พรบ.ความปลอดภัย 2554 อบรมกี่ชั่วโมง

           ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กำหนดให้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ออกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  เพื่อให้การบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย ให้แก่ลูกจ้างระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างในทุกระดับ กรณีที่ นายจ้างไม่สามารถจัดให้มีการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมกับสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดหรือยอมรับ         

         สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ จึงได้จัดทำหลักสูตรความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ ตามที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ในประกาศ  เพื่อให้สถานประกอบกิจการหรือหน่วยงาน สามารถนำคู่มือพร้อมวิดีโอประกอบการสอนนี้  ไปจัดอบรมให้กับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้สถานที่ปฏิบัติงานมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย

เนื้อหาหลักสูตรมีทั้งหมด 3 หัวข้อวิชา ดังนี้

1.  หัวข้อวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน 

2.  หัวข้อวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยฯ

3.  หัวข้อวิชาที่ 3 ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยฯ

[ ดาวน์โหลดคู่มือ ]

หมายเหตุ

  • เนื้อหาคู่มือและวิดีโอนี้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2563

วิดีโอประกอบการอบรม

หัวข้อวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน 

หัวข้อวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยฯ

หัวข้อวิชาที่ 3 ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยฯ

             เป็นอย่างไรบ้างค่ะ สำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554  หากท่านมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ โทร. 0 2448 9128-39 ต่อ 314 หรือ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ www.facebook.com/oshthai

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมามีการประกาศกฎหมายใหม่ออกมาเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านความปลอดภัยก็ว่าได้เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเกี่ยวกับบุคลากรหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติหน้าที่ของบุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยนั่นก็คือกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากรหน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการพ.ศ. 2565

นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้วยังได้กำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอบรมหรือพัฒนาความรู้ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะเอาไว้ว่า

“ ข้อ 23 นายจ้างต้องจัดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพได้รับการฝึกอบรมหรือมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติมปีละไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง ”

โดยนายจ้างต้องแจ้งให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่การดำเนินการแล้วเสร็จ ในการแจ้งดังกล่าวแจ้งตาม “แบบแจ้งการฝึกอบรมหรือการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติม” โดยสามารถแนบหลักฐานการฝึกอบรมหรือดูงานด้านความปลอดภัยประกอบด้วยได้

หลักสูตรการฝึกอบรมหรือการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานมีอะไรบ้าง

เมื่อกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดว่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ จะต้องฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยไม่น้อยกว่าปีละ 12 ชั่วโมง

เรามาดูกันว่าการอบรมหรือพัฒนาความรู้ตามที่กล่าวมา มีอะไรบ้าง ตาม “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การฝึกอบรมการพัฒนาความรู้ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติม”  ได้กำหนดการฝึกอบรมและการพัฒนาความรู้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

พรบ.ความปลอดภัย 2554 อบรมกี่ชั่วโมง

  1. การฝึกอบรม

  • ด้านกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและกฎหมายท่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน เช่น พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เป็นต้น
  • ด้านวิชาการเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้แมในการทำงาน เช่น การระบายอากาศในงานอุตสาหกรรม การควบคุมมลพิษทางอากาศ การจัดการกากของเสียในงานอุตสาหกรรม การตรวจวัดและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการทำงาน การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศ การประเมินความเสี่ยง การสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติเหตุหรือโรคจากการทำงาน ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กระบวนการผลิตการศึกษาดูงานหรือการสัมมนาด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นต้น
  • ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น กิจกรรม 5ส เทคนิคการเป็นวิทยากร การสอนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน เทคฌโนโลยีสะอาด สภาวะโลกร้อน การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในงานขนส่ง อันตรายจากฝุ่นะเบิด เป็นต้น
  1. การพัฒนาความรู้

  • การเข้าร่วมการประชุมหรือการสัมมนาวิชาการ เช่น งาน Thailand Labour Management Excellence Award งานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ เป็นต้น
  • การนำเสนอผลงานทางวิชาการ และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่จัดโดยสถาบันศึกษา หรือหน่วยงานอื่น
  • การศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ในการนับจำนวนชั่วโมงการฝึกอบรม ให้นับจำนวนชั่วโมงตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและต้องเข้ารับการอบรมจริง และการนับจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ ให้นับชั่วโมงตามระยะเวลาที่เข้าร่วมการประชุมหรือการสัมมนาวิชาการ การนำเสนอผลงานทางวิชาการ การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ หรือการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศจริง เช่น การศึกษาดูงานให้นับจำนวนชั่วโมงเฉพาะที่มีการศึกษาดูงาน

นอกจากการฝึกอบรมและการพัฒนาความรู้ตามที่กล่าวมาแล้วยังมีหลักสูตรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยที่จป.โดยหน้าที่เฉพาะสามารถนำมารายงานได้หากมีการอบรมภายในปีนั้นๆ 

สรุป

การฝึกอบรมและการพัฒนาความรู้ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพซึ่งถือว่าทั้ง 3 ระดับเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลด้านความปลอดภัยภายในสถานประกอบกิจการโดยตรงจึงมีความจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ในด้านความปลอดภัยของตนเองและให้สามารถปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ