ปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ 2564

วันที่ 7 ธันวาคม 2564 ดาวศุกร์สว่างที่สุดในรอบปี ดาวศุกร์ปรากฏสว่างเด่นชัดทางทิศตะวันตกหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงเวลาประมาณ 20.00 น.

คืนวันที่ 13 ถึงรุ่งเช้าวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ฝนดาวตกเจมินิดส์ อัตราการตกประมาณ 150 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ชัดเจนที่สุดหลังเวลา 02.00 น. ของวันที่ 14 ธันวาคม จนถึงรุ่งเช้า ศูนย์กลางกระจายบริเวณกลุ่มดาวคนคู่

วันที่ 19 ธันวาคม 2564 ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon) ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย สังเกตการณ์ได้ตลอดคืน

วันที่ 21 ธันวาคม 2564 วันเหมายัน เวลากลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ประเทศทางซีกโลกเหนือถือเป็นวันเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ถือเป็นวันเข้าสู่ฤดูร้อน

นอกจากนี้ ยังมีปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์สว่างให้ชมกันตลอดทั้งเดือน ได้แก่

วันที่ 3 ธันวาคม 2564 ดาวอังคารเคียงดวงจันทร์ เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 05.28 น. จนถึงรุ่งเช้า

วันที่ 9 ธันวาคม 2564 ดาวพฤหัสบดีเคียงดวงจันทร์ เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ถึงเวลาประมาณ 22.30 น.

วันที่ 21 ธันวาคม 2564 ดาวพอลลักซ์เคียงดวงจันทร์ เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 20.10 น. จนถึงรุ่งเช้า

วันที่ 28 ธันวาคม 2564 ดาวอังคารเคียงดาวแอนทาเรส เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 05.10 น. จนถึงรุ่งเช้า

วันที่ 29 ธันวาคม 2564 ดาวพุธเคียงดาวศุกร์ เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 18.50 น.

ข่าววันนี้ ส่งท้ายปี 2564 ต้องไม่พลาดชม "ปรากฏการณ์ท้องฟ้า" ตลอดเดือนธันวาคม โดย เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ไทม์ไลน์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจบนท้องฟ้าให้ติดตาม มีอะไรน่าสนใจมาเช็คไว้เลย

 

3 ธันวาคม 2564

ดาวอังคารเคียงดวงจันทร์ เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 05:28 น. จนถึงรุ่งเช้า

 

7 ธันวาคม 2564

ดาวศุกร์สว่างที่สุดในรอบปี ดาวศุกร์ปรากฏสว่างเด่นชัดทางทิศตะวันตกหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงเวลาประมาณ 20:00 น.

 

9 ธันวาคม 2564

ดาวพฤหัสบดีเคียงดวงจันทร์ เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ถึงเวลาประมาณ 22:30 น.

คืน 13 - รุ่งเช้า 14 ธันวาคม 64

ฝนดาวตกเจมินิดส์ อัตราการตกประมาณ 150 ดวง/ชั่วโมง สังเกตได้ชัดเจนที่สุดหลังเวลา 02:00 น. ของวันที่ 14 ธ.ค. จนถึงรุ่งเช้า ศูนย์กลางกระจายบริเวณกลุ่มดาวคนคู่

 

ทำความรู้จักกับ "ฝนดาวตกเจมินิดส์" 


“ฝนดาวตกเจมินิดส์” (Geminids) เป็นฝนดาวตกชุดที่มีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อยเฟทอน (3200 Phaethon) เป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรรูปร่างรีจนคล้ายวงโคจรดาวหาง ฝนดาวตกชุดนี้เป็นหนึ่งในฝนดาวตกไม่กี่ชุดที่มีต้นกำเนิดมาจากดาวเคราะห์น้อย ต่างจากฝนดาวตกส่วนใหญ่ที่มีต้นกำเนิดเป็นดาวหาง


ฝนดาวตกชุดนี้จะปรากฏให้เห็นประมาณวันที่ 4-17 ธันวาคมของทุกปี มีศูนย์กลางกระจายตัวอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่  คาดการณ์ว่าช่วงที่มีอัตราดาวตกสูงสุดประมาณวันที่ 13-14 ธันวาคม จะมีอัตราดาวตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 120 ดวง/ชั่วโมง ฝนดาวตกเจมินิดส์นับเป็นหนึ่งในฝนดาวตกชุดที่น่าดูที่สุด เนื่องจากมีอัตราเร็วค่อนข้างช้า สังเกตได้ง่าย และยังมีอัตราดาวตกค่อนข้างสม่ำเสมอในแต่ละปี


ดาวตกในฝนดาวตกเจมินิดส์มีอัตราเร็วประมาณ 35 กิโลเมตร/วินาที  ค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับฝนดาวตกชุดอื่น อย่างฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ที่มีอัตราเร็วประมาณ 58 กิโลเมตร/วินาที หรือฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่มีอัตราเร็วประมาณ 71 กิโลเมตร/วินาที 

 

ฝนดาวตกเจมินิดส์ ปี 2564

คาดการณ์ว่าฝนดาวตกเจมินิดส์ จะมีอัตราการตกสูงสุดในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่ตีสองจนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 14 ธันวาคม 2564 อัตราการตกสูงสุดประมาณ 150 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางกระจายตัวอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่  กลุ่มดาวคนคู่จะปรากฏขึ้นจากขอบฟ้า ตั้งแต่เวลาประมาณ 20:00 น. ของวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม ในคืนดังกล่าวจะมีแสงรบกวนจากดวงจันทร์ข้างขึ้น 10 ค่ำ ในช่วงแรกของปรากฏการณ์ แนะนำให้ชมหลังดวงจันทร์ลับขอบฟ้าแล้ว เวลาประมาณ 02:00 น. ของวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า 

 

สถานที่ที่เหมาะสม

ควรเป็นสถานที่ที่มีแสงไฟรบกวนน้อย ห่างไกลจากเมืองหรือแสงไฟตามถนน อุปกรณ์ที่ควรเตรียมเพื่อนอนดูฝนดาวตกประกอบด้วยเก้าอี้เอน เสื่อ ผ้าห่ม และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ให้ความอบอุ่น หากนอนดูดาวตกเพียงคนเดียว เวลานอนรอชมให้หันเท้าไปทางทิศใต้แล้วพยายามมองท้องฟ้าเป็นมุมกว้าง ไม่ควรมองเพ่งไปที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งบนท้องฟ้า เพราะดาวตกจะปรากฏกระจัดกระจายบนท้องฟ้า เมื่อเริ่มนอนชมท้องฟ้าในความมืดประมาณ 30 นาทีแล้ว ดวงตาของเราจะปรับให้เข้ากับความมืด จากนั้นก็อดใจรอจนกว่าคุณจะเริ่มเห็นดาวตก ย้ำว่าควรมองท้องฟ้าเป็นมุมกว้างเข้าไว้ ดาวตกบางลูกอาจปรากฏกลางมุมมองของคุณ หรือส่วนหนึ่งอาจปรากฏบริเวณใกล้ขอบมุมมองสายตา

19 ธันวาคม 2564

ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon) ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย สังเกตการณ์ได้ตลอดคืน

 

เป็นคืนจันทร์เต็มดวงที่ดวงจันทร์จะโคจรอยู่ในระยะไกลโลกมากที่สุดในรอบปี หรือเรียกว่า "ไมโครฟูลมูน" ระยะห่างจากโลกประมาณ 405,924 กิโลเมตร ในคืนนั้น จะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กสุดในรอบปี เริ่มสังเกตดวงจันทร์ได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:00 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า

21 ธันวาคม 2564

วันเหมายัน เวลากลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ประเทศทางซีกโลกเหนือถือเป็นวันเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ถือเป็นวันเข้าสู่ฤดูร้อน

 

และห้ามพลาดชมดาวพอลลักซ์เคียงดวงจันทร์ เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 20:10 น. จนถึงรุ่งเช้า

 

'วันเหมายัน' คือวันอะไร? 

 

28 ธันวาคม 2564

ดาวอังคารเคียงดาวแอนทาเรส เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 05:10 น. จนถึงรุ่งเช้า

 

29 ธันวาคม 2564

ดาวพุธเคียงดาวศุกร์ เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 18:50 น.



อย่างไรก็ตาม หากทัศนวิสัยท้องฟ้าดี ไม่มีเมฆ สามารถรับชมด้วยตาเปล่าได้ทุกปรากฏการณ์ ขอให้มีความสุขกับการชมดาวกันนะชาวทรูไอดี

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

Tag

#ข่าว#ข่าวล่าสุด#ข่าววันนี้#ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี#ชมดาว#ดูดวงดาว#ปรากฏการณ์ท้องฟ้า#ฝนดาวตกเจมินิดส์#วันครีษมายัน คือ#วันเหมายัน