่เส้นเสียงเสีย
ตำราฝรั่งเล่มหนึ่งบอกผมไว้ว่า ขนาดเสียงของครูผู้สอนยังเสียได้เลย
แล้วเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าครูผู้สอนจะไม่ทำให้เสียงของเราเสียไปด้วย

23. ถ้าครูผู้สอนของคุณเป็นนักร้องชั้นยอด
ลองพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาและวิธีการสอนของเค้าดูนะครับ
ถ้าสอนดี ก็โอเคเลย แต่ถ้าสอนได้ไม่ดีให้คุณนึกถึงคำที่ผมบอกนะครับ
“คนที่ร้องเพลงดี ไม่ได้หมายความว่าเค้าจะสามารถถ่ายทอดวิชาการร้องเพลงให้คุณได้ดี”

24. พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องปรับอากาศเป็นเวลานานๆ ก่อนการขึ้นเวทีเพื่อร้องเพลง
เพราะนอกจากหนาวแล้ว ความเย็นของอากาศ ทำให้ความชื้นในร่างกายของเราระเหยไป
อาจทำให้รู้สึกคอแห้งได้ เพราะเราสูดเอาอากาศที่แห้งกว่าเข้าไป
พร้อมกับปล่อยอากาศชื้นออกจากตัวเรา

25. พยายามศึกษา และหาทางเรียนรู้เกี่ยวกับอวัยวะทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการร้องเพลง
เช่น กล่องเสียง เส้นเสียง กระบังลม กล้ามเนื้อหน้าท้อง ฯลฯ

26. ถ้าการเรียนร้องเพลง หมายถึงการเรียนเทคนิคการใช้เสียงที่ถูกต้อง
นั่นหมายถึงว่า เมื่อคุณเรียนร้องเพลง จะต้องได้รับความรู้และการฝึกฝน
การใช้เสียงอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดอาการเจ็บคอ
อันเนื่องมาจากการใช้เสียงมากเกินไป หรือผิดวิธี

27. การฝึกการร้องเพลง ควรฝึกอย่างช้าๆ ใจเย็นๆ
อย่าคิดว่าการรีบร้อนฝึกหนักจะทำให้คุณเก่งในพริบตาได้
การฝึกซ้อมอย่างถูกต้อง พอดี และสม่ำเสมอทุกวัน
ทำให้เสียงของเราค่อยๆพัฒนาไปอย่างมีระบบ

28. พยายามเรียนรู้การร้องในแต่ละสไตล์ให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้
ยิ่งคุณรู้มากและทำได้มาก นั่นคือความสามารถเฉพาะตัวที่ยากจะหาใครเลียนแบบ

29. ดูแลรักษาช่องปากและฟันของคุณอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลมปากปอมสดชื่น เวลาคุณร้องเพลง

30. เมื่อคุณต้องร้องเพลง จำไว้ว่า คุณต้องรู้ความหมายของบทเพลงนั้นๆ
ทุกคำ ทุกความหมาย ร้องให้ได้อารมณ์ตามนั้น
ที่สำคัญ คุณอย่าได้อารมณ์เพียงคนเดียวนะ
ผู้ฟังต้องได้ยินเสียงคุณแล้วรู้สึกได้ถึงอารมณ์ที่คุณต้องการสื่อด้วย

31. ร้องเพลงอย่างเดียวไม่พอแน่
ท่าทางคือสิ่งที่นักร้องหลายๆ คน แสดงออกมาอย่างไม่ได้เรื่อง
ถ้าคุณร้องเพลงไปแล้วยืนตรงเหมือนคนเคารพธงชาติ
คุณคิดว่าใครอยากจะมองคุณบ้าง ใช้หูเพื่อฟังคุณก็พอแล้วมั๊ง
ถ้าคุณไม่อยากเป็นอย่านั้น เริ่มต้นฝึกการใช้ลีลาท่าทางซะ
อย่าคิดว่าขึ้นเวทีแล้วมันจะได้เอง จากประสบการณ์แล้วนั้น
ผมไม่เคยพบใครแม้แต่คนเดียวที่สามารถทำอะไรได้ดี โดยไม่ได้มีการฝึกซ้อมไว้ก่อน
บางคนฝึกไว้แล้ว 100% ยังทำได้แค่ไม่ถึง 80% เอง
เพราะฉะนั้นจงซ้อมไว้สัก 120-150 % แล้วคุณจะร้องได้ดี 100% เลย ผมรับรอง

32. ทำความเข้าใจดนตรี คุณควรรู้ว่า
นักดนตรีต้องการสื่ออารมณ์อย่างไร ในบทเพลงที่คุณร้อง
ลองฝึกฟังดนตรีเยอะๆ พยายามทำความเข้าใจอารมณ์
ที่สื่อออกมาจากดนตรีแต่ละประเภท แต่ละแนวเพลง

33. หลายคนชอบพูดว่า ไม่สามารถร้องเพลงแต่เช้าได้
หรือร้องเพลงตอนดึกๆ ไม่ไหว เพราะเสียงไม่มา
ผมมั่นใจว่า ไม่มีคำๆ นี้ในพจนานุกรมของนักร้องที่ได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
ยกเว้น วันนั้นมันดันพิเรนท์ นอนดึกเสียงเกินกว่าเหตุ ดื่มสุรา หรือไม่สบาย

34. วิธีการรักษาเสียงของคุณอย่างง่ายๆ และได้ผล
คือการนำผ้าชุบน้ำอุ่น มาประคบที่คอ เป็นเวลาประมาณ 10 นาที
โดยช่วงนั้น คุณควรพักการใช้เสียงด้วย

35. รู้สึกเหมือนคอมีเสมหะตลอดเวลาเลย เรื่องแบบนี้แก้ไม่ยาก
คุณสามารถล้างคอของคุณได้ ด้วยการดื่มน้ำอุ่น ผสมเกลือ 1/2 ช้อนโต๊ะ ผสมโซดา ทุกเช้า
วิธีนี้ได้ผลดีเลยทีเดียว ในการกำจัดอาการระคายคอบ่อยๆของคุณออกไป

36. เมื่อต้องขึ้นเวที อย่าใส่เสื้อผ้าที่หนาๆ เพราะแสงไฟบนเวทีน่ะ “ร้อนมาก”
ยืนพักเดียวก็เหงื่อชุ่มแล้ว ร้อนขนาดนั้น คุณคงไม่มีกระใจจะร้องเพลงสักเท่าไหร่หรอก

37. การเรียนรู้วิธีการร้องเพลง และการใช้เสียงอย่างถูกต้อง
ต้องใช้เวลาในการเรียน และการฝึกฝนเท่านั้น ไม่มีวิธีลัดใดๆทั้งสิ้น

38. ฝึกการฟังเป็นประจำ ด้วยแบบฝึกหัดการฝึกฟัง
การฟัง ทำให้คุณเป็นนักร้องที่ดีได้ เพราะถ้าคุณยิ่งแม่นยำในการฟังโน้ตเท่าไหร่
คุณก็จะสามารถขึ้นร้องเพลงบนเวทีได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะร้องเพี้ยน

39. หยุดซ้อมร้องเพลงได้ แต่อย่าให้เกินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
การซ้อมเสมอๆ ย่อมดีกว่าการหยุดซ้อมเป็นประจำ

40. ดูแลตัวเองอยู่เสมอ ทั้งเรื่องเสียง หน้าตา สุขภาพร่างกาย
เพื่อให้เราเป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดูดี สะอาดสะอ้าน ร่างกายแข็งแรง
หน้าตาสดใส จิตใจปลอดโปร่ง พร้อมสำหรับการร้องเพลงอย่างมีคุณภาพ
และเป็นนักร้องที่ดี

Comments

comments

More from my site

  • เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต
    สอนร้องเพลง | อยากฝึกร้องเพลง แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง?
  • เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต
    สอนร้องเพลง | สิ่งที่นักร้องต้องทำ… เชื่อในสิ่งที่ร้อง สื่ออารมณ์ไปถึงผู้ฟังให้ได้
  • เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต
    สอนร้องเพลง | ร้องเพลง… เรื่องง่ายๆ ที่ใครก็ทำได้
  • เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต
    MV คุกเข่า Cocktail (Covered by Be Elegance) [HD]
  • เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต
    สอนร้องเพลง | การร้องเพลงกับ “ความกล้า”
  • เทคนิคการขับร้อง บนเวที คอนเสิร์ต
    สอนร้องเพลง | จังหวะและเมโลดี้ คือ โครงสร้างของเพลง

สอนร้องเพลง

| Tags: 40 วิธีการเป็นนักร้อง, ครูสอนร้องเพลง, ร้องเพลง, สอนร้องเพลง