หลอก ลงทุน คอน โด เชียงใหม่

“ดีเอสไอ” สนธิกำลังบุกอายัดทรัพย์ มูลค่ากว่า 1,200 ล้าน คดีหลอกลงทุนคอนโดหรูเชียงใหม่ 14 โครงการ มูลค่าความเสียหายกว่า 4,000 ล้านบาท

24/06/2022

10316

หลอก ลงทุน คอน โด เชียงใหม่

“ดีเอสไอ” สนธิกำลังบุกอายัดทรัพย์ มูลค่ากว่า 1,200 ล้าน คดีหลอกลงทุนคอนโดหรูเชียงใหม่ 14 โครงการ มูลค่าความเสียหายกว่า 4,000 ล้านบาท

ช่วงเช้าวันนี้ (24 มิ.ย.65) นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงค์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมเจ้าหน้าที่ดีเอสไอนำหมายค้นจากศาลจังหวัดเชียงใหม่ เข้าตรวจค้นบริษัท เดอะ นิว คอนเซปต์ พร็อพเพอร์ตี้ และ เข้าค้นสำนักงานขาย ในพื้นที่ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อตรวจสอบและอายัดทรัพย์สินในคดีพิเศษกรณีที่ได้รับการร้องเรียนว่ามีพฤติการณ์หลอกลวงฉ้อโกงประชาชนซึ่งคดีนี่มีมูลค่าความเสียหายกว่า 4,000 ล้านบาท

หลอก ลงทุน คอน โด เชียงใหม่

โดยการตรวจค้นในครั้งนี้เจ้าหน้าที่พบหุ้นส่วนของบริษัทและพนักงานนำค้นภายในบ้านหลังใหญ่และอาคารสำนักงานบนพื้นที่กว่า 3 ไร่ เพื่อตรวจหาที่มาของทรัพย์สินและอายัดเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า คดีนี้ทางดีเอสไอได้รับการร้องทุกข์จากผู้เสียหายมาแล้วกว่า 80 ราย และ ยังมีที่เตรียมเข้าร้องทุกข์เพิ่มเติมอีกจำนวนมาก โดยผู้เสียหายร้องว่าถูกโครงการหลอกลวงให้ลงทุนในโครงการคอนโดมีเนียม 14 โครงการ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 12 โครงการและจังหวัดกระบี่อีก 2 โครงการ ตั้งแต่ปี 2557 โดยชักชวนให้ร่วมลงทุนและจะให้ผลตอบแทนร้อยละ 8 ต่อปี ช่วงแรกได้ผลตอบแทน แต่สามสี่ปีที่ผ่านมาไม่ได้ผลตอบแทนตามสัญญา จึงเชื่อว่าถูกหลอกลวงและเข้าร้องทุกข์กับดีเอสไอ

หลอก ลงทุน คอน โด เชียงใหม่

ขณะที่การตรวจสอบพบว่าทั้ง 14 โครงการมีลูกค้าทั้งหมดกว่า 2,000 ราย มูลค่าโครงการกว่า 4,000 ล้านบาท โดยมีหลายคนที่ลงทุนเป็นเงินหลักร้อยล้าน โดยทรัพย์สินที่อายัดทรัพย์วันนี้เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่ากว่า 1,200 ล้านบาท รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ เพื่อนำไปตรวจสอบว่ามีลักษณะที่เข้าข่ายการฟอกเงินหรือไม่

อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ บอกอีกว่า จากการพูดคุยกับผู้จัดการโครงการ อ้างว่าได้มีการเจรจากับผู้เสียหายโดยยื่นข้อเสนอให้ย้ายไปอยู่ที่โครงการอื่นที่ใกล้เสร็จ แทนซึ่งบางส่วนยินยอมตามข้อตกลง

ทางด้านผู้จัดการบริษัท ชี้แจงว่า เป็นเรื่องการทำธุรกิจที่ละเอียดอ่อน ทำเรื่องของธุรกิจที่ทำมาเป็นสิบยี่สิบปี ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ภายในเวลาสองสามนาที ส่วนข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นทางบริษัทได้แก้ปัญหาแล้ว และ ที่ผ่านมาก็ให้ข้อมูลกับดีเอสไอแล้ว

ดีเอสไอ สนธิกำลัง บุกยึดทรัพย์ มูลค่ากว่า 1,200 ล้าน คดีหลอกลงทุนคอนโดหรู 14 โครงการ มูลค่าความเสียหายกว่า 4,000 ล้านบาท

ช่วงเช้าวันนี้ (24 มิ.ย. 65) นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงค์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมเจ้าหน้าที่ดีเอสไอนำหมายค้นจากศาลจังหวัดเชียงใหม่ เข้าตรวจค้นบ้านของนายรมย์รวินทร์ ธัญเศรษฐ์กุล ประธานบริษัทแห่งหนึ่ง และ เข้าค้นสำนักงานขาย ในพื้นที่ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อตรวจสอบและยึดอายัดทรัพย์สินในคดีพิเศษกรณีที่ได้รับการร้องเรียนว่ามีพฤติการณ์หลอกลวงฉ้อโกงประชาชน ซึ่งคดีนี่มีมูลค่าความเสียหายกว่า 4,000 ล้านบาท

โดยการตรวจค้นในครั้งนี้เจ้าหน้าที่ไม่พบตัวนายนายรมย์รวินทร์ แต่มีหุ้นส่วนของบริษัท และพนักงานนำค้นภายในบ้านหลังใหญ่และอาคารสำนักงานบนพื้นที่กว่า 3 ไร่ เพื่อตรวจหาที่มาของทรัพย์สิน และอายัดเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

หลอก ลงทุน คอน โด เชียงใหม่

อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า คดีนี้ทางดีเอสไอได้รับการร้องทุกข์จากผู้เสียหายมาแล้วกว่า 80 ราย และ ยังมีที่เตรียมเข้าร้องทุกข์เพิ่มเติมอีกจำนวนมาก โดยผู้เสียหายร้องว่าถูกโครงการหลอกลวงให้ลงทุนในโครงการคอนโดมีเนียม 14 โครงการ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 12 โครงการและจังหวัดกระบี่อีก 2 โครงการ ตั้งแต่ปี 2557 โดยชักชวนให้ร่วมลงทุนและจะให้ผลตอบแทนร้อยละ 8 ต่อปี ช่วงแรกได้ผลตอยแทน แต่สามสี่ปีที่ผ่านมาไม่ได้ผลตอบแทนตามสัญญา จึงเชื่อว่าถูกหลอกลวงและเข้าร้องทุกข์กับดีเอสไอ

ขณะที่การตรวจสอบพบว่าทั้ง 14 โครงการมีลูกค้าทั้งหมดกว่า 2,000 ราย มูลค่าโครงการกว่า 4,000 ล้านบาท โดยมีหลายคนที่ลงทุนเป็นเงินหลักร้อยล้าน โดยทรัพย์สินที่ยึดอายัดทรัพย์วันนี้เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่ากว่า 1,200 ล้านบาท รวมทั้งเอกสารอื่นๆ เพื่อนำไปตรวจสอบว่ามีลักษณะที่เข้าข่ายการฟอกเงินหรือไม่

อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ บอกอีกว่า จากการพูดคุยกับผู้จัดการโครงการ อ้างว่าได้มีการเจรจากับผู้เสียหายโดยยื่นข้อเสนอให้ย้ายไปอยู่ที่โครงการอื่นที่ใกล้เสร็จ แทนซึ่งบางส่วนยินยอมตามข้อตกลง

ทางด้านผู้จัดการบริษัท ชี้แจงว่า เป็นเรื่องการทำธุรกิจที่ละเอียดอ่อน ทำเรื่องของธุรกิจที่ทำมามาเป็นสิบยี่สิบปี ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ภายในเวลาสองสามนาที ส่วนข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นทางบริษัทได้แก่ปัญหาแล้ว และ ที่ผ่านมาก็ให้ข้อมูลกับดีเอสไอแล้ว

‘ดีเอสไอ’ตรวจค้นยึดอายัดทรัพย์ โครงการคอนโดหรูเชียงใหม่ หลอกซื้อห้องชุด 14โครงการ จูงใจจ่ายค่าตอบแทน 8% ต่อปี สร้างความเสียหาย 2,000 ล้านบาท

24 มิถุนายน 2565 นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงค์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พร้อมด้วย  พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีดีเอสไอ , นายระวี อักษรศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทางอาญา , เรืออากาศตรี กิตติคม คงสมโภชน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษเขตพื้นที่ 5 และเจ้าหน้าที่กองปฏิบัติการพิเศษ สนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.หางดง , นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสันผักหวาน และคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 2 จุด ได้แก่ บจก. เดอะ นิว คอนเซปท์ พร็อพเพอร์ตี้ และสถานที่พักอาศัยของกรรมการผู้จัดการบริษัทดังกล่าวใน จ.เชียงใหม่ เพื่อแสวงหาหลักฐานและยึด-อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด เพื่อดำเนินคดีพิเศษ 244/2565

นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงค์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า การนำกำลังเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในครั้งนี้ สืบเนื่องจากศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทางอาญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องสืบสวนที่ 195/2564 โดยผลการสืบสวนพบว่า บจก. เดอะ นิว คอนเซปท์ พร็อพเพอร์ตี้ เริ่มก่อสร้างอาคารชุดตั้งแต่ปี 2555 มีการโฆษณาชักชวนให้ประชาชนซื้ออาคารชุดด้วยวิธีการเปิดบูธตามสถานที่ต่างๆ มีการโฆษณาในเว็บไซต์ ชื่อ https://thenewconcept.co.th โดยในสัญญากำหนดให้ผู้ซื้ออาคารชุดต้องชำระราคาห้องชุดทั้งหมดในวันทำสัญญา มีกำหนดระยะเวลาในการก่อสร้าง 22 ถึง 25 เดือน มีการจ่ายผลตอบแทน โดยมีข้อตกลงว่าบริษัทฯ จะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเป็นรายเดือนให้กับผู้ซื้อ รวมเป็นอัตราร้อยละ 8 ต่อปี ซึ่งเป็นการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้

จากการสืบสวนพบว่า บจก. เดอะ นิว คอนเซปท์ พร็อพเพอร์ตี้ ได้ให้ผู้ซื้อชำระราคาให้ครบถ้วนในวันทำสัญญา แต่ บจก. เดอะนิวคอนเซปท์ พร็อพเพอร์ตี้ ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างหรือก่อสร้างเพียงบางส่วนเท่านั้น ทั้งนี้ มีผู้เข้าทำสัญญาซื้อโครงการจำนวนกว่า 2,216 คน เป็นโครงการที่ประกาศขายต่อประชาชนทั่วไป จำนวน 14 โครงการ มีโครงการใน จ.เชียงใหม่ 12 โครงการ จ.กระบี่ 2 โครงการ และมีความเสียหายไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท มีผู้เสียหายกว่า 2,000 คน

พฤติการณ์ดังกล่าวถือเป็นการโฆษณาหรือประกาศต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงิน รายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป จึงเข้าข่ายเป็นความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อีกส่วนหนึ่งด้วย

ผลการตรวจค้นทั้ง 2 จุด พบทรัพย์สิน ประกอบด้วยกระเป๋าแบรนด์เนมหลายรายการ เครื่องประดับ รถยนต์หรู ได้แก่ ปอร์เช่ วอลโว่ เรนจ์โรเวอร์ และเอกสารเกี่ยวกับบริษัทอีกเป็นจำนวนมาก กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการยึด/อายัดทรัพย์สิน ประเภทที่ดินทางทะเบียนไว้แล้ว จำนวน 104 แปลง เนื้อที่ประมาณ 148 ไร่ รวมเป็นทรัพย์สินที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ทำการตรวจยึด/อายัดไว้ทั้งสิ้น รวมมูลค่าประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ จะได้ทำการขยายผลเพื่อดำเนินคดีกับบุคคลที่เกี่ยวข้องและติดตามทรัพย์สินมาคืนผู้เสียหายต่อไป

สำหรับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวงดังกล่าว สามารถติดต่อให้ข้อมูลหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทางอาญา โทร. 02 831 9888 ต่อ 53701 หรือ สายด่วน กรมสอบสวนคดีพิเศษ โทร. 1202 ในวันและเวลาราชการ