ขอ ส่วนลด ปิดบัญชี เฟิ ร์ ส. ช้อย

วันนี้พี่ทุยไปเจอประสบการณ์เกี่ยวกับการติดเครดิตบูโรที่น่าประทับใจ เลยอยากหยิบขึ้นมาแชร์ให้เพื่อน ๆ ได้อ่าน อย่างเคสนี้ตั้งใจที่จะกู้เครดิตทางการเงินของตัวเองให้ฟื้นกลับมาดี หลังจาก ติดบูโร มานาน เพื่อสมัครบัตรเครดิตไว้ใช้ในยามจำเป็น จากที่ติดเครดิตบูโรถึง 14 บัญชี นานกว่า 10 ปี ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลยนะ

Show

เจ้าของเคสนี้สมัยยังเป็นวัยรุ่น ได้เงินมาเยอะ ก็ใช้จ่ายเกินตัว พอมีช่วงหนึ่งชีวิตเกิดหักเหขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถชำระค่าบัตรเครดิตได้ ทำให้ติดเครดิตบูโรไปทั้งหมด 14 บัญชี (โอ้โหพี่ทุยขอตีได้ไหม 14 บัญชีเนี่ย เรียกได้ว่าเยอะมาก) ตั้งแต่ประมาณปี 2550 จากนั้นความเครียดก็เข้ามาแบบเต็มรูปแบบไปเลย ทั้งบริษัทบัตรเครดิตเอย สำนักงานกฎหมายเอย รับโทรศัพท์กันสายไหม้ไปเลยวันวันหนึ่ง แต่รับโทรศัพท์นี่ไม่เท่าไหร่นะ แต่อายคนที่ทำงานนี่ละ (ตอนใช้ไม่ทันคิด)

พอเจ้าของเคสเริ่มมีสติคิดได้ ตั้งตัวได้ ก็เริ่มทยอยปิด หาทางเจรจากับสำนักงานกฎหมายขอส่วนลด นู้นนี่นั่น เพื่อทำการค่อย ๆ ปิดบัญชีไปทีละบัญชี แต่ต้องขอจดหมายยืนยันการปิดบัญชีทุกครั้งนะ เพราะเคยมีบริษัทหนึ่งที่เคยลองขอส่วนลดปิดบัญชี และขอจดหมายปิดยอดไป แต่พอไปเช็คเครดิตบูโรดู อ้าว! ยอดไม่หายอย่างที่คิดไว้  ก็ต้องวิ่งไปทำเรื่องที่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติเลย ยื่นเรื่องพร้อมเอกสารที่มีให้ดำเนินการแก้ไขให้ข้อมูลสมบูรณ์ที่สุด

พี่ทุยขอเสริมว่า บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด คืออะไร ?

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลเครดิตของลูกค้าหรือผู้กู้ช่วยลด ความเสี่ยง เพิ่มประสิทธิภาพของการให้สินเชื่อ และป้องกันการเกิดปัญหาหนี้เสีย หรือ NPL2 ของสถาบัน การเงินต่าง ๆ เป็นการรักษาระบบเศรษฐกิจของประเทศ

รวมทั้งให้บริการข้อมูลแก่หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการเงิน  เป็นบริษัทที่มีหน้าที่เก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลเครดิตที่ได้รับจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก เพื่อให้สถาบันการเงินสมาชิก ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์สินเชื่อ หรือ ออกบัตรเครดิต โดยบันทึกข้อมูลเป็นรายเดือนทุกเดือน เหมือนกับการเก็บประวัติการเรียนที่มีอยู่ในสมุดพกของนักเรียนนั่นแหละ

กลับมาต่อที่เจ้าของเคสนี้ เค้าก็ได้ทยอยปิดจนครบแต่ใช้เวลาเนิ่นนานมาก ประมาณ 3-4 ปี พอเริ่มจะกู้เครดิตกลับมา ก็หาความปวดหัวให้ตัวเองเพิ่มด้วยการ ออกมอเตอร์ไซค์ให้น้อง (อ้าวเฮ้ยไม่เหมือนที่คุยกันไว้นี่หน่า) โอเคไม่เป็นไรต้องทนกันต่อไป เหลือยอดค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยอีกประมาณ 2 หมื่นกว่าบาท

จากนั้นสำนักงานกฎหมายแรกโทรมา ก็เจรจาขอแบ่งชำระและส่วนลด แต่พอเค้าไม่ให้ก็เลยบอกว่าคงไม่มีเงินจ่ายแน่เลย ให้มายึดรถละกัน ผ่านไปอีกสักพัก สำนักงานกฎหมายที่ 2-3 โทรมา ไม่ให้ช่องทางการปลดหนี้เช่นเคย ก็หมดหวังแล้วว่า ชาตินี้จะกู้เครดิตเงินคืนได้มั้ย

พอสำนักงานกฎหมายที่ 4 โทรมาเจรจาเหมือนเดิม เขาอนุโลมให้ แต่ไม่ได้ส่วนลด ผ่อนจ่ายไปเดือนละ 1,500 บาท ประมาณ 2 ปี ก็เพิ่งจะจ่ายหมดไปเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2562

หลังจากชำระไปแล้ว ประมาณต้นเดือน ม.ค. 2563 ลองไปเช็คเครดิตบูโร ปรากฏว่า ยอดมันขึ้นว่าปิดว่าชำระครบตั้งแต่เดือน ม.ค. 2562 แล้ว แล้วที่จ่ายเกินไป ตั้งแต่เดือน ก.พ. – พ.ย. 2562 คืออะไร คิดซะว่าไม่รอบคอบเอง ไม่ยอมเช็คเอง ก็ได้แต่ช้ำในเบา ๆ (เรื่องเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ควรเช็คกันอย่างรอบคอบน้า)

ปิดฉากหนี้ ติดบูโร 14 บัญชี กว่า 10 ปี

ปี 2547 มหกรรมเปิดบัตรเครดิต ….
ปี 2550 -2554 ชีวิตเริ่มสั่นคลอน ไม่มีเงินจ่าย ทยอยจ่ายขอปิดยอด
พอมาถึงปี 2556 สร้างหนี้ใหม่ ที่ไม่ใช้ของตัวเอง ก็คือซื้อรถให้น้อง
ปี 2559 สำนักงานกฎหมายเริ่มถามหาอีกรอบ เจรจาขอปิดยอด แต่สำนักงานกฎหมายที่ 1-3 ไม่ให้แบ่งชำระ เลยปลงชีวิตรอฟ้อง
ปี 2560 – 2562 สำนักงานกฎหมายที่ 4 ให้ผ่อนชำระได้ จ่ายจนจบเดือน พ.ย. 2562 (แต่เช็คบูเครดิตบูโร คือจ่ายครบตั้งแต่เดือน ม.ค. 2562)

ถึงเวลาที่คิดไว้เจ้าของเคสเลยตั้งใจลองสมัครบัตรเครดิตดูเพราะอยากเก็บไว้ใช้ยามจำเป็นจริง ๆ แบบไม่วู่วามเหมือนที่ผ่านมา อยากจะบอกธนาคารว่าเข็ดแล้ว จะวางแผนอย่างดีที่สุด ลองยื่นเอกสารดู

1. สมัครบัตรเครดิต KTC ไม่ผ่าน
2. สมัครบัตร KBANK ไม่ผ่าน
3. สมัคร Your loan SCB (ลองสมัครดู เพราะคิดว่ายังไงก็คงจะไม่ผ่านอยู่แล้ว ลองกรอกสมัครผ่านแอปพลิเคชันไป)
4. สมัครบัตรเครดิต SCB (สมัครพร้อมกับ Your Loan) ทำการสมัครไปเมื่อ 25/2/2563 ที่ผ่านมา วันที่ 26/2/2563 ธนาคารโทรมาเช็คข้อมูลกับฝ่ายบุคคล วันที่ 27/2/2563 ผลอนุมัติคือผ่าน ดีใจมากที่ตอนนี้บัตรผ่าน รอบัตรมาอย่างเดียวเลย

เจ้าของเคสบอกว่า นี่เป็นกระทู้แรกของเค้า เลยอยากแชร์ประสบการณ์ให้คนเป็นหนี้ ว่ามีหนี้ต้องจ่าย ติดเครดิตบูโรไม่ได้สนุกเลยนะ ควรวางแผนการเงินให้ดีแล้วใช้เงินอย่างรอบคอบด้วย

ขอบคุณประสบการณ์การปลดหนี้บัตรเครดิตครั้งนี้ จาก สมาชิกหมายเลข 2006558 บนเว็บไซต์ Pantip.com

ใครมีประสบการณ์การปลดหนี้ดีดีอยากจะแชร์ สามารถส่งเรื่องมาที่อีเมลล์ [email protected] ได้เลย

อ่านเพิ่ม

  • แชร์ประสบการณ์ ติดเครดิตบูโร แต่สามารถกู้เงินซื้อบ้านได้

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ขอ ส่วนลด ปิดบัญชี เฟิ ร์ ส. ช้อย

     สิ่งสำคัญที่สุดในการปรับโครงสร้างหนี้ คือ เราต้องประเมินสถานการณ์ของเราก่อน เช่น รายได้ของเราลดลงมากน้อยแค่ไหนหรือเราขาดรายได้ และระยะเวลาที่รายได้ของเราลดลงหรือขาดรายได้จะนานแค่ไหน แล้วค่อยพิจารณาความคุ้มค่าของแต่ละทางเลือก บางทางเลือกอาจดูคุ้มค่า เช่น โดยรวม ๆ แล้วเราจะเสียดอกเบี้ยน้อยกว่า แต่ค่างวดในแต่ละเดือนอาจทำให้เราเหลือเงินไม่พอใช้จนต้องกู้เงินมาใช้จ่ายอีก

     เมื่อรายรับที่ได้ไม่พอจ่ายหนี้ หลายคนอาจใช้วิธี “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” แต่ใครจะรู้...ถึงแม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน (เช่น หนี้บัตรเครดิต) การ “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” ก็อาจจะทำให้เจ้าหนี้ฟ้องยึดบ้าน หรือยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ของเรา รวมถึงเสียประวัติเครดิตไม่มีใครปล่อยกู้ และเสียหายถึงหน้าที่การงานของเราได้

     การขอปรับโครงสร้างหนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เราไม่ผิดนัดชำระ และรักษาทรัพย์สินของเราไว้ได้ แต่เราต้องรู้ก่อนว่าการปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบคืออะไร เหมาะกับสถานการณ์แบบไหน และผลที่ตามมาเป็นยังไง แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะปรับหรือไม่ หรือเลือกแบบไหน

        การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้เรายังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้อาจทำให้ลูกหนี้ถูกคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและมีประวัติค้างจ่ายในข้อมูลเครดิตบูโร เช่น ลดค่างวดโดยการขยายเวลาจ่ายหนี้ หรือเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ย ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละวิธีมีผลแตกต่างกันต่อประวัติในเครดิตบูโร จึงขอให้สอบถามสถาบันการเงินในประเด็นนี้ด้วยก่อนตัดสินใจ

ขอ ส่วนลด ปิดบัญชี เฟิ ร์ ส. ช้อย

ขอ ส่วนลด ปิดบัญชี เฟิ ร์ ส. ช้อย

ขอ ส่วนลด ปิดบัญชี เฟิ ร์ ส. ช้อย

ขอ ส่วนลด ปิดบัญชี เฟิ ร์ ส. ช้อย

ขอ ส่วนลด ปิดบัญชี เฟิ ร์ ส. ช้อย

       การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบเหมาะกับสถานการณ์ทางการเงินที่แตกต่างกัน  ถ้าอยากรู้ว่าเราเหมาะกับการปรับโครงสร้างหนี้แบบไหน ต้องถามตัวเองก่อนว่า...เรายังจ่ายหนี้ไหวแค่ไหนโดยมี 2 เรื่องที่ต้องคำนึงถึง คือ จำนวนเงินและระยะเวลา

  1. 1. ยังจ่ายไหวแต่อยากลดภาระดอกเบี้ย ถ้ารายรับของเราไม่เปลี่ยนแปลงหรือลดลงเล็กน้อย แบบที่ยังจ่ายหนี้ไหวแต่อยากประหยัดรายจ่ายที่เป็นดอกเบี้ยลงบ้างเพื่อไปใช้จ่ายเรื่องที่จำเป็น เราอาจขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้
    1.      1.1) เปลี่ยนประเภทหนี้ จากหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง เช่น หนี้บัตรเครดิตที่ชำระไม่เต็มจำนวนและตรงเวลาจะถูกคิดดอกเบี้ย 16% ต่อปี ก็เปลี่ยนเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาชำระ (term loan) ที่มีกำหนดเวลาจ่ายคืนที่ชัดเจนขึ้น และอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ 12% (ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ปี 2563 - 2564) แบบนี้ก็จะทำให้ภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลดลงไปบ้าง
    2.      ข้อควรคิด การเปลี่ยนประเภทหนี้แบบนี้ เราต้องมั่นใจว่าเราสามารถจ่ายค่างวดคืนตามที่กำหนดได้ เช่น จากเดิมที่เราจ่ายบัตรเครดิตแค่ขั้นต่ำ (5 – 10%) การเปลี่ยนเป็นสินเชื่อแบบ term loan อาจทำให้เราต้องจ่ายหนี้แต่ละงวดมากกว่าหรือน้อยกว่าขั้นต่ำที่เราเคยจ่าย ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ที่เราค้างจ่ายและระยะเวลาของสินเชื่อแบบ term loan
  •      1.2) รีไฟแนนซ์ (refinance) เป็นการเปลี่ยนเจ้าหนี้ ก็คือปิดหนี้จากเจ้าหนี้รายเดิมแล้วย้ายไปขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า ส่วนใหญ่มักจะรีไฟแนนซ์กับหนี้บ้าน แต่จริง ๆ แล้ว เราสามารถรีไฟแนนซ์กับหนี้อื่นได้ด้วย เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด 
  •      ข้อควรคิด การรีไฟแนนซ์อาจฟังแล้วดูดี แต่เราต้องคิดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ด้วย เช่น ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าทำประกันใหม่ ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้รายเดิมที่เราจ่ายคืนหนี้ทั้งจำนวนก่อนครบกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญา ซึ่งต้องคำนวณให้ดีว่าคุ้มกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงไหม

    1. 2. จ่ายไหวแค่บางส่วน ถ้ารายรับเราลดลงจนส่งผลให้จ่ายหนี้ได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บหรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา หรือเกิดเหตุอื่น ๆ ที่กระทบรายรับโดยรวมของครอบครัว เช่น มีคนในครอบครัวตกงาน จากที่เคยช่วยกันหาเงินเข้าบ้าน 2 แรงจึงเหลือเราคนเดียว ทำให้ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายมากขึ้น เราอาจขอปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะกับรายรับที่ลดลงในแต่ละแบบดังนี้
      1.      2.1) ลดอัตราดอกเบี้ย เหมาะกับคนที่รายรับลดลงในจำนวนที่ไม่มากนัก และลดลงแค่ในระยะเวลาสั้น ๆ โดยจะกลับมามีรายรับเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมในอีกไม่นาน 
      2.      "การลดอัตราดอกเบี้ย"เป็นการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหนี้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้ที่จะต้องจ่ายลดลงบางส่วน แต่ส่วนมากสถาบันการเงินมักลดอัตราดอกเบี้ยให้เพื่อให้ลูกหนี้มีเวลาปรับตัวในช่วงที่รายได้ลดกะทันหัน เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน
      3.      ข้อควรคิด การลดอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ภาระหนี้ลดลงในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น หากรายรับลดเป็นระยะเวลานานควรพิจารณาทางเลือกอื่น

        1.      2.2) พักชำระเงินต้น เหมาะสำหรับคนที่รายรับลดลงมากจนไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ทั้งหมด และเป็นการลดลงแค่ในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยจะกลับมามีรายรับเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมในเวลาไม่นานเช่นเดียวกับการลดอัตราดอกเบี้ย
          1.      ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การจ่ายคืนเงินกู้ในแต่ละงวดจะประกอบไปด้วยเงินต้นและดอกเบี้ย ดังนั้น "การพักชำระเงินต้น" ก็หมายความว่า เราไม่ต้องจ่ายเงินต้นแต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ย (จำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับยอดหนี้ทั้งหมด ประเภทหนี้ ระยะเวลากู้ยืม และอัตราดอกเบี้ย) ซึ่งส่วนใหญ่สถาบันการเงินมักให้พักชำระเงินต้นประมาณ 3 – 6 เดือน วิธีนี้จึงเหมาะกับคนที่รายรับลดลงเพียงไม่นานและจะกลับมาชำระหนี้ตามเดิมได้
          2.      ข้อควรคิด การพักชำระเงินต้นอาจทำให้ภาระหนี้ช่วงหลังจากพักชำระเพิ่มขึ้น หรืออาจต้องขยายเวลาการชำระหนี้ เนื่องจากต้องนำเงินต้นที่พักชำระไปจ่ายในช่วงหลังการพักชำระเงินต้น นอกจากนี้ ยังอาจจะมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากยอดเงินต้นไม่ได้ลดลงตามกำหนดเวลาเดิม ดังนั้น เราจะต้องตกลงกับสถาบันการเงินให้ดีว่า หลังพักชำระเงินต้นแล้วจะต้องจ่ายคืนแบบไหน ที่สำคัญคือเราจ่ายไหวไหม เช่น สถาบันการเงินอาจให้ขยายเวลาการชำระหนี้ เฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้าย (รายละเอียดตามภาพ) และอาจต้องทำสัญญาใหม่หรือทำเอกสารบันทึกแนบท้ายสัญญาเดิมแล้วแต่กรณี 

ขอ ส่วนลด ปิดบัญชี เฟิ ร์ ส. ช้อย

     หากคิดดูแล้วว่าเราจ่ายไม่ไหวตามที่สถาบันการเงินเสนอมา ควรขอให้สถาบันการเงินพิจารณาวิธีจ่ายคืนในแบบอื่น เช่น หากสถาบันการเงินให้จ่ายทั้งหมดครั้งเดียว (กรณี 3) แต่เราคิดแล้วว่าเราไม่น่าจะหาเงินก้อนมาจ่ายได้ในเวลาที่สถาบันการเงินแจ้งมา อาจขอจ่ายเป็นแบบเฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ (กรณี 2) แทน

      2.3) ขยายเวลาชำระหนี้ เหมาะสำหรับคนที่รายรับลดลงในระยะยาว เช่น เปลี่ยนงานใหม่ที่รายรับน้อยกว่าเดิม ทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ในจำนวนเท่าเดิมได้

      "การขยายเวลาชำระหนี้" เป็นการเพิ่มระยะเวลาในการจ่ายหนี้ วิธีนี้จะทำให้เราเป็นหนี้นานขึ้น แต่จำนวนผ่อนต่อเดือนจะลดลง ซึ่งเราสามารถขอขยายเวลาชำระหนี้ได้เป็นปี เช่น บางรายขอเพิ่มได้ 5 ปี (ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ ประเภทหนี้ รวมถึงฐานะการเงินของลูกหนี้) 

      ข้อควรคิด การขยายเวลาชำระหนี้เป็นการขยายเวลายืมเงิน ยิ่งยืมเงินนาน เรายิ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรขยายเวลานานเกินไป เพราะการผ่อนน้อย ๆ แต่ผ่อนนาน ๆ จะทำให้เราต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นหรือทำให้เราชะล่าใจเอาเงินไปซื้อในสิ่งที่ไม่จำเป็น ให้ขอขยายเท่าที่เราจ่ายไหวและใช้เวลาน้อยจะดีกว่า

      นอกจากนี้ สถาบันการเงินอาจต้องดูอายุของลูกหนี้เพื่อพิจารณาการขยายเวลาชำระหนี้ด้วย เพราะจะบอกถึงความสามารถในการจ่ายหนี้คืน เช่น ลูกหนี้ที่ใกล้เกษียณอาจขอขยายเวลาได้ไม่นานเท่าลูกหนี้ที่เพิ่งเริ่มทำงาน (มีความเสี่ยงที่ลูกหนี้จะไม่มีรายรับเพื่อจ่ายหนี้หลังเกษียณ)

  1. 3. มีเงินก้อนแต่ไม่พอปิดหนี้ทั้งหมด สำหรับคนที่มีเงินก้อน เช่น จากการขายสินทรัพย์ หรือเงินชดเชยจากการออกจากงาน อยากปิดหนี้แต่จำนวนเงินที่มีนั้นไม่พอที่จะจ่ายหนี้ทั้งก้อนได้ ก็อาจขอปรับโครงสร้างหนี้โดยการปิดจบด้วยเงินก้อนที่น้อยกว่าหนี้ทั้งก้อนได้

  2.      การปิดจบด้วยเงินก้อน หรือที่หลายคนอาจเรียกว่า แฮร์คัต (hair cut) เป็นการปรับโครงสร้างหนี้โดยการขอส่วนลดจากเจ้าหนี้แล้วจ่ายทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีทันที เช่น มียอดหนี้คงค้าง 120,000 บาท ขอลดเหลือ 100,000 บาทแล้วจ่ายเพื่อปิดบัญชีทันที หากตกลงกันได้ด้วยวิธีแบบนี้ก็จะทำให้เราหมดหนี้ไปเลย
  3.      ข้อควรคิด การปิดจบด้วยเงินก้อนแบบนี้ สถาบันการเงินมักมีเงื่อนไขให้จ่ายให้ครบภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น 1 – 6 งวด หากไม่มั่นใจว่าจะจ่ายได้ทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ควรลงนามในสัญญาเพราะอาจทำให้ต้องขอปรับโครงสร้างอีกครั้ง แต่ให้ขอสถาบันการเงินพิจารณาทางเลือกในการช่วยเหลืออื่นแทน

  1. 4. จ่ายไม่ไหวเลย สำหรับคนที่ไม่มีเงินจ่ายหนี้ หรือคนที่ต้องออกจากงานกะทันหัน เงินที่มีอาจจะไม่พอที่จะจ่ายหนี้เลย จึงอาจขอปรับโครงสร้างหนี้โดยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้ปรับตัวกับปัญหาทางการเงินที่กำลังเผชิญอยู่หรือหางานหาอาชีพใหม่ได้ แล้วค่อยกลับมาจ่ายหนี้ตามเดิม
  2.      
  3.      "การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย" เป็นการหยุดจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เมื่อครบกำหนดพักชำระแล้ว จะต้องจ่ายคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงที่พักไปด้วย (ดอกเบี้ยยังคงเดินอยู่ตลอดเวลาที่พักชำระ) ซึ่งอาจเป็นการขยายเวลาการชำระหนี้ เฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้าย (รายละเอียดตามภาพ) ซึ่งเราควรเจรจากับเจ้าหนี้ตามความสามารถในการจ่ายคืนของเรา
  4. ขอ ส่วนลด ปิดบัญชี เฟิ ร์ ส. ช้อย

  5.      ข้อควรคิด การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยมักเป็นการพักชำระในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 3 – 6 เดือน ในช่วงเวลานี้ เราควรพยายามหางานหรืออาชีพใหม่เพื่อให้มีเงินมาใช้จ่าย ชำระหนี้ และกลับเข้าสู่การใช้ชีวิตตามปกติ แต่หากใกล้ครบกำหนดพักชำระและรายรับที่มียังไม่พอจ่ายหนี้ ให้เจรจาเพื่อขอความช่วยเหลืออื่นจากสถาบันการเงินอีกครั้ง เช่น ขอจ่ายเป็นขั้นบันได โดยจ่ายน้อยในช่วงแรกแล้วค่อยเขยิบขึ้นตามรายรับที่น่าจะเข้ามาในอนาคต หรือสำรวจหาทรัพย์สินที่พอจะขายได้มาช่วยชำระหนี้บางส่วน เพราะสถาบันการเงินอาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยการพักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลานาน อย่ารอหรือเงียบหายจนค้างจ่ายหรือเป็นหนี้เสีย (ค้างชำระเกิน 90 วัน) เพราะจะยิ่งทำให้มีโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลืออีกครั้งน้อยลงไปอีก

เราจะเห็นได้ว่า การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบเหมาะกับสถานการณ์ทางการเงินที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญที่สุดในการปรับโครงสร้างหนี้ คือ เราต้องประเมินสถานการณ์ของเราก่อน เช่น รายได้ของเราลดลงมากน้อยแค่ไหนหรือเราขาดรายได้ และระยะเวลาที่รายได้ของเราลดลงหรือขาดรายได้จะนานแค่ไหน แล้วค่อยพิจารณาความคุ้มค่าของแต่ละทางเลือก บางทางเลือกอาจดูคุ้มค่า เช่น โดยรวม ๆ แล้วเราจะเสียดอกเบี้ยน้อยกว่า แต่ค่างวดในแต่ละเดือนอาจทำให้เราเหลือเงินไม่พอใช้จนต้องกู้เงินมาใช้จ่ายอีก

     พอเรารู้แล้วว่าแบบไหนที่เราจ่ายไหว ให้รีบทำหนังสือขอปรับโครงสร้างหนี้เป็นลายลักษณ์อักษรไปถึงสถาบันการเงิน ไม่ควรรอจนอาการหนักหรือจ่ายไม่ไหว เพราะการค้างชำระจะทำให้ทางเลือกในการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินน้อยลงไปอีก

     เมื่อทำหนังสือขอปรับโครงสร้างหนี้ส่งไปแล้ว สถาบันการเงินก็อาจพิจารณาตามแบบที่เราขอหรืออาจเสนอเงื่อนไขอื่นมาให้ หากเราจ่ายไม่ไหวตามเงื่อนไขของสถาบันการเงิน ให้เจรจากับสถาบันการเงินอีกครั้ง ไม่ควรลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่เราจ่ายไม่ไหว เพราะอาจต้องเจอปัญหาจ่ายหนี้ไม่ได้อีกและการปรับโครงสร้างหนี้อีกครั้งอาจทำได้ยากขึ้น

     ในกรณีที่เจรจากับสถาบันการเงินแล้วยังไม่ได้ข้อสรุปที่เราทำได้ สามารถติดต่อ "ทางด่วนแก้หนี้" ซึ่งเป็นช่องทางเสริมของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีขึ้นสำหรับประชาชนในการแจ้งขอความช่วยเหลือในการผ่อนชำระหนี้ได้ที่ https://www.1213.or.th/App/DebtCase หรือขอคำแนะนำได้ที่โทร. 1213 ในวันทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.

     หากการปรับโครงสร้างหนี้เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้เราสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ การปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะกับเราก็คือ เงื่อนไขการจ่ายหนี้ใหม่ที่ทำให้เราจ่ายหนี้ได้เต็มจำนวนและตรงเวลาตามที่ตกลงกันทุกงวดต่อจากนี้ไป พูดง่าย ๆ ก็คือ การปรับโครงสร้างหนี้แบบที่เราจ่ายไหวไปตลอดจนครบสัญญานั่นเอง 

หมายเหตุ: การปรับโครงสร้างหนี้อาจส่งผลต่อการขอกู้ใหม่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ เพราะการปรับโครงสร้างหนี้สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ที่น้อยลง ดังนั้น เมื่อปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ควรชำระให้ได้ตามกำหนดเพื่อไม่ให้เกิดประวัติค้างชำระในข้อมูลเครดิตบูโรและเป็นการสร้างประวัติที่แสดงถึงวินัยทางการเงินที่ดีอีกด้วย