เหตุผล ที่ มา สมัคร งาน

อะไรทำให้เราเหมาะสมกับตำแหน่งงานนี้ หรือจะพูดง่ายๆ เป็นนัยว่า “อะไรทำให้เราต้องเลือกคุณมาทำงานนี้หล่ะ” มีคนมากมายที่มาสมัคร อะไรจะทำให้เขาเลือกเรา สิ่งแรกที่เราควรต้องคำนึงและรู้คือ งานนี้ต้องใช้ทักษะอะไรบ้าง ตอนที่มีการประกาศงาน นายจ้างจะมีการระบุคุณสมบัติจากผู้สมัครที่ต้องการอยู่แล้ว ให้เราหยิบจับเอาประสบการณ์การทำงาน หรือ ทักษะท่ีเราเคยเรียนมา จับเข้ากับคุณสมบัติเหล่านั้น จะช่วยทำให้คุณตอบคำถามได้ตรงจุดค่ะ 

ShopBack Tips : Resume คือ กระดาษที่จะบอกรายละเอียดของเราให้กับกรรมการ ดังนั้นวิธีการทำเรซูเม่ คือ ต้องทำให้ชัดเจนและอ่านง่าย เพราะจะทำให้กรรมการไม่เสียเวลาและเห็นคุณสมบัติที่สำคัญของเราได้ครบถ้วนนั่นเองค่ะ สั่งซื้อกระดาษสำหรับทำเรซูเม่ได้ที่ JD Central อย่าลืมสั่งซื้อผ่าน ShopBack เพื่อรับเงินคืนด้วยนะคะช้อป JD Central ผ่าน ShopBack คลิก!

  • อะไรคือจุดอ่อนของคุณ

คำถามสัมภาษณ์ที่เกิดมาเพื่อฆ่าใครหลายคน เพราะโดยปกติแล้ว เราจะไม่พูดถึงข้อเสียของตัวเองให้คนอื่นรู้อยู่แล้วใช่ไหมคะ ยิ่งเป็นคนที่เรากำลังจะมาสัมภาษณ์เพื่อที่จะได้งาน การบอกข้อเสียของตัวเองอาจทำให้เราพลาดงานนี้ไปเลยก็ได้ แต่ถ้ากรรมการถามเราก็จำเป็นที่จะต้องตอบ เทคนิคในการตอบคำถามข้อนี้คือ เลือกตอบจุดอ่อนที่ไม่ส่งผลกระทบต่องาน หรือ ส่งผลกระทบต่องานนี้น้อยที่สุด หรือ จะใช้เทคนิค “จุดอ่อนของเราที่เป็นจุดแข็งในการทำงาน” ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น หากเราต้องทำงานที่ต้องตรวจสอบเอกสารสำคัญ  เราอาจจะตอบว่า เรานั้นเป็นคนที่ย้ำคิดย้ำทำ ชอบเช็กให้มั่นใจว่าไม่มีตรงไหนผิดพลาดใช่ไหม มันอาจเป็นข้อดี แต่บางครั้งก็ต้องใช้เวลาพอสมควร เป็นต้น เห็นไหมคะ จากตอนแรกเหมือนจะเป็นจุดอ่อน แต่ถ้ากับตำแหน่งงานที่ต้องตรวจสอบความถูกต้อง จุดอ่อนนี้ก็ถือว่าเป็นจุดแข็งในทันที

เหตุผล ที่ มา สมัคร งาน

  • ภาพของคุณใน 5 ปีข้างหน้า

เหตุผล ที่ มา สมัคร งาน

หลายคนเจอคำถามสัมภาษณ์นี้เข้าไป อาจจะงงๆ ว่าคำถามนี้เกี่ยวกับการทำงานอย่างไร คำถามนี้เป็นคำถามเชิงจิตวิทยา เพื่อฟังทัศนคติของคุณที่มีต่องานค่ะ นอกจากนี้ยังสามารถบอกได้ว่า ในอีก 5 ปี หรือ ในการทำงานระยะยาวคุณจะยังอยากทำงานที่บริษัทนี้อีกหรือไม่ เทคนิคในการตอบ คือ คุณจะต้องรู้ว่าสายงานที่คุณทำสามารถเติบโตไปในทางไหนได้บ้าง และการจะได้มาซึ่งตำแหน่งหรือทักษะต่างๆ จำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง ใส่รายละเอียด เช่น คุณต้องการเข้าทำงานตำแหน่งนี้ เก็บประสบการณ์ 1 ปี จากนั้นคุณจะเรียนเสริมไปด้วย เพื่อที่จะเตรียมตัวทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น อย่าลืมใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อยที่เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว เช่น วางแผนแต่งงาน หรือ เดินทางท่องเที่ยวตามความฝัน เพื่อให้คำตอบของคุณดูจริงใจ ไม่โป๊ะค่ะ 

ShopBack Tips : อีกวิธีที่ทำให้เราดูดึงดูดน่าสนใจนั่นคือ บุคลิกภาพค่ะ หากคุณต้องทำงานที่ต้องเจอกับผู้คน งานบริการ เรื่องบุคลิกเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากในการสัมภาษณ์ ดังนั้นใครที่รู้ว่าบุคลิกยังไม่ผ่านลองหาคอร์สพัฒนาบุคลิกภาพลงเรียนกันได้ค่ะ ก่อนจะไปสัมภาษณ์อย่าลืมเตรียมเสื้อผ้าให้เป๊ะปังเพื่อเสริมลุคได้ที่ Shopee อย่าลืมช้อปผ่าน ShopBack เพื่อรับเงินคืนด้วยนะคะช้อป Shopee ผ่าน ShopBack คลิก!
  • คุณมีวิธีการจัดการความเครียดอย่างไร

สาเหตุที่ต้องมีคำถามสัมภาษณ์นี้ เนื่องจากบางตำแหน่งต้องเผชิญกับความเครียดสูงและทำให้หลายคนไม่สามารถทนทำงานอยู่ได้ หรือ มีปัญหาสุขภาพ ซึ่งนอกจากจะไม่ดีกับตัวเราแล้ว ก็ยังส่งผลเสียต่อบริษัทด้วยเช่นกัน เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือ เลวร้ายคือ พนักงานล้มป่วย หรือ ลาออก ดังนั้น เขาจำเป็นต้องทดสอบว่า หากคุณต้องเผชิญกับความเครียดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณจะมีวิธีจัดการกับความเครียดที่เหมาะสมได้หรือไม่ เทคนิคในการตอบคือ ตอบในเชิงบวก เช่น หลังเลิกงานจะไปออกกำลังกาย หรือ นั่งฟังเพลงคลาสสิคเพื่อคลายเครียด อย่าตอบอะไรที่จะเป็นลบหรือทำให้ภาพลักษณ์เราดูไม่ดีเด็ดขาดนะคะ เช่น เวลาโมโห ก็จะออกไปต่อยผนังเพื่อให้หายโกรธ หรือ เสพสิ่งเสพติดของมึนเมาเพื่อให้ลืมค่ะ โน!!!! แบบนี้ไม่ผ่าน ห้ามเด็ดขาดค่ะ 

  • ทำไมคุณจึงลาออกจากงานเก่า

เหตุผล ที่ มา สมัคร งาน

คำถามสัมภาษณ์อาจไม่มีปัญหาสำหรับใครบางคน หรือ ดูเหมือนจะไม่ได้ยาก แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่เช่นกันค่ะ บางครั้งอย่าตอบแบบตรงๆ เพราะการตอบเหตุผลแบบตรงๆ เช่น หนูไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน หรือ ต้องการเงินเดือนที่มากกว่าเลยลาออกจากที่เก่า อาจทำให้คุณพลาดงานแบบไม่รู้ตัว คุณควรตอบแบบไม่เชิงว่าโกหก แต่มีชั้นเชิงและดูบวกมากขึ้น เช่น อยากเติบโตในสายงานนี้ค่ะ เนื่องจากที่ทำงานเก่าในสายงานเรามีความจำกัดในการทำงานบางส่วน ทำให้เราไม่อาจโตได้ไปมากกว่านี้ เลยตัดสินใจมายังท่ีนี่ซึ่งเปิดโอกาสให้เราสามารถเรียนรู้และเติบโตได้มากกว่าเดิม เป็นต้น ทำนี้มงก็ลงแบบสวยๆ แล้ว

  • ทำไมคุณถึงอยากทำงานที่นี่ 

คำถามสัมภาษณ์นี้เป็นการทดสอบว่าคุณมีความรู้เกี่ยวกับบริษัทนี้มากแค่ไหน และคุณสามารถเข้ากับธรรมเนียมหรือวิสัยทัศน์ขององค์กรได้หรือไม่ สิ่งนี้ค่อนข้างตอบยากหากคุณไม่ได้มีเพื่อนหรือคนวงในบริษัท แต่เทคนิคก็ยังมีอยู่ค่ะ คุณลองดูวิสัยทัศน์และผลงานของบริษัทซึ่งโดยปกติจะมีเขียนอยู่แล้วในเว็บไซต์ และลองนำมาประยุกต์กับความสนใจของคุณ หรือ ลองไปที่บริษัทก่อนการสัมภาษณ์เพื่อแอบส่องบรรยากาศและนำไปเป็นแนวทางในการตอบก็ได้ อย่างเช่น ฉันชอบบรรยากาศในการทำงานของที่นี่ค่ะ ดูทุกคนเป็นกันเอง น่าจะเป็นพื้นที่ที่จะทำให้ฉันสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ เป็นต้น 

เหตุผล ที่ มา สมัคร งาน

  • คุณคาดหวังเงินเดือนเท่าไร

คำถามสัมภาษณ์สุดท้าย เป็นอะไรที่หลายคนลำบากใจที่จะตอบ เพราะกลัวว่าหากเรียกมากเกินไปเขาจะไม่รับ แต่หากเรียกน้อยเกินไปก็ไม่พอที่จะเลี้ยงชีพอีก สำหรับข้อนี้ไม่มีผิดมีถูก แต่เรามีแนวทางในการเรียกเงินเดือนมาฝากค่ะ สิ่งที่ทุกคนควรรู้คือ ฐานเงินเดือนของอาชีพที่เราทำ (จะอ้างอิงจากเงินเดือนเก่าของเราก็ได้) ประสบการณ์การทำงานของเรา ทักษะพิเศษต่างๆ ของเรา และศักยภาพที่เราจะสามารถทำประโยชน์ให้กับองค์กรได้ ShopBack Blog ขอกระซิบไว้เลยนะคะว่า อย่าเรียกต่ำเกินไป เพราะเรากลัวไม่ได้งาน ให้คำนึงตามความจริงและความต้องการของเรา หากองค์กรเขาต้องการเราจริงๆ เขาจะเสนอเงินเดือนที่เขาสามารถให้เราได้ และให้เราลองพิจารณาดูอีกที เราต้องมั่นใจในศักยภาพของตัวเองนะ! 

 

 

ข้อควรรู้ในการไปสัมภาษณ์งาน

  • แต่งกายให้สุภาพ ตั้งแต่หัวจรดเท้า และดูแลร่างกายให้สะอาดก่อนพูดคุย

สื่งแรกที่คนสัมภาษณ์จะเห็นเราคือการแต่งกายค่ะ เรียกได้ว่าเป็นปราการด่านแรกที่จะสามารถสร้างความประทับใจได้ ดังนั้นอย่าลืมแต่งกายให้สุภาพและเตรียมร่างกายให้สะอาดสะอ้านด้วยนะคะ 

  • ตรงต่อเวลา

นิสัยดีหรือเปล่าไม่รู้ แต่ถ้าเป็นคนไม่ตรงต่อเวลาก็จบข่าวค่ะ ไม่มีใครอยากร่วมงานกับคนแบบนี้ หรือถ้ารู้ตัวว่าจะมาสาย ติดธุระ มีอุบัติเหตุ หรือไม่มาสัมภาษณ์งานแล้ว ก็ควรแจ้งล่วงหน้าเช่นกัน

  • พูดจาสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส

การพูดจาสุภาพ การเป็นมิตร เป็นการสร้างความประทับใจที่ง่ายที่สุด และเพิ่มคะแนนการรับเข้าทำงานได้ดีที่สุดเช่นกัน

  • ถามคำถามทีละข้อ 

อย่าถามคำถามหลายๆ ข้อในเวลาเดียว และแต่ละคำถามควรมีความเฉพาะเจาะจงหน่อย เพราะนอกจากจะทำให้ผู้สัมภาษณ์เรางงแล้ว จะทำให้เราดูเป็นคนไม่มีการจัดระบบความคิดด้วย

เหตุผล ที่ มา สมัคร งาน

  • ไม่ถามคำถามส่วนตัวเกินไป

การพูดคุยเพื่อสร้างความคุ้นเคยเป็นเรื่องที่ดูเป็นมิตรดี แต่ต้องดูจังหวะด้วย เช่น ถ้าเห็นตราโรงเรียน มหาวิทยาลัยแถวห้องทำงาน ก็อาจจะถามว่า มีคนจบจากสถาบันนี้ด้วยหรือ

แต่ต้องแน่ใจว่าคุณมีบทสนทนาต่อจากเรื่องนี้ด้วยนะ และเลี่ยงการถามเรื่องครอบครัว รสนิยม เชื้อชาติ เพราะไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการพูดคุยอย่างเป็นทางการกับคนที่เพิ่งเจอกันครั้งแรก

ShopBack Tips : ถ้าใครที่รู้ว่าตัวเองเผลอพูดเรื่องที่ไม่ดีไป ลองใช้เทคนิควิธีคุยปรับความเข้าใจก็ได้ค่ะ อาจจะช่วยให้ความเข้าใจผิดหรือสิ่งที่เราเผลอพูดพลาดพลั้งไปคลี่คลายหรือดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าหลุดพูดเรื่องที่อ่อนไหวจะดีที่สุดนะคะ หากคุณมีโอกาสได้เข้าไปทำงานในที่สุด ก็อย่าลืมหาซื้อของฝากติดไม้ติดมือไปขอโทษได้ที่ Lazada อย่าลืมช้อปผ่าน ShopBack เพื่อรับเงินคืนด้วยนะคะช้อป Lazada ผ่าน ShopBack คลิก!
  • อย่าถามคำถามที่คำตอบจะเป็น ใช่ หรือ ไม่ / คำถามที่หาคำตอบได้เอง

คำถามทำนองนี้ มักเป็นข้อมูลที่หาได้จากเว็บไซต์ขององค์กร หรือสามารถสร้างเป็นคำถามที่มีคำตอบยาวๆ ได้ เช่น ถ้าอยากรู้ว่า ออกจากงานก่อนเวลาเลิกงานได้ไหม ควรถามว่า ปกติแล้วที่นี่มีเวลาเข้าออกงานอย่างไรบ้าง หรือสอบถามเกี่ยวกับการเข้าออกงานเวลากรณีพิเศษกับใครได้

 

รู้เคล็ดลับชัดๆ เหมือนเปิดคีย์เข้าห้องสอบแบบนี้แล้ว เชื่อว่า งานที่ต้องการ อยากได้อยากทำ ไม่พ้นมือของเพื่อนๆ ที่กำลังสมัครงาน หางานอยู่แน่นอน ขอมอบพลังส่งให้ทุกคนทำเต็มที่และสมหวังได้งานที่อยากได้ทุกคนเลยนะคะ 

ทำไมถึงมาสมัครงานในตำแหน่งนี้

หากผู้สัมภาษณ์ถามว่า “ทำไมคุณถึงเหมาะสมกับตำแหน่งนี้” ทางเลือกที่ดีที่สุดคือ ให้เล่าถึงทักษะและประสบการณ์ที่เคยทำงานมา พยามยามระบุว่าบทบาทหลัก ๆ ที่สำคัญที่เคยทำมานั้นเกี่ยวข้องกับอะไร เช่น เคยทำงานฝ่ายการตลาดให้กับบริษัทเครื่องสำอางค์ และยังมีความสามารถในการวิเคราะห์ตลาด รวมไปถึงมีความสามารถในการสื่อสารเพื่อให้เข้าถึง ...

จุดแข็งของเรามีอะไรบ้าง

ตัวอย่างจุดแข็ง.
มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative).
ตรงต่อเวลา (On Time).
ตั้งใจทำงาน (Dedicated).
ซื่อสัตย์ (Honest).
ทำงานร่วมทีมได้ดี (Team Work).

จุดแข็งของคุณคืออะไร สัมภาษณ์งาน

ตัวอย่างจุดแข็งที่ควรตอบ ลำดับแรกในการพูดถึงจุดแข็งของเราคือการเลือกทักษะของเราให้ตรงกับลักษณะของงาน พร้อมแสดงออกว่าสามารถนำจุดแข็งตรงไหน นำช่วยมาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้เรายังสามารถเพิ่มทักษะอื่นๆ เข้าไปได้ด้วย เช่น – เป็นคนตรงต่อเวลา – มีความตั้งใจและรับผิดชอบต่อหน้าที่

ทำไมถึงอยากลาออกจากงาน

ไม่ค่อยมีโอกาสที่จะก้าวหน้าในหน้าที่การงานเท่าไหร่ รู้สึกว่าตนไม่มีคุณค่าและไม่ได้รับการยอมรับ ความเครียดจากปริมาณงานที่มากเกินไปจนทำให้ไม่มีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว สูญเสียความเชื่อใจและความเชื่อมั่นในผู้บริหารระดับสูง