ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

4.8M views

Suggested accounts

Hashtags

Sounds

Discover more topics

รีวิวต่อเติมห้องครัวในบ้านทาวน์โฮม ขนาดห้องครัวยาว 3 เมตร กับงบประมาณแค่ 3 หมื่นบาท มีหน้าตาและรายละเอียดอย่างไรตามมาดูกัน

ด้วยงบประมาณจำกัดจึงค่อย ๆ ต่อเติมส่วนต่าง ๆ ของบ้านตามประโยชน์การใช้สอย คราวนี้ก็มาถึงส่วนของห้องครัวบ้างล่ะ คุณสมาชิกหมายเลข 3560366 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ได้จ้างผู้รับเหมามาทำครัวด้วยค่าแรงเพียง 12,000 บาท และซื้ออุปกรณ์ครัวเองด้วยงบ 18,000 บาท เบ็ดเสร็จงบไม่เกิน 30,000 บาท ก็ได้ครัวขนาด 3 เมตรสวยปิ๊งเลยค่ะ

          สืบเนื่องจากเราต้องการขอบคุณทุกท่านที่แบ่งปันความรู้ใน "แชร์การซื้อบ้าน ตั้งแต่ขอสินเชื่อ กระทั่งตกแต่ง" จึงอยากแบ่งปันบ้าง มาวันนี้เพิ่งติดตั้งครัวเสร็จจึงอยากแบ่งปัน เริ่มกันเลย จะว่าไปแล้วก็ 50 วันผ่านไป ตั้งแต่ย้ายมาอยู่ ถ้าถามว่าทำไมเพิ่งทำ ก็ตอบชัด ๆ ว่า คอนเซ็ปต์อยู่ไป ตกแต่งไป เอาที่ Need มากกว่า Want ค่อย ๆ ทำไปทีละอย่างด้วยงบที่มีจำกัด และให้ตกผลึกความคิดที่สุด หลังจากเสร็จจากหลังคาหน้าบ้านแล้ว ชิ้นต่อไปคือครัว ซึ่งกว่าจะลงตัวกับครัว ที่ตัดสินใจเลือกครัวปูน เพราะกลัวน้ำท่วม เฟอร์นิเจอร์พังแน่ ของทั้งหมดจึงเป็นพลาสติกลายไม้สัก และงบที่ได้มาจึงชอบมาก ๆ อยากจะแบ่งปันดังนี้

  • ค่าช่าง 12,000 บาท
  • ค่าของ 18,000 บาท

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

Before

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ขั้นตอนในการต่อเติมห้องครัว

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

- เอาบัวพื้นออกเพื่อให้ครัวติดผนังเลย จะได้พื้นที่เพิ่มอีกเยอะ

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

After

ต่อ เติม ห้องครัว งบ 20 000

ปัญหาที่พบ

1. วัสดุที่ซื้อมาอย่าเอาถูกเกินไป เพราะจะพังง่าย เช่น ซิงค์มีรอยบุบ เนื่องจากวัสดุที่ซื้อราคาถูก บอบบาง และเป็นช่วงโปรโมชั่นเพียง 1,590 บาท จึงได้ของไม่มีคุณภาพ โชคดีที่เห็นพอดีจึงเบรกช่างและไปเปลี่ยนรุ่นเลยดีกว่า มูลค่า 2,790 บาท

2. การสื่อสารกับช่าง ต้องคอยและสื่อสารในทุกจุด เพราะหน้างานมีเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ตัดสินใจหลายอย่าง หากคุยไม่จบในเบื้องต้น หรือเกิดปัญหาหน้างาน เช่น วัสดุชำรุด กระเบื้องปูผนังอีกไหม ตู้ลิ้นชักต้องปูข้างในหรือไม่ เพราะมันเปลืองไม่ได้โชว์อยู่แล้ว

ประสบการณ์ที่ได้คือ ต้องศึกษาข้อมูลเยอะ ๆ เราได้ความรู้ได้ทุกเรื่องจริง ๆ ไม่ผิดหวัง แต่อย่าหวังผิด คิดว่าตัวเองแน่ ก่อนลงมือทำ เพราะถ้าพลาดแล้วคือเงินที่สูญไปกับบ้านที่ช้ำด้วยรอยแก้ต่าง ๆ

อ้อ ! ลืมบอกไป ใช้เตาไฟฟ้า เนื่องจากส่วนตัวไม่ชอบเตาแก๊ส แม้คนเก่าแก่หรือพ่อแม่จะชอบก็ตาม แต่ปลูกตามคนอยู่สิจึงจะเหมาะ ที่ใช้เตาไฟฟ้าเพราะ

1. ไม่ชอบเตาแก๊ส

- ระเบิด ไฟไหม้ เดิมอยู่คอนโดมาก่อนหลายปี ซึ่งคอนโดห้ามใช้แก๊สเด็ดขาด จึงคุ้นชินด้วย

- ต้องระวังการปิด-เปิด ตอนเด็ก ๆ จะถูกสอนเตือนเสมอห้ามลืมปิดแก๊ส

- แก๊สหมด เสียเวลา เสียเงิน จำได้ชัดเจน ต้องคอยโทร. สั่งแก๊สมาส่ง แพงเหมือนกัน และหากหมดตอนกำลังทำก็งานเข้าเลย

- สกปรก เห็นคราบ รอยแก๊ส น้ำมันก้นกระทะเลอะเทอะ ไม่ชอบมาก ๆ

2. อัธยาศัยชอบทำกับข้าวเบา ๆ ง่าย ๆ ไม่ได้จริงจังกับการทำอาหารเท่าไร เสียเวลา จึงไม่ค่อยได้ใช้งาน เหตุผลนี้เป็นเหตุผลสำคัญ อย่างที่บอก เลือก Need มากกว่า Want ซึ่งทีแรกไม่อยากทำกับข้าวกินเองเท่าไร แต่ด้วยความประหยัด และได้ปลูกผักสวนครัวที่บ้านด้วย จึงเลือกแบบที่จำเป็นจริง ๆ