จดทะเบียนบริษัท ต่างชาติ 100

จากบทความก่อนหน้าเราได้สรุปไปแล้วว่าต่างชาติที่เข้ามาทำงานที่ไทย จะต้องเสียภาษีอย่างไร  (สามารถอ่านต่อได้ ที่นี่) ในวันนี้เราจะมาพูดถึงกรณีที่ชาวต่างชาติที่ที่ต้องการทำธุรกิจและถือหุ้นในประเทศไทย จะต้องทำอย่างไร และมีข้อกำหนดอะไรบ้าง  วันนี้เรามีข้อมูลและข้อแนะนำให้กับผู้ศึกษาและชาวต่างชาติที่สนใจจะทำธุรกิจและจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย

การจดบริษัทในประเทศไทย โดยมีชาวต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้น จะยึดสัดส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นหลัก โดยจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

กรณีที่ 1 ชาวต่างชาติที่ต้องการเปิดบริษัทในประเทศไทยไทย อาจเป็นการเปิดคนเดียวหรือหลายคนรวมกัน จะสามารถถือหุ้นรวมกันได้ไม่เกิน 49 เปอร์เซ็นต์ของทุนจดทะเบียน โดยจะต้องมีบุคคลสัญชาติไทย 1 คนหรือหลายคนรวมกันถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของทุนจดทะเบียนบริษัท การจดทะเบียนแบบนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็นบริษัทสัญชาติไทย ซึ่งสามารถประกอบกิจการทางธุรกิจได้ทุกอย่างตามกฎหมายกำหนด

กรณีที่ 2 การจดทะเบียนบริษัท สัญชาติอื่น ซึ่งมีชาวต่างชาติ ถือหุ้น 50-100% กรณีนี้จะต้องขอเป็นใบประกอบธุรกิจต่างด้าวแทน จึงจะสามารถดำเนินการทางธุรกิจในประเทศไทยต่อไปได้ โดยสามารถเรียกบริษัทที่ดำเนินการจดทะเบียนแบบนี้อีกอย่างได้ว่าเป็น บริษัทต่างด้าว

โดยมีข้อจำกัดดังนี้

  • ห้ามถือครองที่ดิน
  • ห้ามประกอบธุรกิจบางประเภท ได้แก่ประเภทธุรกิจที่กำหนดอยู่ในบัญชีหนึ่ง ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว) เช่น กิจการวิทยุหรือหนังสือพิมพ์ การทำนา ทำสวน จะสงวนไว้สำหรับคนไทย เป็นต้น หรือต้องได้รับอนุญาตก่อนสำหรับการประกอบธุรกิจที่อยู่ในบัญชีสอง หรือบัญชีสามท้าย พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ถึงแม้ว่าชาวต่างชาติจะสามารถเปิดบริษัทที่ไทยได้ และสามารถถือหุ้นได้ 100 % แต่ก็ยังมีกิจการบางประเภทที่ทางรัฐบาลไทยได้จำกัด ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการโดยเด็ดขาด ซึ่งประเภทธุรกิจที่ห้ามมีอยู่ 3 บัญชี ดังต่อไปนี้

  • บัญชีที่ 1 ห้ามไม่ให้ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทยด้วยเหตุผลพิเศษ เช่น การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ การทำนา ทำไร่ ทำสวน การเลี้ยงสัตว์ การทำป่าไม้ การแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ การทำการประมง การสกัดสมุนไพรไทย การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศและการค้าที่ดิน
  • บัญชีที่ 2 ธุรกิจที่ห้ามชาวต่างชาติลงทุนเกี่ยวกับความมั่นคงหรือความปลอดภัยของประเทศ ห้ามทำธุรกิจ อันมีผลกระทบต่องานศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศชาติ
  • บัญชีที่ 3 ห้ามชาวต่างชาติดำเนินการลงทุนเกี่ยวกับอาชีพที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมหรือความสามารถที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว

ข้อควรรู้ :  ชาวต่างชาติที่ต้องการมาเปิดบริษัทในประเทศไทยและถือหุ้นเกิน 50% ขึ้นไปนั้น ถ้าเป็นโรงงานผลิต ไม่ว่าจะผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ หรือส่งออกต่างประเทศ ต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทได้ 100% แต่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท โดยในกรณีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท

เมื่อทราบประเภท รายละเอียด และข้อกำหนดแล้ว ต่อมาเราจะมาดูกันว่าการเปิดบริษัทต่างด้าวมีขั้นตอนอย่างไร

บริษัทต่างด้าวมีขั้นตอนการดำเนินการจัดตั้งที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และค่าธรรมเนียมสูงกว่าการจัดตั้งบริษัททั่วไป เราจึงได้สรุปขั้นตอนคร่าว ๆ ในการยื่นขอจดบริษัทต่างด้าว ดังนี้ค่ะ

การขอประกอบธุรกิจ

  • หากเป็นธุรกิจในบัญชีสอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติ โดยจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน และสามารถขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปอีกได้ไม่เกิน 60 วัน
  • เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบและดำเนินการออกใบอนุญาตภายใน 15 วัน
  • หากเป็นธุรกิจในบัญชีสาม กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะทำสรุปเสนอ คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เพื่อขอความเห็นชอบ โดยการพิจารณาอนุญาตต้องแล้วเสร็จภายใน 60 วัน
  • เมื่อคณะกรรมการเห็นชอบแล้วกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบและดำเนินการออกใบอนุญาตภายใน 15 วัน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะประกอบธุรกิจได้

กรณีไม่อนุญาตจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 15 วัน โดยระบุเหตุผลที่ไม่อนุญาตและมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายใน 30 วัน ซึ่งสามารถทำเป็นหนังสือยื่นได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า การพิจารณาคำขออุทธรณ์ใช้เวลา 30 วัน โดยคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

ระยะเวลาดำเนินการ

รวมระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 3-6 เดือน หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับความพร้อมของบริษัทและการลำดับคิวการพิจารณาเพื่ออนุมัติและออกใบอนุญาตของคณะกรรมการ

จะเห็นได้ว่าจากข้อมูล ชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุนเปิดกิจการในประเทศไทย สามารถเปิดได้โดยการร่วมลงทุนกับคนไทย ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 49 ซึ่งจะสามารถยื่นจดทะเบียนเป็นบริษัทสัญชาติไทยได้ตามกฎหมาย หากแต่ชาวต่างชาติที่ต้องการถือสัดส่วนกิจการในอัตราร้อยละ 50-100 ก็สามารถทำได้ เช่นกัน แต่จะต้องยื่นขอบริษัทต่างด้าว ซึ่งมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและยุ่งยากและมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะยื่นขอเปิดกิจการในรูปแบบไหน ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกันไป จึงควรทำการศึกษาอย่างรอบคอบก่อนการตัดสิน หรือปรึกษา CHIC  เพิ่มเติมได้ค่ะ

ปัจจุบันเราให้บริการรับจดทะเบียนบริษัทต่างชาติจำนวนมาก เนื่องมีชาวต่างชาติสนใจมาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าว อาจมาจากปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นในการลงทุนของชาว ต่างชาติประกอบด้วย นโยบายสำคัญของรัฐบาลในการส่งเสริม การลงทุน อาทิ นโยบาย Thailand 4.0 ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยนวัตกรรม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง และแข่งขันได้รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีการลงทุนในบริการฐานความรู้ขั้นสูงใหม่ที่เอื้อต่อการขยายตัวของภาคการผลิตและบริการ และส่วนหนึ่งอาจมาจากปัจจัยที่นักลงทุนต่างชาติประสงค์จะเข้ามาประกอบธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีส่วนช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุนที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น

ช่องทางที่ชาวต่างชาติสามารถยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจในไทย

1. ยื่นขอ Foreign Business Licenses (FBL) คือ การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ
2. ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สามารถยื่นขอหนังสือรับรองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติได้
3. กฎหมายมาตรา 11 ข้อตกลงที่ไทยได้เป็นภาคี หรือ พันธกรณี หรือ นักธุรกิจต่างชาติที่อยู่ภายใต้สนธิสัญญา สามารถยื่นขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจชาวต่างชาติได้
4. เปิดสำนักงานผู้แทน หรือ สำนักงานสาขา

ตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ พุทธศักราช 2542 แบ่งประเภทธุรกิจออกเป็น 3 บัญชี มีดังนี้

บัญชี 1 ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้ต่างชาติประกอบกิจการ

จดทะเบียนบริษัท ต่างชาติ 100

1. ธุรกิจหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์
2. ทำนา ทำไร่ ทำสวน
3. ธุรกิจเลี้ยงสัตว์
4. ธุรกิจที่ทำเกี่ยวกับป่าไม้และแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
5. จับสัตว์ทำประมงในน่านน้ำไทยและในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย
6. ธุรกิจสกัดสมุนไพรไทย
7. ธุรกิจการค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือค้าขายสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
8. ทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร
9. ค้าขายที่ดิน

บัญชี 2 ธุรกิจที่มีผลกระทบกับประเทศไทย

จดทะเบียนบริษัท ต่างชาติ 100

คนต่างชาติที่ต้องการใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทต่างชาติตามบัญชีสอง ต้องได้รับอนุญาตจากคณะรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะนำเสนอเพื่ออนุมัติ ใช้เวลาพิจารณาภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสาร และสามารถขยายระยะเวลาพิจารณาออกไปอีกตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 60 วัน

1. ผลิต จัดจำหน่าย และซ่อมบำรุง อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ส่วนประกอบของอาวุธปืน ส่วนประกอบอุปกรณ์สงคราม วัตถุที่ทำระเบิด อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ และเรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะทางทหารทุกประเภท
2. ธุรกิจขนส่งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบินในประเทศ
3. ธุรกิจค้าขายของเก่า หรือศิลปวัตถุที่เป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย
4. ธุรกิจผลิตเครื่องไม้แกะสลัก
5. ธุรกิจเลี้ยงไหม ผลิตเส้นไหมไทย ทอผ้าไหมไทย หรือพิมพ์ลวดลายผ้าไหมไทย
6. ผลิตเครื่องดนตรีไทย
7. ผลิตเครื่องทอง หรือเครื่องเงิน
8. ผลิตถ้วยชาม หรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย
9. ธุรกิจผลิตน้ำตาลจากอ้อย
10. ทำนาเกลือ รวมถึงการทำเกลือสินเธาว์ด้วย
11. ทำเกลือหิน
12. ทำเหมือง รวมถึงระเบิดหรือย่อยหิน
13. แปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย

บัญชี 3 ธุรกิจที่คนไทยไม่พร้อมที่จะแข่งขันกับชาวต่างชาติ

จดทะเบียนบริษัท ต่างชาติ 100

ชาวต่างชาติที่จะประกอบธุรกิจตามบัญชี 3 จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ซึ่งใช้เวลาในการพิจารณาภายในกำหนด 60 วันนับแต่วันที่ยื่นเอกสารขออนุญาตประกอบธุรกิจ และอธิบดีจะออกใบอนุญาตภายใน 15 วันนับแต่วันที่อนุญาตชาวต่างชาติมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจบัญชี 3 ต่อรัฐมนตรีได้ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง และรัฐมนตรีจะวินิจฉัยเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ยื่นอุทธรณ์

1. ทำธรุกิจสีข้าว และผลิตแป้งจากข้าว และพืชไร่
2. ธุรกิจทำประมง (การเลี้ยงสัตว์น้ำ)
3. ธุรกิจทำป่าไม้จากป่าปลูก
4. ผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ หรือฮาร์ดบอร์ด
5. ธุรกิจผลิตปูนขาว
6. บริการทางบัญชี
7. บริการทางกฎหมาย
8. บริการทางสถาปัตยกรรม
9. บริการทางวิศวกรรม
10. ธุรกิจก่อสร้าง ยกเว้น การก่อสร้างซึ่งเป็นการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนด้านการสาธารณูปโภคหรือคมนาคมที่ต้องใช้ เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยีหรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของต่างชาติตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป หรือ ธุรกิจก่อสร้างประเภทอื่นที่กำหนดไว้ในกฎของกระทรวง
11. กิจการนายหน้า ตัวแทน ยกเว้นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริการการซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้า ซึ่งสินค้า ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือตราสารที่เกี่ยวข้องกับการเงินหรือหลักทรัพย์ การเป็นนายหน้า ตัวแทนซื้อขาย จัดหาสินค้า หรือบริการที่จำเป็นในการผลิต หรือการบริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน การเป็นนายหน้า ตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อ จัดจำหน่าย จัดหาตลาดในประเทศ หรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยต่างชาติต้องมีทุนขั้นต่ำตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป หรือ การเป็นตัวแทนนายหน้าประเภทอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
12. การขายทอดตลาด ยกเว้น การประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ประมูลซื้อขายของเก่า วัตถุโบราณ หรือศิลปวัตถุที่เป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรม หรือโบราณวัตถุของไทย หรือสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย หรือ การขายทอดตลาดประเภทอื่นที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
13. การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้
14. การค้าปลีกทุกประเภทสินค้าที่มีทุนขั้นต่ำน้อยกว่า 100 ล้านบาท หรือทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่า 20 ล้านบาท
15. การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
16. กิจการโฆษณา
17. กิจการโรงแรม ยกเว้นบริการจัดการโรงแรม
18. ธุรกิจนำเที่ยว
19. ขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
20. ทำธุรกิจเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช
21. ธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

จากที่กล่าวมาการรับจดทะเบียนบริษัทต่างชาติ (บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติเกิน 49% ขึ้นไป) จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าการจดทะเบียนบริษัทที่คนต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49% ซึ่งต้องมีการยื่นขออนุญาตกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยขั้นตอนดังกล่าวต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์และ ความชำนาญในการดำเนินการ  ติดต่อรับคำปรึกษาหากท่านต้องการจดทะเบียนบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติเกิน 49%

***แต่ละประเภทธุรกิจที่ต้องการใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทต่างชาติกับเรา ทางกรีนโปร เคเอสพีจะคิดราคาค่าจดทะเบียนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความยากง่าย สามารถสอบถามราคาค่าบริการรับจดทะเบียนบริษัทต่างชาติ ได้ที่เบอร์ 02 210 0281 หรือ 094 864 9799