งานวัดผลและประเมินผลโรงเรียน

ใส่ความเห็น

Enter your comment here...

Fill in your details below or click an icon to log in:

อีเมล (ต้องการ) (Address never made public)

ชื่อ (ต้องการ)

เว็บไซต์

You are commenting using your WordPress.com account. ( Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

You are commenting using your Twitter account. ( Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

You are commenting using your Facebook account. ( Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

ยกเลิก

Connecting to %s

Notify me of new comments via email.

Notify me of new posts via email.

Δ

งานวัดผลและประเมินผลโรงเรียน

   งานวัดผลและประเมินผล มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อไปนี้

    • ส่งเสริมสนับสนุนครูและผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามระเบียบการวัดผลและประเมินผล
    • กำกับ ดูแล จัดการเรียนการสอน การวัดผลแปละประเมินผลในสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบ
    • ดำเนินการเกี่ยวกับการโอนผลการเรียน
    • ตรวจสอบผลการให้ระดับคะแนนก่อนเสนอคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาและผู้อำนวยการวิทยาลัย เพื่ออนุมัติผลการเรียน
    • รวบรวมผลการเรียนที่ได้รับการอนุมัติแล้วส่งงานทะเบียน
    • จัดสอบมาตรฐานวิชาชีพร่วมกับแผนกวิชาและรายงานผลการประเมินตามระเบียบ
    • ดำเนินการวิเคราะห์ข้อสอบและจัดทำข้อสอบมาตรฐาน
    • เก็บรักษาและทำลายเอกสารหลักฐานการประเมินผลการเรียนและเอกสารเกี่ยวกับงานวัดผลและประเมินผลการเรียนตามระเบียบ
    • ดำเนินการเกี่ยวกับการเทียบโอนผลการเรียน เทียบโอนความรู้และประสบการณ์
    • ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
    • จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
    • ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
    • ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

 มีหน้าที่

1. ส่งเสริมการวัดและประเมินผลการศึกษา ได้แก่ ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง โดยศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิธีการวัดผล และประเมินผลการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย   ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริหาร ครูให้ใช้วิธีการที่หลากหลายในการวัดและประเมินผลในสถานศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  ศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบ วิธีการในการพัฒนาแนวทางการวัดผลกและประเมินผลในสถานศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  จัดทำคู่มือการวัดผลเทียบโอนผลการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

2. ส่งเสริมเสริมและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษา ได้แก่ รวบรวมเครื่องมือการวัดและประเมินผลการศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ เครื่องมือวัดผลและประเมินผลที่มีผู้จัดทำแล้ว คัดเลือกให้เหมาะสมกับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลให้ครอบคลุมด้านต่อไปนี้   (1) เครื่องมือวัดและประเมินผลตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ (2)  เครื่องมือวัดผลและประเมินผลตามประเภทของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (3) เครื่องมือวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง (4) เครื่องมือวัดผลและประเมินผลคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ (5) เครื่องมือวัดผลและประเมินผลความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และการเขียน สื่อความ (6)  บริการเครื่องมือวัดและประเมินผลทางการศึกษาแก่สถานศึกษา

3. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การวัดและประเมินผลการศึกษา ได้แก่ (1) ศึกษา วิเคราะห์ แนวทาง ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา  (2) ดำเนินการ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา (3)  จัดทำรายงาน การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา (4)เผยแพร่ผล การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา

4.  จัดสอบทางการศึกษา  ได้แก่  ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับระบบ วิธีการ เครื่องมือวัดและประเมินผล การศึกษา  วางแผนการทดสอบทางการศึกษา ให้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ ทั้ง 8 กลุ่มสาระของสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กำหนดแนวทางในการทดสอบทางการศึกษา ให้สอดคล้องตามที่กระทรวงศึกษาธิการและสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติกำหนด   ประสานความร่วมมือกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ  ดำเนินการทดสอบทางการศึกษาและให้บริการสอบวัดความรู้ ความสามารถให้กับนักเรียน  พัฒนาคลังข้อสอบมาตรฐานการศึกษา  จัดสร้างโปรแกรมเก็บข้อมูลคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนทุกกลุ่มสารระการเรียนรู้