ความสัมพันธ์ระหว่างธนบุรีกับเขมร

อาณาจักรธนบุรี

ความสัมพันธ์ระหว่างธนบุรีกับเขมร

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว  บ้านเมืองก็เกิดจลาจลวุ่นวายอยุ่ทั่วไป  แต่ในชั่วเวลาเพียงประมาณ  7  เดือน  ไทยก็กลับเป็นอิสระได้อีกครั้งหนึ่ง  เพราะความสามารถของพระยาตาก  หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในเวลาต่อมา  โดยได้รวบรวมคนไทยต่อสู้เอาชนะพม่า  และสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีของไทยต่อจากรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2277  ชาติกำเนิดเป็นคนสามัญ บิดาชื่อ นายไหฮอง   (เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็น ขุนพัฒน์  มีมารดาชื่อ นางนกเอี้ยง )  ทรงเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยาจักรี  (ขุนนางผู้ใหญ่ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)  ต่อมาได้รับราชการเป็นมหาดเล็ก  และได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตามลำดับ  จนได้เป็น พระยาตาก  ครองเมืองตากในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ

ในขณะที่สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2  กำลังดำเนินอยู่นั้น  พระยาตากได้รับคำสั่งให้มาช่วยรักษาพระนคร  ปรากฏว่าได้แสดงฝีมือในการรบอย่างเข้มแข็ง  ได้รับพระราชทานบำเหน็จความชอบเป็นพระยาวชิรปราการ  แต่ขณะปฏิบัติการรบอยู่นั้น  ได้เกิดความท้อใจในความอ่อนแอของพระเจ้าเอกทัศ  และเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาจะต้องเสียแก่พม่าอย่างแน่นอน  จึงได้นำกำลังทหารประมาณ  500  คนตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมา  เมื่อเดือนยี่ พ.ศ. 2309  มุ่งไปทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก  เพื่อหาที่มั่นรวบรวมผู้คนย้อนกลับมาสู้รบกับพม่าในภายหลัง

เส้นทางที่ใช้ในครั้งนี้ผ่านนครนายก  ปราจีนบุรี  วงลงมาฉะเชิงเทราไปทางใต้   เลียบฝั่งทะเลจนเข้าเขตเมืองระยอง  และที่เมืองระยองนี้เองที่พระยาตากได้ประกาศตั้งตนเป็นเจ้าด้วยความเห็นชอบของบรรดาทหารและผู้คนทั้งปวง

กิตติศัพท์การมีชัยชนะเหนือผู้ต่อต้านระหว่างการเดินทาง  ทำให้เจ้าตากมีสมัครพรรคพวกมากขึ้น  จนในที่สุดก้สามารถตีได้หั้วเมืองชายทะเลตะวันออกทั้งหมด  คือ  ชลบุรี  ระยอง  จันทบุรี  และตราด

ที่จันทบุรี  เจ้าตากได้ทรงแสดงความสามารถในการใช้กำลังทหารเข้าตีป้อมค่าย  ซึ่งทางเจ้าเมืองต่อต้านอย่างแข็งขัน  หลังจากได้ชัยชนะแล้วเจ้าตากก็ได้ใช้เป็นฐฐานรวรวมกำลัง

ถึงปลายปี พ.ศ. 2310  เมื่อทรงเตรียมการได้เรือ  100 ลำเศษ  ไพร่พลอีกประมาณ  5,000  คน  จึงได้เคลื่อนทัพทางน้ำมุ่งเข้าโจมตีกรุงธนบุรีเป็นด่านแรก  เกิดการปะทะกับกองกำลังของ  นายทองอิน  ซึ่งพม่าแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษากรุง  นายทองอินถูกจับประหารชีวิต

จากนั้นทรงยกทัพต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา  ได้สู้รบกับสุกี้พระนายกอง  ซึ่งควบคุมกองทัพพม่าอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น  สุกี้ตายในที่ราบ  ทหารที่เหลือก็แตกพ่าย  เจ้าตากจึงได้อำนาจการปกครองประเทศกลับคืนจากพม่านับแต่วาระนั้น  บรรดาเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยตลอดจนผู้คนทั้งปวงจึงได้พร้อมใจอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็น  สมเด็จพระบรมราชาที่ 4  แต่คนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ตามความเคยชินว่า  พระเจ้าตากสิน

ภายหลังการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีและกระทำพิธีอภิเษกตามขัตติยราชประเพณีแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้ทรงปูนบำเหน็จแก่แม่ทัพนายกองและไพร่พลโดยถ้วยหน้า

สำหรับผู้ที่เป้นกำลังสำคัญของพระองค์  2  ท่าน  คือ  นายบุญมาได้รับการแต่งตั้งเป็น  พระมหามนตรี  ตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจในชวา  ส่วนหลวงยกกระบัตรราชบุรี (ทองด้วง)  พี่ของนายบุญมา ได้รับแต่งตั้งเป็น พระราชวรินทร์ (บุญมา)

ในส่าวนอาณาประชาราษฎร์ทั่วไปนั้นพระองค์ได้ทรงดำเนินการปลุกปลอบ  ชักชวนผู้ที่ยังหลบซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ ให้ออกมาสู่ภูมิลำเนาเดิม  และได้ทรงพระเกรุณาแจกจ่ายอาหาร  เสื้อผ้า  และเงินตรา  บรรเทาความเดือดร้อนที่กำลังประสบกันอยู่อย่างทั่วถึง

การปราบชุมนุมต่างๆ

ในระยะที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310  นั้น  มีคนไทยพยายามตั้งตัวเป็นใหญ่   โดยการรวบรวมคนตั้งเป็นชุมนุมหรือก๊กต่างๆ  ชุมนุมทีสำคัญๆ นอกเหนือจากชุมนุมที่สำคัญๆ  นอกเหนือจากชุมนุมของพระยาตาก (สิน)  เองแล้ว ได้แก่  ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก  ชุมนุมเจ้าพิมาย  ชุมนุมเจ้าพิมาย  ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช  และชุมนุมเจ้าพระฝาง  เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้เวลาประมาณ  3  ปี  ปราบปรามชุมนุมต่างๆ  ให้อยู่ในอำนาจของกรุงธนบุรี  ทำให้คนไทยทีเคยแตกแยกกันกลับเข้ามารวมตัวเป็นปีกแผ่นได้ใหม่

การฟื้นฟูวัฒนธรรม

แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปในการสร้างบ้านเมืองและป้องกันประเทศ  แต่ก็มิได้ทรงทอดทิ้งงานด้านวัฒนธรรม  การฟื้นฟูวัฒนธรรมที่สำคัญในสมัยนี้  ได้แก่

ด้านศาสนา   สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา  ได้ทรงฟื้นฟูพระวินัยและชำระความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์  ทรงสสร้างและบูรณะวัดหลายแห่ง  โปรดเกล้าฯ  ให้คัดลอกพระไตรปิฎกไว้เป็นฉบับหลวง  และมีการอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองเวียงจันทร์มาประดิษฐฐานที่วัดอรุณราชวราราม

ด้านศิลปะและวรรณกรรม     ศิลปะส่วนใหญ่เป็นงานสถาปัตยกรรม  ปรากฏในงานก่อสร้างพระราชวังเดิม  งานบูรณะซ่อมแซมวัดต่างๆ  ทางด้านนาฎศิลป์และดุริยางคศิลป์ก็ยังคงรักษาของเดิมเอาไว้ส่วนทางด้านวรรณกรรมมีผลงานน้อย  ที่สำคัญได้แก่  พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์บางตอน  และผลงานของหลวงสรวิชิต  คือ  ลิลิตเพชรมงกุฎ  และอิเหนาคำฉันท์

การปกครอง

ลักษณะการปกครองของกรุงธนบุรีดำเนินตามแบบแผนสมัยอยุธยา  คือ  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีอาญาสิทธิ์เด็ดขาดในการรักษาบ้านเมือง  แบ่งราชการบริหารดังนี้

การปกครองส่วนกลาง     มีกรุงธนบุรีเป็นราชธานี  มีอัครมหาเสนาบดี  2  ตำแหน่ง  คือ  สมุหนายก  เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน กับ สมุหพระกลาโหม  เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร  ร่วมเป็นที่ปรึกษาข้อราชกิจของพระมหากษัตริย์  การบริหารราชการได้แบ่งออกเป็น  4  กรม  ที่เรียกว่า  จตุสดมภ์

การปกครองส่วนภูมิภาค    แบ่งออกเป็น

๏ การปกครองหัวเมืองชั้นใน   คือ  เมืองที่อยู่รายรอบราชธานี  เป็นเมืองชั้นจัตวา  มีผู้ปกครองเรียกว่า  “ผู้รั้ง”   การบังคับบัญชาขึ้นต่อเสนาบดีจตุสดมภ์ในราชธานี

๏ การปกครองหัวเมืองภายในราชอาณาจักร    เรียกว่า  หัวเมืองชั้นนอก  หรือเมืองพระยามหานครเป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป  แบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก  โท  ตรี   พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งข้าราชการผู้ใหญ่ออกไปเป็นเจ้าเมือง

๏ การปกครองหัวเมืองประเทศราช    ได้แก่  หัวเมืองที่อยู่ห่างไกลออกไป  หรือหัวเมืองที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอื่น  ได้แก่  กัมพูชา  ลาว  เชียงใหม่  และนครศรีธรรมราช  เมืองเหล่านี้ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามเวลากำหนด

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

  1. 1.               ความสัมพันธ์กับพม่า     การติดต่อเกี่ยวข้องกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี   เป็นไปในลักษณะความขัดแย้งโดยตลอด  เริ่มจากการรบครั้งแรกที่ค่ายโพธิ์สามต้น

หลังจากนั้นก็มีการรบครั้งอื่นๆ  เกิดขึ้นอีกถึง  9  ครั้ง  ในช่วง  พ.ศ. 2311  ถึง  พ.ศ. 2319  ทุกครั้งไทยเป็นฝ่ายชนะ  ครั้งสำคัญได้แก่

                                                           การรบกับพม่าที่บางกุ้ง  สมุทรสงคราม  พ.ศ. 2311    พม่าเสียอาวุธ  เสบียงอาหาร  และเรือ  เป็นจำนวนมาก

๏ พม่าตีเมืองพิชัย  พ.ศ. 2316    การรบตั้งนี้ทำให้เกิดวีรกรรม  พระยาพิชัยดาบหัก  ขึ้น

๏ อะเซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ  พ.ศ. 2318 – 2319   เป็นสงครามครั้งสำคัญที่สุดสมัยกรุงธนบุรี  การรบครั้งนี้พม่าเสียอาวุธเป็นจำนวนมาก  ไพร่พลถูกจับเป็นเชลยหลายพันคน  และต้องยกทัพกลับไป  เพราะทางพม่ามีการผลัดเปลี่ยนกษัตริย์

  1. 2.               ความสัมพันธ์กับเขมร     เมื่อทรงจัดการกรุงธนบุรีเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชสาสน์ถึงเขมร  ซึ่งเคยเป็นประเทศราชของ

ไทยมาก่อนแล้วแข็งเมืองไป  ให้กลับมาสวามิภักดิ์ต่อไทยดังเดิม  เขมรไม่ยอม  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้ส่งกองทัพไปตีเขมรเมื่อ พ.ศ. 2312  แต่ยังไม่สำเร็จอีก  2  ปีต่อมาจึงเสด็จยกทัพไปตีเขมรอีกครั้ง  และตีได้สำเร็จ

ครั้นถึง  พ.ศ. 2323   เกิดกบฏในเขมร  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  โปรดเกล้าฯ  ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปปราบ  พอดีเกิดจลาจลวุ่นวายทางกรุง

ธนบุรี  สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์คึกจึงต้องยกทัพกลับ

  1. 3.               ความสัมพันธ์กับลาว     กรุงธนบุรีทำศึกกับลาว  2  ครั้ง   ครั้งแรกไทยตีนครจำปาศักดิ์  เมื่อ พ.ศ. 2319  ครั้งที่  2  ไทยตีเมืองเวียงจันทน์และได้อัญเชิญพระแก้ว

มรกตมายังกรุงธนบุรี

  1. 4.               ความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ     ทางตะวันออกมีการค้าขายกับจีนและญี่ปุ่น  โดยเฉพาะจีนได้คบค้าอย่างใกล้ชิดมาแต่ต้นรัชกาล  ส่วนประเทศทางตะวันตกมีบาง

ประเทศเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้  ได้แก่  ฮอลันดา  อังกฤษ  และโปรตตุเกส

เหตุการณ์ตอนปลายสมัยธนบุรี

                              ในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  พระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ  ได้บันทึกไว้ว่า  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระสติฟั่นเฟื่อนไป  เข้าพระทัยว่าทรงบรรลุโสดาบัน  และจะให้พระสงฆ์กราบไหว้พระองค์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์  บ้านเมืองจึงเกิดความระส่ำระสาย  นอกจากนี้ราษฎรทั่วไปยังได้รับความเดือดร้อนจากข้าราชการที่ทุจริตกดขี่เหงหาประโยชน์ส่วนตัว  เป็นเหตุให้ราษฎรละทิ้งบ้านเรือนหนีเข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก

ขณะเดียวกันก็ได้เกิดกบฏขึ้นที่อยุธยา  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีรับสั่งให้ระยาสรรค์ขึ้นไปสอบสวน  แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้ากับพวกกบฏ  และยกพวกมาปล้นพระราชวังที่กรุงธนบุรี  ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2324   บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชออกผนวช  และคุมพระองค์ไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม  แล้วพระยาสรรค์ก้ตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน

เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ทราบข่าวการก่อจลาจลในกรุงธนบุรี  ก็ยกทัพกลับจากการตีเขมร  แต่ยังคงกองทัพบางส่วนตั้งมั่นคุมเชิงอยู่  และไม่ให้แจ้งข่าววแก่กรมขุนอินทรพิทักษ์  พระราชโอรสของพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งคุมกองทัพอยู่ด้วย  สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเดินทัพมาทางเมืองปราจีนบุรี  ซึ่งบรรดาขุนนางผู้ใหญ่มาคอยต้อนรับอยู่แล้ว  เสด็จลงเรือข้ามแม่น้ำไปยังพระราชวังกรุงธนบุรีขึ้นประทับบนศาลาลูกขุนมหาดไทย  เพื่อพิจารณาวินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมือง  ไม่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม  ขุนนางและประชาราษฎร์เดือดร้อนไปทั่ว  จึงรับสั่งให้เอาตัวไปประหารชีวิตสำเร็จโทษา  บรรดาขุนนางข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย  พ่อค้าและอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงจึงพร้อมกันทูลอัญเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์  ในวันที่  6  เมษายน พ.ศ. 2325  นั้นเอง

อ้างอิง : http://www.kwc.ac.th/0e-book%20ThaiKingdom/10TonBuRy5.htm