ความ พึง พอใจ ในการใช้บริการยืม-คืน

ความพึงพอใจต่อการให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา 1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เปรียบเทียบการให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามเพศและระดับการศึกษา 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่องานบริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 4) เปรียบเทียบงานบริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ของห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามเพศและระดับการศึกษา โดยมีสมมติฐานของการวิจัยว่า 1) ผู้ใช้ที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศของเจ้าหน้าที่ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแตกต่างกัน 2) ผู้ใช้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่องานบริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศของเจ้าหน้าที่ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแตกต่างกัน 3)ผู้ใช้ที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแตกต่างกัน 4) ผู้ใช้ที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความพึงพอใจต่องานบริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแตกต่างกัน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 1,473 คน จาก 19 สถาบัน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และหาค่า Chi-square
        ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการที่มีเพศต่างกันมีความพึงพอใจต่อการให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศของเจ้าหน้าที่ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไม่แตกต่างกันยกเว้นในด้านทักษะการสื่อสาร ความเหมาะสมกับการเป็นผู้ให้บริการและความสุภาพอ่อนโยนของเจ้าหน้าที่ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ.05 ส่วนผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่องานบริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศของเจ้าหน้าที่ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไม่แตกต่าง และผู้ใช้บริการที่มีเพศต่างกันมีความพึงพอใจต่อการให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆไม่แตกต่างกัน และผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษาต่างกันจะมีความพึงพอใจต่อการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ในด้านการบริการหนังสือสำรอง บริการจองหนังสือ บริการยืมระหว่างห้องสมุดและบริการยืมสิ่งพิมพ์เพื่อถ่ายเอกสาร ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.5

Abstract

ดาวน์โหลด Full Paper

ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์

(CMU e-Theses)

ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Theses) สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากวิทยานิพนธ์ (Theses) และการศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Study) ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เข้าสู่ฐานข้อมูล คลิก

ฐานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์

(CMU e-Research)

ฐานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ (CMU e-Research) สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) และบทคัดย่อ (Abstract) จากงานวิจัยของอาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เข้าสู่ฐานข้อมูล คลิก

ฐานข้อมูลบทความวารสาร  อิเล็กทรอนิกส์

(CMU e-Journals)

บทความวิชาการที่ตีพิมพ์บนวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเก็บอย่างเป็นระบบ และให้บริการในฐานข้อมูลออนไลน์ ผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วตรงตามความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และมาตรฐานในการลงรายการข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (Metadata) รวบรวมวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 16 ชื่อเรื่อง และให้บริการเผยแพร่บนเว็บไซต์คลังปัญญามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เข้าสู่ฐานข้อมูล คลิก

งานวิจัยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

ตามแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดแผนงานสำคัญให้มีการเชื่อมโยงกับคลังวิจัย/คลังสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐเพื่อขยายแหล่งสารสนเทศสนับสนุนการวิจัย (2563-2564) นั้น เพื่อตอบสนองแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศจึงได้จัดทำโครงการการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูล CMUL OPAC ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อการสืบค้นและเผยแพร่งานวิจัยฉบับเต็มที่ผลิตโดย สกสว. แบบสาธารณะ โดยจัดทำระเบียนบรรณานุกรมงานวิจัยฉบับเต็มที่ผลิตโดย สกสว. เผยแพร่บนฐานข้อมูล CMUL OPAC ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานวิจัยมูลนิธิโครงการหลวง

มูลนิธิโครงการหลวงและสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มดำเนินโครงการจัดทำฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นและเผยแพร่สิ่งพิมพ์แบบสาธารณะ ซึ่งเป็นช่องทางในการสืบค้นข้อมูลที่สะดวกและรวดเร็ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ใช้งานทั้งในองค์กรและบุคคลทั่วไปทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกสามารถสืบค้นและเรียกดูข้อมูลหนังสือของมูลนิธิโครงการหลวงได้แบบสาธารณะ ปัจจุบันมีมากกว่า 700 รายชื่อ

เข้าสู่ฐานข้อมูล คลิก

e-Books Royal Project Foundation

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด

(Open e-Books)

รวบรวมรายการเชื่อมโยงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด (Open e-Books) จากหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนที่เผยแพร่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้แบบสาธารณะ โดยยึดตามสัญญาอนุญาต Creative Commons หรือกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลที่เผยแพร่สาธารณะไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษา การวิจัย และห้ามใช้เพื่อการค้า หากผู้ใช้มีจุดประสงค์อื่นๆต้องติดต่อหน่วยงานซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ดังกล่าวเพื่อขออนุญาตใช้งานเสมอ