บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

                 “หน่วยงานภาคี” หมายถึง หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน เอกชน หรือองค์กรอื่น ที่มีข้อตกลงร่วมกันกับสำนักงานคุมประพฤติให้เป็นหน่วยงานที่จัดให้    ผู้ถูกคุมความประพฤติทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้มีความสำคัญต่อกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ที่จะช่วยให้ผู้กระทำผิดได้ทำงานชดใช้ตอบแทนสังคม เกิดจิตสำนึกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นคนดีของสังคมได้ต่อไป หน่วยงานต่างๆ สามารถติดต่อขอข้อมูลการเข้าร่วมเป็นหน่วยงานภาคีได้จากสำนักงานคุมประพฤติในพื้นที่นั้น 

การรอการลงโทษ

 เป็นมาตรการ  ให้โอกาสแก่ผู้กระทำความผิด  ได้มีโอกาสกลับตนเป็นคนดี โดยไม่ต้องถูกจำคุก  ชื่อก็บอกแล้วว่ารอการลงโทษไว้ ที่คนทั่วไปเรียกว่า รอลงอาญา คือไม่ต้องถูกจำคุก แต่มีเงื่อนไข ให้บำเบ็ญประโยชน์ฯ  ตามที่ศาลเห็นสมควร  ซึ่งการบำเพ็ยประโยชน์ก็ไม่ได้หนักหนาสาหัสอะไรมากมาย  จุดมุ่งหมาย คงต้องการควบคุมให้คนต้องโทษมีวินัย  เคารพกฎระเบียบของสังคม ตัวอย่าง   ทำงานเกี่ยวกับให้ความบันเทิง แก่คนพิการ คนชรา ฯ เช่นสอนหนังสือ   2 ชั่วโม. ถือว่าเป็นการทำงาน 1 วัน  ....ถ้าทำงานเกี่ยวกับวิชาชีพ เช่นช่างต่างๆ  3 ชั่งโมง  ถือเป็น 1 วัน...ทำงานบริการสาธารณะ ปลูกป่า งานจราจร  4 ชั่งโมง  ถือเป็น  1 วัน เป็นต้น....ถ้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่ศาลกำหนด  สนง.คุมประพฤติ  อาจจะมีการแจ้งไปยังศาล  ให้ นำตัวไปลงโทษจริง ที่รอไว้  เช่น จำคุก  1 ปี  แต่ให้รอไว้ 2 ปี ให้มีโอกาสปรับปรุงตน  ถ้าผิดเงื่อนไข อาจจะ นำโทษมีรอไว้ 1 ปี มาลงโทษจริง คือเข้าเรือนจำจริง  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

กรมคุมประพฤติจัดเพิ่มโปรแกรม แยกผู้ถูกคุมประพฤติเป็น 5 กลุ่ม 'ยาเสพติด-ผิดกฏหมายจราจร เมาแล้วขับ-ทำร้ายร่างกาย-ความผิดเศรษฐกิจ-คดีการเมือง' โดยกลุ่มคดีการเมืองส่งบำเพ็ญประโยชน์ สร้างสมาธิที่วัด | ที่มาภาพประกอบ: Hippopx (CC0)

สำนักข่าวไทย รายงานเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 ว่านายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ระบาด และกรมราชทัณฑ์ มีการพิจารณาพักการลงโทษ ทำให้มีผู้ถูกคุมประพฤติเข้าสู่การทำงานบริการสังคมเพิ่มมากขึ้น กรมจึงได้จัดแบ่งผู้ถูกคุมประพฤติ ใน 5 กลุ่มคดีเพื่อจัดโปรแกรมคุมประพฤติให้เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤตินิสัย ไม่ให้กระทำผิดซ้ำ เพื่อให้สังคมยอมรับและมั่นใจมากขึ้น โดยตามประเภทคดี ได้แก่

1.ผู้ถูกคุมประพฤติ จากคดียาเสพติด ซึ่งมีมากถึงร้อยละ 80 กลุมนี้ ส่งเข้าอบรมและบำบัด ทำศูนย์ฟื้นฟู สร้างโปรแกรมบำบัดทั้งระยะสั้นและระยะยาว ยึดหลักผู้เสพเป็นผู้ป่วย

2.คดีกระทำผิดกฏหมายจราจร เมาแล้วขับ ขับรถเร็ว จำแนกออกเป็นกลุ่มเสี่ยงมาก เสี่ยงปานกลางและเสี่ยงน้อย จัดเข้าอบรมวินัยจราจร โทษเมาแล้วขับ และให้ดูแลสัมผัสเหยื่อ ที่สูญเสียจากอุบัติเหตุเมาแล้วขับ

3.กลุ่มคดีทำร้ายร่างกาย ใช้ความรุนแรงก่อคดี กลุ่มนี้จะถูกส่งบำเพ็ญประโยชน์ในโรงพยาบาล

4.กลุ่มคดีความผิดเศรษฐกิจ ที่หากนายสรยุทธ สุทัศนะจินดาได้พักโทษใส่กำไลอีเอ็ม และถูกคุมประพฤติต่ออีก 2ปีกว่าก็จะถูกจัดในกลุ่มนี้

โปรแกรมคุมประพฤติ แบ่งเป็น ทำผิดเพราะโลภ อยากได้อยากมี ต้องเข้าโปรแกรมอบรมให้รู้จักวิธีจัดการกับความอยากได้ รู้จักขจัดความโลภ และแบ่งปันเป็น อีกแบบคือกระทำผิดเพราะจำเป็น ไม่มีอาชีพไม่มีรายได้ กลุ่มนี้ กรมเตรียมโปรแกรม สร้างอาชีพสตรีทฟู้ดให้ผู้ถูกคุมประพฤติกลุ่มนี้ ฝึกทำอาหารเพื่อมีอาชีพเป็นพ่อครัวหรือ ผู้ช่วยแม่ครัว หรือเปิดขายอาหารตามสั่งเองได้

5.กลุ่มความผิดคดีการเมือง ที่ปัจจุบันมีมากขึ้น ต้องจัดโปรแกรมสร้างวิธีคิด การเคารพกติกาสังคม โดยจัดโปรแกรมเพิ่มจริยธรรมคุณธรรม ให้อบรมเพิ่มสมาธิมากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ มีความรู้แต่อาจใจร้อน จึงต้องพยายามใส่ธรรมะเข้าไป ให้แก้ปัญหาต่างๆอย่างใจเย็นลง ซึ่งกลุ่มนี้มีนายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ที่ได้พักโทษใส่กำไลอีเอ็มและกรมส่ง ไปฝึกสมาธิที่วัดบางกรวย นนทบุรี

อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวอีกว่าแต่ละปีมีผู้ถูกคุมประพฤติ 5 แสนคน เป็นผู้ถูกคุมประพฤติใหม่ ปีละ 3 แสนคน ที่เหลืออีก 2 แสนคนเป็นผู้ถูกคุมประพฤติสะสม แต่ละคนถูกคุมประพฤติ 1-5 ปี การพัฒนาโปรแกรม ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมให้ผู้เคยกระทำผิด ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และอยู่ร่วมในสังคมได้

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565  พันเอกศุภณัฏฐ์ หนูรุ่ง   รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ เป็นหัวหน้าคณะนำเจ้าหน้าที่กรมคุมประพฤติจำนวน 20 คน เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา กระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ 9  “เราทำความดีเพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ณ ท่าเรือหลักหก (คลองเปรมประชากร) แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเน้นกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเน้นให้บุคลากรในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ตลอดทั้งเครือข่ายมีจิตสาธารณะ เสียสละ รักสามัคคี และเคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของกระทรวงยุติธรรม

ท่านคิดว่าข้อมูลข่าวสารนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย
ท่านมีความเข้าใจในข้อมูลข่าวนี้มากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย
ท่านพึงพอใจในรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ส่งข้อมูล

อัลบั้มรูปภาพ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ

บําเพ็ญประโยชน์ คุมประพฤติ