ทางเดินหายใจ อักเสบ เรื้อรัง

โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจเช่น โพรงจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคหืด เป็นโรคเรื้อรังและมีโอกาสหายได้ยาก ทั้งสองโรคนี้พบร่วมกันได้ในคนเดียวกัน โดยพบว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดมีภาวะโพรงจมูกอักเสบภูมิแพ้ ส่วนคนที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้นั้น 1 ใน 3 มีโรคร่วมด้วย โดยภาวะจมูกอักเสบภูมิแพ้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหืดมากกว่าคนปกติถึง 3-5 เท่า หากไม่รักษาภาวะนี้ก็จะเป็นโรคหืดตามมาภายหลังได้ ซึ่งทั้งสองโรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง และมีโอกาสหายได้น้อย

การศึกษาในเด็กที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ พบว่าเมื่อตามอาการไป 5 ปี มีโอกาสหายได้โดยร้อยละ 12 การศึกษาในผู้ใหญ่จำนวน 734 คนที่เป็นโรคนี้พบว่า เมือติดตามไป 8 ปีจะมีโอกาศหายได้ร้อยละ 12-38 โดยที่ถึงแม้คนไข้กลุ่มนี้จะไม่มีอาการแล้วแต่คนไข้ส่วนใหญ่ผลการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังยังผิดปกติอยู่ คือเป็นบวกต่อสารก่อภูมิแพ้

การศึกษาในผู้ใหญ่เมื่อติดตามอาการไปอย่างน้อย 30 ปีพบว่าหากไม่รักษาโรคจมูกอักเสบจะมีโอกาสหายได้ร้อยละ 40  ที่เหลืออาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่น ไซนัสอักเสบ และเป็นโรคหืดได้ การรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ให้ดี จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหืดในอนาคตได้

สำหรับการหายของโรคหืดขึ้นอยุ่กับช่วงอายุ กรณีเป็นเด็กโอกาสหายพบได้ร้อยละ 6-33 ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ถ้ามีอาการตั้งแต่เล็กและหอบบ่อยโอกาสหายก็ค่อนข้างน้อย โดยช่วงอายุของเด็กที่หายมักอยู่ในช่วงอายุ 14-21 ปี ส่วนผู้ใหญ่อัตราการหายร้อยละ 11-52 แต่ถึงแม้ว่าจะหายแล้วบางคนก็มีอาการกลับเป็นซ้ำได้ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการหายขึ้นอยู่กับ ความรุนแรงของโรค โรคที่พบร่วมเช่นจมูกอักเสบภูมิแพ้ หากพบร่วมด้วยจะหายยากกว่า ภาวะอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงทำให้ไม่หาย ส่วนการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดทำให้หายได้มากขึ้น

กล่าวโดยสรุปคือ ปัจจัยที่มีผลต่อการหายของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค การปรับพฤติกรรมโดยใช้ 4Es (eating-ลดน้ำหนัก, environment-หลีกเลี่ยงส่งกระตุ้น, exercise-ออกกำลังกาย, emotion-ทำจิตใจให้แจ่มใสไม่เครียด) สำหรับการรักษาทั่วไปทำให้ไม่มีอาการของโรค แต่ไม่ได้เปลี่ยนธรรมชาติของโรค มีเพียงการรักษาเดียวที่สามารถเปลี่ยนธรรมชาติของโรคและทำได้หายได้คือ การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดหรือวัคซีนภูมิแพ้

เรียบเรียงโดย : ศ.ดร. พญ.อรพรรณ โพชนุกูล
กุมารแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

  • ศูนย์ภูมิแพ้
    8.00-20.00  (BKK Time)
    Hot line tel. +662 011 3593

    20.00-8.00 (BKK Time)
    เบอร์ Contact center +662 066 8888 และ 1378


หมวดหมู่สุขภาพ

หมวดหมู่สุขภาพ

เครื่องมือโปรด

ค้นหาชุมชนของคุณ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ชุมชน

ชุมชนคือพื้นที่ปลอดภัยที่คุณสามารถพูดคุยกับสมาชิกคนอื่น ๆ แสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่สนใจ และรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในประเด็นด้านสุขภาพที่สำคัญที่สุด

ยินดีต้อนรับ! คุณ !

เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่คุณร่วมเป็นส่วนหนึ่งในชุมชนของเรา จากนี้เราจะสุขภาพดีและมีความสุขมากกว่าที่เคย นี่คือเรื่องราวใหม่ ๆ ใน Hello คุณหมอ

มาดูกันว่ามีอะไรใหม่ ๆ บ้าง

ทางเดินหายใจ อักเสบ เรื้อรัง

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง จัดเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรังร่วมกับมีเสมหะเหนียวข้น นานตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปภายในระยะเวลา 1 ปี และมีอาการติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป สาเหตุหลักเกิดจากการสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ หรือมลภาวะทางอากาศ

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความหมาย หลอดลมอักเสบ

Share:

หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ซึ่งเป็นท่อที่นำลมหรืออากาศเข้าสู่ปอด มีผลทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะที่หลอดลม นำมาสู่อาการทางระบบหายใจต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่จะมีการพัฒนามาจากโรคไข้หวัด หรือการติดเชื้อที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหลอดลมอักเสบเกิดขึ้นได้ 2 ชนิด โดยที่พบทั่วไปจะเป็นโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน และโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง ซึ่งเป็นกรณีที่รุนแรงกว่า

ทางเดินหายใจ อักเสบ เรื้อรัง

อาการของหลอดลมอักเสบ

อาการอาจเริ่มต้นด้วยการเป็นหวัด ครั่นเนื้อครั่นตัว มีน้ำมูก แสบคอ หากเริ่มรู้สึกแน่นหน้าอกพร้อมกับมีเสมหะในคอ และมีอาการไอ นั่นอาจเป็นอาการที่แสดงของโรคหลอดลมอักเสบในเบื้องต้น

หลอดลมอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง มีอาการที่สำคัญดังนี้

  • ไอ ถือเป็นอาการที่สำคัญที่สุดของโรคนี้ บางครั้งอาจเจ็บหน้าอกขณะที่ไอ
  • มีเสมหะ มีทั้งแบบไม่มีสี อาจมีสีเหลือง หรือเขียว บางรายอาจมีเลือดปนอยู่ด้วย แต่จะพบได้น้อย
  • แสบคอ หรืออาการเจ็บคอร่วมอยู่ด้วย  
  • หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด หรือมีอาการแน่นหน้าอก
  • ไข้ มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวก่อน ซึ่งผู้ป่วยอาจมีไข้ หรือไม่มีไข้ก็ได้

ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจมีอาการไอต่อเนื่องหลายสัปดาห์ ถึงแม้ว่าการติดเชื้อจะหายแล้ว สำหรับผู้ป่วยหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง จะมีอาการไออย่างรุนแรงอย่างน้อยปีละ 3 เดือน ติดต่อกัน 2 ปี ขึ้นไป ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรังจะมีระยะที่มีอาการแย่ลง โดยอาจเริ่มมาจากหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันก่อน

สาเหตุของหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากแบคทีเรียและไวรัส แต่โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) อะดิโนไวรัส (Adenovirus) ไรโนไวรัส (Rhinovirus) เป็นต้น บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) หรือคลาไมเดีย (Chlamydia)

อีกปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ คือ การสูบบุหรี่ หรือผู้ต้องอยู่กับคนที่สูบบุหรี่บ่อย ๆ รวมไปถึงมลภาวะทางอากาศ ฝุ่น ก๊าซพิษต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมที่ต้องพบในชีวิตประจำวัน ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเป็นโรคได้

การวินัจฉัยหลอดลมอักเสบ

การวินิจฉัยในผู้ป่วยที่เพิ่งมีอาการในช่วงวันแรก ๆ นั้นจะแยกแยะลักษณะอาการได้ยากเนื่องจากโรคหลอดลมอักเสบในระยะแรกจะมีอาการคล้ายหรือเหมือนกับอาการของไข้หวัด ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์จะใช้อุปกรณ์หูฟัง (Stethoscope) ฟังปอดจากการหายใจของผู้ป่วย และเพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำมากขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังนี้

  • เอกซเรย์หน้าอก จะช่วยให้สามารถระบุโรคได้ง่ายขึ้นหากผู้ป่วยเป็นปอดอักเสบ หรือทำให้ทราบถึงอาการเจ็บป่วยอื่น
  • ตรวจการทำงานของปอด แพทย์จะให้เป่าเครื่องสำหรับวัดอัตราการหายใจที่ปอดสามารถรับได้ และความเร็วในขณะที่อากาศออกจากปอด การตรวจชนิดนี้จะทำให้สามารถตรวจหาอาการของโรคหอบหืด และอาการผิดปกติเรื้อรังของปอด
  • ตรวจเสมหะ หรือเพาะเชื้อจากเสมหะ สำหรับผูู้ป่วยที่มีอาการไอและมีเสมหะ แพทย์สามาถวินัจฉัยหาสาเหตุและสามารถให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคได้

การรักษาหลอดลมอักเสบ 

โดยส่วนใหญ่ หลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์โดยไม่ต้องรับการรักษา อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้น ผู้ป่วยจะต้องดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ แต่สำหรับผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจแนะนำให้ได้รับการรักษาเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่

  • ยาแก้ไอ
    อาการไอเป็นอาการหลักของโรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งอาจบรรเทาได้ด้วยยากลุ่มกดอาการไอ (Antitussives) และยาขยายหลอดลม (Bronchodilators) บางรายที่มีเสมหะร่วมด้วยอาจใช้ยาขับเสมหะ (Expectorants) หรือยาละลายเสมหะ (Mucolytics) อย่างยาคาร์โบซิสเทอีน 2.25 กรัมต่อวัน (Carbocysteine) ยาบรอมเฮกซีน (Bromhexine) ครั้งละ 8-16 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง และยาเอ็นอะซิทิลซิสเทอีน (N-Acetyl-Cysteine) หรือ NAC 600 มิลลิกรัมต่อวัน ยากลุ่มนี้จะช่วยให้ร่างกายขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น โดยเสมหะที่ลดลงอาจช่วยให้หลอดลมโล่งและบรรเทาอาการไอได้ ปริมาณยาอาจเปลี่ยนแปลงตามอายุและโรคประจำตัวของผู้ป่วยในปัจจุบัน ยาแก้ไอมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นยาน้ำ ยาเม็ด ย่าพ่น รวมถึงยาชนิดเม็ดฟู่ละลายน้ำ ซึ่งตัวยาเม็ดฟู่ที่ละลายน้ำอาจช่วยให้ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ได้เร็วขึ้น จึงอาจเหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการกลืนยาและผู้ที่มีปัญหาในการดูดซึมหากรู้สึกระคายคอหรือรำคาญอาการไอในระหว่างวันอาจเลือกใช้สเปรย์พ่นคอที่มีส่วนผสมจากสารสกัดสมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดการระคายเคืองและให้ความชุ่มชื้นภายในลำคอ เช่น คาโมไมล์ เปปเปอร์มินต์ น้ำมันสน มะกรูด และยูคาลิปตัส เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มเจ็บคอหรือมีอาการไอที่ไม่รุนแรง
  • ยาปฏิชีวนะ
    หลอดลมอักเสบมักมาจากเชื้อไวรัส ซึ่งยาปฏิชีวนะจะรักษาไม่ได้ผลดีนัก อย่างไรก็ตามแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะในรายที่เป็นหลอดลมอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • การรักษาด้วยยาอื่น ๆ
    หากผู้ป่วยเป็นภูมิแพ้ โรคหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD) แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาพ่นเข้าปอด หรือการรักษาโดยใช้ยาอื่น ๆ ที่ช่วยลดการติดเชื้อ

ในบางรายอาจมีอาการของหลอดลมอักเสบอยู่นาน หากมีอาการนานอย่างน้อยปีละ  3 เดือน ติดต่อกัน 2 ปี จะทำให้กลายเป็น หลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง  

ภาวะแทรกซ้อนของหลอดลมอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนมักจะเกิดมากจากการรักษาที่ไม่ถูกต้อง จากการติดเชื้อของหลอดลมจนลามไปที่ปอด ซึ่งมีผลทำให้เกิดปอดอักเสบ (Pneumonia) ได้ หากปล่อยเอาไว้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและผู้ป่วยปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้อาการแย่ลงจากเป็นหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน อาจกลายเป็นหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรังได้ หรือในกรณีที่เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีกอาจทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้

นอกจากนั้นการเกิดซ้ำของโรคหลอดลมอักเสบในช่วงระยะเวลาเพียงสั้น ๆ อาจนำไปไปสู่การพัฒนาให้เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้อีกด้วย โดยโรคนี้เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อย อาจค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมากจะทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยแม้กระทั่งอยู่เฉย ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้ทำให้สภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงด้วย

วิธีป้องกันหลอดลมอักเสบ

โดยทั่วไปหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันสามารถหายเองได้ในเวลาอันสั้น โดยที่ผู้ป่วยต้องดูแลรักษาตัวเองอย่างเหมาะสม เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลง ได้แก่ ความเครียด นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือต้องสัมผัสอากาศที่เย็นมาก ๆ ระมัดระวังคนรอบข้างที่เป็นโรคซึ่งอาจแพร่เชื้อให้ได้

ที่สำคัญในผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควัน ฝุ่น สารเคมี และสารระคายเคืองต่างๆ รวมไปถึงการป้องกันอื่น ๆ เช่น หมั่นล้างมือให้สะอาดอยูู่เสมอ ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อมีอาการป่วยเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาร่างกายให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ผู้ป่วยห่างไกลโรคต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง เช่น หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเน้นการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและหายใจเร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น วิ่ง เดินเร็ว หรือว่ายน้ำ เป็นต้น