การสืบค้น แบบ Search Engine จะ จัดการ ระบบ ฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ที่เรียกว่า

การสืบค้น แบบ Search Engine จะ จัดการ ระบบ ฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ที่เรียกว่า

Show

3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือ Advanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี พ.ศ. 2512 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อการสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net ในปี พ.ศ. 2513 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นสำหรับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ IDP (The International Development Plan) เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถติต่อสื่อสารทางอีเมลกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลียได้ ได้มีการติดตั้งระบบอีเมล์ขึ้นครั้งแรก โดยผ่านระบบโทรศัพท์ ความเร็วของโมเด็มที่ใช้ในขณะนั้นมีความเร็ว 2,400 บิต/วินาที จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ได้มีการส่งอีเมลฉบับแรกที่ติดต่อระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเปรียบเสมือนประตูทางผ่าน (Gateway) ของไทยที่เชื่อมต่อไปยังออสเตรเลียในขณะนั้นในปี พ.ศ. 2533 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)  ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network : ThaiSARN) ประกอบด้วย มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ เพื่อการศึกษาและวิจัย          ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (InternetThailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก เมื่อมีคนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงได้ก่อตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากมายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตความสำคัญของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก  เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม  อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด  หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์          ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ การศึกษา ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น                             1.  ด้านการศึกษา อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ ดังนี้                        1.1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ                        1.2. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่                        1.3. นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ                             2.  ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ ดังนี้                        2.1. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ                        2.2. สามารถซื้อขายสินค้า ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย                        2.3. เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ โฆษณาสินค้า ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ                        2.4. ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
การทำงานของอินเทอร์เน็ตการสื่อสารข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ตจะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง
โดเมนเนม  (Domain name system : DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP addressซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ          .com   ย่อมาจาก Commercial สำหรับธุรกิจ          .edu    ย่อมาจาก   Education   สำหรับการศึกษา          .int      ย่อมาจาก International Organization    สำหรับองค์กรนานาชาติ          .org     ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร          .net     ย่อมาจาก Network      สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของ  ตนเองและทำธุรกิจ                                                ด้านเครือข่ายการขอจดทะเบียนโดเมนการขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียนการขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ1.       การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com  .edu  .int  .org  .net )
ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
2.       การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)
ต้องจดทะเบียนกับ  www.thnic.net
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย  .th ประกอบด้วย.ac.th        ย่อมาจาก Academic Thailand            สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย.co.th        ย่อมาจาก Company Thailand             สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย.go.th        ย่อมาจาก Government Thailand         สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล.net.th      ย่อมาจาก Network Thailand              สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย.or.th        ย่อมาจาก   Organization Thailand       สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร.in.th        ย่อมาจาก Individual Thailand            สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป


3.2เว็บไซต์และเว็บบราวเซอร์


เว็บไซต์ ( Website, Web site หรือ Site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์


วิธีการเข้าเว็บไซต์ดูจากคลิปด้านล่างได้เลย 


เว็บเบราเซอร์ (web browser) เบราเซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ 


           เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ อินเทอร์เน็ตเอกพลอเรอร์

การใช้งานเบราเซอร์ดูได้จากวีดีโอด้านล่างเลย

3.3 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้สารบบเว็บ

สารบบเว็บไม่ใช่เสิร์ชเอนจิน และไม่แสดงรายการเว็บเพจจากคำหลัก (keyword) แทนที่จะเป็นเช่นนั้น สารบบเว็บจะแสดงรายการเว็บไซต์ตามหมวดหมู่และหมวดหมู่ย่อย ซึ่งการจัดหมวดหมู่นี้แบ่งตามประเภทของเว็บไซต์ทั้งเว็บ มากกว่าการแบ่งทีละหน้าหรือการแบ่งโดยกลุ่มของคำหลัก เว็บไซต์ต่างๆ มักจำกัดให้จัดอยู่ในหมวดหมู่เพียงไม่กี่หมวดหมู่เท่านั้น สารบบเว็บมักอนุญาตให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถเพิ่มรายชื่อเว็บไซต์ได้โดยตรง และมีผู้แก้ไขกลั่นกรองข้อมูลเพิ่มเติมอีกชั้นหนึ่ง

สารบบอาร์เอสเอส (RSS directory) มีลักษณะคล้ายกับสารบบเว็บ แต่เป็นการรวบรวมแหล่งข้อมูลป้อนเข้าสำหรับอาร์เอสเอส แทนที่จะป็นการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์

3.4 วิธการสืบค้นข้อมูลโดยใช้เครื่องมือช่วย

การนำความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการศึกษานี้จะสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ระดับดังนี้1. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต 2. การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน 3. การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเองการค้นคว้าด้วยการใช้ Search Engine    การใช้งานงานอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้กันอย่างมาก จะได้แก่การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาความรู้ แต่การเข้าเยี่ยมชมนั้น ในกรณีที่เรารู้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นมีชื่อว่าอะไร เนื้อหาของเว็บ มุ่งเน้นเกี่ยวกับสิ่งใด เราสาสามารถที่จะเข้าเยี่ยมชมได้ทันที่ แต่ในกรณีที่เราไม่ทราบชื่อเว็บเหล่านั้น แต่เรามีความต้องการที่จะค้นหาเนื้อหาบางอย่าง มีวิธีการจะเข้าสืบค้นข้อมูลได้ โดยการใช้ความสามารถของ Search Engine    Search Engine จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที    Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อโดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยเราจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่จะเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป  ประเภทของ Search Engine1. Keyword Index 2. Subject Directories 3. Metasearch Engines    Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจ วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อนหลัง การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่ถ้าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล การค้นหาแบบนี้จะเหมาะสมที่สุด เว็บที่ให้บริการ Search Engine แบบ Keyword Index ได้แก่เว็บhttp://www.google.com/ http://www.altavista.com/

การสืบค้น แบบ Search Engine จะ จัดการ ระบบ ฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ที่เรียกว่า

    Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้คนพิจารณาเว็บเพจ แต่ละเว็บ แล้วทำการจัดหมวดหมู่ โดยจะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในกลุ่มของอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไปhttp://www.thaiwebhunter.com/ http://www.sanook.com

การสืบค้น แบบ Search Engine จะ จัดการ ระบบ ฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ที่เรียกว่า

    Metasearch Engines จะเป็น Search Engine ที่ใช้ในการค้นหาเว็บ ด้วยตัวของ Search Engine แบบ Metasearch Engines เองแล้ว แต่ที่เด่นกว่านั้นคือ Search Engine แบบ Metasearch Engines จะยังสามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ เพื่อเรียกดูข้อมูลที่ Search Engine อื่นๆ ค้นพบ โดยสังเกตได้จากจะมีคำว่า [Found on Google, Yahoo!] ต่อทางด้านท้าย นั้นก็หมายความว่าการค้นหาข้อความนั้นๆ มาการเชื่อมโดยไปค้นข้อมูลจาก เว็บ Google และ Yahooแต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษรและมักจะไม่ค้นหาคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) และที่สำคัญ Search Engine แบบ Metasearch Engines ส่วนมากไม่รองรับภาษาไทยhttp://www.dogpile.com http://www.kartoo.com/

การสืบค้น แบบ Search Engine จะ จัดการ ระบบ ฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ที่เรียกว่า

 การสืบค้นข้อมูลแบบใช้คีย์เวิร์ดการสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด ใช้ในกรณีที่ต้องการค้นข้อมูลโดยใช้คำที่มีความหมายตรงกับความต้องการ โดยมากจะนิยมใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับเนื้อเรื่องที่จะสืบค้นข้อมูลการสืบค้นข้อมูล การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด มีวิธีการค้นหาได้ดังนี้1. เปิดเว็บเพจ ที่ให้บริการในการสืบค้นข้อมูล โดยพิมพ์ช่องเว็บที่ช่อง Address

การสืบค้น แบบ Search Engine จะ จัดการ ระบบ ฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ที่เรียกว่า

www.google.co.th เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นข้อมูลของต่างประเทศ ข้อดีคือ ค้นหาง่าย เร็ว www.yahoo.com เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นที่ดีตัวหนึ่งซึ่งค้นหาข้อมูลง่าย และข้อเด่นคือภายในเว็บของ www.yahoo.com เองจะมีฟรีเว็บไซต์ ที่รู้จักกันในนาม http://www.geocities.com ซึ่งมีจำนวนหลาย100000 เว็บ ให้ค้นหาข้อมูลเองโดยเฉพาะ www.sanook.com เป็นเว็บของคนไทย www.siamguru.com เป็นเว็บของคนไทยในตัวอย่างจะเปิดเว็บ www.sanook.com2. ที่ช่อง ค้นหา พิมพ์ข้อความต้องการจะค้นหา ในตัวอย่างจะพิมพ์คำว่า วิทยาศาสตร์3. คลิกปุ่ม ค้น 4. จากนั้นจะปรากฏรายชื่อของเว็บที่มีข้อมูล5. คลิกเว็บที่จะเรียกดูข้อมูล  (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); หลักการใช้คำในการค้นหาข้อมูลการสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด เช่น ถ้าต้องการจะสืบค้นเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์ การค้นหาจึงต้องการเนื้อหาที่เจาะลึก การสร้างคำ คีย์เวิร์ด ต้องใช้คำที่เจาะลึกลงไปเพื่อให้ได้ข้องมูลที่เฉพาะคำมากยิ่งขึ้น1. การใช้คำที่คิดว่าจะมีในเว็บที่ต้องการจะค้นหา เช่น ต้องการจะหาข้อมูลเกี่ยวกับ บุคคล ที่ชื่อว่า นาย อุบล ถ้าเราพิมพ์ข้อมูลที่ช่อง Search ว่า อุบล แล้วทำการค้นข้อมูล Search Engine จะทำการค้นหาคำ โดยจะค้นหารวมทั้งคำว่าจังหวัดอุบล อุบลราชธานี คนอุบล วิทยาลัยเกษตรอุบล เทคโนโลยีอุบลซึ่งเราจะเจอะ ข้อมูลจำนวนมาก ดังนั้นการใช้คำในการค้นหาข้อมูลจึงต้องใช้คำเฉพาะเพื่อให้ได้ข้อมูลที่น้อยลง เช่น อาจจะพิมพ์คำว่า นาย อุบล พิมลวรรณ ซึ่งข้อมูลจะมีจำนวนที่น้อยลง2. ใช้เครื่องหมาย คำพูด (“ _ ”) เพื่อกำหนดให้เป็นกลุ่มคำ เช่น จะค้นหาคำ ชื่อหนังสื่อที่ชื่อว่า โปรแกรม PhotoShop สังเกตว่าคำที่จะค้นหา จะเป็นคำที่ต้องเว้นวรรค แต่เมื่อมีการสืบค้นด้วย Search Engine ระบบจะค้นหาคำแบ่งเป็นสองคำ คือคำว่า โปรแกรม และคำว่า PhotoShop จึงทำให้ข้อมูลที่ได้ผิดพลาด ดังนั้นการสร้างคำ จึงต้องกำหนดคำด้วยเครื่องหมายคำพูด จึงใช้คำว่า “โปรแกรม PhotoShop” ในการค้นหาแทน3. ใช้เครื่องหมาย ลบ (-) ไว้หน้าคำที่ไม่ต้องการจะให้ปรากฏอยู่ในรายการแสดงผลของการค้นหา เช่น ต้องการหาชื่อโรงเรียน แต่ทราบแล้วว่าโรงเรียนที่จะค้นหาไม่ใช้โรงเรียนอนุบาล จึงต้องยกเลิกคำว่าอนุบาล โดยพิมพ์คำว่า โรงเรียน -อนุบาล ผลที่ได้จะทำให้มีเฉพาะคำว่า โรงเรียน ทั้งหมดแต่จะค้นหาคำว่า อนุบาล (*การพิมพ์เครื่องหมาย ลบกับคำที่จะยกเลิกต้องติดกัน มิฉะนั้นระบบจะเข้าใจว่าจะค้นหาคำ 3 คำ คือ คำว่า โรงเรียน คำว่า + และคำว่า อนุบาล*)การสืบค้นข้อมูลภาพในกรณีที่นักเรียนต้องการที่จะค้นหาข้อมูลที่เป็นภาพ เพื่อนำมาประกอบกับรายงาน มีวิธีการค้นหาไฟล์ภาพได้ดังนี้1. เปิดเว็บ www.google.co.th2. คลิกตัวเลือก รูปภาพ3. พิมพ์กลุ่มชื่อภาพที่ต้องการจะค้นหา (ตัวอย่างทดลองหาภาพเกี่ยวกับ เสือ)4. คลิกปุ่ม ค้นหา 5. ภาพที่ค้นหาพบ

การสืบค้น แบบ Search Engine จะ จัดการ ระบบ ฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ที่เรียกว่า

6. การนำภาพมาใช้งาน ให้คลิกเมาส์ด้านขวาที่ภาพ > Save Picture as7. กำหนดตำแหน่งที่จะบันทึกที่ช่อง Save in8. กำหนดชื่อที่ช่อง File Name9. คลิกปุ่ม Saveการบันทึก    หลังจากที่มีการสืบค้นข้อมูล ในกรณีที่ถูกใจเนื้อหาของเว็บที่สืบค้น และต้องการจะเก็บบันทึกข้อมูลที่ค้นพบเก็บไว้ มีวิธีการบันทึกข้อมูลได้หลายวิธี ได้แก่ การบันทึกชื่อเว็บ (Favorites) การบันทึกภาพ (Save as Picture) การบันทึกเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร (Copy) การบันทึกเว็บเก็บไว้ (Save as) การบันทึกชื่อเว็บ (Favorites)การบันทึกชื่อเว็บ (Favorites) ใช้ในกรณีที่เปิดเว็บเพ็จที่น่าสนใจมาศึกษา ในกรณีที่จะกลับมาศึกษาใหม่ในวันต่อไป เราต้องบันทึกชื่อเว็บเก็บไว้ที่ Favorites เพื่อเรียกใช้งานในครั้งต่อไป มีวิธีการกำหนดได้ดังนี้1. คลิกเมนู Favorites > Add Favorites2. กำหนดชื่อที่ช่อง Name3. คลิกปุ่ม OKการเปิดเว็บโดยใช้ Favoritesหลังจากที่สร้าง Favorites มาแล้ว ในกรณีที่เรียกใช้งาน โดยการเปิดเว็บผ่านทาง Favorites มีวิธีการสร้างได้ดังนี้1. คลิกเมนู Favorites > คลิกที่เว็บที่บันทึกเป็น Favorites เก็บไว้การบันทึกเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร (Copy)ในกรณีที่ต้องการจะบันทึกเนื้อในส่วนที่เป็นตัวอักษรเก็บไว้เพื่อนำไปประกอบกับรายงาน โดยมีวีการกำหนดได้ดังนี้1. เปิดเว็บที่ต้องการจะบันทึกเนื้อหา2. ป้ายดำเลือกข้อความที่จะบันทึกเก็บไว้3. คลิกเมาส์ด้านขวาที่ตัวอักษร คลิกคำสั่ง Copy4. จากนั้นเปิดโปรแกรมบันทึกตัวอักษร โดยคลิกปุ่ม Start > Program > Accessories > Notepad5. นำตัวอักษรที่คัดลอกเก็บไว้มาวาง โดยคลิกเมนู Edit > Paste6. จากนั้นบันทึกไฟล์เก็บไว้ โดยคลิกเมนู File > Save7. กำหนดตำแหน่งในการบันทึกภาพที่ช่อง Save in8. กำหนดชื่อที่ช่อง File Name9. คลิกปุ่ม Save

3.5 ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งของไทยและของต่างประเทศ

http://www.yahoo.com

http://www. go.com

การสืบค้น แบบ Search Engine จะ จัดการ ระบบ ฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ที่เรียกว่า

การสืบค้น แบบ Search Engine จะ จัดการ ระบบ ฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ที่เรียกว่า

ตัวอย่างของไทยก็มีนะ

การสืบค้น แบบ Search Engine จะ จัดการ ระบบ ฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ที่เรียกว่า

การสืบค้น แบบ Search Engine จะ จัดการ ระบบ ฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ที่เรียกว่า

www.sansarn.com