นักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาล หน้าที่

ชมรมนักสาธารณสุขในโรงพยาบาลร่อนหนังสือถามรัฐมนตรีสาธารณสุข ข้องใจเจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉินและนักวิชาการสาธารณสุขที่ไม่ได้สังกัด รพ.สต.และกรมควบคุมโรค ไม่ถูกจัดให้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ชี้อยากให้มีคำอธิบายที่ชัดเจนแก่ผู้มีส่วนได้เสียหรือถ้าเป็นไปได้ควรทบทวนเสียใหม่

นายนรภัทร ศรีชุม ผู้ประสานงานชมรมนักสาธารณสุขในโรงพยาบาล เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ตนได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสอบถามและเสนอให้ทบทวนบัญชีตำแหน่งในสายงานแพทย์และสายงานที่เกี่ยวข้องกับงานบริการทางการแพทย์ตามหนังสือที่ นร.1008/ว 11 เรื่องการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเปลี่ยนชื่อในสายงาน ลงวันที่ 18 มิ.ย. 2562

นายนรภัทร กล่าวว่า บัญชีตำแหน่งตามหนังสือ ว 11 ไม่ได้กำหนดให้เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ขณะที่นักวิชาการสาธารณสุข มีกำหนดให้เป็นบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะที่อยู่ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และกรมควบคุมโรคเท่านั้น จึงเกิดข้อสงสัยว่า อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มีหลักเกณฑ์ในการแบ่งอย่างไร

นายนรภัทร ยกตัวอย่างเช่น กรมควบคุมโรค นักวิชาการสาธารณสุขทั้งหมดเข้าข่ายเป็นบุคลากรทางการแพทย์ แต่นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลทุกระดับ รวมถึงในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือในกรมอื่น ๆ ก็ตามไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ แต่ถ้าดูลักษณะงานแล้ว นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลโดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนก็ทำหน้าที่ดูแลประชาชนในเขตพื้นที่ที่โรงพยาบาลรับผิดชอบ เช่น งานระบาดวิทยา เวลามีเคสก็ต้องลงพื้นที่ไปควบคุมโรค สอบสวนโรคเช่นกัน ขณะเดียวกัน ถ้าแบ่งตามเกณฑ์ของการทำงาน ทำไมทุกวิชาชีพในระดับ สสจ. และระดับเขต ถึงยังเป็นบุคลากรทางการแพทย์อยู่ เช่น พยาบาล อยู่ สสจ. ก็ยังเป็นบุคลากรทางการแพทย์

"ข้อที่สงสัยมากที่สุดคือวิชาชีพเวชกิจฉุกเฉินซึ่งดูแลคนป่วยชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในห้องฉุกเฉิน การไปรับคนป่วย ณ ที่เกิดเหตุ การบริการผู้ป่วยบนรถฉุกเฉิน กลับกลายเป็นไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ เราจึงสงสัยว่าวัตถุประสงค์ของผู้ใหญ่ที่แบ่งแบบนี้ขึ้นมาเพราะอะไร”

นายนรภัทร กล่าวต่อไปว่า ข้อกังวลในขณะนี้มี 2 ประเด็นหลัก ๆ คือ 1.ถ้าเกิดความผิดพลาดแก่ผู้ป่วยขึ้นมา ก็ไม่มีอะไรรองรับว่าคนเหล่านี้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ เช่น โรคโควิด- 19 ถ้านักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลเข้าไปสอบสวนโรคแล้วติดเชื้อขึ้นมา ขณะเดียวกันมีแพทย์หรือพยาบาลติดเชื้อไวรัสเช่นกัน โอกาสที่จะได้รับการชดเชยเยียวยาจะยึดตามตัวหนังสือหรือลักษณะการปฏิบัติงาน หรือถ้าเกิดเหตุเจ้าพนักงานสาธารณสุขทำการดูแลคนป่วยที่ รพ.สต. แล้วเกิดความผิดพลาด ใครเป็นคนรับผิดชอบเพราะไม่ได้ถูกจัดเป็นบุคลากรทางการแพทย์

2.จะมีผลกระทบค่าตอบแทนในอนาคตหรือไม่ เช่น ถ้านักวิชาการสาธารณสุขได้รับเงินประจำตำแหน่ง แล้วนักวิชาการสาธารณสุขที่ไม่ได้เป็นบุคลากรทางการแพทย์จะเข้าข่ายหรือไม่

"ข้อกังวลของเรายังมีเรื่องลักษณะงานด้วย เพราะแม้หนังสือ ว 11 จะออกมา แต่ในการปฏิบัติก็ยังไม่ได้แบ่งชัดเจนว่าเมื่อมีหลักเกณฑ์นี้แล้ว นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุขและเจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉินต้องเปลี่ยนบทบาทหรือไม่อย่างไร ด้วยเหตุนี้เราจึงยื่นหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสอบถามว่าคำจำกัดความคำว่าบุคลากรทางการแพทย์มีเกณฑ์อย่างไร อยากให้มีคำอธิบายที่ชัดเจนว่าเพราะอะไร คนที่ไม่ได้อยู่ในตาราง ว.11 จัดอยู่ในกลุ่มไหน ไม่ใช่มีกระดาษ 2 แผ่นออกมาแล้วไม่อธิบายอะไรเลย อย่างน้อยเอาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปทำความเข้าใจหรือถ้าเป็นไปได้ก็ทบทวนใหม่ อย่างน้อยนักวิชาการสาธารณสุขที่ได้ใบประกอบวิชาชีพควรจัดเป็นบุคลากรทางการแพทย์ เพราะใน พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน มีการกำหนดเรื่องการบำบัดโรคเบื้องต้น ซึ่ง พ.ร.บ.ควรจะใหญ่กว่าหลักเกณฑ์" นายนรภัทร กล่าว

นายนรภัทร กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้ดูเหมือนไม่ใหญ่แต่มีผลกระทบพอสมควร ขณะนี้ทางเครือข่ายจะรอดูว่าใน 1-2 เดือน ทางผู้ใหญ่ในกระทรวงจะมีท่าทีอย่างไร หากยังไม่มีความชัดเจนก็อาจต้องรวมตัวเจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน และนักวิชาการสาธารณสุขไปติดตามความคืบหน้าอีกครั้ง

"ไม่อย่างนั้นต่อไปถ้าไม่ได้กำหนดให้เราเป็นบุคลากรทางการแพทย์ เราก็จะมาทบทวนว่าบทบาทเราเป็นอย่างไร เพราะถ้าไปทำเกินหน้าที่แล้วผิดพลาดขึ้นมาใครจะรับผิดชอบ" นายนรภัทร กล่าว

หน้าที่นักวิชาการสาธารณสุขที่ รพ.สต

ตัวอย่างการแบ่งงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนะครับ มีทั้งหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข หน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขครับ
1. นางสาว
ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
รักษาราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุ
ขภาพตำบลปฏิบัติการงานในหน้าที่ดังนี้
1. งานบริหารงานทั่วไป
2. งานแผนงานโครงการ
3. งานสาธารณสุขมูลฐาน
4. งานยาเสพติด
5. งานวิชาการ
6. งานพัฒนาบุคลากร
7. งานอื่น ๆ ที่ไดรับมอบหมาย
8. รับผิดชอบหมู่ที่ 7,8,9
2. นางสาว
ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
รับผิดชอบการงานในหน้าที่ดังนี้
1. งานรักษาพยาบาล
2. งานอนามัยแม่และเด็ก
3. งานสุขภาพจิต
4. งานวางแผนครอบครัว
5. งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
6. งานเภสัชสาธารณสุข
7. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
8. รับผิดชอบหมู่ที่ 2,5,6
3. นาง ตำแหน่ง
นักวิชาการสาธารณสุข รับผิดชอบการงานในหน้าที่ดังนี้
1. งานควบคุมโรค
2. งานส่งเสริมสุขภาพ
3. งานอนามัยโรงเรียน
4. งานวางแผนครอบครัว
5. งานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์
6. งานคุมครองผู้บริโภค
7. งานสุขาภิบาลอาหาร
8. งาน JHCIS
9. รับผิดชอบหมู่ที่ 4,11,12
10.งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
4. นาง ตำแหน่งพนักงานจัดเก็บข้อมูล
รับผิดชอบการงานในหน้าที่ดังนี้
1. งานสารบรรณ
2. งานเวชระเบียน
3. งานประกันสุขภาพ
4. งาน JHCIS
5. รับผิดชอบหมู่ที่ 1,3
6. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
5. นาย ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย
รับผิดชอบการงานในหน้าที่ดังนี้
1. งานสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม
2. งานเภสัชสาธารณสุข
3. งาน JHCIS
4. งานดูแลความสะอาด (อาคาร/นอกอาคาร)
5. งานนโยบาย 5 ส
6. รับผิดชอบหมู่ที่ 10
7. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
6. นาง ตำแหน่ง
เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข
รับผิดชอบการงานในหน้าที่ดังนี้
1. งานทันตสาธารณสุข
2. งานอนามัยโรงเรียน
3. รับผิดชอบหมู่ที่ 7
4. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
7. นางสาว ตำแหน่ง
ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข
รับผิดชอบการงานในหน้าที่ดังนี้
1. งานทำความสะอาดเครื่องมือทันตสาธารณสุข
2. งานดูแลความสะอาด (อาคาร/นอกอาคาร)
3. งานนโยบาย 5 ส
4. รับผิดชอบหมู่ที่ 5
5. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
8. นาง ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย
รับผิดชอบการงานในหน้าที่ดังนี้
1. งานบริการแพทย์แผนไทย นวด อบ ประคบ
2. งานดูแลความสะอาด (อาคาร/นอกอาคาร)
3. งานนโยบาย 5 ส
4. รับผิดชอบหมู่ที่ 12
5. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

เขียนโดย GUSTUSO ที่ 06:48

นักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาล หน้าที่
นักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาล หน้าที่

ส่งอีเมลข้อมูลนี้ BlogThis! แชร์ไปที่ Twitter แชร์ไปที่ Facebook

ป้ายกำกับ: หน้าที่นักวิชาการสาธารณสุข

หน้าที่นักวิชาการสาธารณสุข

นัก วิชาการ ศึกษา ใน โรง พยาบาล มี หน้าที่ อะไร บ้าง

- หน้าที่ความรับผิดชอบ ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องการใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านการสอนการอบรม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ทำอะไรบ้าง

สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งที่ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับ การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย วินิจฉัยปัญหาพัฒนาทางด้านสาธารณสุข เช่น การสุขศึกษา การส่งเสริมสุขภาพ การสุขาภิบาล และการควบคุมโรค เป็นต้น เพื่อเสนอนโยบาย วางแผนงาน และดำเนินงานด้านการ

นักวิชาการสาธารณสุข ทํางานที่ไหน

ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ สามารถทำงานได้ในกระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย กรมควบคุมโรคติดต่อ ทำงานในสถานบริการของรัฐ เช่น สำนักงานสาธารณสุขระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ตำบล จนไปถึงระดับจังหวัด สถานพยาบาล โรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาลจังหวัด หรือหน่วยงานในส่วนกลางและภูมิภาคของกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการสาธารณสุขจะมีความรู้ความสามารถในการ ...

นักวิชาการสาธารณสุข คือหมอไหม

นายนรภัทร ยกตัวอย่างเช่น กรมควบคุมโรค นักวิชาการสาธารณสุขทั้งหมดเข้าข่ายเป็นบุคลากรทางการแพทย์ แต่นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลทุกระดับ รวมถึงในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือในกรมอื่น ๆ ก็ตามไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ แต่ถ้าดูลักษณะงานแล้ว นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลโดยเฉพาะใน ...