งานประติมากรรมของ อ.นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน

งานประติมากรรมของ อ.นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน

ประวัติ

อาจารย์ ดร.นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน

เกิด         วันที่16 ตุลาคม พุทธศักราช 2489

ที่อยู่       1037  จรัญสนิทวงศ์ 12  แขวงวัดท่าพระ  เขตบางกอกใหญ่

               กรุงเทพมหานคร

การศึกษา
               ศม.(ประติมากรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประวัติการศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงาน

พ.ศ. 2495        โรงเรียนเทศบาล 16 วัดดีดวด
พ.ศ. 2499        โรงเรียนทวีธาภิเศก
พ.ศ. 2505         วิทยาลัยช่างศิลป์  กรมศิลปากร
พ.ศ. 2508         คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2517         บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2522         อบรมเทคนิคการแกะสลักหินอ่อน เมืองคารารา ประเทศอิตาลี
 พ.ศ. 2530         ศึกษาดูงานศิลปะ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2514          อาจารย์ภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรม
                                  และภาพพิมพ์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2514 - 2522    เลขานุการภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรม                                   ประติมากรรมและภาพพิมพ์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2523 - 2527    หัวหน้าภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรม

                                  ประติมากรรมและภาพพิมพ์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2527 - 2531    คณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์                                    มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2532 - 2533    ผู้อำนวยการหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2538 - 2542    คณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์                                    มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2525 - ปัจจุบัน นายกสมาคมประติมากรไทย
พ.ศ. 2546 - 2553    คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประสบการณ์ทำงาน

การแสดงผลงานศิลปะที่สำคัญ
พ.ศ. 2524 - 2552    แสดงผลงานประติมากรรมร่วมกับกลุ่มศิลปินประมาณ 60 ครั้ง        ภายในประเทศไทย
                                 แสดงผลงานประติมากรรมร่วมกับกลุ่มศิลปินในต่างประเทศ ณ        ประเทศเดนมาร์ก  สาธารณรัฐประชาชนจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี สหรัฐอเมริกา  เวียดนาม         อิตาลี  ฝรั่งเศส
พ.ศ. 2544  One man Show  ประติมากรรม ณ หอศิลป์คณะจิตรกรรม        ประติมากรรมและภาพพิมพ์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2546   Two man Show  ประติมากรรม ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร

รางวัลเกียรติยศ
1. ได้รับรางวัลที่ 2 เหรียญเงิน 3 ครั้ง และรางวัลที่ 3 เหรียญเงิน 2 ครั้ง ในการแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 19 – 22 และ 24
2. รางวัลที่ 2 การประกวดออกแบบพระพุทธรูป ที่วัดทองศาลางาม
3. ได้รับเลือกเป็นผู้แทนประติมากรของประเทศไทย เข้าร่วมสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมไทยในงาน 3rd Asean Sculpture Symposium ณ กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย
4. ผลงานประติมากรรมได้รับคัดเลือกให้ขยายเป็นขนาด 4 เมตร เพื่อติดตั้งในอุทยาน
เบญจสิริ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา
5. เป็นผู้ออกแบบเหรียญและทำต้นแบบเหรียญ “พระมหาชนก” ของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว
6. เป็นผู้ออกแบบและทำต้นแบบเหรียญ “ Agricola” ของ F.A.O. เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7. ได้รับคัดเลือกจากธนาคารกสิกรไทย ให้สร้างประติมากรรม ขนาด 2.50 เมตร ติดตั้งที่ สำนักงานใหญ่ เขตราษฎร์บูรณะ
8. ได้รับเลือกเป็นนักศึกษาเก่าดีเด่น สาขาผู้ให้การส่งเสริมทางด้านวิชาการของสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร
9. ออกแบบและจัดสร้างประติมากรรม ขนาด 2 X 12 เมตร ที่สวนสันติชัยปราการ ป้อมพระสุเมรุ บางลำพู
10. ได้รับเลือกเป็นผู้แทนประติมากรของประเทศไทยเข้าร่วม Sculpture Symposium เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของสงครามเกาหลี โดย International Sculpture Friendship Association เพื่อนำประติมากรรมไปติดตั้งที่สุสานนานาชาติ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี
11. ได้รับเลือกเป็นภาคีราชบัณฑิตทางด้านวิจิตรศิลป์ สาขาประติมากรรม
12. ได้รับเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจำปี 2549
13. ได้รับโล่ “ คนดีศรีช่างศิลป์ ” จากวิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร

ภาควิชาทัศนศิลป์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
โทรศัพท์/โทรสาร 0-4375-4384 ภาย 3612


งานประติมากรรมของอาจารย์นนทิวรรธน์จันทนะผะลินส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับเรื่องใด

อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน เป็นประติมากรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ผลงานที่โดดเด่นเป็นรูปทรง ๓ มิติ มีความสัมพันธ์ของเส้นและปริมาตรอันกลมกลืนงดงาม โดยนำเสนอผ่านความรู้สึก อารมณ์และความปรารถนา เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงความเป็นจริงของธรรมชาติ และต่อมาในภายหลังได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีเนื้อหาแฝงปรัชญาทาง ...

ผลงานศิลปะของ อ.นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ใช้เทคนิคอะไรในการสร้างผลงาน

จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า พัฒนาการในการสร้างสรรค์งานศิลปะของ นนทิวรรธน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ รูปแบบเหมือนจริงตามธรรมชาติ (Realistic) รูปแบบนามธรรม (Abstract) และรูปแบบกึ่งนามธรรม (Semi Abstract) รูปแบบประติมากรรมที่ นนทิวรรธน์แสวงหาตลอดระยะเวลาแห่งการสร้างสรรค์ศิลปะของเขา สะท้อนสัจธรรมชีวิตในแต่ละ ช่วงวัย ...

อาจารย์นนทิวรรธ์ จันทนะผะลิน ได้รับตำแหน่งคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยใด

พ.ศ. 2546 คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน เป็นศิลปินทัศนศิลป์สาขาใด *

เกิด : 16 ตุลาคม 2489 (2489 - 2560) ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2549 สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม)