การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน project based learning

  • นิยามและความสำคัญ

การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) เป็นเทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นและเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติกระทั่งได้คำตอบที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัย สนับสนุนให้ผู้เรียนเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับสิ่งที่กำลังเรียนรู้ และบูรณาการความรู้จากศาสตร์ต่างๆ กับชีวิตจริง เพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ของตนเองจากรูปธรรมเป็นนามธรรม ซึ่งอาจเป็นองค์ความรู้ที่เหมือนหรือต่างจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ในห้องเรียน ทั้งนี้การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานยังกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา คิดวิพากษ์ และคิดรับผิดชอบต่อความสำเร็จของส่วนรวม

การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะการทำงานที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต (Real World) ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน การแก้ปัญหา การประเมินการปฏิบัติ การสื่อสารและการนำเสนอ ช่วยฝึกทักษะการปรับตัวและความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม นอกจากนี้ผู้เรียนยังได้รับประสบการณ์ตรงจากการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และจากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสภาพแวดล้อม ทำให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีวิธีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

  • กระบวนการจัดการเรียนรู้

การเตรียมความพร้อม

ผู้สอน

  1. ผู้สอนเตรียมใบกิจกรรมให้ผู้เรียนสร้างแผนการทำโครงงาน ประกอบด้วย ชื่อโครงงาน หลักการและเหตุผลในการทำโครงงาน วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขั้นตอนการทำโครงงาน ระยะเวลา ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำโครงงาน ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการทำโครงงาน แนวทางการตรวจสอบและประเมินโครงงาน บทบาทความรับผิดชอบของสมาชิกกลุ่ม การรายงานผลการทำโครงงาน และหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
  2. ผู้สอนเตรียมช่องทางการประชุมปรึกษาหารือกันภายในกลุ่มย่อยแก่ผู้เรียน โดยตั้งเป็น Channel หรือกลุ่มย่อยถาวร เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มได้รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม
  3. ผู้สอนกำหนดรูปแบบการนำเสนอ เช่น บอร์ดนิทรรศการ สื่อวีดิทัศน์ หรือ Infographic ประกอบการพูดอธิบาย เป็นต้น และเตรียมช่องทางการเผยแพร่ผลงานของผู้เรียน เช่น โพสต์ประกาศของห้องเรียนออนไลน์ แอพพลิเคชั่น Flipgrid, Padlet, Explain Everything, Jamboard เป็นต้น

ผู้เรียน

  1. ผู้สอนให้ผู้เรียนรวมกลุ่มตามความสมัครใจ โดยมีเงื่อนไขจำนวนสมาชิกในกลุ่มต้องสอดคล้องกับภาระงานและความยากง่ายของโครงงาน
  2. ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) มาล่วงหน้า โดยผู้สอนควรมีเอกสารหรือสื่อวิดีทัศน์แนะนำสั้นๆ ให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจด้วยตนเอง

          การจัดการเรียนรู้

                    ขั้นตอนที่1 การวางแผนโครงงาน

  1. ผู้สอนชี้แจงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ลักษณะกิจกรรม ขั้นตอนการทำโครงงาน เกณฑ์การให้คะแนนรายบุคคล/รายกลุ่ม และซักถามความเข้าใจของผู้เรียน
    1. ผู้สอนให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มย่อยใน Channel ที่กำหนดไว้ เพื่อร่วมกันวางแผนการทำโครงงาน โดยต้องบันทึกการประชุมกลุ่มตลอดระยะเวลาการวางแผน และผู้สอนต้องเข้าไปให้ข้อสังเกตหรือคำแนะนำ เมื่อผู้เรียนต้องการ หรือความจำเป็น
    1. ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาความเป็นไปได้ในการทำโครงงาน ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงาน และจัดทำเป็นข้อเสนอโครงงาน
    1. ผู้สอนให้ผู้เรียนนำเสนอข้อเสนอโครงงาน โดยชี้แจงกติกาการนำเสนอ ลำดับการนำเสนอ ระยะเวลาในการนำเสนอ จากนั้นผู้สอนและผู้เรียกลุ่มอื่นๆ ต้องร่วมให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ข้อเสนอโครงงานนั้น
    1. ผู้สอนให้ผู้เรียนปรับปรุงข้อเสนอโครงงาน ตามข้อมูลป้อนกลับที่ได้รับ

                    ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินโครงงาน

  • ผู้สอนให้ผู้เรียนเริ่มดำเนินโครงงานตามที่กำหนดไว้ โดยบันทึกข้อมูลและเหตุการณ์สำคัญในแบบรายงานตนเอง (Self-report) ที่เกิดขึ้นในทุกขั้นตอน โดยผู้สอนควรเน้นย้ำกับผู้เรียนว่า การบันทึกการปฏิบัตินี้จะเอื้อให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความคิด ติดตามงาน และฝึกแก้ปัญหาจากผลของการติดตามงานนั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจและผูกพันกับการทำโครงงานอย่างต่อเนื่อง
    • ผู้สอนให้ผู้เรียนรายงานความก้าวหน้าในการทำโครงงานตามช่วงเวลาที่กำหนด และให้คำแนะนำปรึกษา หรือเสนอแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม เมื่อผู้เรียนต้องการ ทั้งนี้การกำหนดช่วงเวลาในการรายงานความก้าวหน้าในการทำโครงงาน ผู้สอนควรเว้นช่วงให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติหรือเตรียมข้อมูล รวมถึงควรมีแบบรายงานความก้าวหน้าที่ระบุวัตถุประสงค์ของการรายงานความก้าวหน้าในครั้งนั้นๆ อย่างชัดเจน
    • ผู้สอนกระตุ้นเตือนเกี่ยวกับกำหนดการรายงานความก้าวหน้า หรือให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำโครงงานหรือการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในการทำโครงงาน หรือให้การเสริมแรงตามสมควร ผ่านไลน์กลุ่ม หรือ Channel กลุ่มย่อยของผู้เรียนที่กำหนดไว้
    • ผู้สอนให้ผู้เรียนรวบรวมและสรุปผลการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน และเตรียมนำเสนอโครงงาน โดยผู้สอนอาจมอบหมายให้ผู้เรียนจัดทำ Story Board หรือร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนกลุ่มอื่นๆ พิจารณาและให้ข้อมูลป้อนกลับก่อนได้

          ขั้นตอนที่ 3 การนำเสนอโครงงาน

  • ผู้สอนชี้แจงกติกาการนำเสนอ ระยะเวลาในการนำเสนอ ลำดับการนำเสนอ และซักถามความเข้าใจของผู้เรียน
    • ผู้สอนให้ตัวแทนกลุ่มแต่ละกลุ่ม นำเสนอผลงานของกลุ่ม โดยนำเสนอในรูปแบบสื่อวีดิทัศน์ หรือ Infographic ประกอบการพูดอธิบาย
    • ผู้สอนให้ผู้เรียนกลุ่มอื่นๆ ซักถาม ให้ข้อคิดเห็น จากนั้นผู้สอนจึงให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
    • ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดำเนินโครงงาน และเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้กับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชาและเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
    • ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันคัดเลือกผลงานที่โดดเด่น เพื่อนำแสดงต่อสาธารณะ โดยอาจเป็นการแสดงผลงานในระดับสถานศึกษา หรือชุมชน หรือในสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับมุมมองจากบุคคลที่หลากหลายมากขึ้นและสามารถใช้เป็นประวัติผลงานของผู้เรียนได้

การประเมินผล

                    ผู้สอน สามารถประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ได้จากการคุณภาพของแผนการดำเนินโครงงาน การดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ในแต่ละขั้นตอน หรือประเมินจากทักษะและกระบวนการทำงาน ชิ้นงาน เนื้อหาความรู้ และคุณลักษณะหรือเจตคติที่ผู้เรียนได้รับจากการทำโครงงาน โดยพิจารณาตามเกณฑ์ที่ผู้สอนได้แจ้งกับผู้เรียนอย่างเคร่งครัด

                    ผู้เรียน ตรวจสอบผลการดำเนินโครงงานของกลุ่มตนเอง โดยเทียบกับกลุ่มอื่น เพื่อให้เห็นจุดเหมือน จุดต่าง และเป็นข้อมูลประกอบการเรียนรู้เพิ่มเติม ทำการสะท้อนคิดการเรียนรู้ (Reflection) ในประเด็นสำคัญ เช่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา ทักษะที่ได้รับจากกิจกรรม แนวทางการนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ เป็นต้น และสามารถให้ผู้เรียนเป็นผู้ประเมินสมาชิกภายในกลุ่มตามเกณฑ์ประเมินที่กำหนดได้

  • ข้อสังเกต

การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) ต้องอาศัยการกำหนดขอบเขตของการทำโครงงานที่ชัดเจน โดยเฉพาะการมอบหมายให้ผู้เรียนเลือกโครงงานที่มีความเกี่ยวข้องวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชา และต้องบูรณาการความรู้ในรายวิชาทั้งหมดมาใช้ ไม่ใช่เพียงบางหัวข้อของรายวิชา และไม่ใช่การทดลองในห้องปฏิบัติการแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์เหมือนการทำงานจริง บนพื้นฐานการใช้องค์ความรู้ที่ได้เรียนมาก ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพิจาณาข้อเสนอโครงงานให้เป็นไปตามหลักการของการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน และจำเป็นต้องอธิบายเหตุผลประกอบแก่ผู้เรียน กรณีที่ต้องให้ผู้เรียนปรับปรุงข้อเสนอโครงงาน นอกจากนี้ในระหว่างการดำเนินโครงงาน ผู้เรียนอาจหมดแรงจูงใจในการร่วมกิจกรรม หรืออาจเกิดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในกลุ่ม หรือาจเกิดความคับข้องใจในการถูกประเมินโครงงานจากผู้เรียนคนอื่นๆ ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นต้องชี้แจงถึงความสำคัญจำเป็นในการรับผิดชอบต่อบทบาทที่ได้รับมอบหมาย ให้คำแนะนำหรือเสริมแรงเป็นระยะ อธิบายถึงประโยชน์ของการได้รับผลประเมินจากหลายแหล่งให้ผู้เรียนเข้าใจ และกำหนดเกณฑ์ประเมินที่ชัดเจน พร้อมทั้งชี้แจงให้ผู้ประเมินให้คะแนนตามเกณฑ์ประเมินที่กำหนดอย่างเคร่งครัด และผู้สอนเองจำเป็นต้องให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจปรับปรุงโครงงานเพิ่มเติมแก่ผู้เรียน

การเรียนรู้ที่ใช้โครงงานเป็นฐาน (V

1.2 การเตรียมการ (Preparation) 1) เลือกเนื้อหา 2) เรียงลำดับเนื้อหา 3) กำหนดเวลา 4) เสนอกิจกรรม 5) เตรียมสื่อประกอบการนำเสนอ 6) เขียนแผนการนำเสนอ ซึ่งประกอบด้วย จุดประสงค์ การกำหนดเนื้อหา ขั้นตอนนำเสนอการดำเนินการ 7) ซักซ้อมการนำเสนอ

การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning PBL) มีลักษณะอย่างไร

Project-based Learning (PBL) หรือการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ ผู้เรียนได้เชื่อมโยงเหตุการณ์จาก ชีวิตจริงสู่การเรียนรู้ ค้นหาคำตอบด้วยการคิด ค้นคว้า ปฏิบัติจริง อย่างเป็น ระบบ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง ได้เรียนรู้จากการค้นคว้า สำรวจ ทดลอง แก้ปัญหา ...

Project Based Learning เป็นอย่างไร

การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน (Project-Based learning - PBL) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้น การใช้ปัญหาจริงเป็นการเรียนรู้และวิธีแสวงหาความรู้บนพื้นฐานแนวคิดของ John Dewey ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการปฏิบัติจริง (Learning by Doing) จะประกอบด้วย การรู้ (Knowing) และ การลงมือกระท า (Doing) ความรู้และความสามารถในการใช้ความ ...

การจัดการเรียนรู้แบบ Project Base Learning สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ใด

การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Based Learning) เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสอดคล้องกับ หลักทฤษฎีการเรียนรู้ constructivism , contructionism และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (cooperative learning) ซึ่งมีขั้นตอนการเรียนรู้ที่เริ่มจากการแสวงหาความรู้ กระบวนการคิด และทักษะในการ แก้ปัญหาไว้ในรูปแบบการเรียนรู้