ชีพจร กับ อัตรา การ เต้น ของ หัวใจ

ชีพจรเต้นเร็วอันตรายต่อชีวิตหรือไม่

ปกติแล้วคนทั่วไปชีพจรจะเต้น 60-100 ครั้งต่อนาที แต่รู้หรือไม่ว่าคนที่มีสุขภาพดีชีพจรจะเต้นต่ำกว่า 90 ครั้งต่อนาที เพราะการที่หัวใจเต้นเป็นปกติดีแสดงถึงความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดต่าง ๆ แล้วถ้าชีพจรเต้นเร็วผิดปกติล่ะ จะมีอันตรายต่อชีวิตหรือไม่

ชีพจรเต้นเร็วบอกอะไร

การที่ชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาทีนั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับหัวใจที่เต้นเร็ว เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะให้ทั่วร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่เตือนว่าร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในทางกลับกัน หากชีพจรเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด หมดสติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตต่ำได้

วัดชีพจรอย่างไร

ก่อนที่จะวัดชีพจรต้องงดทำกิจกรรมเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง ขึ้นบันได ยกของหนัก หรือการทำงานหนักที่หัวใจเต้นเร็วแรงขึ้น ดังนั้น ควรวัดชีพจรตอนที่นั่งพักเฉย ๆ มาสักระยะแล้วอย่างน้อย 5-10 นาที รวมถึงการไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนอย่างชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง หากดื่มมาแล้วควรเว้นระยะก่อนวัดชีพจร 1 ชั่วโมงขึ้นไป

วิธีการวัดชีพจรง่าย ๆ ทำได้โดยการวางนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนข้อมือ กดลงไปเบา ๆ จะรับรู้ได้ถึงสัญญาณชีพที่เต้นตุ้บ ๆ อยู่ ให้จับเวลา 30 วินาทีแล้วนับว่าหัวใจเต้นไปกี่ครั้ง จากนั้นนำตัวเลขที่วัดได้มาคูณสอง (x2) ผลลัพธ์ที่ออกมาคือจำนวนการเต้นหัวใจภายใน 1 นาที และเพื่อความแม่นยำแนะนำให้ทำซ้ำอย่างน้อย 2-3 ครั้งแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย

เคล็ดลับการวัดชีพจรให้ได้ผลดี : ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการวัดชีพจรคือตอนเช้าหลังจากการตื่นนอน แต่หากว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ สามารถตรวจชีพจรอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์โดยวัดชีพจรในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป เช่น หลังตื่นนอนตอนเช้า กลาง เย็น และก่อนนอน จากนั้นนำมาค่าหาเฉลี่ยจะได้ค่าชีพจรที่ถูกต้อง

ชีพจรเต้นเร็วไปจะทำอย่างไรดี

ถ้าชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที วิธีการเบื้องต้นที่สามารถช่วยได้ผลเป็นอย่างดีคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยครั้งละอย่างน้อย 30 นาที และอย่าปล่อยให้ตัวเองอ่อนเพลีย ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

อย่าลืมว่าการวัดชีพจรเป็นเพียงการตรวจด้วยตนเองแบบง่าย ๆ เท่านั้น ปัจจัยที่จะให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดยังมีอีกหลายสาเหตุ ถ้าชีพจรเต้นเร็วทุกครั้งที่ทำการตรวจ ร่วมกับอาการเหนื่อยหอบ เจ็บหรือแน่นหน้าอกเมื่อต้องออกแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด

สุขภาพของคนเรานั้นจะดีหรือไม่ดี นอกจากจะสังเกตได้จากภายนอกแล้ว ก็ยังสังเกตได้จากภายในได้ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือการวัด อัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกได้ว่า สุขภาพของคุณนั้นยังอยู่ในภาวะปกติอยู่หรือไม่

ซึ่งหลายคนอาจจะเกิดความเข้าใจผิดไปบ้างเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสม ดังนั้นวันนี้ Fit Me จึงมาไขคำตอบนั้นให้เข้าใจกันว่าอัตราการเต้นของหัวใจ ต้องเต้นเท่าไรถึงจะปกติ และอัตราการเต้นของหัวใจในแต่ละช่วงวัยที่ปกตินั้นควรเป็นเท่าไหร่บ้าง

ชีพจร กับ อัตรา การ เต้น ของ หัวใจ

วิธีวัดอัตราการเต้นของหัวใจ

ก่อนอื่นเรามาดูวิธีง่ายๆ ในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจกันก่อนค่ะ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ใช้กันโดยทั่วไปก็คือ วัดจากอัตราการเต้นของชีพจรบริเวณข้อมือ ซึ่งเป็นบริเวณที่วัดง่ายที่สุด หรือจับชีพจรบริเวณด้านข้างคอก็ได้ค่ะ ในขณะที่ร่างกายของเราไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ ร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ

ชีพจร กับ อัตรา การ เต้น ของ หัวใจ

โดยให้วางปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางบริเวณเส้นชีพจร จากนั้นให้จับเวลาการเต้นภายใน 30 วินาที แล้วนำจำนวนครั้งที่ได้มาคูณสอง จะได้เป็นอัตราการเต้นของหัวใจต่อนาทีของเราค่ะ

ควรทำแบบนี้ซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อดูว่าค่าที่เราวัดได้นั้นใกล้เคียงกันหรือไม่ หากค่าต่างกันมาก ควรวัดใหม่อีกครั้ง

อัตราการเต้นของหัวใจที่เราวัดได้นั้น เรียกว่า อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก (Resting Heart Rate) ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจนี้จะเป็นตัวบ่งบอกสุขภาพของเราได้ค่ะ

ทริคเล็กๆ ในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก มีดังนี้ค่ะ

  • ไม่ควรวัดหลังจากที่เพิ่งออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมหนักภายใน 1-2 ชั่วโมง
  • หากดื่มหรือกินอาหารที่มีคาเฟอีน ควรวัดชีพจรหลังจากนั้นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • หากเป็นไปได้ แนะนำให้วัดหลังจากที่เพิ่งตื่นนอนในตอนเช้าทันที ก่อนที่จะลุกออกจากเตียง

อัตราการเต้นของหัวใจในแต่ละช่วงวัย

เมื่อเราทราบอัตราการเต้นของหัวใจของเราแล้ว เราจะมาดูกันว่าสุขภาพของเราปกติหรือไม่ ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจของแต่ละคนนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยนะคะ เช่น เพศ อายุ ความฟิตของร่างกาย และโรคประจำตัว เป็นต้น

ชีพจร กับ อัตรา การ เต้น ของ หัวใจ

ทารกหรือเด็กเล็ก

เด็กเล็กหรือทารก ควรมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 90-140 ครั้งต่อนาที หากเต้นช้าหรือมากกว่านี้ ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือน แสดงความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจได้

ชีพจร กับ อัตรา การ เต้น ของ หัวใจ

วัยรุ่นและผู้ใหญ่

โดยปกติแล้ว อัตราการเต้นของหัวใจของคนเราในขณะพัก โดยที่ไม่ได้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวใดๆ จะมีอัตราการเต้นอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที ถือเป็นอัตราการเต้นที่ปกติ

ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ ควรมีอัตราการเต้นของหัวใจในระดับเดียวกับวัยรุ่น นั่นก็คือราวๆ 60-100 ครั้งต่อนาที หากมีอัตราการเต้นของหัวใจที่มากเกิน 100 ครั้งต่อนาที แสดงว่าร่างกายเกิดความผิดปกติ ต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาโดยด่วน เพราะหากปล่อยเอาไว้ก็มีโอกาสหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้

นอกจากนี้ การเต้นของหัวใจยังสัมพันธ์กับการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วย โดยมีการวิจัยว่า ผู้ที่เป็นนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายหนักเป็นประจำ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักอาจจะอยู่ที่ราวๆ 40-50 ครั้งต่อนาทีเท่านั้น

ชีพจร กับ อัตรา การ เต้น ของ หัวใจ

ยิ่งความฟิตของร่างกายของเรามากเท่าไหร่ อัตราการเต้นของหัวใจจะต่ำลง เพราะหัวใจไม่ต้องทำงานหนัก

และในขณะที่ออกกำลังกาย ถ้าเรามีความฟิตมาก อัตราการเต้นของหัวใจก็จะไม่สูงขึ้นง่ายเหมือนคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย มีความทนทานในการออกกำลังกายได้มากกว่านั่นเองค่ะ

หากอัตราการเต้นของหัวใจสูงเกินจากที่กล่าวมาข้างต้น ควรสังเกตและวัดชีพจรบ่อยๆ และบันทึกไว้ และรีบไปปรึกษาแพทย์เป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ เพื่อหาสาเหตุของอาการและรักษาได้อย่างทันท่วงที

ปัจจุบันมีนาฬิกาสุขภาพที่สามารถวัดอัตรการเต้นของหัวใจได้ ช่วยให้เราสามารถเช็กสภาพร่างกายของเราได้สะดวกมากขึ้นด้วยค่ะ

ชีพจร กับ อัตรา การ เต้น ของ หัวใจ

สรุป

อัตราการเต้นของหัวใจเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรเอาใจใส่ เพราะหากเต้นเร็วหรือช้าเกินไป ก็จะกลายเป็นสัญญาณเตือนว่าสุขภาพคุณกำลังมีปัญหานั่นเอง

ดังนั้นควรหมั่นดูแลร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจคุณยังเป็นปกติ และเพื่อให้สุขภาพที่ดีคงอยู่กับร่างกายของคุณไปได้อย่างยาวนาน

จบแล้ว…ไว้พบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

Fit Me ฝากกด Like เพจด้วยนะคะ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆ จากเรา

ชีพจรกับอัตราการเต้นของหัวใจเหมือนกันไหม

ชีพจร (Pulse หรือ Pulse rate หรือ Heart rate หรือ Heart beat) คือการนับอัตราการเต้นของหัวใจ โดยนับผ่านการเต้นของหลอดเลือดแดงในระยะเวลา 1 นาที ทั้งนี้ตำแหน่งที่นิยมวัด หรือ จับชีพจร คือ ตำแหน่งด้านหน้าข้อมือส่วนที่ต่ำกว่าฐานของนิ้วหัวแม่มือ โดยการวางนิ้ว ชี้และนิ้วกลางลงบนตำแหน่งนั้น กดลงเบาๆก็จะรับรู้ได้ถึงการเต้นของ ...

จังหวะการเต้นของชีพจรปกติใน 1 นาที มีจำนวนกี่ครั้ง

หัวใจปกติจะเต้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความเร็วที่เปลี่ยนไปตามกิจกรรมของร่างกาย โดยในขณะพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที ในขณะเดินหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นประมาณ 100-120 ครั้งต่อนาทีและมากกว่า 120 ครั้งต่อนาทีในขณะวิ่ง อย่างไรก็ตามนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังเป็นประจำ อาจมีชีพจรในขณะพักระหว่าง 50-60 ครั้งต่อนาที

อายุ 40 หัวใจเต้นกี่ครั้ง

ตัวอย่างเช่น : อายุ 40 ปี ชีพจรสูงสุดของคนอายุ 40 ปี = 220 - 40 = 180 ครั้ง/นาที ต้องการออกกำลังกายที่ 60-80% ของชีพจรสูงสุด สามารถคำนวณได้ดังนี้

ผู้หญิง หัวใจเต้นกี่ครั้ง

ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นหัวใจของผู้หญิง อายุ 18 – 25 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 74 – 78 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 60 ครั้ง/นาที อายุ 26 – 35 ปี ค่าเฉลี่ยนจะอยู่ที่ 73 – 76 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 59 ครั้ง/นาที อายุ 36 – 55 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 74 – 78 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 60 ครั้ง/นาที