ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน

สุรา

ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน

download file
ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน
polobo sura
                                           พรบ.สุรา พ.ศ.2493
                                                            โดย พ.ต.ท.สมศักดิ์ ตังคณาพร
คำจำกัดความ
1.สุรา
หมายความรวมถึง วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำ สุราหรือซึ่งดื่มกินไม่ได้ แต่เมื่อผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้ว สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา
2.สุราแช่
หมายความว่า สุราที่ไม่ได้กลั่นและให้หมายความรวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุราที่กลั่น แล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรีด้วย
3.สุรากลั่น
หมายความว่า สุราที่ได้กลั่นแล้วและให้หมายความรวมถึงสุรากลั่นที่ได้ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่มีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 50 ดีกรีด้วย
4.เชื้อสุรา
หมายความว่า แป้งสุรา แป้งข้าวหมักหรือเชื้อใดๆซึ่งเมื่อหมักกับวัตถุหรือของเหลวอื่นแล้วสามารถทำให้เกิดแอลกอฮอล์ที่ใช้ทำสุราได้
5.เจ้าพนักงานสรรพสามิต
หมายความว่า เจ้าพนักงานสรรสามิต ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
6.พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า เจ้าพนักงานสรรสามิต และผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
การทำหรือผลิตสุรา

ห้ามมิให้ผู้ใดทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่น สำหรับทำสุรา ไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพสามิต
ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตในการทำสุรา จะต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดในเรื่องเกี่ยวกับวิธี ผลิต การใช้วัตถุดิบ การเก็บสุรา ชนิดและความแรงของสุรา
การนำเข้าสุรา

ห้ามมิให้บุคคลใดนำสุราเกินกว่า 1 ลิตร เข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่ ได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงานสรรพสามิต
สำหรับกรณีการนำเข้ามาเพื่อเป็นตัวอย่างสินค้าหรือมิใช่เพื่อการค้า อธิบดีมีอำนาจผ่อนผันให้นำเข้ามาได้ตามจำนวนทางด่านศุลกากรที่อธิบดีประกาศ กำหนดไว้ในราชกิจจานุเบกษาโดยไม่ต้อง มีใบอนุญาต
การนำเข้าสุราเข้ามาในราชอาณาจักร มิให้รวมถึงผู้มีหน้าที่ขนส่งสุราโดยสุจริต ไม่จำกัดว่าจะขนส่งสุรามาเป็นจำนวนเท่าใดก็ตาม เนื่องจากมิใช่เป็นผู้นำเข้า
ภาษีสุรา
ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ ทำหรือผลิตสุรา จะต้องเสียภาษีก่อนขนสุราออกจากโรงงานตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง การเก็บภาษีส่วนใหญ่จะกระทำโดยปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราภายใต้การควบ คุมของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้มีการจัดเก็บโดยวิธีอื่นได้ตามสมควรโดยออกเป็นกฎกระทรวง
สำหรับสุราที่ผลิตหรือทำไว้ในบ้านเรือนไม่ต้องเสียภาษี
กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุราที่ได้เสียภาษีแล้ว ให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำสุราปิดอากรแสตมป์ที่ภาชนะบรรจุใหม่ได้โดยไม่ ต้องเสียภาษีอีก
กรณีการส่งออกนอกราชอาณาจักร

           กรณีการส่งสุราที่ผลิตในประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้ส่งเสริมการส่งสินค้าออกผลิตภัณฑ์ของประเทศโดยผู้ที่ได้รับอนุญาต ให้ผลิตหรือทำสุราได้ส่งออกสุราของตนซึ่งได้ผลิตหรือในราชอาณาจักรออกไปนอก ราชอาณาจักร ผู้ที่ได้รับอนุญาตผลิตหรือทำสุราสามารถขอยกเว้นภาษีสำหรับการส่งออกได้ โดยต้องปฏิบัติการวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ทั้งนี้จะเป็นการยกเว้นการเสียภาษีแบบปกติ โดยไม่ต้องเสียภาษีโดยวิธีการติดแสตมป์ ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงบรรดาสุราที่ผลิตในราชอาณาจักรเพื่อส่งออกและได้ ติดแสตมป์ส่งออกไปก่อนแล้ว
สำหรับแสตมป์สุราที่ผู้ได้รับอนุญาตผลิต หรือทำสุราซึ่งมีไวก่อนกฎกระทรวงใช้บังคับ และยังไม่ได้ใช้ภาชนะบรรจุสุราให้ใช้เป็นเครดิต ในการเสียภาษีสุราได้โดยวิธีส่งคืนแสตมป์สุรา
กรณีการนำสุราจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร
จะต้องเสียภาษีสุราโดยวิธีการปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุตามอัตรา ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เว้นแต่ สุราที่ไม่เกิน 1 ลิตร และได้เปิดภาชนะบรรจุแล้ว การปิดอากรแสตมป์นั้นจะต้องปิดก่อนการขนผ่านด่านศุลกากร เว้นแต่อธิบดีจะอนุญาตให้นำไปปิด ณ.สถานที่อื่นๆในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้
การเสียภาษี

ตามบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติสุรา ได้กำหนดให้เสียภาษีสุราในอัตราทั้งมูลค่าและตามปริมาณ โดยให้เสียภาษีในอัตราที่สูงกว่า
การเสียภาษีสุรา ตามอัตรามูลค่าให้ถือมูลค่าตาม มาตรา 8 (1),(2) โดยให้รวมภาษีสุราที่ต้องพึงชำระด้วย
1.ในกรณีสุราที่ผลิตหรือทำ ในราชอาณาจักร ให้ถือตามราคาขาย ณ.โรงงานสุรา หากไม่มีราคาขาย ณ.โรงงานสุราหรือราคาขายมีหลายราคา ให้ถือตามราคาที่อธิบดีกำหนด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
2.ในกรณีสุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ให้ถือตามราคา ซี.ไอ.เอฟ.ของสุราบวกด้วยอากรขาเข้า และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุนและภาษีค่าธรรมอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีที่ผู้นำเข้าได้รับการยกเว้นหรือลดอากรขา เข้าตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุนหรือกฎหมายอื่น ให้นำอากรขาเข้าซึ่งได้รับการยกเว้นหรือลดในอัตราดังกล่าว มาคำนวณรวมเป็นอัตรามูลค่า ตามพระราชบัญญัติสุรา มาตรา 8 (2)ด้วย
สำหรับราคา ซี.ไอ.เอฟ. ที่ใช้นำมาคำนวณกรณีการนำเข้าสุราต่างประเทศนั้น ได้แก่ ราคาสินค้าที่บวกด้วยค่าประกันภัยและค่าขนส่งถึงด่านศุลกากรในราชอาณาจักร เว้นแต่ ในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศให้ราคาตามท้องตลาด สำหรับสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง ที่จะต้องเสียอากรตามราคาเป็นรายเฉลี่ย ตามกฎหมายว่าด้วย พิกัดอัตราศุลกากร ให้ถือราคานั้นเป็นราคาสุราในการคำนวณอัตราคา ซี.ไอ.เอฟ. ให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตผลิตหรือทำสุรา แจ้งราคาขาย ณ.โรงงานสุราต่ออธิบดี  ตามแบบและระยะเวลาที่กำหนด ในกรณีการนำสุราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร รัฐมนตรี จะประกาศกำหนดให้กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีเพื่อส่งกรมสรรพสามิตก็ได้
การปิดแสตมป์สุราจะเป็นการสมบูรณ์ต่อเมื่อ ได้ปิดครบถ้วนตามอัตราและได้ขีดฆ่าแสมป์นั้นแล้ว
การใช้และการขนสุรา
ห้ามมิให้ผู้ใดใช้สุราทำของสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อการ ค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต แต่ไม่รวมถึงการปรุงยาตามใบสั่งของแพทย์
การขนสุรา
ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตหรือทำสุราที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องออกจากโรงงาน สุรา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี การขนสุรานั้นจะทำการขนสุราตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไปไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต หรือกรณีการขนสุราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้า พนักงานศุลกากร เว้นแต่เป็นสุราประเภทที่ได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวง และผู้ได้รับอนุญาตให้ขนสุรา ต้องนำใบอนุญาตดังกล่าวกำกับไปด้วยกับการขนสุรา
แต่การที่ผู้ใดทำการขนสุราที่ทำในราชอาณาจักรเกินกว่า 1 ลิตรแต่ไม่ถึง 10 ลิตรเข้าและหรือออกในเขตท้องที่ที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตก่อน ทั้งนี้มิให้ใช้บังคับแก่กรณีผู้ที่เป็นโดยสารทำการขนสุราโดยใช้ยานพาหนะ สาธารณะที่รับส่งคนโดยสารเป็นปกติผ่านเขตท้องที่ที่กำหนดนั้น หรือเป็นสุราที่ได้มีกฎกระทรวงยกเว้นให้ทำการขนได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตให้ ขนสุรา
ในการขนสุรา ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ขนสุรา จะต้องนำใบอนุญาตไปด้วยกับการขนสุราทุกครั้ง
การขายสุรา

ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายหรือนำเข้าสุราเพื่อจำหน่าย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิต และ
1.การขายสุราทั้งหมดในคราวเดียว ภายใต้การควบคุมของเจ้าพนักงานสรรพสามิต ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ขายสุรา ถึงแก่กรรมหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต
2.การขายในกรณีถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล
3.การขายโดยคำสั่งของอธิบดีกรมศุลกากร ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
ประเภทของใบอนุญาตจำหน่ายสุรา มีทั้งสิ้นด้วยกัน 7 ประเภท
ประเภทที่ 1
     คือ  สำหรับขายสุราทุกชนิด  ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนตั้งแต่  10  ลิตรขึ้นไป
ประเภทที่ 2
     คือ  สำหรับการจำหน่ายสุราที่ผลิตหรือทำขึ้นในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนตั้งแต่  10  ลิตรขึ้นไป
ประเภทที่ 3    คือ  สำหรับขายสุราทุกชนิด  ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่า  10  ลิตร
ประเภทที่ 4   คือ สำหรับการจำหน่ายสุราที่ผลิตหรือทำขึ้นในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่งเป็นจำนวน      ต่ำกว่า  10  ลิตรขึ้นไป
ประเภทที่ 5
   คือ  สำหรับขายสุราทุกชนิด  ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่า  10  ลิตร เพื่อดื่ม ณ.สถานที่ขายเป็นการชั่วคราวไม่เกิน  10  วัน
ประเภทที่ 6
   คือ  สำหรับการจำหน่ายสุราที่ผลิตหรือทำขึ้นในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่งเป็นจำนวน      ต่ำกว่า  10  ลิตร  เพื่อดื่ม ณ.สถานที่ขายเป็นการชั่วคราวไม่เกิน  10  วัน
ประเภทที่ 7
   คือ  สำหรับการขายสุราทุกชนิด  ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่า  10  ลิตรขึ้นไป เพื่อดื่ม ภายในสมาคม หรือสโมสร
สำหรับกรณีการขอออกใบอนุญาตประเภทที่ 4 ให้ออกแก่ผู้ทำการขายเร่ได้ด้วย
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และจะกำหนดเงื่อนไขใดๆแก่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสุราเพื่อปฏิบัติด้วย ก็ได้
กรณีการจำหน่ายสุราเร่ ให้ถือว่าใบอนุญาตให้จำหน่าย เป็นใบอนุญาตให้ขนสุราด้วย
ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสุราประเภทที่ 3 หรือประเภทที่ 4 ให้จำหน่ายสุราได้เฉพาะเวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงเท่านั้น
สำหรับใบอนุญาตให้จำหน่ายสุรา ประเภทที่ 1และประเภทที่ 2 นั้น ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนั้น เก็บหรือรักษาสุราประเภทที่ได้รับอนุญาตให้ขายไว้ ณ.สถานที่อื่นใดนอกจากที่ซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
และห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 เก็บหรือรักษาสุรา โดยเอาสุราอื่นใด น้ำ ของเหลว หรือวัตถุอื่นใด เจือปนหรือเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจาพนักงานสรรพสามิต และต้องกระทำต่อหน้าเจ้าพนักงานโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดี กำหนด
หากปรากฏว่า สุราที่อยู่ในความครอบครองของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งมิได้เป็นไปตามธรรมชาติ ในสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้นั้นทำการเปลี่ยนแปลงสุรา
และห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 3และประเภทที่ 7 ทำการเปลี่ยนแปลงสุรา โดยการนำสุราอื่น น้ำหรือของเหลว หรือวัตถุอื่นใดเจือปนลงหรือเปลี่ยนแปลงสุรา หรือภาชนะบรรจุ เว้นแต่ผู้ซื้อได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงสุราเพื่อดื่มในขณะนั้น
หากปรากฏว่า สุราที่มีอยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวเปลี่ยนแปลงเป็น อย่างอื่น ซึ่งมิได้เป็นไปตามธรรมชาติ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้นั้นทำการเปลี่ยนแปลงสุรา
เชื้อสุรา
คำ ว่าเชื้อสุราหมายถึงแป้งเชื้อสุราแป้งข้าวหมักหรือเชื้อใดๆเมื่อหมักกับ วัตถุหรือของเหลวอื่นที่สามารถทำให้เกิดแอลกอฮอล์ที่ใช้ทำสุราได้โดยพระราช บัญญัติสุราได้บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดขายหรือทำเชื้อสุราเว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตและห้ามมิให้ผู้ที่มีเชื้อสุราไว้ในครอบครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต หรือเป็นผู้ซื้อ หรือเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวแล้ว
บทกำหนดโทษ

ฐานความผิด

มาตรา

อัตราโทษ

1.ทำสุราหรือมีเครื่องกลั่นโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำหน่ายสุรานั้นด้วย

มาตรา 30

จำคุกไม่เกิน 6 เดือน
ปรับไม่เกิน 5 พันบาท
ทั้งจำและปรับ

2.ขายหรือนำออกแสดงเพื่อขายซึ่งสุราที่ทำโดยฝ่าฝืกฎหมาย

มาตรา 31

ปรับไม่เกิน 5 พันบาท

3.ซื้อหรือมีไว้ครอบครองสุราที่ทำโดยฝ่าฝืนมาตรา 5 โดยมีสุรากลั่นมีต่ำกว่า1ลิตรหรือมีสุราแช่ต่ำกว่า10ลิตร

มาตรา 32

ปรับไม่เกิน 1 พันบาท

4.ฝ่าฝืนระเบียบการอนุญาต

มาตรา 32 ทวิ

ปรับไม่เกิน 500 บาท

5.ขายหรือมีสุราเพื่อจำหน่ายโดยมิได้ปิดแสตมป์สุราหรือปิดไม่ครบถ้วยหรือปิดไม่ถูกต้อง

มาตรา 33

จำคุกไม่เกิน 6 เดิอน
ปรับไม่เกินสี่เท่าของภาษีสุรา

6.ขายหรือมีไว้เพื่อขายโดยไม่มีสิทธิซึ่งสุราที่ได้รับยกเว้นภาษีหรือสุราที่ได้รับการคืนภาษีและได้ส่งสุรานั้นออกนอกประเทศ

มาตรา 33 ตรี

จำคุกไม่เกิน 6 เดือน
ปรับไม่สี่เท่าของภาษีสุรา
ทั้งจำและปรับ

7.ซื้อหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่มิได้ปิดแสตมป์หรือปิดไม่ครบถ้วนหรือมิได้ปิดตามเงื่อนไข

มาตรา 34

ปรับไม่เกินสองเท่าของภาษีสุราแต่ไม่น้อยกว่าลิตรละ          50 บาท

8.ซื้อหรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่มีสิทธิซึ่งสุราที่ได้รับยกเว้นภาษหรือสุราที่ได้รับการคืนภาษีโดยส่งออกสุราไปออกนอกราชอาณาจักร

มาตรา 34 ทวิ

ปรับไม่เกินสองเท่าของภาษีสุราแต่ต้องไม่น้อยกว่า 50 ลิตร

9.ได้รับอนุญาตทำสุราแต่ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงเรื่องการเสียภาษี

มาตรา 34 ตรี

ปรับไม่เกิน 2 หมื่น

10.นำสุราเกินกว่า 1ลิตรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต

มาตรา 35

ปรับไม่เกิน 1 พันบาท

11.ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงอนุญาต

มาตรา 35 ทวิ

ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท

12.ฝ่าฝืน มาตรา 8 และมาตรา 22

มาตรา 36

ปรับไม่เกิน 2 พันบาท

13.ปิดและขีดฆ่าแสตมป์สุราโดยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด

มาตรา 37

ปรับไม่เกิน 2 พันบาท

14.ฝ่าฝืนมาตรา 12 ,21, 23

มาตรา 38

ปรับไม่เกิน 500 บาท

15.ขนสุราตั้งแต่สิบลิตรหรือขนออกนอกอาณาจักร

มาตรา 38 ทวิ

ปรับตามปริมาณที่ขน

16.ขนสุราที่ไม่ได้เสียภาษีออกจากโรงงานสุรา

มาตรา 39

จำคุกไม่เกิน 1 ปี
ปรับไม่เกินสี่เท่าของภาษีสุรา

17.ขายหรือแสดงออกขายสุรา        โดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งสุราที่         นำเข้ามาในราชอาณาจักร

มาตรา 40

ปรับไม่เกิน 500 บาท

18.ขายสุราไม่ตรงตามประเภทที่รุบุในใบอนุญาตหรือผู้ได้รับอนุญาตให้ขายได้ซื้อสุราจากผู้ไม่มีสิทธิขาย

มาตรา 40 ทวิ

ปรับไม่เกิน 200 บาท

19.ขายสุราไม่ตรงตามเวลาที่ระบุ

มาตรา 41

จำคุกไม่เกิน 500 บาท

20.ขายหรือทำเชื้อสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต

มาตรา 42

ปรับตามปริมาณที่ขน

21.มีเชื้อสุราไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต

มาตรา 42 ทวิ

ปรับไม่เกิน 200 บาท

22.ทำบัญชีสุราไม่ตรงความเป็นจริง
ยื่นบัญชีอันเป็นเท็จ

มาตรา 43

ปรับไม่เกิน 6 เดือน
จำคุกไม่เกิน 6 เดือน
ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท

23.ไม่แจ้งราคาขายหรือแจ้งราคาขายไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
แจ้งราคาขายอันเป็นเท็จ

มาตรา 43 ทวิ

ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท
จำคุกไม่เกิน 1 ปี
ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท

ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน

กฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคสุรา
พระราชบัญญัติ สุรา พ.ศ. 2493
หมวด 4 การขายสุรา
มาตรา 17 ห้ามมิให้ผู้ใดขายสุราหรือนำเข้าสุราออกแสดงเพื่อขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
หมวด 7 บทกำหนดโทษ
มาตรา 40 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 17 ถ้าสุรานั้นเป็นสุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ถ้าสุรานั้นเป็นสุราที่ทำขึ้นในราชอาณาจักร มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
กฎกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 36 พ.ศ. 2504
การขายสุราประเภทที่ 3 และ 4 ขายได้ในเวลา 11.00 – 14.00 น.และ 17.00 – 02.00 น.
ประเภทที่ 3 สำหรับการขายสุราทุกชนิดครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่าสิบลิตร
ประเภทที่ 4 สำหรับการขายสุราที่ทำในราชอาณาจักรครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่าสิบลิตร
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 294 เรื่องเด็กซึ่งประพฤติตนไม่สมควรแก่วัย
ข้อ 1 “ เด็ก ” หมายความว่า ผู้ซึ่งอายุไม่ครบสิบแปดปีบริบูรณ์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
หมวด 5 การปฏิบัติต่อเด็ก
ข้อ 20 ห้ามมิให้ผู้ใดขายหรือให้สุราหรือบุหรี่ หรือสิ่งเสพติดให้โทษอื่นแก่เด็ก หรือชักจูงเด็กให้ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่ หรือสิ่งเสพติดให้โทษอื่นใด เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์
หมวด 6 บทกำหนดโทษ
ข้อ 24 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประกาศกรมประชาสัมพันธ์ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์แลระยะเวลาสำหรับการโฆษณา และบริการธุรกิจทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์(24 มกราคม 2544)
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 20 ภายใต้บังคับข้อ 25 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498
ข้อ 9 ห้ามทำการโฆษณาสุราประเภทสุรากลั่น ซึ่งมีแอลกอฮอล์สูงกว่า 15 ดีกรีขึ้นไปทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ ระหว่างเวลา 05.00 – 22.00 น.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 177 พ.ศ. 2540 เรื่อง การแสดงฉลากของสุรา
ด้วยเป็นการควรให้แสดงคำเตือนในฉลากสุรา อาศัยตามความในมาตรา 5 มาตรา 6 (10) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้สุราเป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก
ข้อ 2 “สุรา” หมายความรวมถึงวัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่ม กินได้เช่นเดียวกับน้ำสุราหรือซึ่งดื่มกินไม่ได้ แต่เมื่อผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้วสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำ สุรา
ข้อ 3 การแสดงฉลากสุราให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 68 (พ.ศ. 2525) เรื่อง ฉลาก ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2525 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 95 (พ.ศ. 2528) เรื่อง ฉลาก (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2528 และให้ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้
ข้อ 4 สุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเป็นตัวอย่างสินค้าหรือมิใช่ เพื่อการค้า หรือเป็นสุราของผู้ได้รับเอกสิทธิ์ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อ องค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญา หรือตามความตกลงกับต่างประเทศ หรือทางการฑูต หรือสุราที่ผลิตหรือ
นำเข้าเพื่อส่งออกให้ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศนี้
ข้อ 5 ฉลากสุราต้องมีคำเตือนเป็นภาษาไทยที่มองเห็นได้ง่าย โดยใช้ตัวอักษรเส้นทึบขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร สีของข้อความตัด กับสีพื้นของฉลาก โดยต้องแสดงข้อความ “คำเตือน: การดื่มสุราทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง”
ข้อ 6 สุราที่ผลิตหรือนำเข้า ถ้าปรากฏว่าฉลากที่ได้จัดทำขึ้นไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้บังคับใช้ ซึ่งไม่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับนี้ยังมีเหลืออยู่ให้ใช้ฉลาก เดิมไปพลางก่อนจนกว่าจะหมดก็ได้ แต่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ข้อ 7 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2540
ครม.เห็นชอบมาตรการควบคุมการบริโภคสุราและยาสูบเพื่อสังคม
8 พฤศจิกายน 2548 นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุม ครม.ว่า ครม.เห็นชอบมาตรการควบคุมการบริโภคสุราและยาสูบเพื่อสังคม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ร่างกฎกระทรวงรวม 3ฉบับ คือ เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดเวลาขายสุรา
สำหรับผู้ที่ได้รับร่างสัญญาขายสุรา ประเภทที่ 3 –4 และ ร่างที่ 2 คือร่าง กฎกระทรวงฉบับที่…(พ.ศ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจสอบพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังมาพิจารณาและดำเนินการต่อไป ซึ่งเป็นการปรับปรุงมาตรการควบคุมการบริโภคสุราและยาสูบตามนโยบายของรัฐบาล เพราะคณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้มีมติการอนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว คือ
1.ร่างกฎกระทรวงกำหนดเวลาในการขายสุราสำหรับผู้ที่ได้รับอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 3-4 ซึ่งเป็นการปรับปรุงกำหนดเวลาจากเดิม 17.00 น.- 02.00 น. มาเป็นเวลา 17.00 น.- 24.00 น.เป็นต้นไป
2.ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตขายสุราและการขาย สุรา สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 3- 7 พ.ศ…. ว่าต้องไม่ออกให้ในกรณีที่ตั้งอยู่ใกล้สถานศึกษาหรือศาสนสถาน แลไม่ขายสุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และ 3.ร่างกฎกระทรวงฉบับที่…พ.ศ…ออกตามความในพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 เป็นการเพิ่มเงื่อนไขให้ผู้ขายจะต้องไม่ขายสุรายาสูบและชิกาแลตให้ กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
ความเห็นของผู้สรุป
มาตรการต่างๆที่มีการประกาศใช้ในการควบคุมการบริโภคสุรา จะมีผลให้ปริมาณการใช้สุราของคนไทยลดลง ซึ่งจะมีอยู่ใน กฎหมาย ข้อบังคับหลายแห่ง ควรจะมีการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้ซึ่งแนวทางที่จะนำมาบังคับใช้อย่างเข้มงวดต่อไป
ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน
กรณีศึกษา
ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน

คำถาม เกี่ยวกับ พรบ.สุราที่ถูกถามบ่อย
ข้อ 1   ธุรกิจเหล้าปั่น และค๊อกเทลปั่น ผิดกฎหมายหรือไม่
ตอบ  :  ธุรกิจเหล้าปั่น และค๊อกเทลไม่ผิดกฎหมายใด ๆ ทั้งสิ้น หากคุณมีใบอนุญาติจำหน่ายที่ถูกต้องตามประเภทของสุราที่คุณจำหน่าย เช่น จำหน่ายไทย ก็ต้องขอใบอนุญาติจำหน่ายไทย   หาก
จำหน่ายสุราต่างประเทศ ก็ต้องขอใบอนุญาติจำหน่ายสุราต่างประเทศ
ข้อ 2  ไม่ผิดกฎหมายหรือ เพราะเห็นตำรวจบางสน.ก็มาบอกว่า ผิดกฎหมายการเปลี่ยนแปลงน้ำสุรา ตามพระราชบัญญัติสุรา ปี 2493 มาตรา 22 หรือ มาตรา 23
ตอบ :  มาตรา 22 มีรายละเอียดดังนี้
ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ทำการเปลี่ยนแปลงน้ำสุราโดยเอาน้ำสุราอื่นใด หรือ น้ำ หรือของเหลว หรือวัตถุอื่นใดเจือปนลงหรือเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุรา
ถ้าปรากฎว่า สุราที่มีอยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวในวรรคก่อนเปลี่ยน แปลงเป็นอย่าง อื่นซึ่งมิได้เป็นไปตามธรรมชาติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นทำการเปลี่ยน แปลงน้ำสุรา
มาตรา 23 มีรายละเอียดดังนี้
ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 3 ถึงประเภทที่ 7 ทำการเปลี่ยนแปลงสุราโดยเอาสุราอื่นใด หรือน้ำ หรือของเหลว หรือวัตถุอื่นใดเจือปนลงหรือเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุรา เว้นแต่ผู้
ซื้อได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงสุราเพื่อดื่มในขณะนั้น
ถ้าปรากฏว่าสุราที่มีอยู่ในครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาต ดังกล่าวในวรรคก่อนเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งมิได้เป็นไปตามธรรมชาติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นทำการ
*** คำว่า เจือปน หรือ เปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุรา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงน้ำสุราที่อยู่ในขวดเหล้า  เช่น การนำเหล้าแสงโสม มาใส่ในขวดเหล้าแบล็คเลเบิ้ล  หรือการนำเหล้าดองยา มาใส่ในขวด
เหล้าแสงโสม แล้วจำหน่ายในลูกค้า โดยที่ลูกค้าไม่ทราบ
*** แต่หากลูกค้าร้องขอมาว่า ให้ท่านนำเหล้าแสงโสม มาใส่ในขวดเหล้าแบล็คเลเบิ้ล ให้ลูกค้าดื่ม ก็ไม่เป็นไร ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย เนื่องจาก ผู้ซื้อร้องขอ ศึกษากฎหมายเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการถูกกลั่น
แกล้ง
ข้อ 3 เจ้าหน้าที่บางคน จะเข้าจับกุม โดยแจ้งว่า สุรานั้นต้องนำเพื่อผสมดื่มกับโซดาหรือน้ำอัดลมเท่านั้น มิใช่มาทำเหล้าปั่น
ตอบ :   ตามมาตรา 4 บอกความหมายของ สุรา ว่า
“สุรา” หมายความรวมถึง   วัตถุทั้งหลายหรือของผสม  ที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา หรือซึ่งดื่มกินไม่ได้  แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่น  แล้วสามารถดื่มกินได้
ไม่มีระบุว่า สุราต้องผสมดื่มกับโซดา หรือน้ำอัดลม  เห็นแต่ว่า ดื่มได้ เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่น แล้วสามารถดื่มกินได้  แล้วถ้าดื่มเหล้ากะโซดา ไม่เป็นล่ะ  ผมดื่มเป็นแต่ผสมกับน้ำหวาน
กับน้ำมะนาว  ผมก็ไม่ผิดดิ  เพราะมาตรา 4  ไม่ได้ระบุว่าต้องผสมกับอะไร  เพียงแต่บอกว่า ผสมกับของเหลว  ซึ่งน้ำมะนาว หรือ น้ำหวาน ก็ของเหลวเหมือนกัน
ข้อ 4  หากเจ้าหน้าที่ยังบอกว่า  มันผิดกฎหมายก็แล้วกัน  จะขอปรับเงินและยึดเหล้าที่ร้าน ขอเชิญไปโรงพักด้วย
ตอบ :  เพราะตามกฏหมายหากคุณทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับสุรา คุณต้องไปเปรียบเทียบที่สรรพาสามิตร ไม่ได้สถานีตำรวจ แล้วตามกฎหมายสุราแล้ว  หากผู้ที่เจ้าหน้าที่จับกุม  ไม่ยินยอมชำระค่าปรับ
หรือไม่ยินยอมให้จับกุม  ให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจยื่นเรื่องส่งต่อไปที่สรรพาสามิตร เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง ต่อไป เช่น เจ้าหน้าที่สรรพาสามิตร เค้าก็จะทำหนังสือเรียกไปพบที่กรมฯ เพื่อพูดคุยข้อเท็จจริง
หากคุณกระทำผิดจริง (ยกตัวอย่าง)  คุณก็ต้องชำระค่าปรับ ที่ห้องเปรียบเทียบปรับที่กรมสรรพามิตร  ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อคดีหนึ่ง หรือหากไม่ผิด แต่โดนกลั่นแกล้ง  ก็บอกว่า ให้ฟ้องศาล ไป
คุยกันในศาล ศาลตีความว่าไง  ก็ค่อยยืนยันตามคำสั่งศาล แล้วก็เกือบจะร้อยทั้งร้อย  คนที่กลั่นแกล้งจะเงียบหายไปเอง  เพราะเค้าก็กลัวมีความผิดเหมือนกัน  จับคนไม่ผิดทั้ง ๆ ที่เค้าก็รู้ว่า คุณไม่ได้ทำผิด
อะไร สิ่งสำคัญที่สุด เมื่อเจ้าหน้าที่จะปรับเงินคุณที่ร้าน หรือยึดของ  แล้วอย่ายินยอมให้พวกเค้ากลั่นแกล้งคนทำมาหากินเด็ดขาด  เพราะเราไม่ได้ทำผิดกฎหมาย
ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน
อายุต่ำกว่า 20 ปี…ห้ามเข้าร้านเหล้า
ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน

ปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งรณรงค์ให้รัฐบาลเร่งเอาจริงเอาจังหรือออกมาตรการควบคุมการบริโภคเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย โดยเฉพาะการควบคุมดูแลไม่ให้มีการเปิดร้านเหล้าใกล้บริเวณสถานศึกษาโดยได้มี การยื่นเรื่องต่อกรมสรรพสามิตให้ยกเลิกใบอนุญาตจำหน่ายสุราแก่ร้านเหล้าต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณรอบรั้วมหาวิทยาลัย เนื่องจากการสำรวจของเครือข่ายศูนย์กิจกรรมเยาวชนเพื่อชุมชนและสังคม บริเวณรอบมหาวิทยาลัยจำนวน 11 แห่ง พบว่ามีสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับสถานศึกษาใน ระยะ 500 เมตรแทบทุกมหาวิทยาลัย จำนวนถึง 335 ร้าน และมีป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 128 ป้าย
เมื่อมีร้านขายเหล้ารายรอบมหาวิทยาลัยได้ ขนาดนี้  ความพยายามของหลายฝ่ายในการดูแลเยาวชนของชาติก็ใช่ว่าจะไม่มีผลเพราะมี การผลักดันออกกฎหมายจนกลายเป็น พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อป้องกันไม่ให้เยาวชนตกเป็นทาสของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมาตรา 29 ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีหรือบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ และกำหนดโทษผู้กระทำความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ พ.ศ. 2546 ยังระบุว่าหากบุคคลใดขาย แลกเปลี่ยนหรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์มีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน
ขายเหล้าปั่น…ก็ต้องขอใบอนุญาต
ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน

สองสามปีที่ผ่านมา นอกจากเด็กวัยรุ่นไทยจะชอบรับประทาน น้ำผลไม้ปั่น กาแฟปั่น ชอคโกแลตปั่นแล้ว เด็กวัยรุ่นไทยยังนิยมดื่มเหล้าปั่นที่มีวางขายรายรอบมหาวิทยาลัย วิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า ริมถนน ตลาดนัด ฯลฯ ที่ตั้งเกลื่อนกราดเต็มไปหมด โดยบางรายอาจจะแทบไม่รู้เลยนะครับว่าการเปิดร้านจำหน่ายเหล้าปั่นจะต้องขออนุญาตจากกรมสรรพสามิตด้วย ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ไปพบเจอว่าไม่มีใบอนุญาตก็จะถูกสั่งปิดร้านทันที
กรณีที่ร้านเหล้าร้านใดได้รับใบอนุญาตขายสุราจากเจ้าหน้าที่สรรพสามิตแล้ว ก็ใช่ว่าจะสามารถขายเหล้าปั่นได้เลยทันทีนะครับ เพราะการขายเหล้าปั่นถือเป็นการเปลี่ยนแปลงน้ำสุราตามมาตรา 23 ของพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 จะขายได้ก็ต่อเมื่อผู้ซื้อได้ร้องขอให้ทำการเปลี่ยนแปลงสุราเพื่อดื่มในขณะ นั้น หากขายสุราที่เปลี่ยนแปลงโดยที่ผู้ซื้อมิได้ร้องขอเพื่อดื่มในขณะนั้น มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน
ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน
ข้อทดสอบ
ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน
ขายเหล้าปั่น ขอใบอนุญาต ประเภท ไหน

ข้อทดสอบวิชา พรบ.สุรา พ.ศ.๒๔๙๓
โดย พ.ต.ท.สมศักดิ์  ตังคณาพร
๑. ข้อใดต่อไปนี้เป็นสุรากลั่น
ก. กระแช่    ข. ไวน์        ค. เบียร์        ง. วิสกี้
๒. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นสุรา ตาม พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.๒๔๙๓
ก. น้ำข้าวหมัก            ข. น้ำผสมเอทธิลแอลกอธอล์
ค. น้ำผสมยาเม็ดที่ทำให้เมา        ง. ท๊อฟฟี่เหล้า
๓. นายเอก ลักลอบทำสุรา โดยนางสวยนำสุราที่นายเอกทำขึ้นมาขาย ดังนี้ นางสวยมีความผิดฐานใดหรือไม่
ก. ผิดฐาน ขายสุราที่ทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ข. ผิดฐาน ขายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต
ค. ผิดฐาน ทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต
ง. ไม่มีความผิดฐานใด
๔. นายสมชาย เปิดร้านขายของชำ  ต้องการขายสุราด้วย นายสมชายต้องได้รับอนุญาตจากใคร
ก.อธิบดีกรมตำรวจ            ข. อธิบดีกรมสรรพสามิต
ค.เจ้าพนักงานสรรพสามิต        ง. เจ้าพนักงานฝายปกครอง
๕. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ต้องมีใบอนุญาตขนสุรา
ก. ขนสุราต่างประเทศ ๑๐ ลิตร        ข. ขนสุราผลิตในประเทศ ๕ ลิตร ข้ามเขต
ค. ขนสุราผลิตในประเทศ ๑ ลิตร ข้ามเขต    ง.ขนสุราผลิตในประเทศ ๑๐ ลิตร
๖. นายบี เป็นเจ้าของร้านขายของชำ โดยมีสุราผิดกฎหมายซ่อนไว้หลังร้าน เมื่อมีผู้มาติดต่อขอซื้อจึงจะหยิบจากที่ซ่อนมาขายให้ ดังนี้ นายบี มีความผิดฐานใดหรือไม่ ตาม พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.๒๔๙๓
ก. ผิดฐาน ขายสุราที่ทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ข. ผิดฐาน ขายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต
ค. ผิดฐาน มีไวในครอบครองซึ่งสุราผิดกฎหมาย
ง. ไม่มีความผิดฐานใด
๗. การขนสุราอออกจากโรงงาน โดยไม่ต้องเสียภาษี ต้องได้รับอนุญาตจากใคร
ก. อธิบดีกรมสรรพสามิต        ข.อธิบดีกรมตำรวจ
ค.เจ้าพนักงานสรรพสามิต        ง. เจ้าพนักงานศุลกากร
๘. ข้อใดต่อไปนี้เป็นสุราแช่
ก. เบียร์ ๓๐ ดีกรี            ข. บรั่นดี
ค. วิสกี้                ง. แม่โขงผสมไวน์ ๑๘ ดีกรี
๙. นายก้อง ซื้อสุราที่นาย เกียรติ ทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อกลับมาถึงบ้าน ได้นำสุรานั้นไปเก็บไว้หลังบ้าน ดังนี้ นายก้อง มีความผิดฐานใดหรือไม่ ตาม พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.๒๔๙๓
ก. ผิดฐาน มีภาชนะสำหรับทำสุรา ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ข. ผิดฐาน มีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่ทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ค. ผิดฐาน ขายสุราที่ทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ง. ไม่มีความผิด
๑๐. นายบุญ ลักลอบทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต และขายสุราที่ทำขึ้นนั้นเองด้วย ดังนี้ นายบุญ มีความผิดฐานใดตาม พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.๒๔๙๓
ก. ทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต        ข. ขายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต
ค. ทำและขายสุราที่ทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต    ง. ขายสุราที่ทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต

ขายเหล้าปั่นต้องขออนุญาตอะไรบ้าง

“ตามกฎหมายของ พ.ร.บ.สุรา ระบุไว้ว่า ผู้ประกอบการที่ขายเหล้าปั่น ต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมสรรพสามิต และต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด หากพบว่าร้านค้าดังกล่าวไม่มีใบอนุญาต เจ้าหน้าที่สามารถปรับ และแจ้งเตือนกับผู้ประกอบการ แต่ถ้ายังกระทำผิดอีกจะถูกพักการใช้ใบอนุญาต หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตคืนทันที”

ขายเหล้า ต้องขออนุญาตที่ไหน

ให้ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบและไพ่ ไปติดต่อขอใบอนุญาต ณ สำนักงานสรรพสามิต พื้นที่สาขาแห่งท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยเปิดทำการในเวลาราชการตั้งแต่ น. และ น. ในช่วงเดือนตุลาคม ธันวาคม จะเปิดให้บริการตลอดเวลาโดยไม่หยุดพักเที่ยง

ใบอนุญาตการขายสุรา มีกี่ประเภท

ใบอนุญาตขายสุรา มี 7 ประเภท 34 ประเภทที่ 1 สําหรับการขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งเป็นจํานวนตั้งแต่สิบลิตรขึ้นไป ประเภทที่ 2 สําหรับการขายสุราที่ทําในราชอาณาจักรครั้งหนึ่งเป็นจํานวนตั้งแต่สิบ ลิตรขึ้นไป ประเภทที่ 3 สําหรับการขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งเป็นจํานวนตํ่ากว่าสิบลิตร ประเภทที่ 4 สําหรับการขายสุราที่ทําในราชอาณาจักร ...

ใบอนุญาตขายสุรา กี่บาท

(1) สถานที่ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตปีละ 2,200 บาท (2) สถานที่ที่ผู้จำหน่ายไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตปีละ 330 บาท ผู้มีความประสงค์จะยื่นขอใบอนุญาต จะต้องรับรองคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตและสถานที่ดังต่อไปนี้