รัตนโกสินทร์ตอนต้น กลาง ปลาย

ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - 4 มีระเบียบแบบแผนตามแบบสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1.1 กลาโหม มีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร มีหน้าที่บังคับบัญชาการฝ่ายทหารและพลเรือนในเขตหัวเมืองภาคใต้ชายทะเลตะวันตก และตะวันออก สมุหกลาโหมมียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ได้ตราคชสีห์เป็นตราเป็นประจำตำแหน่ง

1.2 มหาดไทย สมุหานายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเมืองและ จตุสดมภ์ มีหน้าที่บังคับบัญชางานทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนแถบหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งหมดไม่ใช้ราชทินนามว่าจักรีเหมือนสมัยอยุธยา และ ไม่กำหนดแน่นอน บางครั้งใช้รัตนาพิพิธรัตนคชเมศรา ภูธราพัยบดินทรเดชานุชิต เป็นต้น ใช้ตราราชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง

1.3 กรมเมือง มีหน้าที่ดังนี้

- บังคับบัญชาข้าราชการและดูแลความสงบเรียบร้อยภายในกรุงเทพมหานคร
- บังคับบัญชาศาล พิจารณาความอุกฉกรรจ์มหันโทษ เสนาบดีมีตำแหน่งเป็นเจ้าพระยายมราช มีตราพระยมทรงสิงห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง

1.4 กรมวัง มีหน้าที่ดังนี้

- รักษาราชมนเทียรและพระราชวังชั้นนอก ชั้นใน
- เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับพระราชพิธีมีอำนาจตั้งศาลชำระความด้วยเสนาบดี คือ เจ้าพระธรรมา ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง

1.5 กรมคลัง มีหน้าที่ดังนี้

- ดูแลการเก็บและจ่ายเงิน ผู้ที่ดำรงตำแหน่งคือ พระยาราชภักดี
- ดูแลการแต่งสำเภาไปค้าขายต่างประเทศ และเจริญสัมพันธไมตรีผู้ดำรงตำแหน่งคือ พระยาศรีพิพัฒน์
- ตรวจบัญชี และดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออกผู้รักษาหน้าที่ คือพระยาพระคลัง ใช้ตราบัวแก้วเป็นตราประจำตำแหน่ง

1.6 กรมนา มีหน้าที่คังนี้

- ดูแลรักษานาหลวง
- เก็บภาษีข้าว
- เป็นพนักงานซื้อข้าวขึ้นฉางหลวง
- พิจารณาคดีเกี่ยวกับเรื่องนา สัตว์พาหนะ
- เสนาบดีตำแหน่งเป็น พระยาพลเทพ ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง

2.1 หัวเมืองภาคเหนือและอีสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก ซึ่งต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการทหาร และพลเรือน ตลอดจนเศรษฐกิจ และรักษาความยุติธรรม

2.2 หัวเมืองภาคใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม มี 20 เมืองได้แก่ สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ไชยา หลังสวน ชุมพร ประทิว คลองวาฬ กุยบุรี ปราน ตะนาวศรี มะริด กระบุรี ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง พังงา ถลาง กาญจนบุรี ไทรโยค และเพชรบุรี

2.3 หัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก มี 9 เมือง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สาครบุรี ชลบุรี บางละมุง ระยอง จันทบุรี ตราด อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่า

หัวเมืองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น เมืองเอก โท ตรี อัตวา เจ้าเมืองเอก ได้รับแต่งตั้งจากราชธานี นอกนั้นให้เสนาบดีผู้เกี่ยวข้องคำเนินการ หัวเมืองเอกทางเหนือ ได้แก่ พิษณุ โลกทางอีสานมี นครราชสีมา ทางใต้มี นครศรีธรรมราช ถลาง สงขลา

- บ้าน มีผู้ดูแลเรียกว่า ผู้ใหญ่บ้าน
- ตำบล มีผู้ดูแลเรียกว่า กำนัน (มีบรรดาศักดิ์เป็น "พัน")
- แขวง มีผู้ดูแลเรียกว่า หมื่นแขวง
- เมือง มีผู้ดูแเลเรียกว่า ผู้รั้ง (พระยามหานคร)

รากฐานกฎหมายของไทยที่ใช้กันในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์หรือกัมภีร์ธรรมสัตถัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับมาจากมอญอีกต่อหนึ่งนำมาเป็นรากฐานกฎหมายของสุโขทัยและอยุธยา นอกจากนี้ยังมีพระราชศาสตร์ ซึ่งเป็นพระบรมราชโองการและพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์ใช้สำหรับติดสินคดีความต่างๆ

คราวที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 พระราชกำหนดกฎหมายต่างๆสูญหายกระจัดกระจายและถูกทำลายไปมากมาย มีเหลืออยู่เพียงส่วนน้อย เมื่อมาถึงสมัยธนบุรีมีการปรับปรุงบ้านเมืองและปราบปรามศัตรูที่คอยมารุกรานอธิปไตยของชาติตลอดรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทำให้มีเวลาแก้ไขตัวบทกฎหมายน้อยส่วนใหญ่ใช้ของเดิมซึ่งรับมาจากสมัยอยุธยา ครั้นมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมกฎหมายที่หลงเหลืออยู่นำมาชำระให้ถูกต้อง และโปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้ 3 ชุด แต่ละชุดให้ประทับตราไว้ ได้แก่ ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่งสมุหนายก ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่งสมุหกลาโหม และตราบัวแก้วเป็นตราประจำตำแหน่งพระคลัง หรือกรมท่า หรือโกษาธิบดีกฎหมายฉบับนี้จึงมีชื่อว่า "กฎหมายตราสามดวง" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1"

นอกจากจะทรงตรากฎหมายตราสามดวงแล้ว ยังมีอีกฉบับหนึ่งที่มิได้ประทับตราสามควงไว้ เรียกว่า "ฉบับรองทรง" กฎหมายตราสามดวงนี้เป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 

รัตนโกสินทร์ตอนต้น กลาง ปลาย

รัตนโกสินทร์ตอนต้น
           ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงรัชกาลที่ ๑- รัชกาลที่ ๓ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยมีความคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาและธนบุรี ดังนี้
การปกครอง
การดำเนินการด้านการปกครอง
           ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้ในการปกครองประเทศนั้น ทรงเอาแบบอย่างซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหม และ สมุหนายก ตำแหน่งสมุหนายก มีเสนาบดี 4 ตำแหน่ง ที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาโดยตรงที่แตกต่างออกไปคือ ทรงแบ่งการปกครองพระราชอาณาเขตออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนหัวเมือง และการปกครองเมืองประเทศราช
การปกครองส่วนกลาง
           สมุหพระกลาโหม มียศและพระราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งด้านการทหาร และพลเรือน สมุหนายก มียศและพระราชทินนามไม่ทรงกำหนดแน่นอน ที่ใช้อยู่ได้แก่ เจ้าพระยาจักรี บดินทร์เดชานุชิต รัตนาพิพิธ ฯลฯ ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งด้านการทหารและพลเรือน
จตุสดมภ์ มีดังนี้
           1. กรมเวียง หรือ กรมเมือง เสนาบดี คือ เจ้าพระยายมราช มีตราพระยมทรงสิงห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร
           2. กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ
           3. กรมคลัง หรือ กรมท่า ใช้ตราบัวแก้ว เป็นตราประจำตำแหน่งมีเสนาบดีดำรงตำแหน่งตามหน้าที่รับผิดชอบคือ
                      - ฝ่ายการเงิน ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาราชภักดี
                      - ฝ่ายการต่างประเทศ ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาศรีพิพัฒน์
                      - ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาพระคลัง
           4. กรมนา เสนาบดีมีตำแหน่ง พระยาพลเทพ ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษีข้าว และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับที่นา

รัตนโกสินทร์ตอนต้น กลาง ปลาย

     https://sites.google.com/site/kruchuychay/innovation/unit-three-historical-rattanakosin

รัตนโกสินทร์ตอนต้น กลาง ปลาย

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่ในช่วงเวลาใด

ด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระหว่าง พ.ศ. 2325–2394 สมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ระหว่าง พ.ศ. 2394–2475 และสมัยประชาธิปไตย ระหว่างพ.ศ. 2475–ปัจจุบัน

รัตนโกสินทร์ตอนต้นมีรัชกาลใดบ้าง

พระมหากษัตริย์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอน 1..
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1. ... .
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2. ... .
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3. ... .
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4. ... .
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5..

การปกครองส่วนกลางในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะอย่างไร

การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึง รัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยโดยมีมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด การปกครอง คือ มูลเหตุที่ทำให้มีการปรับปรุงการปกครอง

กรุงรัตนโกสินทร์สร้างขึ้นในปี พ.ศ.ใด

วันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ วันสถาปนากรุงเทพมหานคร เพื่อรำลึกถึงวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ราชธานีแห่งที่ ๔ ของสยามประเทศ และในปี พุทธศักราช ๒๕๖๓ นี้ กรุงรัตนโกสินทร์ บรรจบครบรอบเป็นปีที่ ๒๓๘ แล้ว ย้อนไปเมื่อ ๒๓๘ ปีก่อน ในวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุง ...