ตัวอย่าง หนังสือชี้แจง ราย ได้

FCCPageContent1

Show

ตัวอย่าง หนังสือชี้แจง ราย ได้
  
​          หลายคนรู้สึกกลุ้มใจ วิตกกังวล เมื่อชำระหนี้ไม่ไหว แต่อย่าลืมว่าทุกปัญหาย่อมมีทางออก สำหรับในกรณีนี้ก็คือการขอเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ เพื่อที่จะหาข้อยุติร่วมกันในการขอปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งลูกหนี้มักไม่รู้ว่าสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ได้ตลอด ตั้งแต่ยังเป็นหนี้ปกติแต่เริ่มมีปัญหาจนเป็นหนี้เสีย หรืออยู่ในกระบวนการทางศาลแล้วก็ตาม

             การเขียนจดหมายเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ติดต่อกับเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถส่งเรื่องถึงเจ้าหนี้ได้โดยตรง มีหลักฐานชัดเจน ไม่ต้องประหม่าเวลาเจอหน้า นอกจากนี้ ลูกหนี้ยังมีเวลาเรียบเรียงความคิดและข้อเสนอปรับโครงสร้างหนี้ที่ตนเองทำได้หรือจ่ายไหวอีกด้วย

ก่อนเริ่มต้นเขียน เราต้องรู้อะไรบ้าง

1. รู้ข้อมูลเจ้าหนี้

เจ้าหนี้ของเราคือใคร เพื่อส่งจดหมายให้ถูกที่และถูกคน เพราะบางครั้งชื่อบริการที่เราคุ้นเคยเป็นชื่อทางการค้า แต่ไม่ตรงกับชื่อของสถาบันการเงินหรือบริษัท ตัวอย่างเช่น “มันนี่เอามั้ย” เป็นชื่อทางการค้า แต่ชื่อที่เจ้าหนี้ใช้จดทะเบียนบริษัทคือบริษัท มันนี่ จำกัด ดังนั้น เราควรจะส่งจดหมายถึงกรรมการผู้จัดการบริษัท มันนี่ จำกัด โดยตรวจสอบชื่อเจ้าหนี้ได้จากเอกสารสัญญา ใบแจ้งหนี้ 
ตัวอย่าง หนังสือชี้แจง ราย ได้

ตัวอย่าง หนังสือชี้แจง ราย ได้

ตัวอย่าง หนังสือชี้แจง ราย ได้

ตัวอย่าง หนังสือชี้แจง ราย ได้
ตัวอย่าง หนังสือชี้แจง ราย ได้

ส่งจดหมายหาเจ้าหนี้ทางไหนได้บ้าง สอบถามศูนย์บริการลูกค้าหรือคอลเซนเตอร์ (call center) ของเจ้าหนี้ว่าส่งได้ทางไหนบ้าง เช่น อีเมล ไปรษณีย์ สำหรับทางไปรษณีย์เราควรส่งแบบลงทะเบียน เพื่อให้ตรวจสอบได้ว่าจดหมายของเราส่งถึงมือเจ้าหนี้หรือไม่ และมีหลักฐานเพื่อติดตามความคืบหน้า


2. รู้ข้อมูลตัวเราเอง

             เราต้องมีข้อมูลเพียงพอที่จะให้เจ้าหนี้พิจารณาแล้วอยากช่วยเรา ได้แก่ ข้อมูลหนี้ที่มีทั้งหมด รายรับ-รายจ่าย และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบการเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรเตรียมและส่งไปให้เจ้าหนี้พร้อมจดหมาย ได้แก่

ตารางสำรวจภาระหนี้ เริ่มต้นจากดูว่าเรามีภาระหนี้อะไรบ้างแล้วนำมาจดไว้ในตาราง ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมภาระหนี้สินที่มี และสามารถวางแผนปลดหนี้หรือแก้ไขปัญหาหนี้ได้ง่ายขึ้น อ่านวิธีการทำตารางได้


บันทึกรายรับ-รายจ่าย เป็นกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นภาพการจัดการเงินของตัวเราทั้งด้านรายรับกับพฤติกรรมการใช้จ่าย หรือเห็นการไหลเข้า-ออกของเงินของเรา ซึ่งจะมีประโยชน์กับการแก้ปัญหาหนี้และต้องทำอย่างไรบ้าง อ่านได้จาก


เอกสารประกอบ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลง เช่น เอกสารรายได้ ค่าใช้จ่าย และใบแจ้งหนี้ หากถูกลดเงินเดือน ให้ใช้สลิปเงินเดือนก่อนและหลังถูกลด หากตกงาน ให้ใช้จดหมายเลิกจ้าง หากเจ็บป่วยต้องรักษาตัวทำให้ขาดรายได้ ให้ใช้ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ควรสอบถามเจ้าหนี้ก่อนส่งจดหมายไปว่าต้องการเอกสารใดบ้าง)


ทั้งนี้ สามารถใช้สำเนา (เก็บเอกสารตัวจริงไว้กับตัวเอง) และควรระบุในเอกสารเหล่านี้ว่าใช้ประกอบการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เท่านั้น


เริ่มต้นเขียน ขอให้มีหลักในใจว่า ทุกเรื่องที่เขียนต้องเป็นความจริง สามารถพิสูจน์ตรวจสอบได้ หากเจ้าหนี้ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ในภายหลัง

ย่อหน้า 1 แนะนำตัวกับเจ้าหนี้ 

1. แนะนำตัว ให้ข้อมูลเจ้าหนี้ก่อนว่าเราชื่ออะไร

2. ข้อมูลหนี้ ได้แก่

ประเภทหนี้ทั้งหมดที่มีกับเจ้าหนี้รายที่เราต้องการเจรจา เช่น บ้าน รถ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด (ใส่ข้อมูลเลขที่สัญญา หมายเลขบัตร หรือเลขที่ลูกค้า ถ้ามี)จำนวนเงิน ได้แก่ ภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน และยอดหนี้คงเหลือปัจจุบันกับเจ้าหนี้รายนี้สถานะผ่อนหนี้กับเจ้าหนี้รายนี้เป็นอย่างไร เช่น ยังจ่ายอยู่แต่จ่ายได้น้อยลง หรือไม่จ่ายมาแล้วกี่งวด  

3. ข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ-รายจ่าย

แหล่งรายรับและจำนวนเงิน เราประกอบอาชีพอะไร มีรายรับเฉลี่ยต่อเดือนประมาณเท่าไหร่รายจ่ายและจำนวนเงิน ให้ข้อมูลรายจ่ายที่มีต่อเดือน จำแนกออกว่ามีอะไรบ้าง เท่าไหร่

4. สภาพคล่องที่มี 

เช่น เมื่อหักค่าใช้จ่ายและหนี้แล้วมีเงินเหลือเก็บบ้าง แต่หากเดือนใดขายสินค้าได้น้อยก็จะมีเงินไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้


​ตัวอย่างการเขียนแนะนำตัวกับเจ้าหนี้:

            ผมชื่อนายสุขใจ คลายกังวล ใช้บริการบัตรกดเงินสดมันนี่เอามั้ย เลขที่บัตร 544000005500 ซึ่งมีภาระผ่อนหนี้กับบริษัทเดือนละประมาณ 12,000 บาท ปัจจุบันมียอดเงินคงเหลือ 80,000 บาท ที่ผ่านมาผมสามารถผ่อนชำระหนี้ทุกงวดมาได้ดีโดยตลอด โดยรายได้หลักของผมมาจากการขายสินค้าที่ตลาดนัด มีรายรับจากการขายเฉลี่ยประมาณ 25,000-27,000 บาทต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ได้แก่ ค่าผ่อนชำระหนี้เดือนละ 18,000 บาท โดยแบ่งเป็นชำระหนี้กับบริษัท 12,000 บาท หนี้บัตรเครดิตที่ผมใช้ในการซื้อสินค้ามาจำหน่ายเดือนละ 6,000 บาท และค่าใช้จ่ายทั่วไปในครอบครัวประมาณเดือนละ 8,000 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว บางเดือนมีเงินเหลือเก็บบ้างเพียงเล็กน้อยประมาณ 1,000 บาท และหากเดือนใดขายสินค้าได้น้อยก็จะมีเงินไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ ปัจจุบันผมมียอดค้างชำระกับบริษัทท่านจำนวน 1 งวด (เดือนกรกฎาคม 2564) เป็นจำนวน 12,000 บาท


ย่อหน้า 2 บอกปัญหา สาเหตุที่ทำให้ผ่อนชำระหนี้ไม่ได้

1. บอกสาเหตุที่ทำให้จ่ายหนี้ไม่ได้ เช่น โควิด-19 ทำให้ขายของไม่ได้ เจ็บป่วย ถูกลดเงินเดือน ตกงาน กิจการถูกปิด
2. ชี้แจงว่าสาเหตุตามข้อ 1 ส่งผลกระทบอย่างไร คาดว่ายาวนานแค่ไหน และได้พยายามแก้ไขปัญหาเบื้องต้นอย่างไร


​ตัวอย่างการเขียนเล่าปัญหาและสาเหตุ:

            ต่อมาในช่วงวิกฤตการระบาดโรคโควิด-19 ทำให้รายได้ของผมลดลงอย่างมาก จากที่เคยขายได้เดือนละประมาณ 25,000–27,000 บาท เหลือเพียง 12,000 บาท (มีรายละเอียดในสำเนาบันทึกรายรับ-รายจ่ายที่ส่งมาด้วย) จะเห็นว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 รายได้ผมลดลงเกิน 50% และเริ่มไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายที่จำเป็น โดยขาดสภาพคล่องต่อเนื่องมาแล้วกว่า 2 เดือน ทำให้ผมไม่มีเงินมาผ่อนชำระหนี้ของเดือนกรกฎาคม 2564 (ดูรายละเอียดได้ในใบแจ้งหนี้) แม้ผมจะลดค่าใช้จ่ายในบ้านลงบ้างแล้วและนำเงินออมที่เก็บสะสมมาใช้ แต่ก็ยังไม่พอที่จะชำระหนี้และใช้จ่ายในครอบครัว (รายละเอียดตามเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผมได้ส่งมาด้วย) ซึ่งผมคาดว่าจะยังไม่มีรายได้พอที่จะมาชำระหนี้ไปอีกไม่น้อยกว่า 3 เดือน


ย่อหน้า 3 ขอความช่วยเหลือ และเสนอแนวทางการชำระหนี้ที่เราคิดว่าทำได้

1. ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหนี้ โดยเสนอแนวทางที่เราต้องการพร้อมบอกเหตุผล ซึ่งลูกหนี้ควรเสนอตัวเลือกในใจไปให้เจ้าหนี้ก่อนอย่างน้อย 1 หรือ 2 ทางเลือก เช่น หากดูแล้ว COVID-19 น่าจะคงอยู่ไม่น้อยกว่า 3 เดือน เราอาจเสนอขอพักชำระหนี้ 6 เดือน แต่ต้องคิดเผื่อว่าหากได้พักชำระหนี้แค่ 3 เดือน เราจะไหวหรือไม่ ซึ่งอาจต้องมาดูว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นบ้างหรือกลับมาเท่าเดิมหลังการพักชำระหนี้ 3 เดือนหรือไม่ ต้องหาอาชีพเสริมหรือลดค่าใช้จ่ายส่วนใดได้อีก อีกทางเลือกหนึ่งคือช่วงเดือนที่ 4 เป็นต้นไป ลองขอชำระเป็นแบบขั้นบันได คือ ในช่วงแรกอาจขอจ่ายน้อย ๆ แล้วค่อยๆ เขยิบจ่ายมากขึ้นไปเรื่อย ๆ หากมีแนวโน้มว่ารายได้ของเราจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น (สามารถศึกษาทางเลือกในการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มเติมได้จาก บทความ “ขอปรับโครงสร้างหนี้แบบไหน...ที่เหมาะกับเรา”)
2. บอกช่องทางติดต่อกลับที่สะดวกและติดต่อได้


​ตัวอย่างการเขียนขอความช่วยเหลือ เสนอแนวทางการชำระหนี้ และบอกช่องทางติดต่อกลับ:

            จากปัญหาดังกล่าว ผมจึงอยากจะขอความช่วยเหลือจากบริษัทท่านในการขอพักชำระหนี้เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผมค้างชำระ) ซึ่งในระหว่างที่พักชำระหนี้นี้ ผมจะพยายามหารายได้เสริมหรือหาช่องทางเพิ่มยอดขาย เช่น การขายออนไลน์ เพื่อให้กลับมามีรายได้จุนเจือครอบครัวและชำระหนี้ได้ตามปกติ หรือหากจะให้ผมพักชำระหนี้ได้เพียง 3 เดือน ผมอยากขอให้ช่วยลดยอดผ่อนชำระต่อเดือนลงตั้งแต่เดือนที่ 4 เป็นต้นไป โดยผ่อนชำระต่อเดือนเป็นจำนวนเงิน 2,400 บาท (ลดลงเหลือ 20% ของยอดผ่อนชำระต่อเดือน) เป็นระยะเวลา 3 เดือน และหลังจากนั้นเพิ่มเป็น 50% เป็นระยะเวลา 9 เดือน อย่างไรก็ดี หากบริษัทท่านจะสามารถช่วยเหลือผมและครอบครัวได้ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ด้วยทางเลือกอื่น ขอได้โปรดพิจารณาด้วย ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการพิจารณาความช่วยเหลือจากบริษัท และขอได้โปรดแจ้งความคืบหน้าในการพิจารณาให้ผมทราบผ่านช่องทางอีเมล.................... หรือหากประสงค์ขอข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อผมได้ทางโทรศัพท์มือถือหมายเลข ..................... จักขอบคุณยิ่งครับ

            หลังจากนั้น เจ้าหนี้จะติดต่อมาโดยอาจขอข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติม เราก็ต้องจัดเตรียมเอกสารและจัดส่งให้ตรงเวลาที่รับปากไว้ ซึ่งเป็นตัววัดเจตนาและความตั้งใจจริงของเราในการปรับโครงสร้างหนี้ด้วย

            แต่หากสุดท้ายแล้วเจ้าหนี้ไม่ให้ความช่วยเหลือ เรื่องไม่คืบหน้า หรือข้อเสนอยังไม่ช่วยลดภาระได้จริง สามารถติดต่อส่งเรื่องมาที่ “ทางด่วนแก้หนี้” ได้

  

วิธีทำตารางสำรวจภาระหนี้
ตีตารางในกระดาษ หรือใช้โปรแกรม excel หรือโปรแกรมอื่น ๆ โดยให้มีหัวข้อที่ช่วยให้ดูข้อมูลหนี้ให้เข้าใจได้ง่าย ได้แก่ ประเภทหนี้ หลักประกัน (ถ้ามี) ชื่อเจ้าหนี้ อัตราดอกเบี้ยต่อปี ยอดหนี้คงเหลือ ยอดผ่อนชำระต่อเดือน และความสามารถในการชำระหนี้ เช่น จ่ายเต็มจำนวน จ่ายขั้นต่ำ ค้างชำระกี่เดือน แล้วเขียนข้อมูลลงไปตามช่อง ดูรายละเอียดวิธีสำรวจภาระหนี้เพิ่มเติมได้ ที่นี่ แล้วเราจะนำข้อมูลภาระผ่อนหนี้ต่อเดือนไปใช้ในบันทึกรายรับ-รายจ่ายด้วย


การบันทึกรายรับ-รายจ่าย
การจดบันทึกจะทำให้เรารู้ว่ารายรับของเรามาจากไหนบ้าง รวมทั้งความถี่ที่ได้เงิน (เช่น ทุกเดือน หรือนาน ๆ ที) จำนวนเงินมากน้อยแค่ไหน เรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ยิ่งถ้าเราสามารถบันทึกให้ได้เป็นประจำทุกวันก็จะทำให้เห็นแนวโน้มของรายได้-ค่าใช้จ่าย และจำนวนเงินว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง เรามีเงินเหลือหรือไม่พอใช้ เพื่อช่วยให้เราหาทางรับมือก่อนที่จะเกิดปัญหาการเงินหรือมองย้อนกลับไปหาสาเหตุของปัญหาได้ เช่น ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือรายจ่ายจำเป็นที่มากเกินไป หรือถ้ารัดเข็มขัดแบบสุด ๆ แล้ว เราก็ต้องหารายได้มาเพิ่ม นอกจากนี้ บันทึกรายรับ-รายจ่ายยังใช้เป็นข้อมูลประกอบเพื่อให้เจ้าหนี้ใช้พิจารณาแผนปรับโครงสร้างหนี้ได้ด้วย


วิธีจด: จดรายรับและรายจ่ายทุกครั้งที่มีเงินเข้าและออกเป็นประจำทุกวันแล้วสรุปยอดรวมเป็นรายเดือน หากมีภาระผ่อนหนี้ให้นำมาบันทึกในช่องรายจ่ายด้วย เมื่อครบเดือนแล้วให้นำรายรับหักด้วยรายจ่าย ดูว่ามีเงินเหลือหรือไม่ หาดูว่าทำไมหรืออะไรที่ทำให้เราเหลือเงินไม่พอใช้


ตัวอย่าง: 

1. บันทึกรายรับ-รายจ่ายแบบแยกเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นและไม่จำเป็น เพื่อช่วยวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของเราได้ง่ายขึ้น สามารถดูวิธีการบันทึกรายรับ-รายจ่ายและตัวอย่างแบบฟอร์มการบันทึกรายรับ-รายจ่าย ได้จาก booklet สมุดเงินออม หน้าที่ 23-25

ตัวอย่าง หนังสือชี้แจง ราย ได้


2. บันทึกรายรับ-รายจ่ายแบบแยกประเภทรายจ่ายและใส่ชื่อรายจ่ายที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ วิธีนี้ใกล้เคียงกับวิธีข้างต้นแต่ระบุชื่อของรายจ่ายที่เกิดขึ้นประจำไว้เลย ไม่ต้องเขียนเองทุกครั้งที่มีรายรับหรือรายจ่ายเกิดขึ้น แค่จดเฉพาะจำนวนเงินเท่านั้น ซึ่งเหมาะกับการจดบันทึกในโปรแกรม excel เพื่อให้สะดวกในการกรอกข้อมูลและคำนวณอัตโนมัติ โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์สมุดเงินออมไปปรับใช้ได้ (ไฟล์สมุดเงินออม จะมีบันทึกรายรับ-รายจ่ายแยกเป็นแต่ละเดือน เพื่อให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลได้ง่าย ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนปี พ.ศ. ให้เป็นปัจจุบันได้ โดยไปที่ sheet “มาออมกันนะ” แล้วให้พิมพ์ พ.ศ. ปัจจุบันลงในช่อง ระบบจะปรับข้อมูลตามปฏิทินของ พ.ศ. ที่เรากรอกทันที และสามารถแก้ไขชื่อค่าใช้จ่ายตามที่เราต้องการได้)