แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, ศูนย์การเรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, การออกกำลังกาย และอารมณ์

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีเป้าหมายให้ประชาชนมีอายุยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีการวิจัยเป็นการศึกษากึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ของประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ก่อนและหลังเป็นสมาชิก ในศูนย์การเรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 4ทั้งหมด 24 ชุมชนจำนวน 5,926 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สุ่มแบบระบบ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2560- เดือนพฤษภาคม 2561 ให้ผู้สูงอายุตอบแบบสอบถามเครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามและแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย WHOQOLBREF- THAI วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้ t-testที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุพบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนรวมพฤติกรรมสุขภาพก่อนเข้า ร่วมโครงการ 69.69 (11.87) และหลังเข้าร่วมโครงการ 73.12(9.81)ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการออกกำลังกายและ การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพดีขึ้นคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ระดับดีและระดับไม่ดี เมื่อพิจารณารายมิติผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตด้านจิตใจดีที่สุด รองลงมาคือด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพกายและ ด้านสัมพันธภาพทางสังคมตามลำดับ การพัฒนาศักยภาพชุมชนและผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีควรสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วมของกิจกรรม เพิ่มกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุเข้าถึงได้