ตัวอย่างเรียงความเรื่องจิตอาสา

 

ตัวอย่างเรียงความเรื่องจิตอาสา

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของงานจิตอาสา แล้วทรงจัดตั้งโครงการจิตอาสา “ทำความดีด้วยหัวใจ” ซึ่งมีพสกนิกรเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และได้ดำเนินงานจิตอาสาในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้งานจิตอาสาขยายตัวออกไปในพื้นที่น้อยใหญ่ต่าง ๆ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนไทยมีหัวใจจิตอาสามากขึ้น ซึ่งแม้แต่ในคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2562 ที่ว่า "เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ" ก็ได้มีระบุคำว่า จิตอาสาเข้าไปด้วย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วน ใส่ใจกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

 
ความหมายของจิตอาสาและจิตสาธารณะ
             จิตอาสา (Volunteer Spirit) หมายถึง จิตแห่งการให้โดยเต็มใจเพื่อผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีที่มาจากการรวมกันของคำสองคำ คือคำว่า “จิต” และคำว่า “อาสา”  จิต หมายถึง จิตใจหรือความรู้สึกนึกคิด ส่วน อาสา นั้น หมายถึงการทำสิ่งใดด้วยความสมัครใจโดยไม่มีผู้ใดบังคับ คำนี้ถูกสร้างขึ้นมาหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิเมื่อ ปี 2547 ปัจจุบันมีความหมายเสมือนคำว่าอาสาสมัคร และเมื่อกล่าวถึงคำว่าจิตอาสา ก็ต้องกล่าวถึงคำว่า จิตสาธารณะด้วย จิตสาธารณะ (Public Consciousness) หมายถึง คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่มีพร้อม ความปรารถนาที่จะช่วยแก้ปัญหา อุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงการรู้จักหวงแหนและรักษาสิ่งของที่เป็นส่วนรวมด้วย ซึ่งทั้ง จิตอาสา และจิตสาธารณะนี้ แทบจะมีความหมายที่เหมือนกัน ต่างกันตรงที่ จิตอาสานั้น เป็นการทำตามความมุ่งหวังของตัวเอง ในขณะที่จิตสาธารณะเป็นการกระทำที่เกิดจากสำนึกที่ดีในสังคม ยกตัวอย่างเช่น การเก็บขยะรอบโรงเรียน ในความหมายของจิตอาสา คือ มุ่งหวังให้ตัวเองทำประโยชน์ ได้รับคำชมเชย  ส่วนในความหมายของจิตสาธารณะคือทำเพื่อให้โรงเรียนสะอาดในฐานะนักเรียนในโรงเรียน เป็นต้น

ทำไมต้องมีจิตอาสา
             ในโลกยุคปัจจุบันนี้ มนุษย์เราเริ่มมีความเป็นปัจเจกชนมากขึ้น เริ่มใช้ชิวิตในวงที่แคบลง สนใจคำนึงถึงแต่ตัวเอง ไม่สนใจหรือใส่ใจกับสิ่งรอบข้าง ซึ่งอุปนิสัยนี้ กำลังบั่นทอนสังคมโดยทั่วไป เพราะความรู้สึกแบบต่างคนต่างอยู่ ไม่ช่วยเหลือเกื้อกูลหรือคิดถึงส่วนรวมนี้ จะส่งผลให้สังคมไม่น่าอยู่ ผู้คนขาดคุณธรรมจริยธรรม แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ไม่มีใครยอมใครหรือช่วยเหลือใคร สุดท้ายสังคมก็อยู่ไม่ได้ การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนซึบซับความเป็นจิตอาสาและมีหัวใจที่เป็นจิตสาธารณะนั้น นับเป็นการปลูกฝังคนรุ่นใหม่ ให้มีคุณลักษณะที่ดีในด้านนี้ อันจะนำมาซึ่งการสร้างสรรค์สังคมที่น่าอยู่ต่อไปในอนาคต ...อ่านบทความ จากทรูปลูกปัญญา 

เรียงร้อยเรื่องราว ประสบการณ์ชีวิตจิตอาสา ความสุขที่ได้กลับมา คือผลพลอยได้จากสิ่งที่ได้ทำ

on December 31, 2018 Total Views: 15348  Daily Views: 6 No Comments

ตัวอย่างเรียงความเรื่องจิตอาสา

การเป็นจิตอาสาไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เพียงแค่เรามีใจรักที่จะทำ ทำแล้วได้อะไร หลาย ๆ คนอาจจะถาม เราก็อยากจะตอบไปว่า “ลองมาทำดูสักครั้ง” แล้วจะรู้ว่า ทำแล้วมีความสุขแค่ไหน การได้ทำอะไรที่เป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม ความสุขที่ได้กลับมา มันคือผลพลอยได้จากสิ่งที่ได้ทำ

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เราก็ได้แต่เรียนๆ แล้วก็ทำงาน ๆ ในหน่วยงานก็จะมีการจัดโครงการ CSR กิจกรรมเพื่อสังคม ทำให้เราได้เห็นถึงความต้องการในสังคมมากขึ้น เมื่อเราเรียนจบ จึงได้หันมาทำงานจิต อาสา ซึ่งเป็นอาสาอิสระที่ไม่ได้ผูกกับองค์กรใด โดยการทำในครั้งนี้ ไม่ใช่ทำโดยหน้าที่อย่างที่เคยเป็น แต่ เป็นการทำเพื่อมีจิต มีเจตนาที่จะทำจริง ๆ โดยไม่ได้หวังผล หรือหวังค่าตอบแทนใดๆ เป็นการทำเพื่อพัฒนา สังคมและส่วนรวมโดยแท้จริง ในครั้งแรกที่มาทำงานจิตอาสาได้สมัครเป็นสมาชิกของ “ธนาคารจิตอาสา” โดยได้ร่วมงานจิตอาสาครั้งแรกกับค่าย “อาสาสมัคร อนุรักษ์สิ่งดีงาม” และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรา อยากจะทำงานจิตอาสาไปตลอดชีวิต ความประทับใจในการทำงานจิตอาสา ไม่ใช่แค่ทำประโยชน์เพื่อ ส่วนรวมอย่างเดียว แต่ยังทำให้เราได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ไม่เคยร่วมงานกันมา ก่อน การปรับตัวเองให้เข้ากับผู้คนรอบข้าง การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงาน ทำให้งานชิ้นนั้น ออกมาอย่างสมบูรณ์ การทำงานจิตอาสาเป็นการพัฒนาตนเอง เสมือนหนึ่งว่าเราได้ปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลา ในกิจกรรมอาสาที่ชอบไป ก็มักจะเป็นการสร้างฝาย ปลูกป่า และยิงเมล็ดพันธุ์พืช ในการไปทำกิจกรรมอาสา ทางด้านทรัพยากรธรรมชาตินั้น ทำให้เรารู้จักคุณค่าของทรัพยากรมากขึ้น และได้เรียนรู้วิธีการสร้างฝาย สร้างยังไงให้ฝายมีความคงทน แข็งแรง ต้านภัยเมื่อถึงฤดูน้ำลาก และกักเก็บน้ำได้อย่างไร เมื่อถึงฤดูแล้ง นั้น คือสิ่งที่สำคัญของการสร้างฝาย สร้างเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และอีกงานที่เราเห็นว่ามีความ จำเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือการปลูกป่าชายเลน ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้อยใหญ่ที่อยู่ตามชายเลน หากเราไม่ มีป่าชายเลน แน่นอนว่าส่งผลกระทบได้หลายส่วน เช่น พื้นแผ่นดินตามแนวฝั่งชายทะเลหายไปแน่นอน และ สัตว์น้อยใหญ่ที่อาศัยตามป่าชายเลนอาจจะสูญพันธุ์หรือย้ายไปหาแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ ทำให้พื้นที่ชายเลน เหล่านั้นเสื่อมโทรม และประชาชนที่อยู่ตามแนวละแวกชายเลน อาจจะไม่มีแหล่งทำมาหากิน หรือลำบากใน การครองชีพ

จะเห็นได้ว่า เมื่อเราทำงานจิตอาสา สิ่งที่เราได้ ไม่ใช่แค่ความสุข แต่มันคือความเป็นอยู่ของคนใน ประเทศชาติด้วย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อประชากรในประเทศ เพื่อให้มีกินมีใช้ การอนุรักษ์ ก็เหมือนการรักษาหม้อใบใหญ่ จริง ๆ และช่วยพัฒนาจิตใจของตนเองให้เป็นผู้เสียสละอย่างไม่ มีที่สิ้นสุดอีกด้วย

เรื่องเล่าจาก พรพรรณ ปันใจ