กำหนดการ เข้าค่าย พุทธ บุตร

ค่ายพุทธบุตรเป็นโครงการๆหนึ่ง ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อที่จะนำเยาวชนเข้ามารับการอบรม ตามระเบียบขั้นตอนที่ได้มีการตระเตรียมไว้อย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งในโครงการได้มีการบรรจุหลักสูตรเข้าไว้ 3 หลักใหญ่ๆด้วยกัน โดยเรียกกันว่า ๓ ส ๕ ดี :๓ ส คือ สาระ สนุก สงบ คือ อบรมสาระ ไม่ได้เคร่งเครียด รื่นเริง และสงบกาย วาจา ใจ ได้ในที่สุด๕ ดี คือ เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และ เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีของพระพุทธศาสนา

 

แนวคิดหลักในการอบรม

 

การอบรม เกิดจากการนำปรัชญาการศึกษาทางพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ ซึ่งมีองค์ประกอบอยู่ ๔ ประการ คือ ๑.พัฒนากายการพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพอย่างถูกต้องดีงาม ๒.พัฒนาศีลการพัฒนาการอยู่ร่วมในสังคมด้วยดี อย่างเกื้อกูลเป็นประโยชน์และมีอาชีพที่ถูกต้อง ๓.พัฒนาจิตการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดจิตที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ   ๓.๑คุณภาพจิตมีคุณธรรม สร้างเสริมจิตให้งดงาม๓.๒สมรรถภาพจิตความสามารถของจิต๓.๓สุขภาพจิตมีจิตที่มีสุขภาพดี ๔.พัฒนาปัญญาฝึกอบรมเพื่อให้เกิดปัญญา ๕ ระดับ คือ   ๔.๑ระดับที่ ๑ความรู้ความเข้าใจในศิลปวิทยาการ๔.๒ระดับที่ ๒การรับรู้เรียนรู้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง๔.๓ระดับที่ ๓การคิดวินิจฉัยโดยบริสุทธิ์ใจ๔.๔ระดับที่ ๔การ เข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง รู้ทางเสื่อม ทางเจริญ และเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รู้วิธี แก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์ความสำเร็จ ที่ทำให้พัฒนาตน พัฒนาชีวิตและสังคม
ให้เจริญดีงามยิ่งๆขึ้นไป๔.๕ระดับที่ ๕รู้เท่าทันธรรมดาของโลกและ ชีวิต เข้าใจความจริงแท้ จิตใจเป็นอิสระ หลุดพ้นจากทุกข์โดยสมบูรณ์ แตใจเป็นอิสระ+หลุดพ้นจากทุกข์โดยสมบูรณ์

 

๑.หลักการและเหตุผล

 

ปัจจุบัน สังคมมีความเจริญก้าวหน้าด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างรวดเร็ว คนส่วนใหญ่ จึงยึดติดอยู่กับความสำเร็จทางวัตถุกันมากจนขาดความเอาใจใส่ในเรื่องของ คุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงามของวัฒนธรรมไทย ปัญหาและอาชญากรรมต่างๆ จึงได้เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะปัญหาเยาวชนนั้น เป็นปัญหาที่ต้องป้องกันและแก้ไขด้วยศีลธรรม หากเยาวชนเหล่านั้นได้รับการเรียนรู้และอบรมสั่งสอนในเรื่องศีลธรรมด้วยความ สมบูรณ์แล้ว พวกเขาก็จะเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ คือ “เก่ง ดี มีประโยชน์” การอบรมในเรื่องของศีลธรรมที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอบรมทั้งทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไป พร้อมทั้งจะต้องอาศัยการปฏิบัติโดยตนเองด้วย เพื่อให้ถูกต้องตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา คณะสงฆ์อาสาพัฒนาชุมชนตำบลร่มเย็น จึงได้จัดให้มีโครงการอบรมคุณธรรมและจริยธรรม “ค่ายพุทธบุตร” ขึ้น เพื่อให้การอบรมนักเรียนและเยาวชนของชาติ ให้ได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่วัย เพื่อจะได้รู้ถึงหลักธรรมคำสอนที่ดีงาม มีความศรัทธาใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา และจะได้พัฒนาตนเองพร้อมทั้งยกระดับจิตให้มั่นคงในศีลธรรม สืบต่อไป

 

๒. วัตถุประสงค์

 

 ๑.เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ๒.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักธรรมคำ สอน พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ตามความเหมาะสมแก่วัยสามารถน้อมนำไป พัฒนาตนเองได้ และสามารถเป็นผู้นำที่ดีมีคุณธรรมกำกับใจ และอายต่อการกระทำความชั่วในทุกที่ทุกสถาน ๓.เพื่อปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม ด้านคุณธรรม จริยธรรม มโนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทยที่มีหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเป็นเบ้า หลอมจิตใจให้เกิดสามัคคีธรรมในสังคม ๔.เพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จัก ภาวการณ์เป็นผู้นำที่ดีอยู่บนพื้นฐานของความถูก ต้องมีความสามารถในการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและสามารถนำตนพร้อมสังคมไปสู่ ความสงบสุขได้ตั้งแต่วัยเยาว์ เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งสถาบันของชาติ พระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างมั่นคง ๕.เพื่อปลูกฝังหลักคุณธรรมให้แก่เยาวชน ให้ตระหนักในฐานะที่เป็น   ๑.ลูกที่ดีของพ่อแม่ ๒.ศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ ๓.เพื่อนที่ดีของเพื่อน ๔.เยาวชนที่ดีของประเทศชาติ ๕.ศาสนิกชนที่ดีของศาสนาของตนเอง ๖.เพื่อให้เยาวชนได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ทั้งในด้านคุณธรรมและจริยธรรม

 

๓. เป้าหมาย

 

 ๑.ด้านปริมาณนักเรียนระดับประถม/ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น / ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย / นักศึุกษา ต้องอยู่อบรมในค่ายพุทธบุตรเป็นเวลา ๒ คืน ๓ วัน จำนวนไม่เกิน ๓๕๐ คน/ครั้ง โดยประมาณ ๒.ด้านคุณภาพการอบรมต้องการเน้นให้กลุ่มเป้าหมาย ให้มีคุณภาพในด้านต่อไปนี้    ๒.๑เป็นคนมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบในหน้าที่มากขึ้น ๒.๒.ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่วัย และพัฒนาระดับจิตใจให้มั่นคงขึ้น ๒.๓นำความรู้ที่ได้รับไปปรับปรุง เปลี่ยนแปล และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

๔. ขั้นตอนและการดำเนินงาน

 

 ๑.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒.ประชุมชี้แจงคณะครู/คณะกรรมการโครงการ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน ๓.ประสานงานติดต่อพระวิทยากร และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ๔.ออกหนังสือขอความอุปถัมภ์จากสถานที่ต่างๆ ๕.ออกหนังสือแจ้งให้ผู้ปกครองนักเรียนทราบ ๖.จัดทำเอกสารคู่มือประกอบการอบรม และรายละเอียดต่างๆ ๗.เตรียมจัดแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม/จัดสถานที่และสิ่งที่จำเป็นในการอบรม ๘.ติดต่อเชิญประธานในพิธีเปิดและปิดโครงการ ๙.ดำเนินการฝึกอบรมตามกำหนดการ ๑๐.ประเมินผลและสรุปการดำเนินการโครงการ

 

๕. ค่าใช้จ่ายในโครงการ

 

 ๑.ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ๒.ค่าอาหาร/เครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรม ๓.ค่าพาหนะพระวิทยากร/ถวายพระวิทยากร

 

๖. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

 ๑.นักเรียนตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญของพุทธศาสนา พร้อมเข้าใจหหลักธรรมดียิ่งขึ้น ๒.นักเรียนได้รับการปลูกฝังศีลธรรม คุณธรรมพื้นฐาน เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ๓.ทำให้มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบในหน้าที่ และมีค่านิยมที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิต ๔.ทำให้มีความสำนึกในบุญคุณของผู้มีพระคุณ และตอบแทนคุณ

 

๗. กลุ่มงานที่รับผิดชอบโครงการ

 

หากท่านเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมี ประโยชน์ต่อสังคม หรือต้องการพัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้และการพัฒนาองค์กร หรือบุคลากร นักเรียน นักศึกษา และเยาวชนของท่าน ต้องการให้คณะพระวิทยากรไปอบรมให้ความรู้คู่คุณธรรม ทางโครงการมีทีมงานพระวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งที่อยู่ในตำบลร่มเย็น และอยู่ที่ โครงการค่ายคุณธรรมและศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนา ในพุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และ พระวิทยากร จากกรุงเทพมหานคร ที่สามารถมาให้ความรู้คู่คุณธรรม อบรมทางวิชาการ แก่องค์กร/บุคคลากร/ นักเรียน นักศึกษา/ เยาวชน ของท่านได้ ท่านสามารถติดต่อได้ืั้ที่ ๑.คณะ สงฆ์อาสาพัฒนาชมชนตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ได้ที่วัดคุ้ม ติดต่อ พระมหาประยุทธ์ อินทปัญโญ เจ้าคณะตำบลร่มเย็น เขต ๒ โทร. ๐๘-๙๒๖๑-๓๓๘๑ ๒.พระอธิการจเร กิตติวัณโณ เจ้าอาวาสวัดเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ ๑๕ ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โทร. ๐๘๑ -๘๔๖-๒๐๘ ๓.พระอาจารย์สงกรานต์ จิตตสุโข ฝ่ายเผยแผ่ /ประสานงาน วัดไทยลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา ติดต่อผ่านเว็บไซต์ที่   ๑.ติดต่อผ่านเว็บไซต์ที่http://www.kasetsomboon.org ๒.ติดต่อผ่านอีเมล์ได้ที่[email protected] ๓.ติดต่อผ่านอีเมล์ได้ที่[email protected] ๔.ติดต่อผ่านอีเมล์ได้ที่[email protected]

 

๘. ลักษณะเป้าหมายของการอบรมเยาวชน “ค่ายพุทธบัตร”

 

เป็นการประยุกต์การสอนธรรมะให้ทันกับ ความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย และเหมาะสมกับวัยของกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา โดยเน้นการสอนสอดแทรกรูปแบบหลัก คุณธรรมและจริยธรรมด้วยกิจกรรม อุปกรณ์ และสื่อต่าง ๆ ด้วยการใช้เกม บทสรภัญญะ กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น ๓ ภาค คือ ๑.ภาควิชาการ มีการแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ ๔๐-๕๐ คน และแต่ละค่ายจะรับนักเรียนและเยาวชนไม่เกินค่ายละ ๓๕๐ คน/ครั้ง เพื่อให้พระสงฆ์เป็นพระอาจารย์สอนวิชาทางพระพุทธศาสนาโดยแบ่งออกเป็น ๓ วิชา ดังนี้   ๑.๑วิชาพุทธธรรม (หลักในการดำเนินชีวิต) เป็นการสอนวิชาธรรมะขั้นพื้นฐานให้เหมาะสมกับวัยของผู้ที่มาเข้ารับการอบรม เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยมีเป้าหมายให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางสังคมนั้น ๆ ๑.๒วิชาพุทธประวัติ (ตามรอยพระศาสดา) เน้นให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เกิดมาเป็นพุทธศาสนิกชน ๑.๓วิชาพุทธศาสนพิธี (หน้าที่ของชาวพุทธ) เน้นให้ผู้ที่มาเข้ารับการอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ ชีวิตประจำวันในสังคมชาวพุทธ เช่น การเข้าวัด การทำบุญการบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา ได้อย่างถูกต้องตามแบบแผนนิยม วิชามารยาทไทย เน้นให้ผู้ที่เข้ารับการอบรม ได้ตระหนักถึงความเป็นไทย ค่านิยม กิริยามารยาท การแสดงความเคารพ ฯลฯ เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้อง และปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพสังคมได้ดี ๒.กิจกรรมภาคปฏิบัติ ได้แก่ การสวดมนต์ไหว้พระ การทำวัตรเย็นและวัตรเช้า การฝึกสมาธิ การเดินจงกรม การฟังบรรยายธรรม การสมาทานรักษาศีล และการแผ่เมตตา เป็นต้น ๓.กิจกรรมภาคการสอนสอดแทรกคุณธรรม เป็นกิจกรรมที่ใช้หลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาประกอบการอบรม เช่น   ๓.๑ใช้บทสรภัญญะประกอบกิจกรรม ๓.๒ใช้เกมสร้างสรรค์ นำความคิด สรุปด้วยธรรม ๓.๓ใช้อุปกรณ์ สื่อป้าย สไลด์ โอเวอร์เฮด โปรเจคเตอร์ และคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ๔.ใช้กิจกรรมประยุกต์ เช่น แสงเทียนเสียงธรรม จุดเทียนแห่งปัญญา มาลาบูชาพระคุณครู การทอดผ้าป่ากิเลส เป็นต้น ฯลฯ ๕.ใช้กิจกรรมโดยตรง เช่น การใช้บทบาทสมมติ กรณีตัวอย่าง สถานการณ์จำลอง

 

กิจกรรมเหล่านี้ เป็นส่วนประกอบในการเสริมสร้าง และพัฒนาให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ พัฒนาสมอง ได้รับความสนุกสนาน และจบลงด้วยการมีคุณธรรมที่เกิดจากแง่คิดต่าง ๆ เช่น ความเสียสละ ความสามัคคี การมีวินัย ความซื่อสัตย์ ความกตัญญูกตเวที และเพิ่มพูนลักษณะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี เป็นต้น

 

๙. ตารางอบรรม โครงการอบรมเยาวชน “ค่ายพุทธบัตร”

 

การจัดอบรมเยาวชน “ค่ายพุทธบุตร”นั้น เพื่อให้คณะผู้บริหาร คณะครูอาจารย์ ผู้ปกครองนักเรียน ได้ทราบกำหนดเวลา และกิจกรรมต่าง ๆ ในการอบรม ดังนั้น โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่เข้ารับการ อบรม ต้องจัดทำตารางการอบรมตามกำหนดการดังนี้

 

วันแรกของการอบรม

 

เวลากิจกรรมผู้รับผิดชอบ๐๗.๐๐ – ๐๘.๐๐ น.ผู้เข้ารับการอบรมรายงานตัว รับบัตรสี แบ่งกลุ่ม ๔ อาศรมคณะครู๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น.พร้อมกันที่ห้องประชุมใหญ่คณะครู  ซักซ้อมพิธีเปิดโครงการอบรมเยาวชน ประธานในพิธีเดินทางมาถึงหอประชุม นำจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ประธานฝ่ายสงฆ์นำบูชาพระรัตนตรัย ผู้อำนวยการกล่าวรายงาน ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน พิธีมอบตัวเป็นศิษย์ ประธานในพิธีให้ศีลและให้โอวาทปฐมนิเทศพระวิทยากรคณะครูคณะครูพระวิทยากรคณะครูคณะครูพระวิทยากรคณะครู๐๙.๐๐ – ๑๑.๐๐ น.รายการในห้องประรชุมใหญ่   รายการก้าวเข้าสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พื้นฐานการดำเนินชีวิต ศีล ๕ รายการแนะนำกฎกติกามารยาท (เสน่ห์ 5 อ่อน) สำหรับการอยู่ค่าย แนะนำการรับประทานอาหาร ท่องบทพิจารณาอาหาร โดยให้ท่องจำได้ขึ้นใจพระวิทยากรพระวิทยากรพระวิทยากร๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.พักฉันภัตตาหาร / รับประทานอาหาร / ทำภารกิจส่วนตัวพระวิทยากร/ครู๑๒.๓๐ – ๑๓.๐๐ น.ปฏิบัติสมาธิ ขยับกายสบายชีวีวิถีพุทธพระวิทยากร/ครู๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.รายการในห้องประรชุมใหญ่พระวิทยากร/ครู  แนะนำคณะพระวิทยากร กิจกรรม การสอนสอดแทรกคุณธรรม นันทนาการ รายการหัวใจตรงกัน “ดอกไม้คุณธรรม” รายการเพื่อนพระวิทยากรพระวิทยากรพระวิทยากรพระวิทยากร๑๖.๐๐ – ๑๗.๓๐ น.ทำภารกิจส่วนตัว อาบน้ำ / รับประทานอาหารพระวิทยากร/ครู๑๘.๐๐ – ๑๙.๓๐ น.ทำวัตรเย็น – สวดมนต์ – จิตภาวนา – กระจกส่องใจพระวิทยากร๑๙.๓๐ – ๒๑.๓๐ น.รายการในห้องประรชุมใหญ่   กิจกรรมฉายสื่อวีดีทัศน์ ส่งเสริมคุณธรรม ปัญหาสังคม ประกอบไปด้วยปัญหายาเสพติด การสูญเสียแผ่นดินทั้ง 14 ครั้ง, รักชาติ ปัญหาวัยรุ่น , การทำแท้ง, โรคเอดส์พระวิทยากรพระวิทยากรพระวิทยากรพระวิทยากร๒๒.๐๐ น.พักผ่อน นอนอย่างมีสติคณะครู

 

วันที่สองของการอบรม

 

เวลากิจกรรมผู้รับผิดชอบ๐๔.๐๐ – ๐๕.๐๐ น.ให้สัญญาณ – ตื่นนอน / ทำภารกิจส่วนตัวคณะครู๐๕.๐๐ – ๐๖.๐๐ น.ทำวัตรเช้า สวดมนต์ จิตภาวนาพระวิทยากร๐๖.๐๐ – ๐๗.๓๐ น.กิจกรรมพิเศษ   ขยับกายสบายชีวีวิถีพุทธ เดินจงกรม ธรรมะแรนลี่พระวิทยากรพระวิทยากรพระวิทยากร๐๗.๓๐ – ๐๘.๐๐ น.พักฉันภัตตาหาร / รับประทานอาหาร / ทำภารกิจส่วนตัวพระวิทยากร/ครู๐๘.๓๐ – ๑๐.๐๐ น.แบ่งเข้าอบรมตามอาศรมต่างๆ ดังนี้ อาศรมละ 1.20 นาทีพระวิทยากร  สีชมพูและสีเขียว เข้าอาศรมเมตตา “โต้วาทีธรรมะ”
ฝึกการใช้คำพูด สีฟ้าและสีเหลืองเข้าอาศรมกรุณา”ปิดตาแต่งหน้า” ฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีพระวิทยากรพระวิทยากร๑๐.๐๐ – ๑๑.๓๐ น.สลับการเข้าอาศรมต่างๆ ดังนี้ อาศรมละ 1.20 นาทีพระวิทยากร  สีฟ้าและสีเหลือง เข้าอาศรมเมตตา
“โต้วาทีธรรมะ” ฝึกการใช้คำพูด สีชมพูและสีเขียว เข้าอาศรมกรุณา “ปิดตาแต่งหน้า”
ฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีพระวิทยากรพระวิทยากร๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.พักฉันภัตตาหาร / รับประทานอาหาร / ทำภารกิจส่วนตัวพระวิทยากร/ครู๑๒.๓๐ – ๑๓.๐๐ น.ปฏิบัติสมาธิ ขยับกายสบายชีวีวิถีพุทธ “นอนสมาธิ”พระวิทยากร/ครู๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.แบ่งเข้าอบรมตามอาศรมต่างๆ ดังนี้ อาศรมละ 1.20 นาที   สีฟ้าและสีเขียว เข้าอาศรมมุทิตา
“เลือกอย่างฉลาด” ฝึกการคิดอย่างฉลาด สีชมพูและสีเหลือง เข้าอาศรมอุเบกขา
“ช่วยเพื่อนพักใจ” แก้ปัญหาชีวิตพระวิทยากรพระวิทยากร๑๔.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.สลับการเข้าอาศรมต่างๆ ดังนี้ อาศรมละ 1.20 นาทีพระวิทยากร/ครู  สีชมพูและสีเหลือง เข้าอาศรมมุทิตา
“เลือกอย่างฉลาด” ฝึกการคิดอย่างฉลาด สีฟ้าและสีเขียว เข้าอาศรมอุเบกขา
“ช่วยเพื่อนพักใจ” แก้ปัญหาชีวิตพระวิทยากรพระวิทยากร๑๖.๐๐ – ๑๗.๓๐ น.ทำภารกิจส่วนตัว อาบน้ำ / รับประทานอาหารพระวิทยากร/ครู๑๘.๐๐ – ๑๙.๓๐ น.ทำวัตรเย็น – สวดมนต์ – จิตภาวนา – กระจกส่องใจพระวิทยากร๑๙.๓๐ – ๒๑.๓๐ น.รายการในห้องประรชุมใหญ่   ชมสื่อ กฎแห่งกรรม มรณานุสติ กิจกรรม การสอนสอดแทรกคุณธรรม นันทนาการ รายการสื่อความหมาย “ฝึกการ สังเกต จดจำ
และนำไปถ่ายทอด” รายการแสงเทียนเสียงธรรม “บูชาพระคุณแม่”พระวิทยากรพระวิทยากรพระวิทยากรพระวิทยากร๒๒.๐๐ น.พักผ่อน นอนอย่างมีสติคณะครู

 

วันที่สามของการอบรม

 

เวลากิจกรรมผู้รับผิดชอบ๐๔.๐๐ – ๐๕.๐๐ น.ให้สัญญาณ – ตื่นนอน / ทำภารกิจส่วนตัวคณะครู๐๕.๐๐ – ๐๖.๐๐ น.ทำวัตรเช้า สวดมนต์ ย่อพระวิทยากร๐๕.๐๐ – ๐๖.๐๐ น.รายการจุดเทียนแห่งปัญญา ” ตั้งปณิธานเริ่มต้นชีวิตใหม่พระวิทยากร๐๖.๐๐ – ๐๗.๓๐ น.กิจกรรมพิเศษ   ขยับกายสบายชีวีวิถีพุทธ เดินจงกรม ธรรมะแรนลี่ ถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึกพระวิทยากรพระวิทยากรพระวิทยากรพระวิทยากร๐๗.๓๐ – ๐๘.๐๐ น.พักฉันภัตตาหาร / รับประทานอาหาร / ทำภารกิจส่วนตัวพระวิทยากร๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น.รายการทอดผ้าป่ากิเลส “สละ ลด ละ เลิก สิ่งไม่ดีต่างๆ”พระวิทยากร๐๘.๓๐ – ๑๐.๐๐ น.รายการในห้องประรชุมใหญ่พระวิทยากร  รายการมาลาบูชาครู “บูชาพระคุณครู” รายการกล่าวสุนทรพจน์ บรรยายความรู้สึก “พุทธบุตรอยากรู้” ไขข้อข้องใจ กรอกแบบประเมินพระวิทยากรพระวิทยากรพระวิทยากรพระวิทยากร๑๐.๐๐ – ๑๑.๓๐ น.รายการในห้องประรชุมใหญ่   ซักซ้อมพิธีเปิดโครงการอบรมเยาวชน ประธานในพิธีเดินทางมาถึงหอประชุม นำจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ประธานฝ่ายสงฆ์นำบูชาพระรัตนตรัย ผู้แทนครู กล่าวรายงานพิธีปิดค่ายพุทธบุตร ตัวแทนนักเรียน เข้ารับวุฒิบัตร ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาท กล่าวปิดงาน ผู้อำนวยการ กล่าวขอบคุณพระวิทยากร คณะครู ถวายของที่ระลึก นักเรียนผู้เข้าอบรมทำพิธีขอขมาพระวิทยากร ประธานพระวิทยากร กล่าวสัมโมทนียกถา
มอบนักเรียนคืนอาจารย์โรงเรียน คณะพระวิทยากร อนุโมทนาเป็นภาษาบาลี บูชาพระรัตนตรัยพร้อมกัน ปิดการอบรมพระวิทยากรคณะครูคณะครูพระวิทยากรคณะครูคณะครูคณะครูคณะครูคณะครูคณะครูคณะครูคณะครูคณะครูคณะครู๑๑.๓๐ – ๑๒.๓๐ น.พักฉันภัตตาหาร / รับประทานอาหาร / ทำภารกิจส่วนตัวพระวิทยากร/ครู๑๓.๐๐ น.เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพคณะครูู

 

หมายเหตุ : กำหนดการนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ในการอยู่ในโครงการอบรมคุณธรรมและจริยธรรม “ค่ายพุทธบุตร”

 

 ๑.ทำใจให้สงบ ทำ พูด คิด ในสิ่งที่ดีงาม ๒.รักษา กาย วาจา ใจ ให้สงบ สุภาพเรียบร้อย ๓.รักษากฎระเบียบ และรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาดอยู่เสมอ ๔.มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ประหยัด ๕.รู้จักแสวงหาความรู้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ๖.รู้จักเคารพในสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ๗.พยายามสร้างความดี งดเว้นสร้างบาป ละอบายมุขทั้งปวง ๘.ให้มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ตัว เสียสละช่วยเหลืองานต่าง ๆ ของส่วนรวม ๙.ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ของวัดและโรงเรียน

 

ระเบียบข้อบังคับ ประจำโครงการอบรมคุณธรรมและจริยธรรม “ค่ายพุทธบุตร”

 

 ๑.มีระเบียบ ในการเข้าออกห้องประชุม เปลี่ยนฐาน นั่งทำกิจกรรม ๒.สะอาด ภาชนะอาหาร ที่พัก ห้องประชุม ๓.สงบ ในห้องประชุม เวลาฟังธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม และเข้านอน ๔.ทำกิจกรรมตามลำดับก่อนหลัง เสมอ ๕.ตื่น ตัวอยู่เสมอ ปรับตัวให้ทันเวลา ทันสถานการณ์ อย่าเฉื่อยชา อย่านิ่งดูดาย เมื่อนกหวีดครั้งที่หนึ่งดังขึ้น มีเวลาเพียงสองนาที ในการรวมกลุ่ม เมื่อนกหวีดครั้งที่สองดังขึ้น เราพร้อมที่จะปฏิบัติการที่ทางค่ายจัดให้ทำ ๖.ยอมรับความจริง เมื่อผิดต้องยอมรับผิด อย่าเฉไฉ ปัดสวะให้ผู้อื่น พร้อมที่จะเผชิญกับทุกสภาพ ทุกสถานการณ์ด้วยสติปัญญา ไม่บ่น ไม่ท้อ ๗.ฝึกตน เองอยู่เสมอ ทางกายและวาจาทางกาย ต้องประสานมือตลอดเวลาที่อยู่ในค่าย ยกเว้นทำงาน ไม่ยืนหรือเดินรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ และประนมมือพูดกับพระอาจารย์ ๘.ยืนตรงพูดกับครูอาจารย์เสมอ ทางวาจา พูดกับพระ มีหางเสียงว่า “เจ้าค่ะ” “ครับผม” เสมอ ๙.ละมานะทิฐิ ไม่เอาเปรียบเพื่อน ไม่เห็นแก่ความสบาย ๑๐.ไม่อยู่สองต่อสองระหว่างชายกับหญิง ๑๑.ไม่ออกนอกบริเวณค่ายก่อนได้รับอนุญาต ๑๒.ห้ามนำสิ่งของมีค่าเครื่องประดับติดตัว คณะพระพระอาจารย์และครูอาจารย์ไม่รับผิดชอบ ๑๓.บันทึก สิ่งที่ได้รับการอบรมทุกกิจกรรม และก่อนนอนบันทึกประจำวันส่ง ๑๔.ร่วมกิจกรรมทุกอย่าง กิจกรรมทุกอย่างจะทำให้เรามีการพัฒนา ๑๕.ไม่ส่งเสียงคุยกันในห้องประชุม ห้องอาหารและห้องนอน อยู่ในอาการอันสงบสำรวม ๑๖.ห้ามเสพสิ่งเสพติดทุกชนิด ถ้าพบเห็น หรือทราบ จะต้องได้รับโทษขั้นหนัก ๑๗.ห้ามก่อการทะเลาะวิวาทในค่าย หากเกิดขึ้นต้องให้ออกจากการอบรมทั้งสองฝ่ายกติกาสัญญาใจ โครงการอบรมคุณธรรมและจริยธรรม “ค่ายพุทธบุตร”

 

 ๑.ให้ ผู้เข้ารับการอบรม กำหนดในใจว่า “เรามาฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี” จึงควรพยายามละเว้นเรื่องต่าง ๆ ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ประคองจิตใจให้ถึงธรรม ๒.พยายามสำรวมตัวเองทั้งทางร่างกายวาจาและใจ ๓.พยายามงดการพูดคุย พูดเฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น ๔.มีสติทุกอิริยาบท ให้รู้ตัวว่า ขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ ๕.ลดทิฏฐิมานะอัตตา ตั้งใจรักษา เจริญจิตภาวนาและใช้เมตตาให้มาก ๖.อดทนต่อความยากลำบากทุกกรณี ๗.เมื่อมีปัญหา สงสัยสิ่งใด ให้ถามพระวิทยากร หรือคณะครูอาจารย์ ๘.แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เก็บรองเท้าให้เป็นระเบียบในที่ที่กำหนด ๙.ช่วยกันทำความสะอาดที่พักทุกคน และรักษาความสะอาดสถานที่ รวมถึงการใช้ห้องน้ำ ๑๐.ห้ามสมาชิกชายหญิง อยู่ในที่ลับหูลับตาสองต่อสอง ๑๑.มีมารยาทในการรับประทานอาหาร สุภาพเรียบร้อยต่อสมาชิกร่วมค่ายและบุคคลทั่วไป ๑๒.ตรงต่อเวลา และไม่ออกจากห้องประชุม หรือห้องเรียนก่อนเวลา ๑๓.ห้ามส่งเสียงดัง ขณะสวดมนต์ไหว้พระ ฝึกสมาธิ ฟังบรรยายธรรม ๑๔.ห้ามนำอาหาร ขนม สารหรือสิ่งเสพติดต่าง ๆ เข้าไปรับประทาน เสพ หรือ เก็บไว้ในห้อง ๑๕.ห้ามออกนอกบริเวณโครงการอบรมเยาวชน “ค่ายพุทธบุตร” ๑๖.ข้อวัตรปฏิบัติอื่น ๆ ที่นอกไปจากนี้ ให้ใช้วิจารณญาณพิจารณาตามความเหมาะสมแก่กาละเทศะ เพศและวัย

 

บทพิจารณาอาหาร

 

 ข้าวทุกจานอาหารทุกอย่างอย่ากินทิ้งขว้างเป็นของมีค่า พ่อแม่เหนื่อยยากลำบากกายาสงสารบิดามารดาของเรา ในโลกนี้ยังมีคนที่จนยากแสนลำบากอัตคัดและขัดสน อย่ากินทิ้งกินขว้างตามใจตนสงสารคนไม่มีอันจะกิน ขอบคุณขอบคุณขอขอบพระคุณที่ท่านการุณจัดอาหารไว้ให้ พุทธบุตรซาบซึ้งน้ำใจต่อแต่นี้ไปจะทำความดีตอบแทน…

 

กติกาในการรับประทานอาหาร

 

 ไม่ดังไม่หกไม่ตกไม่เหลือ ถ้าดังถ้าหกถ้าตกถ้าเหลือ ระวังจะไม่ได้ทานขอบคุณครับ…ขอบคุณค่ััะ…

 

กฏระเบียบในการรับประทานอาหาร

 

 ๑.ให้ผู้ที่เข้ามารับการอบรม นำอุปกรณ์ เช่น จาน ช้อน และแก้วน้ำ มาให้เรียบร้อย ๒.ให้ผู้ที่เข้ามารับการอบรม วางอุปกรณ์ไว้ทางขวามือ ให้เป็นแถวตรงกันดูสวยงาม ๓.ให้ผู้ที่เข้ามารับการอบรม กราบพระพร้อมกัน 3 ครั้ง ๔.ให้ผู้ที่เข้ามารับการอบรม ท่องพุทธศาสนสุภาษิต คำกลอน เตรียมความพร้อม ๕.ให้ผู้ที่เข้ามารับการอบรม รับอาหารเป็นแถวอย่างมีระเบียบ ๖.ให้ผู้ที่เข้ามารับการอบรม กลุ่มที่ยังไม่ได้ออกมารับอาหาร ท่องพุทธศาสนสุภาษิตหรือนั่งสมาธิ ๗.ให้ผู้ที่เข้ามารับการอบรม ที่รับอาหารมาแล้ว วางทางขวามือเป็นแถวตรงกัน ๘.ตัวแทนกลุ่มที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอาน้ำใส่เหยือกบริการให้เพื่อน (ครูอาจารย์ที่ปรึกษาช่วยด้วยก็ได้)