การฟื้นต้นทุเรียนหลังเก็บเกี่ยว

ภายหลังจากเกษตรกรเก็บผลผลิตทุเรียนหมดแล้ว สิ่งที่เกษตรกรเองจะต้องคำนึงถึงก็คือการเตรียม ความพร้อมของลำต้นเพื่อการติดออกผล ในฤดูกาลถัดไป ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตควบคู่ไปกับการเพิ่มปริมาณ จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ถ้าต้นทุเรียนมีการสะสมอาหารเพียงพอต้นและใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน มีทรงพุ่มสวยงาม ความหนาแน่นของใบดี กิ่ง ลำต้น ปราศจากโรคและแมลงเข้าทำลาย ใบอยู่ในสภาพแก่ทั้งต้น ถ้าต้นทุเรียนมีความพร้อม ก็จะทำให้ทุเรียนสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ตลอดจนให้ผลผลิตในช่วงเวลาที่เหมาะสมของปี หากไม่มีการเตรียมสภาพต้นให้พร้อมในช่วงเวลาที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมจะทำให้ทุเรียนออกดอกล่าช้า การติดผล การพัฒนาการของผล และการเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะช้าตามไปด้วย

++ ขั้นตอนและวิธีการดูแลหลังการเก็บเกี่ยว ++

การตัดแต่งกิ่งทุเรียน : เป็นการจัดการในการทำสวนอีกแนวทาง ที่จะช่วยทำให้ต้นทุเรียนพร้อมเพื่อการออกดอกติดผล การตัดแต่งกิ่งแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่หนึ่ง : ตัดแต่งหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว เป็นการตัดกิ่งแห้ง กิ่งแขนง กิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ และตัดขั้วผลที่ติดค้างอยู่ทิ้งไป การตัดแต่งครั้งที่หนึ่งนี้ก็เพื่อทำให้ต้นทุเรียนแตกกิ่งที่สมบูรณ์ออกมาใหม่

ระยะที่สอง : ตัดแต่งช่วงปลายฝนก่อนการใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง เป็นการตัดแต่งกิ่งตะขาบ กิ่งน้ำค้าง กิ่งกระโดง และกิ่งที่เป็นโรคออก เพื่อให้การใช้ปุ๋ยของทุเรียนเกิดประโยชน์ต่อต้นทุเรียนอย่างเต็มที่

ระยะที่สาม : ตัดแต่งกิ่งหลังจากที่ทุเรียนติดผลแล้วประมาณ 30-45วัน เป็นการตัดแต่งเฉพาะกิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ไปพร้อม ๆ กับการตัดแต่งผลอ่อน

การจัดการหลังการตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่ม : ให้เกลี่ยเศษใบไม้และวัชพืชออกไปจากทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ปีละ 1 ครั้ง ในอัตรา 100 กิโลกรัม/ต้น จากนั้นก็ใช้เศษพืช เศษใบไม้หรือหญ้าแห้งคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดินอีกครั้ง

การให้น้ำ : ให้น้ำแบบวันเว้นวัน ในระบบมินิสปริงเกอร์แบบหัวเหวี่ยงเล็กที่ตั้งอยู่บริเวณภายใต้ทรงพุ่ม ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตร ให้น้ำครั้งละ 30 นาที เช้า-เย็น

การให้ปุ๋ย :

++ ปุ๋ยเคมี ++ หว่านปุ๋ยรอบทรงพุ่ม 3 ครั้งในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือน โดยครั้งแรกจะใส่ในช่วงก่อนการออกดอก 30-45 วัน ครั้งที่สองเมื่อทุเรียนออกดอกแล้ว 30-45 วัน และครั้งที่สามภายหลังจากทุเรียนเริ่มติดผล 1 เดือน และก่อนการเก็บเกี่ยวโดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ผสมกับ 8-24-24 อัตรา 1/1 หว่านรอบทรงพุ่ม 2-5 ขีด/ต้น

ทุเรียนเริ่มมีการแตกใบอ่อนออกมาใหม่

++ ปุ๋ยอินทรีย์ ++ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพ อย่างน้อย 10-15 วัน (ยกเว้นช่วงทุเรียนออกดอกและติดผลอ่อน) เนื่องจากจะทำให้ทุเรียนแตกยอดออกมาใหม่และจะสลัดดอกรวมทั้งผลอ่อนทิ้ง ใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตราส่วน 1/200 ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม จะทำให้ใบมีสีเขียวเข้ม เกิดการสังเคราะห์แสงและดูดซึมธาตุอาหารได้ดี ทำให้ลำต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ติดผลดก ทุเรียนลูกใหญ่

++ สูตรการทำน้ำหมักชีวภาพจากปลา ++

วัตถุดิบส่วนผสม : ปลาสด 60 กิโลกรัม ,กากน้ำตาล 40 กิโลกรัม, สารเร่ง พด.2 1 ซอง, น้ำสะอาด 10 ลิตร

ขั้นตอนวิธีการทำ :

- นำสารเร่ง พด.2 ละลายกับน้ำสะอาด คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ประมาณ ? ? 1 ชั่วโมง

- นำกากน้ำตาล 40 กก. ผสมกับน้ำประมาณ 100 ลิตร กวนให้เข้ากัน

- นำปลาสด เทผสมในน้ำที่เตรียมไว้

- เติมน้ำผสมสารเร่ง พด.2 หมักลงในถังที่ผสมแล้ว

- หมั่นคนทุกวันเมื่อเข้าสวน ประมาณ 1 เดือน เริ่มใช้ได้ และถ้าหมักนานยิ่งขึ้น คุณภาพยิ่งดีขึ้น

การไว้ผล : ภายหลังจากทุเรียนติดผลได้ซักระยะหนึ่งเกษตรกรจำเป็นที่จะต้องคัดเลือกเอาผลผลิตที่ดีที่สุดเก็บไว้ โดยเด็ดผลผลิตที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไปเพื่อลดการแย่งอาหาร ผลผลิตที่เหลือจะมีคุณภาพดี

การโยงกิ่งทุเรียน : เพื่อป้องกันกิ่งหักโคนจะเริ่มโยงผลทุเรียนเมื่อตัดแต่งผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว การโยงผลทุเรียน ต้องผูกเชือกโยงกับกิ่งทุเรียนให้เลยตำแหน่ง เชื่อมต่อระหว่างขั้วผลกับกิ่ง ไปทางด้านปลาย ยอดของกิ่ง พยายามสอดและดึงเชือกโยงทำมุมกว้างกับกิ่ง แล้วดึงปลายเชือกผูกรั้งกับต้น ให้ตึงพอประมาณ เพื่อให้กิ่งสามารถเคลื่อนไหวได้บ้าง และกิ่งยกระดับสูงขึ้นเล็กน้อย

ข้อมูลเพิ่มเติม : ทุเรียนมีการพัฒนาจากดอกบานไปจนถึงช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวใช้ระยะเวลาประมาณ 130 วัน ทุเรียนคุณภาพดีใน 1 ต้นจะให้ผลผลิตเฉลี่ย 150-200 กิโลกรัม เท่านั้น

โรคทุเรียนที่สำคัญ :

โรครากเน่า-โคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา (Phytophthora palmivora) จะระบาดมากในช่วงที่ฝนตกชุก หรือช่วงที่มีความชื้นในอากาศค่อนข้างสูง เชื้อเข้าทำลายได้ทั้งที่ลำต้น ระบบราก ลำต้นบริเวณคอดิน กิ่ง ใบ ปลายยอด และผล หากไม่มีการป้องกันที่ดีจะส่งผลให้ทุเรียนยืนต้นตายได้

++ วิธีการป้องกันกำจัด ++

-หมั่นสำรวจ ตรวจดูต้นทุเรียนเป็นประจำทุกสัปดาห์

-บำรุงต้นทุเรียนให้แข็งแรงสมบูรณ์ตลอดเวลา

-ปรับสภาพดินให้มีความเป็นกรดด่างของดิน ประมาณ 6.5

-ทำร่องระบายน้ำในสวนที่เป็นพื้นที่ต่ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังสวน และโคนต้นทุเรียน

-เก็บรวบรวมส่วนต่างๆ ของต้นที่เป็นโรค และร่วงหล่นอยู่ในสวนไปเผาทำลาย

-หากพบอาการของโรคที่ลำต้นหรือกิ่งใหญ่ให้ ขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก และนำไปเผาทำลาย แล้วทาแผลด้วยปูนแดง และสารเคมี เมตาแลกซิล 25% WP อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร

ช่วยเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้แก่ดิน ช่วยกักเก็บธาตุอาหารในดิน อุ้มน้ำได้มากขึ้น แก้ปัญหาดินเสื่อม ดินตาย

การฟื้นต้นทุเรียนหลังเก็บเกี่ยว

สารทำใบ

อัตราการใช้ 3 – 5 กก. / ต้น

(ปุ๋ยทางราก)

ช่วยแก้ไขปัญหาต้นโทรม ไม่กินปุ๋ย กระตุ้นการแตกของใบใหม่ได้ดี กระตุ้นรากพืชให้กินปุ๋ย

การฟื้นต้นทุเรียนหลังเก็บเกี่ยว

โดโลไมด์

อัตราการใช้ 1 – 3 กก. / ต้น

ช่วยปรับสภาพดิน ช่วยปรับโครงสร้างของดิน ปรับค่า PH ในดิน ลดความเป็นกรดเป็นด่างในดิน แก้ปัญหาดินเสื่อม ดินตาย

การฟื้นต้นทุเรียนหลังเก็บเกี่ยว

ไตรโคซิลเวอร์

อัตราการใช้  ฉีด : แช่น้ำ 1 คืน ใช้ชีวภัณฑ์ไตรโคซิลเวอร์ 1 กก. ต่อน้ำ 200 ลิตร (แช่ไว้ 1 คืน) กรงอตะกอนออกแล้วใช้น้ำฉีดพ้นทางใบ

ทา : ใช้ชีวภัณฑ์ไตรโคซิลเวอร์ผสมกับน้ำพอข้นให้เนื้อเหนียวคล้ายโคลน ขูดเปลือกลำต้นส่วนที่เป็นเชื้อราออกให้หมด นำชีวภัณฑ์ที่ผสมน้ำทาลงบริเวณที่ขูดเนื้อผิวทุเรียนออก ทาให้ทั่ว

ใช้บัวรดน้ำ : ผสมชีวภัณฑ์ไตรโคซิลเวอร์ อัตราส่วน 0.5 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำ 1 คืน ใช้รดตามทรงพุ่มทุเรียน

ช่วยป้องกันรากเน่า โคนเน่า รักษาแผล รักษาแผลที่ติดเชื้อในต้นทุเรียน

การฟื้นต้นทุเรียนหลังเก็บเกี่ยว

หัวเชื้อปลานิลทอง อะมิโนพาวเวอร์

อัตราการใช้ 30 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

(ทางใบ)

เร่งการเจริญเติบโต เร่งการแตกของใบ กระตุ้นการออกดอก ยืดช่อดอก  ช่วยผสมเกสร ติดง่าย ผลดก ขั้วเหนียวไม่ทิ้งลูก

ทุเรียนหลังตัดลูกใส่ปุ๋ยอะไร

1. ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ต้นหลังเก็บเกี่ยว - ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 20 ถึง 50 กิโลกรัมต่อต้น - ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้นเท่ากับ 1 ใน ของเส้นผ่า ศูนย์กลางทรงพุ่ม 2. ใส่ปุ๋ยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของผล

ทำใบทุเรียนใส่ปุ๋ยอะไร

ให้ปุ๋ยเกล็ด 46-0-0 หรือ 30-20-10 หรือ 20-20-20 ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ทุกๆ 7-10 วันฉีดพ่นสารกระตุ้นการแตกใบอ่อนเช่น นูรโปร อัตรา 300 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ผสมอาหารเสริมที่มีแม็กนีเซี่ยมสูงเช่นเอมอนต์อัตรา 300 มิลลิลิตร และ โคแม็ค อาหารเสริมที่มีสังกะสีสูง อัตรา 150-300 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หลังจากนั้นใบอ่อนจะแตกภายใน 10-15 วัน ...

ทำยังไงให้ทุเรียนแตกยอด

จะให้ทุเรียนแตกยอดดีควรทำอย่างไรครับ.
ทำความสะอาดโคนทุเรียน โดยคราดเอาใบแห้งออก ถอนและกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มออก.
ฟื้นฟูรากโดยใส่สารฮิวมิคแอซิด อัตรา 1000 มิลลิลิตรผสมปุ๋ย 30-20-10 อัตรา 300-500 กรัม ในน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นลงดินด้วยเครื่องฉีดแรงดันสูง ทุกๆ 7 วันจำนวน 3 ครั้ง.

ทุเรียนใส่ปุ๋ยอะไรดี

ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้นต่อปี เท่ากับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) แบ่งใส่ 2 ถึง 4 ครั้งต่อปี ยกตัวอย่าง เช่น ต้นทุเรียนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ทรงพุ่ม 3 เมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีปีละ 3 กิโลกรัม แบ่งใส่ 2 ถึง 4 ครั้งต่อปี