งาน วิจัย เกี่ยว กับ พฤติกรรม สุนัข

พฤติกรรมสุนัขสะท้อนบุคลิกภาพเจ้าของได้

12 กุมภาพันธ์ 2017

งาน วิจัย เกี่ยว กับ พฤติกรรม สุนัข

ที่มาของภาพ, Thinkstock

งานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ในออสเตรียบ่งชี้ว่าสุนัขเปรียบเสมือนกระจกเงาที่สามารถสะท้อนบุคลิกภาพของผู้เป็นเจ้าของมัน และช่วยเจ้าของรับมือกับความเครียดในชีวิตได้ นับเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดที่สนับสนุนแนวคิดที่มีมายาวนานเกี่ยวกับเรื่องนี้

ที่มาของภาพ, Getty Images

งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารพลอสวัน (PLOS ONE) โดยนักวิจัยในออสเตรียได้ศึกษาสุนัขกว่า 100 ตัว พร้อมเจ้าของของพวกมัน และพบข้อมูลบ่งชี้ว่าสุนัขสามารถสะท้อนอาการจิตตกและความคิดที่เป็นลบของเจ้าของได้ ขณะที่สุนัขซึ่งอยู่ในอารมณ์ผ่อนคลายและเป็นมิตรกับคนทั่วไปสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวให้กับเจ้าของของมันได้เช่นกัน และบางทีมันยังช่วยให้เจ้าของรับมือกับความเครียดในชีวิตได้ด้วย

ที่มาของภาพ, Getty Images

ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยประเมินผลโดยวัดอัตราการเต้นของหัวใจ และวิธีการรับมือกับภัยคุกคามของทั้งสุนัขและเจ้าของ รวมทั้งนำตัวอย่างน้ำลายไปวัดปริมาณสารคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกถึงระดับความเครียด

นอกจากนี้ยังให้เจ้าของทำแบบทดสอบบุคลิกภาพ 5 มิติ คือ บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว บุคลิกภาพแสดงตัว บุคลิกภาพเปิดรับประสบการณ์ บุคลิกภาพแบบประนีประนอม และบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก ส่วนการประเมินบุคลิกภาพของสุนัข นักวิจัยก็ใช้แบบสอบถามโดยให้เจ้าของเป็นผู้ตอบ

ที่มาของภาพ, Getty Images

ดร.ไอริส โชเบิร์ล จากมหาวิทยาลัยเวียนนาบอกบีบีซีนิวส์ว่า ทั้งเจ้าของและสุนัขต่างมีอิทธิพลต่อกลไกในการรับมือกับความเครียดของแต่ละฝ่าย โดยมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อสุนัขมากกว่า สุนัขเป็นสัตว์ที่มีประสาทความรู้สึกไวต่อสภาพอารมณ์ความรู้สึกของเจ้าของและมันอาจสะท้อนภาพดังกล่าวออกมาได้

สุนัขอยู่ร่วมโลกกับมนุษย์มานานกว่า 30,000 ปี หลักฐานที่ผ่านมาระบุว่าพวกมันสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคน รวมทั้งปรับพฤติกรรมของมันให้สอดคล้องกับคนเหล่านั้น

งาน วิจัย เกี่ยว กับ พฤติกรรม สุนัข

โฮ่ง โฮ่ง!! กลับมาแล้วหรอมะนู้ดดด เสียงร้องต้อนรับการกลับบ้านของใครหลายคน เพื่อนสี่ขาของเรานั่นเอง เราอาจเคยเห็นเจ้าโบ้ของเรา ทำพฤติกรรมแปลกๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดินวน จัดที่จัดทางในการอึซะดิบดิ หรือสายตาออดอ้อนที่จ้องมาเวลาเราทานอาหาร

ในช่วงปีที่ผ่านมาได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมน้องหมาออกมามากมายผ่านตาเราบนสื่อโซเชียล ทั้งเรื่องแปลกใหม่ หรือเรื่องที่เราอาจรู้ได้เองจากประสบการณ์การเลี้ยงน้องหมา ซึ่งในวันนี้ทีมงาน mangozero ได้รวบรวมงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับน้องหมามาให้ทุกคนได้ดูกัน

งาน วิจัย เกี่ยว กับ พฤติกรรม สุนัข

1.หันหน้าทิศเหนือเวลาอึ

เหล่าคนเลี้ยงหมาคงเห็นกันอยู่บ่อยๆว่าน้องจะเดินหมุนรอบตัวเองวนไปวนมาก่อนจะอึ จากการศึกษาของทีมนักวิทยาศาสตร์ 12 คนจากมหาวิทยาลัยเยอรมันนีและสาธารณรัฐเช็ก ได้เก็บข้อมูลการขับถ่ายของน้องๆทั้ง 37 สายพันธุ์เป็นเวลากว่า 2 ปี ทำให้พบว่าไม่ว่าน้องหมาจะอึหรือฉี่ น้องจะหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือใกล้เคียงเสมอ เพราะว่าน้องหมาสามารถรับรู้ถึงสนามแม่เหล็กโลกได้นั่นเอง

2.ฟังภาษามนุษย์ไม่รู้เรื่อง

ฟังภาษามนุษย์ในที่นี้หมายถึงการฟังประโยคยาวๆ เวลาเราพูดกับน้องหมา น้องก็ได้แต่มองตาแป๋วกลับมา เพราะจริงๆ แล้วน้องจะเข้าใจแค่คำบางคำเท่านั้น และจับน้ำเสียงของเราเอา (แต่ก็ต้องใช้เวลาฝึกน้องอีกอะนะ =__=) เนื่องจากพัฒนาการของน้องหมาคล้ายกับเด็ก 1-2 ขวบเท่านั้น แต่ถ้าขยันฝึกน้องหมาบ่อยๆ น้องอาจจดจำได้ถึง 165 คำเลยนะ !!

3.สายตาที่มีไว้เพื่ออ้อนมนุษย์

อาจได้เห็นสายตาออดอ้อนนี้กับบ่อยๆ จนต้องใจอ่อน เพราะน้องๆหมาบ้านมีกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตา ที่มีไว้เพื่อการสื่อสารโดยเฉพาะ! อ้อนแหละ ดูออกกก ร้ายนักนะเจ้าโบ้

4.ไม่ได้ทะลึ่ง!! แค่ดมเป้าเพื่อทักทาย

ที่น้องดมเป้าไม่ใช่เพราะกลิ่นปลาเค็มออกนะ อย่าเพิ่งเข้าใจผิด เพราะการดมเป้าเป็นพฤติกรรมธรรมชาติของน้องหมาในการทักทายหมาตัวอื่นๆ การดมกลิ่นจะทำให้น้องหมารู้ข้อมูลของอีกตัวนั่นเอง หากเจอน้องพุ่งตัวเข้ามาดมจุดซ่อนเร้น ทุกคนอย่าเพิ่งตกใจ น้องแค่อยากทำความรู้จักเท่านั้นเองจ้า

5.เป็นเจ้านายน้องหมามีความสุขกว่าเป็นทาสน้องแมว

จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันพบว่าผู้ที่เลี้ยงสุนัขมีความสุขมากถึง 36% แต่ผู้ที่เลี้ยงแมวมีความสุข 18% การเลี้ยงหมา การได้เล่นกับน้อง ก็ช่วยทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และช่วยลดความเครียดได้อีกด้วยนะ นอกจากนี้ก็ยังมีผลงานวิจัยออกมาว่าน้องหมาช่วยให้เรามีสุขภาพหัวใจที่ดีด้วยนะ เนื่องจากน้องหมาทำให้เราออกกำลังกายได้เยอะขึ้นจากการพาน้องหมาไปเดินเล่น

6.ปรับนิสัยให้เหมือนเจ้าของ

จากการวิจัยกลุ่มตัวอย่างกว่า 1600 ตัว พบว่าปัจจัยที่ทำให้สุนัขมีนิสัยเปลี่ยนไปก็คือ อายุ สิ่งแวดล้อม และเจ้าของ เพราะนอกจากน้องมีโลกส่วนตัวแล้ว ก็มีโลกที่มาเจ้านายอย่างเราอยู่ด้วยเสมอ น้องหมาเลยได้ปรับตัวและเรียนรู้เราด้วยนั่นเอง

7.รับรู้ถึงความเครียด

เมื่อเราเครียด น้องหมาก็เครียดด้วยเหมือนกันนะ นอกจากบุคลิกภาพของเราจะส่งผลกับน้องแล้ว อารมณความรู้สึกก็ส่งผลเหมือนกัน จากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ได้ตรวจเส้นผมของคน และขนของสุนัข เพื่อดูระดับฮอร์โมน Cortisol เนื่องจากสารเคมีนี้จะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือกเมื่อเราเกิดความเครียด พบว่าระดับ Cortisol ในผมของเจ้าของที่เครียด มีระดับตรงกับขนสุนัข แปลว่าน้องก็มีความเครียดด้วยเหมือนกัน

8.ชอบฟังเพลงเร้กเก้!!

น้องอาจโยกหัวได้หากคุณลองเปิดเพลง raggae ผลการวิจัยจากประเทศ Scotland ชี้ว่าน้องหมาก็มีดนตรีในหัวใจเหมือนกัน!! โดยแนวเพลงที่น้องชอบอันดับ 1 คือเพลงแนว Raggae และอันดับ 2 คือเพลงแนว Soft rock เมื่อฟังน้องหมาจะรู้สึกผ่อนคลาย และนอนนิ่งๆ เคลิ้มเลยแหละ แล้วยังส่งเสริมให้น้องมีพฤติกรรมในเชิงบวกด้วยนะ ส่วนเพลงแนว Pop นั้นไม่มีผลใดๆ แต่เพลงแนว Heavy Metal ก็อาจทำให้น้องเห่า กระวนกระวาย กลับกัน เพลงแนว Classic ก็ทำให้น้องสงบลงได้ ว่าแล้วก็มาจัด Playlist ให้น้องหมากันเถอะ !!

9.ดมกลิ่นหาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ได้

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าสุนัขสามารถดมกลิ่นทางชีวภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งบางชนิด โรคมาลาเรีย และโรคพาร์กินสัน ในช่วงCOVID-19 ที่ผ่านมาในฟินแลนด์ ได้มีการทดลองฝึกให้น้องหมาดมกลิ่นหาผู้ติดเชื้อ COVID-19 โดยการเก็บตัวอย่างกลิ่นจากคนไข้ก่อนที่จะแสดงอาการ ซึ่งน้องหมาที่ฟินแลนด์นี้สามารถระบุผู้ติดเชื้อได้ 5 วันก่อนคนไข้แสดงอาการอีก ผลการทดลองทั้งหมดนี้ก็ให้ผลถูกต้องเกือบจะ 100% เก่งจริงๆเจ้าน้อนน อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ก็ยังไม่ได้รับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ก็ต้องรอติดตามเป็นกำลังใจให้กันต่อไป 🙂

แล้วน้องหมาหรือไอ้โบ้ของทุกคนตรงกับข้อมูลนี้กันบ้างรึเปล่า น้องหันทิศเหนือตอนอึจริงมั้ยนะ? มาแชร์ความน่ารักความเอ๋อของน้องได้ในคอมเมนต์เลยย