การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้

1.1�������¢ͧ��èѴ��Ҿ�Ǵ�����������͡�����¹�������
��èѴ��Ҿ�Ǵ�����������͡�����¹����Сͺ���¤���ѡ 3 �� ����
1) ��èѴ 2) ��Ҿ�Ǵ���� ��� 3) ������¹���

1.1.1 ��èѴ ���Ըա��
1) ��èѴ���ҧ�Ѵ�� 2) ��û�Ѻ��ا 3) ��û�Ѻ����¹��Ҿ�Ǵ����

1.1.2 ��Ҿ�Ǵ���� ����Ҿ�Ǵ������������ͺ��Ǣͧ������¹ ����觼ŵ�͡�кǹ��þѲ�Ҿĵԡ����ͧ������¹ ����
1) ��Ҿ�Ǵ�����ҧ����Ҿ 2) ��Ҿ�Ǵ�����ҧ�Ե�Ҿ ���
3) ��Ҿ�Ǵ�����ҧ�ѧ��

1.1.3 ������¹��� �繡�кǹ��þѲ�Ҿĵԡ����ͧ������¹��ҹ
1) �ط�Ծ���� 2) �Ե����� ��� 3) �ѡ�о����

����͹Ӥ������¢ͧ����ѡ��� 3 ��������ѹ����������¢ͧ����� � ��èѴ��Ҿ�Ǵ�����ҧ����֡�� �

( ����Է�������⢷�¸������Ҫ ��� : 7-12)

��ػ ��èѴ��Ҿ�Ǵ�����������͡�����¹������¶֧ ��èѴ���ҧ�Ѵ�� ��û�Ѻ��ا ��С�û�Ѻ����¹��Ҿ�Ǵ�����ҧ����Ҿ �Ե�Ҿ ����ѧ�� 㹡�кǹ��þѲ�Ҿĵԡ����ͧ������¹ ������������¹�դس���ѵԷ�駴�ҹ�ط�Ծ���� �Ե����� ��зѡ�о���� ��������ѡ�ٵá�˹�

More...>>>

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

โต๊ะทำงานห้องครูแมว - งานเขียนครูแมวเขียนโดย นฤมล เนียมหอม   
การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย
        ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากทั้งการวิจัยและการวิเคราะห์ของวงการวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมองและการเรียนรู้ของเด็ก มีประเด็นที่เด่นชัดว่าการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยทำให้ภาวะของสมองเหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ ประเด็นสำคัญที่ได้ประมวลมาจากบทความต่างๆ ที่นัยพินิจ คชภักดี (2548) ได้นำเสนอ มีแนวคิดที่เป็นสาระหลักที่ควรนำมาพิจารณาในการจัดสภาพแวดล้อม ดังนี้

• สมองเป็นอวัยวะที่มีความจำเฉพาะตัว และเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งแวดล้อมต่างๆ จนเกิดเป็นความแตกต่างและ
  หลากหลายของสมองที่สั่งสมมาตลอดชั่วชีวิต
• การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อสมองเผชิญกับความเครียดและความรู้สึกผ่อนคลายในปริมาณที่สมดุลกัน คือ การตื่นตัวแบบ
  ผ่อนคลาย ถ้าครูจะนำไปปฏิบัติก็ต้องสร้างบรรยากาศของห้องเรียน ไม่ใช่ให้ปลอดภัยเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำให้เกิดประกาย
  ของความรู้สึกกระหายใคร่รู้
• การปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมองกับสิ่งแวดล้อมทำให้ต้องตระหนักว่ายิ่งมีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์เท่าใด ก็จะทำให้สมองเกิดการเรียนรู้
  มากขึ้นเท่านั้น
• สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์จะส่งผลให้สมองมีการเชื่อมโยงของระบบประสาทเพิ่มขึ้นถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ทั้งในช่วงแรกและช่วงหลัง
  ของชีวิต ดังนั้นสภาพแวดล้อมของคนเราจึงต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความหลากหลาย
• การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับการหายใจ เพียงแต่การเรียนรู้ถูกยับยั้ง หรือส่งเสริมด้วยปัจจัยบางอย่างได้
• การเชื่อมโยงของระบบประสาทขึ้นอยู่กับปัจจัยของสิ่งแวดล้อม นั่นคือ ลักษณะของโรงเรียน กับสิ่งที่พบในชีวิตประจำวันด้วย
• การควบคุมความเครียด โภชนาการ การออกกำลังกาย และการผ่อนคลาย รวมทั้งการบริหารสุขภาพในรูปแบบอื่นๆ จะต้องเป็น
  ส่วนสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาถึงความเหมาะกับการเรียนรู้ด้วย
• เด็กปกติที่มีอายุเท่ากัน อาจมีอายุทางพัฒนาการของทักษะพื้นฐานแตกต่างกันได้ถึงห้าปี
  ฯลฯ

ตัวอย่างการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย
        นวัตกรรมทางการจัดศึกษาปฐมวัยต่างให้ความสำคัญต่อการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งสิ้น ในที่นี้เป็นตัวอย่างแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมของนวัตกรรมทางการศึกษา-ปฐมวัย 3 นวัตกรรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้

แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมของการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ
        การจัดบรรยากาศภายในห้องเรียน อาคารเรียน และบริเวณโรงเรียนเป็นองค์ประกอบสำหรับการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ ความงดงามของธรรมชาติจะปรากฏอยู่ทั้งบริเวณกลางแจ้งและภายในอาคาร มีการนำภาพศิลปะ งานประติมากรรม กลิ่นหอมของธรรมชาติเข้ามาตกแต่ง ทำให้บรรยากาศของโรงเรียนสงบ และอ่อนโยน ภายใต้แนวคิดที่ว่า เด็กวัย 0 - 7 ปี เป็นวัยที่เรียนรู้จากการเลียนแบบ สิ่งที่เด็กเลียนแบบในช่วงนี้จะฝังลึกลงไปในเด็ก หล่อหลอมเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ และฝังแน่นไปจนโต ทั้งนี้ จากงานวิจัยของวีณา ก๊วยสมบูรณ์ (2542) ได้นำเสนอแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ ไว้ดังนี้

บริเวณภายในห้อง
        บริเวณภายในห้องควรจะเป็นกันเอง และสว่างไสวเพียงพอ ไม่จ้าจนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดความร้อน เด็กจะขาดสมาธิในการเรียน อาจใช้ผ้าม่านเพื่อช่วยกรองแสงให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ ไม่ควรเป็นห้องที่มืดจนเกินไป หากห้องมีลักษณะมืด ควรเปิดไฟ หรือตั้งโคมไฟในบางจุดที่จำเป็น และหลีกเลี่ยงการใช้แสงที่ไม่ใช่แสงธรรมชาติในเวลากลางวัน ใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้สีธรรมชาติ สีสันบนผนังห้องเรียนทาสีอ่อนเพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าอยู่ ให้เด็กที่ได้มานั่งในห้องได้นึกถึงความสดชื่นยามอยู่ใต้ต้นไม้ ที่ออกดอกบานสะพรั่ง

บริเวณกลางแจ้ง
        บริเวณกลางแจ้งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นสนามเด็กเล่นอยู่ติดกับตัวอาคาร โดยจัดให้ใช้ได้ในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย พื้นผิวควรแข็งเพื่อให้แห้งเร็วเมื่อฝนตก ควรตั้งอยู่ทางด้านที่แดดส่องถึง เพื่อให้เด็กๆ ได้รับแสงแดดยามเช้า บ่อทรายควรอยู่บริเวณนี้ ไม้เลื้อยบนกำแพง ต้นไม้ และแปลงดอกไม้ช่วยให้บริเวณนี้เป็นสถานที่ที่น่าสบายสำหรับเด็กๆ ส่วนที่สองอยู่ห่างจากตัวอาคารใช้เป็นที่เล่นและออกกำลังกาย ควรจัดเป็นอาณาจักรสำหรับเด็ก ทำทางสำหรับรถเข็นและทางสำหรับเดิน โดยออกแบบทางเดินให้โค้งไปมาน่าเดินและผ่านจุดที่น่าสนใจ เนินเขาเป็นจุดเสริมที่มีคุณค่ามากในสนามเด็กจะได้วิ่งขึ้นและลง เป็นการใช้กล้ามเนื้อหลายส่วนอย่างเป็นอิสระและเป็นธรรมชาติ ส่วนหนึ่งของพื้นที่เป็นที่ตั้งของชิงช้า ไม้ลื่น ต้นไม้พุ่มเตี้ยๆ และปลูกไม้ดอกหรือพืชผักสวนครัว

อุปกรณ์ภายในห้องเรียน
        ควรมีอ่างล้างมือขนาดใหญ่ที่อยู่ในระดับต่ำพอที่เด็กๆ จะเอื้อมมือถึงระดับน้ำได้ง่าย ลอยเรือลำเล็กๆ หรือ แช่กระดาษวาดเขียนได้ มีช่องเก็บของส่วนตัวของเด็กแต่ละคน มีตู้ขนาดใหญ่สำหรับเก็บวัสดุที่ครูต้องใช้ มีชั้นสำหรับวางอุปกรณ์และของเล่น อาจมีมุมตุ๊กตา มุมงานช่าง มีโต๊ะสำหรับทำกิจกรรมที่มีน้ำหนักเบาที่เคลื่อนย้ายได้ ของเล่นที่จัดไว้เป็นของเล่นที่มีความสมบูรณ์น้อยแต่ชี้ช่องทางในการเล่นได้มาก เช่น ตุ๊กตาที่ไม่ได้วาดหน้าไว้อย่างตายตัว นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้สีน้ำ พู่กัน กระดาษ สีเทียน ขี้ผึ้ง ที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะอีกด้วย

อุปกรณ์กลางแจ้ง
        อุปกรณ์ชิ้นสำคัญ คือ บ่อทรายที่บรรจุทรายพูนเหนือระดับดินเล็กน้อย มีม้านั่งยาวตัวเตี้ยล้อมรอบ สิ่งที่ให้ความเพลินเพลินแก่เด็กเป็นพิเศษ คือ บ้านเด็กเล่นที่ไม่ประณีตหรือเสร็จสมบูรณ์จนเกินไป โดยจัดเตรียมโครงไม้และหลังคาไว้เพื่อให้เด็กทำส่วนที่เหลือกันต่อเอง มีลังไม้สำหรับใส่อุปกรณ์กลางแจ้ง อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ รถเข็นให้เด็กเข็นหรือลากไปตามทางเดิน หรือจะขึ้นไปนั่งก็ได้ มีชิงช้า ไม้ลื่น ราวสำหรับห้อยโหน ตาข่ายปีนป่าย มีอุปกรณ์ก่อสร้าง เช่น กระดาน นั่งร้าน บันได อิฐ พลั่ว ถัง เครื่องมือทำสวน เป็นต้น

แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่
        จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ (2549) ได้รวบรวมลักษณะของสิ่งแวดล้อมในอุดมคติของมอนเตสซอรี่ ซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก-ปฐมวัยไว้ 4 ประเด็น ดังนี้

การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
        ทุกอย่างที่จัดไว้ในห้องเรียนมีขนาดเล็ก เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ โต๊ะ เก้าอี้ วัสดุอุปกรณ์อยู่ในสภาพที่เด็กหยิบออกมาใช้ได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ ถือหลักของความจริง ("Reality" principle) นำของจริงมาให้เด็กใช้ เนื่องจากเมื่อเด็กต้องช่วยเหลือตนเอง หรือช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม สิ่งที่เด็กต้องเข้าไปทำเป็นของจริง จึงนำของจริงมาใช้ในห้องเรียน เช่น แก้วจริง มีดจริงๆ สำหรับทำอาหาร และทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์จริง ทั้งนี้ ควรให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติรอบตัวเพื่อช่วยพัฒนาทั้งกายและจิต ให้เด็กมีความสนุกสนานในการสำรวจ และจัดการกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ มีสิ่งช่วยกระตุ้นเด็กในห้องเรียน อาจจะเป็นภาพติดผนัง โต๊ะสำรวจธรรมชาติ สัตว์เลี้ยง เป็นต้น

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อความสุนทรียะ
        คำว่า สุนทรียะ หมายถึง สภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ควรมีความสวยงาม การตกแต่งที่เจริญหูเจริญตา มีสีสันไม่ร้อนแรง เพื่อให้เด็กซึมซับความงามของสิ่งต่างๆ รอบตัว ความสวยงามดังกล่าวเชื่อมต่อกับความมีระเบียบ เด็กได้รับการกระตุ้นที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมทางสุนทรียะมีคุณภาพและมีระเบียบด้วย ของทุกอย่างในห้องเรียนจะมีที่อยู่และกำหนดไว้อยู่แล้ว ของเหล่านี้จะวางในสภาพที่เด็กหยิบจับได้เอง ดังนั้น ความมีระเบียบและความงดงามหมดจดจะปรากฏให้เห็น วัสดุต่างที่ใช้ในห้องเรียนควรทำความสะอาดได้ง่าย หรือล้างได้เพื่อจะได้ฝึกให้เด็กมีนิสัยรักความสะอาด ซึ่งเป็นนิสัยที่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลักของชีวิต (Sensitive periods) และสิ่งเหล่านี้จะติดตัวไปจนโต ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมทั้งมวลที่กล่าวมาแล้วจะช่วยสร้างให้เกิดบรรยากาศของความสงบและสันติ

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการใช้ปัญญา
        จุดแรกที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับอุปกรณ์เพื่อการสอนที่จัดไว้ในสิ่งแวดล้อม จะต้องช่วยพัฒนาการใช้ปัญญาของเด็กผ่านกิจกรรมการสำรวจ เพราะเป็นวิถีทางที่เด็กเรียนรู้ตามขั้นตอนของพัฒนาการ จุดที่สองเกี่ยวกับอุปกรณ์ คือ ในห้องเรียนจะมีอุปกรณ์แต่ละชนิดเพียงชุดเดียว เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการแบ่งปัน การให้ความเคารพ และเห็นคุณค่าของวัสดุอุปกรณ์ ลักษณะเด่นเฉพาะของห้องเรียนมอนเตสซอรี่ คือ สถานการณ์ควบคุมความมีอิสระโดยการจัดอุปกรณ์ เด็กมีอิสระในการทดลองกับชุดอุปกรณ์ ได้เรียนรู้ที่จะใช้อุปกรณ์ตามจุดมุ่งหมายของอุปกรณ์แต่ละชิ้น ใช้ด้วยความระมัดระวัง และเคารพในอุปกรณ์ที่ใช้ รู้จักหมุนเวียนกันในการใช้อุปกรณ์ คืนอุปกรณ์สู่ที่เดิมในรูปแบบเดิมที่พร้อมสำหรับคนอื่นจะใช้

การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคมและอารมณ์
        เด็กได้รับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมที่จัดเอาไว้เพื่อสนองความต้องการของเขา เด็กได้เรียนรู้ที่จะให้ความเคารพต่อผู้ใหญ่ ต่อเพื่อน และได้รับความเคารพจากผู้อื่นภายใต้สภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีลักษณะพิเศษ คือ การจัดกลุ่มในแนวตั้ง เป็นการจัดกลุ่มคละอายุ เพื่อให้เด็กมีโอกาสดูแลคนอื่น และได้รับการดูแลจากคนอื่น จุดเด่นอีกเรื่องหนึ่งคือ บรรยากาศที่มีระเบียบทำให้เด็กเคารพข้อตกลงภายใน (Inner rules) เด็กมีอิสระในการเลือกงาน เลือกที่นั่งทำงาน และเพื่อน เด็กจะซึมซับสภาพที่เงียบ มีระเบียบ สงบ ในบรรยากาศของความร่วมมือ ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกและผู้ประสานงาน สังเกตเด็กในขณะที่ดูแลกลุ่มเด็ก และดูแลเด็กแต่ละวัยด้วยในเวลาเดียวกัน สาธิตการใช้อุปกรณ์ สังเกตและบันทึกการทำงานของเด็กกับอุปกรณ์และพฤติกรรมอื่นๆ

แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมตามหลักสูตรจุฬาลักษณ์
        น้อมศรี เคท และคณะ (2549) ได้จัดทำหลักสูตรจุฬาลักษณ์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กอนุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยใช้แนวคิดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ การจัดศูนย์การเรียน และการทำโครงงาน หลักสูตรนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย ดังนี้

การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

1) การจัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน
        จัดอาคารสถานที่และบริเวณโรงเรียนให้สะอาด ปลอดภัย สวยงาม สร้างบรรยากาศให้ปลอดโปร่ง สบายใจ ใกล้ชิดธรรมชาติ และกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมในชุมชน มีเครื่องเล่นสนามที่ตั้งในตำแหน่งที่ปลอดภัย อยู่ในสภาพดี เครื่องเล่นควรทำจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น จัดบริเวณสำหรับเล่นให้มีความหลากหลายทั้งในร่มและกลางแจ้ง มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น หญ้า ดิน ปูน ไม้ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและการดูแลรักษา มีสถานที่ประกอบอาหารเป็นสัดส่วน สะอาด จัดสถานที่และเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารให้สะอาด และสวยงาม จัดน้ำดื่มให้พอเพียงให้เด็กดื่มได้โดยสะดวก มีห้องส้วมเพียงพอ โดยให้มีขนาดและตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก ดูแลให้สะอาดถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์และสถานที่สะอาดและเหมาะสมในการทำความสะอาดร่างกาย เช่น ล้างมือ ล้างหน้า แปรงฟัน รวมทั้งจัดถังขยะให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน และดูแลรักษาด้วย

2) การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
        ห้องเรียนควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก มีแสงสว่างเพียงพอและสม่ำเสมอทั่วห้อง โต๊ะเก้าอี้มีขนาดเหมาะสมกับวัย น้ำหนักเบาให้เด็กเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวกเด็กแต่ละคนมีเครื่องใช้ส่วนตัวในการทำความสะอาดร่างกาย และเครื่องใช้ในการนอน โดยจัดเก็บเป็นระเบียบ สวยงาม ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งห้องเรียนให้สวยงาม เลือกสรรวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้ที่มีความสร้างสรรค์ ทนทาน หลากหลายมาใช้งาน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและความทนทาน มีการจัดระบบการวางวัสดุอุปกรณ์ให้เด็กหยิบใช้ได้โดยสะดวก มีการตรวจสอบความสะอาด ความพร้อมในการใช้งานของวัสดุอุปกรณ์และสื่ออย่างสม่ำเสมอ เลือกสถานที่ในการเรียนรู้ให้เหมาะกับลักษณะของกิจกรรม เช่น กิจกรรมที่สงบอยู่ไกลจากกิจกรรมที่ใช้เสียง กิจกรรมที่ต้องการแสงสว่างอยู่ใกล้กับหน้าต่าง เป็นต้น จัดการจราจรทั้งในและนอกห้องเรียนให้สะดวกต่อการเคลื่อนไหวของเด็กขณะทำกิจกรรม สิ่งสำคัญคือสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้อบอุ่น เป็นมิตร และเต็มไปด้วยความรักความเมตตา

การจัดสภาพแวดล้อมทางบุคคล

1) บุคลิกภาพของครู
        บุคลิกภาพของครูช่วยเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในห้องได้เป็นอย่างดี ครูควรยิ้มแย้มแจ่มใส มีกิริยามารยาทแบบไทย แต่งกายเหมาะสมกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ใช้ภาษาถูกต้องชัดเจน เต็มใจตอบคำถามของเด็ก พูดกับเด็กด้วยเสียงนุ่มนวลเป็นมิตร และพูดชี้แจงเหตุผลแก่เด็กด้วยน้ำเสียงปกติ

2) การจัดการชั้นเรียนของครู
        ครูควรใส่ใจดูแลให้เด็กอยู่ร่วมกันในห้องเรียนอย่างมีความสุข พร้อมทั้งเรียนรู้สิทธิและหน้าที่ของตนด้วย จึงต้องมีการจัดทำข้อตกลงร่วมกัน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ มีแนวทางปฏิบัติเมื่อเด็กไม่ทำตามข้อตกลง และแก้ไขปัญหาเมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น

3) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก
        ความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับเด็กช่วยเสริมสร้างให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย สร้างความมั่นใจในตนเอง และเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ครูควรสร้างความสัมพันธ์กับเด็กด้วยท่าทาง เช่น ยิ้ม สัมผัส ทักทายและพูดคุยกับเด็กทั้งเมื่อเด็กมาถึง ขณะรับประทานอาหาร เตรียมตัวทำกิจกรรม หรือเด็กลากลับบ้าน ดูแลเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ ไม่สบาย หรือต้องการกำลังใจ รับฟังเมื่อเด็กพูดด้วย ให้โอกาสเด็กที่ต้องการพูดคุยกับครู ตอบเมื่อเด็กถาม และยอมรับการช่วยเหลือของเด็ก

4) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน
        ครูมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน ครูจึงควรสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครองด้วยการจัดทำป้ายนิเทศซึ่งมีสาระเกี่ยวกับเด็ก ผู้ปกครอง ชุมชน และโรงเรียน จัดทำจดหมายข่าวถึงผู้ปกครอง กระตุ้นให้ผู้ปกครองแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทางโรงเรียน สนับสนุนให้ผู้ปกครองเยี่ยมชั้นเรียนของบุตรหลาน จัดประชุมสัมมนาระหว่างผู้ปกครองและครู รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้ทำงานอาสาสมัครร่วมกับทางโรงเรียน


การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้คืออะไร

สรุป การจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้หมายถึง การจัดสร้างจัดหา การปรับปรุง และการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางกายภาพ จิตภาพ และสังคม ในกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ตามที่หลักสูตรกำหนด

การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีอะไรบ้าง

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1. สภาพแวดล้อม ภายนอกทางด้านกายภาพ และ 2. สภาพแวดล้อมภายในทางด้านจิตวิทยา นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ เช่น สภาพแวดล้อมทางสังคม สภาพแวดล้อมทางวิชาการ สภาพแวดล้อมทางการบริหารจัดการ เป็นต้น โดยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ...

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้อย่างไร ยกตัวอย่าง

สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ อุณหภูมิเหมาะสม แสงสว่างเพียงพอ ปราศจากเสียงรบกวน มีพื้นที่และอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการทำกิจกรรมที่หลากหลาย ห้องเรียนถูกตกแต่งให้น่าสนใจด้วยข้อมูล ความรู้ ผลงานเด็ก มีมุมอ่าน และมุมประสบการณ์ต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้มีชีวิต อบอุ่น และผ่อนคลาย

สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้มีความสําคัญอย่างไร

ความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีหลาย ประการได้แก่ 1. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนและ อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน สภาพ แวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสม เช่นห้องเรียนมีความ สะดวกสบาย มีอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนครบ ถ้วน ทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน ผู้สอนก็มี