ข้อห้าม ของการ ต่อ เติม บ้าน

หลากหลายเหตุผลที่คนมีบ้าน อยากต่อเติมเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับที่อยู่อาศัยของตัวเอง และสิ่งที่ควรคำนึงถึงก่อนที่จะเริ่มงานออกแบบก่อสร้าง ก็คือ บทบัญญัติทางกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาทีหลัง จนต้องโดนเพื่อบ้านฟ้องร้อง หรือต้องทุบทิ้ง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมบ้าน โดยตรง ก็คือ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 และ 39 ทวิ ซึ่งสรุปเอาไว้ให้เข้าใจง่าย คือ การจะดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ต้องแจ้ง และต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่นก่อนเสมอ (ตามมาตรา 21) พร้อมกับ ต้องยื่นแบบแปลน รวมถึง ชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ควบคุมงาน ให้เจ้าพนักงานทราบ (ตามมาตรา 39ทวิ) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนดให้การก่อสร้าง/ต่อเติมต้องมีระยะห่างระหว่างอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและป้องกันการรบกวนบุคคลในพื้นที่ข้างเคียง

ข้อห้าม ของการ ต่อ เติม บ้าน

ระยะห่างระหว่างอาคารสำหรับการต่อเติมบ้าน

อาคารชั้นเดียว จนถึงอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร เช่น ต่อเติมบ้าน พื้นที่หลังบ้าน เป็นห้องครัว ห้องซักล้าง ระเบียงชั้น 2

ระยะห่างผนัง กรณีผนังมีช่องเปิด (ช่องเปิด หมายถึง หน้าต่าง ช่องลม ช่องที่แสงสามารถส่องผ่านได้) ต้องเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง ไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร

ข้อห้าม ของการ ต่อ เติม บ้าน

ระยะห่างผนัง กรณีผนังทึบ ต้องเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

*ยกเว้น เจ้าของพื้นที่ข้างเคียงมีหนังสือยินยอมให้สร้างได้ จึงจะสามารถสร้างชิดเขตแนวที่ดินได้ (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 ข้อ 50)

ข้อห้าม ของการ ต่อ เติม บ้าน

ระยะห่างชายคา/กันสาด ชายคาต้องห่างจากแนวเขตไม่น้อยกว่า 0.5 ม. เท่ากันกับกรณีผนังทึบ
ระยะห่างสำหรับการต่อเติมระเบียงชั้นบน

ข้อห้าม ของการ ต่อ เติม บ้าน

การต่อเติมระเบียงชั้นบน หรือหลังคาที่สามารถขึ้นไปใช้งานด้านบนได้ จะต้องเว้นระยะจากระเบียง จนถึงแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เท่ากับกรณีต่อเติมผนังที่มีช่องเปิด

ถ้าหากก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น มีบทลงโทษตามกฎหมายมาตรา 65 คือ จำคุก 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และโทษปรับเป็นรายวัน ไม่เกินวันละ 10,000 บาท มาตรา 40 ถูกสั่งให้หยุดการก่อสร้าง หรือสั่งห้ามใช้ หรือห้ามเข้า หรือสั่งให้ไปปฏิบัติตามกฎหมาย หรือในกรณีแย่ที่สุดอาจต้องรื้อถอนทั้งหมด (ตามมาตรา 42)

ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่คุณต้องพิจารณาให้ดีก่อนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับบ้าน อยากได้ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาดีๆ เรื่องบ้าน อย่าลืมนึกถึงซีคอนโฮม

หลายๆคนคงจะเคยได้ยินข่าวความเสียหายจากการต่อเติมบ้านกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นบ้านทรุด , การแตกร้าว หรือ น้ำรั่วซึม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของการอยู่อาศัยเลยทีเดียวใช่มั้ยคะ สำหรับใครที่กำลังจะต่อเติมบ้านแล้วคิดว่าต่อเติมนิดๆหน่อยๆคงไม่เป็นอะไรมากนั้น วันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับข้อควรระวังต่างๆในการต่อเติม รวมถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายและโครงสร้าง เพื่อให้บ้านของเราเมื่อต่อเติมไปแล้วนั้นไม่มีปัญหาบานปลายค่ะ

โดยเราได้อ้างอิงจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ในเรื่องของระยะร่น และข้อกำหนดเรื่องระยะห่างจากแนวเขตที่ดินของอาคารประเภทบ้านพักอาศัยมาให้ชมกันค่ะ

ข้อห้าม ของการ ต่อ เติม บ้าน
ระยะระเบียงชั้นบน

การต่อเติมระเบียงชั้นบน หรือหลังคาที่สามารถขึ้นไปใช้งานด้านบนได้ จะต้องเว้นระยะจากระเบียง จนถึงแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เช่นเดียวกับการต่อเติมผนังที่มีช่องเปิดค่ะ

ข้อห้าม ของการ ต่อ เติม บ้าน

เมื่อเราทราบโครงสร้างเดิมของบ้านแล้วก็มาถึงขั้นตอนในการต่อเติมค่ะ สำหรับการต่อเติมแนะนำว่าให้ทำการคุยขอบเขตกับผู้รับเหมาหรือผู้ออกแบบให้เรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันการทำงานไปเรื่อยๆไม่มีแผนงานซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายได้ โดยส่วนต่างๆในบ้านที่เรามักทำการต่อเติมได้แก่

ครัวหลังบ้าน

ข้อห้าม ของการ ต่อ เติม บ้าน

ใครที่ต้องการพื้นที่ภายในบ้านที่มากขึ้น หรือมีคนใช้งานภายในบ้านน้อยกว่าจำนวนห้องที่มี ก็มักจะอยากเชื่อมต่อห้องโดยการทุบผนังออก เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในให้มากขึ้น และในทางกลับกันสำหรับคนที่คิดว่าพื้นที่ภายในบ้านนั้นโล่งกว้างต้องการกั้นห้องเพื่อการใช้งานที่เป็นสัดส่วนมากขึ้น ควรคำนึงถึงการต่อเติม, ดัดแปลงดังนี้ค่ะ

เจาะผนัง : ผนังที่สามารถทำการเจาะ หรือทุบออกได้ต้องเป็นผนังที่เกิดจากการก่อ , ผนังเบา หรือผนัง Precast ที่ไม่ใช่ผนังรับน้ำหนักและมีแบบตำแหน่งการเดินท่องานระบบชัดเจน เพื่อให้ทำการเจาะแล้วงานระบบไม่เสียหายค่ะ

ต่อเติมผนัง : หากต้องการต่อเติมผนังภายในบ้านสามารถต่อเติมได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของค่ะ ถ้าต้องการกั้นห้องชั่วคราว รื้อออกได้ไม่เสียหาย แนะนำเป็นผนังโครงเบาค่ะ แต่ถ้าต้องการกั้นห้องแบบถาวร ป้องกันเสียงได้ แนะนำให้กั้นเป็นผนังก่อ เป็นต้น โดยวัสดุที่นิยมใช้ในการต่อเติมผนังได้แก่การก่ออิฐฉาบปูนนั่นเอง

ห้ามต่อเติมบ้านแบบไหน

11.ห้ามต่อเติมบ้านสองหลังให้เป็นหลังเดียวโดยมีชายคาชนกัน 12.ห้ามสร้างห้องส้วมมากกว่าจำนวนสมาชิกในบ้าน 13.ห้ามใช้วงกลประตูหรือเสาบ้านที่บิดงอมาสร้างบ้าน 14.ห้ามสร้างประตูหรือหน้าต่างมากเกินไป

เดือนไหนห้ามต่อเติมบ้าน

หากมีการเข้าไปกระทำการต่อเติมขุดหน้าดิน กระแทกพื้น ขุดพื้น ตอกเสา ส่งผลถึงพื้นดิน มีผลถึงสามประการ อุบัติเหตุ สุขภาพเสื่อม ไฟไหม้ ความเสื่อมต่อสถานที่และคน ช่วงที่รุนแรงที่สุดประจำปี คือ เดือน มิ.ย.65 ห้ามไปกระแทกทิศเหนือ ช่วงองศาของบ้าน 335-15 องศาจากจุดศูนย์กลางอาคาร

ต่อเติมบ้านผิดไหม

ทั้งนี้ หากมีการต่อเติมบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือต่อเติมบ้านผิดไปจากแบบแปลนที่ยื่นขอไว้ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ามีแพลนกำลังจะต่อเติมบ้าน ก็ควรศึกษารายละเอียดและดำเนินการตามขั้นตอนและต่อเติมบ้านตามกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับเพื่อนบ้านหรือโดนรื้อถอนในภายหลัง

บ้านโครงการสามารถต่อเติมได้ไหม

ต่อเติมได้แต่ต้องทำตามกฎระยะร่น หรือระยะห่างด้วยเสมอ