มาตรา 1012 การจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท มีลักษณะ สํา คั ญ ดังนี้

  • รับจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
  • รับจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  • รับจดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน

มาตรา 1012 การจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท มีลักษณะ สํา คั ญ ดังนี้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท

มาตรา 1012 อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น

มาตรา 1013 อันห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ท่านกำหนดเป็นสามประเภท คือ

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  3. บริษัทจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญ

มาตรา 1025  อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ธุรกิจที่ไม่จำต้องเป็นนิติบุคคล โดยหุ้นส่วนตกลงเข้ากันตั้งองค์กรธุรกิจเพื่อประโยชน์ร่วมกัน โดยนำทุนมาเข้าร่วมอาจจะเป็นเงิน ทรัพย์สินสิ่งอื่นหรือแรงงานก็ได้ และตกลงแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากกิจการ

ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีลักษณะสำคัญ คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกัน การรับผิดร่วมกัน หมายความว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนในห้างหุ้นส่วนจะต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนอย่างลูกหนี้ร่วม และไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือตามส่วนที่ลงทุน ความรับผิดดังกล่าวเรียกว่า เป็นความรับผิดร่วมกันและแทนกัน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

มาตรา 1077 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

  1. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งมีจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจำพวกหนึ่ง และ
  2. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวนอีกจำพวกหนึ่ง

ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีผู้เป็นหุ้นส่วนอยู่สองจำพวก จำพวกหนึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และอีกจำพวกหนึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ดังนั้นหากเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ผู้ลงทุนก็จำกัดความรับผิดไม่เกินส่วนที่ตนรับจะลงหุ้นได้

มาตรา 1012 การจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท มีลักษณะ สํา คั ญ ดังนี้

มาตรา 1012 การจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท มีลักษณะ สํา คั ญ ดังนี้

บริษัทจำกัด

มาตรา 1097 บุคคลใด ๆ ตั้งแต่สามคนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้ โดยเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ และกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

บริษัทจำกัด คือ ธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การจัดตั้งต้องมีบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป โดยแบ่งเงินลงทุนเป็นหุ้นที่มีมูลค่าเท่าๆ กัน ซึ่งต่างจากกรณีการลงหุ้นในห้างหุ้นส่วน เนื่องจากการลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจะพิจารณาส่วนลงหุ้นของทุกคนร่วมกัน แล้วจึงนำไปจดทะเบียนว่าทั้งหมดนั้นคือส่วนลงหุ้นและเป็นทุนจดทะเบียนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดในหนี้สินจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ มีความน่าเชื่อถือกว่าการจัดตั้งโดยเจ้าของคนเดียว หรือห้างหุ้นส่วน

เอกสารที่ต้องเตรียมจดทะเบียน

  1. บัตรประชาชน 3 ท่าน กรรมการ 1 ท่าน หรือ 3 คน (ต่างชาติใช้พาสปอร์ต)
  2. ทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้ง บริษัท (หน้าแรก) ถ้ามีการเช่าสถานที่ตั้งบริษัทต้องมีหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ หรือสัญญาเช่า
  3. ชื่อ บริษัท ไทย/Eng เตรียมชื่อจดทะเบียน สำหรับตั้งบริษัท 3 ชื่อ เพื่อยื่นขอตรวจสอบเพื่อไม่ให้ซ้ำกันกับห้าง บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นๆ
  4. แบบตรายาง
  5. ข้อมูลการถือหุ้น มีผู้ถือหุ้น อย่างต่ำ 3 คน  การแบ่งสัดส่วนหุ้นแต่ละท่านเป็น %
  6. ให้ใครเป็น กรรมการ(ผู้มีอำนาจลงนาม)หรือลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท ใครคนใดคนหนึ่งสามารถลงชื่อแต่เพียงผู้เดียวหรือ ต้องลง 2 คน เท่านั้น
  7. ประกอบกิจการเกี่ยวกับอะไรบ้าง
  8. แผนที่ตั้ง บริษัท
  9. เบอร์ อีเมล์และไอดีไลน์ที่ติดต่อได้สะดวก
  10. เบอร์ อีเมล์ที่ต้องการให้ลงเป็นข้อมูลของบริษัทในเอกสาร
  11. เบอร์ติดต่อและอีเมล์ของผู้ถือหุ้นทุกท่าน

ห้างหุ้นส่วน  ตามมาตรา  1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า”อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น" ดังนั้นตามกฎหมายห้างหุ้นส่วนจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.    บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป จะนำทุนมาเข้าหุ้นกัน (ทุนที่จะนำมาลง ได้แก่ เงินสด ทรัพย์สินอย่างอื่น หรือ แรงงาน คือ ใช้กำลัง สติปัญญา ความคิดแรงกายแทน)
2.  ตกลงเข้ากัน คือ บุคคลที่จะเข้าร่วมประกอบกิจการได้ทำสัญญาตกลงกันว่าจะประกอบการค้าร่วมกัน การตกลงกันนั้น จะต้องมีการแสดง เจตนาโดยแจ้งชัด อาจจะทำเป็นสัญญาปากเปล่า หรือ ลายลักษณ์อักษร ก็ได้ว่าจะเข้าเป็น "ห้างหุ้นส่วน"                
3.  เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกัน คือคู่สัญญา จะต้องมาดำเนินกิจการเพื่อทำการตามที่ได้ตกลงไว้ให้บรรลุวัตถุประสงค์
4. เพื่อประสงค์กำไร   คือ เป็นการตกลงใจทำงาน โดยมีจุดหมายปลายทางเพื่อผลกำไร อันได้เกิดจากกิจการที่ทำนั้น และผลกำไรจะได้นำมาแบ่งกัน ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน  

ประเภทห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนบางออก เป็น 3 ประเภท

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
  3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ    คือ มีหุ้นส่วน สองคนขึ้นไป  ผู้เป็นหุ้นส่วนจะอยู่ฐานะผู้จัดการ และทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน ตามกฎหมายเรียกว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญ   และเรียกผู้ที่รับผิดชอบการบริหารงานของห้างว่า”หุ้นส่วนผู้จัดการ" 

ข้อดีของห้างหุ้นส่วนสามัญ
1.  การจัดตั้งกระทำได้ง่าย
2.  มีการร่วมทุนและความรู้ความสามารถจากผู้เป็นหุ้นส่วน
3.  สามารถขยายกิจการด้วยการเพิ่มทุนหรือรับหุ้นส่วนเพิ่มได้

                                ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนสามัญ
1.  เมื่อห้างมีการขาดทุนและเลิกกิจการ ผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีฐานะการเงินดีจะถูกเรียกร้องให้ชำระหนี้ของห้างทั้งหมดได้
2.  ความคล่องตัวและความเป็นอิสระ ในการบริหารงานลดลง
3.  การเสียภาษี เป็นการเสียแบบบุคคลธรรมดา
4.  ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ร่วมกันโดย เจ้าหนี้ อาจจะเรียกให้หุ้นส่วนคนใดชำระหนี้ให้จนครบจำนวนย่อมได้

   2.  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล   การประกอบการแบบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีลักษณะเหมือนกับห้างหุ้นส่วนสามัญทุกประการ แต่มีข้อแตกต่างกัน   คือการนำห้างหุ้นส่วนสามัญไปจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีผลให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเป็นนิติบุคคล แยกต่างหากจากห้างหุ้นส่วน

ข้อดีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
1.  การเสียภาษีเป็นการเสียแบบนิติบุคคล
2.   ได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกมากขึ้น เนื่องจากมีผู้สอบบัญชี
3.  มีการร่วมลงทุนและความรู้ของหุ้นส่วน
4.  เสียภาษี แบบนิติบุคคล

3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด การประกอบการในลักษณะนี้จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และต้องใส่คำว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด" ไว้หน้าชื่อห้างเสมอไปด้วย โดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งหุ้นส่วนออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1.  ประเภทจำกัดความรับผิดชอบ    จำกัดรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้น
2. ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ   การไม่จำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ไม่จำกัดหนี้สินที่เกิดขึ้นกรณี ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกิจการ    ตามกฎหมายให้สิทธิ์แก่เจ้าหนี้ ของกิจการมีสิทธิ์เรียกร้องให้นำทรัพย์สินส่วนตัวของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบในส่วนที่นอกเหนือจากเงินที่ลงทุนในกิจการ มาชำระหนี้จนครบ 

ข้อดีของห้างหุ้นส่วนจำกัด
1.  รวบรวมเงินทุน ความรู้ความสามารถจากผู้เป็นหุ้นส่วนได้มากขึ้น
2.  ผู้มีเงินทุนยินดีจะลงทุนร่วมด้วย โดยเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ทำให้พ้นภาระรับผิดชอบในหนี้สินแบบลูกหนี้ร่วม
3.  สามารถจะระดมบุคคลที่มีความเชียวชาญในสาขาใด ๆ มาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้
4.  ได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกมากขึ้น
5.  เสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล

ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนจำกัด
1.  การจัดตั้งมีความยุ่งยากมากขึ้น
2.  หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ ต้องรับภาระหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
3.  เมื่อมีผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดตาย ล้มละลาย หรือลาออก ห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องเลิกกิจการและชำรบัญชีให้เรียบร้อย