ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์

ทฤษฎีมนุษย์นิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ แต่จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น

ลักษณะสำคัญ

     นักทฤษฎีกลุ่มนีเชื่อว่ามนุษย์มีอิสระที่จะเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ดีจากการสนับสนุน หรือส่งเสริมของครูผู้สอน ผู้นำความคิดที่สำคัญได้แก่ Rogers และ Maslow
      Rogers ได้พัฒนาแนวคิดแห่งการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมว่าจะเรียนได้ดีในบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่สบาย (Comfortable) ไม่มีการคุกคาม (Threatened) จากองค์ประกอบภายนอก ส่วนครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวก (Facilitator)
      หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎี คือ
1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง
      Maslow ได้พัฒนาแนวคิดทฤษฎีมนุษย์นิยมจากความเชื่อที่ว่า มนุษย์ไม่ได้ต้องการเรียนรู้เนื่องมาจากสิ่งเร้าภายนอก หรือไม่ได้ต้องการเรียนรู้เนื่องมาจากสัญชาติญาณของจิตไร้สำนึก แต่มนุษย์ต้องการที่เรียนรู้เพื่อก้าวไปสู่การเป็นคนที่สมบูรณ์ (Fully Functioning Person) ซึ่ง Maslow ใช้คำว่า Self-actualizing Person Maslow ได้พัฒนาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ขั้นคือ
1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological needs) คือความต้องการในการดำรงชีวิต เช่น ความต้องการอาหาร อากาศ น้ำ และอุณหภูมิ เป็นต้น
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Need) คือความต้องการที่จะมีความมั่นคงหรือปลอดภัยในชีวิต
3. ความต้องการความรัก ความชอบ และการเป็นเจ้าของ (Need of  Love, Affection and Belongingness)
4.ความต้องการความภาคภูมิใจ (Need for Esteem) คือความต้องการที่จะมีความภาคภูมิใจในตนเองและความภาคภูมิใจที่จะได้รับจากผู้อื่นด้วยการเคารพตนเองและได้รับความเคารพจากผู้อื่น
5. ความต้องการเป็นมนุย์ที่สมบูรณ์ (Need for Self-Actualization) คือความต้องการที่จะเป็น (Be) หรือ ทำ (Do) ในสิ่งที่บุคคลเกิดมาให้สมบูรณ์ หรือไปถึงจุดสูงสุด
ส่วนของ Chapman มีหลักการคล้ายๆ กันกับ Maslow แต่ได้อธิบายเพิ่ม ขึ้นมา คือ
ขั้นที่ 5 ความต้องการทางสติปัญญา (Cognitive Need) คือความต้องการในการเรียนรู้และสามารถในการตีความหมาย
ขั้นที่ 6 ความต้องการทางสุนทรียภาพ (Aesthetic Needs) คือความต้องการความซาบซึ้งใจในความงาน ความสมดุล และความสมบูรณ์แบบ
ขั้นที่ 7 ความต้องการในการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ขั้นที่ 8 ความต้องการในการเป็นมนุษย์เหนือมนุษย์ (Transcendence Needs) คือความต้องการที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้อื่นให้พัฒนาไปถึงขีดสูงสุดและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

การประยุกต์ใช้

ครูผู้สอน
1. ครูควรเป็นคนใจกว้าง ไม่ยึดติดกับความคิด หรือความเชื่อของตนเอง
2. ครูควรรับฟังผู้เรียนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึก
3. ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเท่ากับความสำคัญของเนื้อหาที่นำมาสอน
4. ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะทั้งทางบวกและทางลบ
5. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
6. จัดการเรียน กิจกรรม สื่อการเรียนการสอนให้หลากหลาย
7. กระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจว่าการประเมินผลที่มีคุณค่า คือการประเมินตนเองของผู้เรียน
การประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้

1. ควรจัดการเรียนตามสภาพจริง หรือสภาพที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล
2. ควรจัดการเรียนรู้โดยไม่ยึดติดกับเงื่อนไขหรือข้อจำกัดทางวัฒนธรรมของสังคม
3. ควรจัดการเรียนรู้ตามความต้องการหรือเสียงเรียกของผ้เรียน
4. ควรจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าชีวิตเป็นสิ่งมีค่า
5. ควรเป็นคนร่าเริงและสนุกสนานในทุกสถานกการณ์
6. ควรให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากลักษณะภายใน หรือความต้องการของตน
7. ควรใส่ว่าความต้องการขั้นพื้นฐานของเรียนได้รับการสนองแล้วหรือยัง
8. ควรกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของความงามและสิ่งที่ดีที่เกิดขึ้นในชีวิต
9. ควรตระหนักว่าการควบคุมดูแลนักเรียนเป็นสิ่งที่ดี แต่การปล่อยปะละเลยต่อผู้เรียนเป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่ควรปฏิบัติ เพราะการควบคุมดูแลผู้เรียนจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน
10. ควรฝึกให้ผู้เรียนมองข้ามปัญหาเล็กน้อย แต่ควรฝึกให้จริงจังต่อการแก้ปัญหาที่จะนำมาซึ่งความไม่ยุติธรรม ความเจ็บปวด และถึงแก่ชีวิต
11. ควรทำตัวเป็นผู้เลือกที่ดีด้วยการฝึกสร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย แล้วนำทางเลือกไปใช้ในการดำรงชีวิต


           ikque Love(http://ikquelove.blogspot.com/) ทฤษฎีมนุษยนิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ แต่ก็จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น         กลุ่มทฤษฎีมนุษยนิยม เป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์ นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง อารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก บรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์ เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎี                         

หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎีมนุษย์นิยม คือ

1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้

2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง

3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง

ลักษณะสำคัญ

นักทฤษฎีกลุ่มนี้มีความเชื่อว่ามนุษย์มีอิสระที่จะเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ดีจากการสนับสนุน หรือส่งเสริมของครูผู้สอน ผู้นำความคิดที่สำคัญได้แก่ Rogers และ Maslow  ทฤษฏีนี้ เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก

การประยุกต์ใช้

การประยุกต์ใช้ของทฤษฎีมนุษย์นิยม ซึ่งครูผู้สอนเป็นผู้นำไปประยุกต์ใช้  มีข้อปฏิบัติสำคัญ ดังนี้

1. ครูควรเป็นคนใจกว้าง ไม่ยึดติดกับความคิด หรือความเชื่อของตนเอง

2. ครูควรรับฟังผู้เรียนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึก

3. ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเท่ากับความสำคัญของเนื้อหาที่นำมาสอน

4. ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะทั้งทางบวกและทางลบ

5. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง

6. จัดการเรียน กิจกรรม สื่อการเรียนการสอนให้หลากหลาย

7. กระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจว่าการประเมินผลที่มีคุณค่า คือการประเมินตนเองของผู้เรียน

นักทฤษฎีมนุษย์นิยมและแนวคิ

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยมมีนักปรัชญาหลายหลากท่านที่ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏีนี้ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี  2  ทฤษฏีและ 5 แนวคิด 

สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา(http://surinx.blogspot.com/) อ้างถึงในทิศนา แขมมณี(2550 : 50 - 76)กล่าวไว้ว่า

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญของการเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์(Maslow) รอเจอร์ส(Rogers) โคมส์(Knowles) แฟร์(Faire) อิลลิช(illich) และนีล(Neil)”   

ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง 

ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์  เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก  เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน  ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ  กล่าวว่า

นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล  เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี  มีความดีโดยธรรมชาติ  หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น  บริบูรณ์ด้วยความรัก  มีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคมบริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52 (http://dontong52.blogspot.com/ ) กล่าวว่า

นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่ามีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ รอเจอร์ส โคม โนลส์ แฟร์ อิลลิซ และนีล” ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเห็นตรงกันว่าเด็กควรได้รับความช่วย เหลือจากครูในทุกด้านไม่ใช่เฉพาะการได้รับความรู้หรือการมีความเฉลียวฉลาดเพียงอย่างเดียว แต่ควรได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด  เจตคติ  และจุดมุ่งหมายความต้องการของตนเอง  หรืออาจกล่าวได้ว่านักเรียนควรจะได้รับความช่วยเหลือให้มีความเข้าใจในตนเองและมีจุดยืนเป็นของตนเองอย่างชัดเจนว่าตนเองมีความต้องการสิ่งใดแน่และมีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เพราะในปัจจุบันมีสิ่งที่เด็กจะต้องตัดสินใจเลือกมากมาย  คนที่มีจุดยืนที่แน่นอนเท่านั้นจึงจะสามารถเลือกสิ่งที่มีความหมายและก่อให้เกิดความพึงพอใจให้กับตนเองให้ดีที่สุด


          ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486)  นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า  มีความดีงาม  มีความสามารถ  มีความต้องการ  และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน  ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี  2  ทฤษฏีและ 5 แนวคิด  คือ

-   ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง  

 -   ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ  การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ 

-   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์  เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก  เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน 

-   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์  เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง   

-   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์   เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า  ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง 

-   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช  เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน  การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่ 

-   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล  เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี  มีความดีโดยธรรมชาติ  หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น  บริบูรณ์ด้วยความรัก  มีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม

คาร์ล  อาร์  โรเจอร์ กล่าวว่า  กลุ่มมนุษยนิยมคือ

1. เชื่อว่ามนุษย์  คือ  สัตว์โลกประเภทหนึ่ง  มีจิตใจ  มีความต้องการความรัก  ความอบอุ่น  ความเข้าใจ  และมีความสามารถเฉพาะตัว               

2. เชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนต่างก็พยายามจะรู้จักและเข้าใจตนเองและยอมรับในสมรรถวิสัยของตนเอง

3. เชื่อว่ามนุษย์ต่างก็เข้าใจผู้อื่นและยอมรับตนเองอยู่แล้ว  ต่างคนก็มุ่งสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนเอง

สรุป

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism) จะ ให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี  2  ทฤษฏี คือ

1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง  

 2.ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ  การ จัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน และการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ 

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม มีแนวคิด 5 แนวคิด  คือ

1. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์  เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก  เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน 

2.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์  เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง   

 3.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์   เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า  ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง 

5. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช  เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน  การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่ 

6. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล  เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี  มีความดีโดยธรรมชาติ  หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น  บริบูรณ์ด้วยความรัก  มีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม 


อ้างอิง

ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่

ข้อใดความหมายของทฤษฎีมนุษยนิยม

มนุษยนิยม (อังกฤษ: Humanism) หมายถึงประเภทกว้างๆ ของปรัชญาเชิงจริยศาสตร์ ที่ยืนยันถึงความสง่างามและคุณค่าของมนุษย์ทุกคน โดยอาศัยหลักความสามารถของบุคคลนั้นในการบ่งชี้ได้ด้วยตนเองว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด โดยได้การยอมรับโดยมนุษย์ทั่วไปที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะคุณภาพเชิงตรรกยะหรือเชิงเหตุผล มนุษยนิยมเป็นองค์ประกอบเฉพาะหลายๆ ตัวของ ...

ทฤษฎี นิยมมีอะไรบ้าง

ทฤษฎีมนุษย์นิยม (Humanism).
มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้.
มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง.
การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง.

ใครคือนักทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยม

ทฤษฎีแนวคิด กลุ่มจิตวิทยา มนุษย์นิยม (Humanism) ผู้นำสำคัญในกลุ่มมนุษย์นิยมนี้ คือ.. คาร์ล โรเจอร์ (Calr R. Rogers, 1902-1987) และ แมสโลว์ (Abraham H. Maslow, 1908-1970) กลุ่มนี้จัดว่าเป็นแนวคิดสมัยใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับสังคมประชาธิปไตย หรือ สังคมเปิด

ข้อใดคือทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์

Skinner) สกินเนอร์มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาวะแวดล้อม ที่เหมาะสม เพราะทฤษฎีนี้ต้องการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุนและการลงโทษ สกินเนอร์มองว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง พฤติกรรมของมนุษย์จะคงอยู่ตลอดไป จำเป็นต้องมีการเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงนี้มีทั้งการเสริม ...