ข้อห้ามในการใช้คอมพิวเตอร์

สำหรับมือใหมมือเก่าทุกท่าน

การจะใช้งานคอมพิวเตอร์ให้มีปัญหาน้อยลง หรือไม่มีเลยเป็นเรื่องค่อนข้างทำได้ยากมากๆ โดยเฉพาะกับคนที่ใช้งานทั้งทางด้านเอกสารและอีเมล อินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม เราขอแนะนำ ข้อควรทำ และ ข้อห้าม ในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างง่ายๆ ซึ่งถ้าทำได้ จะทำให้สามารถลดปัญหาคอมพิวเตอร์ได้ไม่มากก็น้อย? ไม่เชื่ออย่าลบหลู่..

10 วิธีลดปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์

  1. เปิด-ปิด Windows ให้ถูกวิธีอันนี้สำคัญมากๆ เพราะการใช้งานเริ่มต้นที่ผิดวิธี สามารถทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้ด้วย
    • เปิด Windows การเปิด Windows ก็เพียงกดปุ่ม Power หรือกดสวิทซ์ On ที่เครื่องคอมฯ และระหว่างที่มีการเปิด Windows อยู่ ห้ามปิดสวิทซ์อย่างเด็ดขาด (จะรีบกลับบ้านหรือ..อะไรก็ตาม) เพราะจะทำให้ Windows เสียหายได้ ต้องรอให้ขึ้นหน้าของ Windows แบบปกติ และสั่ง Shutdown ใหม่
    • ปิด Windows ให้เลือกคำสั่ง Shutdown และถ้าระหว่างการ shutdown มีข้อความว่ากำลังติดตั้ง Windows Update อยู่ให้รอจนกระทั่งเสร็จ ห้ามกดปุ่ม Power เพื่อให้เครื่องปิดไป เพราะ Windows อาจไม่สามารถกลับมาใช้งานได้
  2. ติดตั้งคอมพิวเตอร์ให้ถูกที่? โดยเฉพาะกับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่ไม่ควรติดตั้งคอมพิวเตอร์ให้ใกล้กับฝาผนังมากเกินไป เพระจะทำให้การระบายความร้อนไม่ดีพอ อายุการใช้งานจะสั้นลงได้
  3. ติดตั้งเครื่องสำรองไฟ หรือ UPS สิ่งนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะกับหลายๆ พื้นที่ที่ไฟตก หรือดับบ่อย ถ้าระหว่างที่เราทำงาน Windows อยู่แล้วไฟดับกระทันหัน โอกาสที่จะทำให้ Windows ไม่ทำงานสูงมาก หรือที่แย่ไปกว่านั้น hardware บางตัว อาจเสียหายได้ด้วยโดยเฉพาะกับ Hard Disk
  4. ลบไฟล์ขยะในเครื่อง เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ในการทำงาน รวมทั้งสามารถลดปัญหาไวรัส และสปายแวร์ได้อีกด้วย ดีอย่างนี้ ทำไมไม่ทำกันครับ แนะนำให้ทำทุกวันเลยยิ่งดี
  5. ถอดถอนโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งาน หรือ Uninstall/ Remove การถอดถอนโปรแกรมที่ไม่ใช้งาน ช่วยให้การทำงานได้คอมพิวเตอร์ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะกับเครื่องคอมฯ ที่มี hard disk น้อยๆ หรือบางโปรแกรมมักมีการโหลดขึ้นมาในระหว่างการเปิดเครื่อง ทำให้ลดการใช้งาน Memory ได้ด้วย
  6. ตรวจสอบไฟล์ที่ใช้งานจากภายนอก (Flash Drive / USB Hard disk หรือ Share Drive) ด้วยโปรแกรม anti-virus ก่อนการใช้งานเสมอ? ลดปัญหาได้มากๆ? เพราะเราไม่รู้ว่าไฟล์ที่เราได้รับนั้น มีไวรัสแฝงอยู่หรือไม่
  7. ตั้ง Password ก่อนการใช้งาน Windows? ลดปัญหาไวรัสได้ด้วย เพราะไวรัสบางตัวสามารถผ่านทางระบบเครือข่ายภายใน?network เข้ามา และถ้าเราไม่มี Password ป้องกัน ไวรัสก็สามารถเข้ามาได้อย่างง่ายดาย
  8. ตั้ง Password ในโปรแกรม Screen Saver เวลาไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานนานๆ เราสามารถสั่งให้โปรแกรม Screen Saver แสดงได้ และสามารถกำหนดให้ใส่ password ได้ด้วย ทำให้คนอื่นไม่สามารถเข้ามาใช้งานเครื่องคอมฯ ของเรา ระหว่างที่เราไม่อยู่ได้ด้วย
  9. กดปุ่มบนคีย์บอร์ดเบาๆ? คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้คำสั่งด้วยการสัมผัสเบาๆ ได้ ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องกระแทกแป้นพิมพ์ หรือคีย์บอร์ดแรงๆ หรอกน่ะครับ จะทำให้กลไกของเครื่องคอมฯ เสียหายเปล่าๆ ?
  10. ทำความสะอาดเสียบ้าง เพียงแค่เป่าฝุ่นบ้าง โดยเฉพาะกับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ลองเปิดฝาครอบดู ว่ามีหยากไย่ ใยแมงมุง มากน้อยแค่ไหน นำไปเป่าฝุ่นออกบ้าง แค่นี้ก็ลดความร้อนของเครื่องคอมฯ ได้อย่างมากเลยทีเดียว

เรื่องง่ายๆ เหล่านี้ เชื่อว่าเราสามารถทำได้ ถึงแม้จะไม่ครบทุกข้อ แต่ก็ลองนำไปใช้งานกันดูน่ะครับ อย่างน้อยทำไป ก็ไม่เสียหายอะไรสักหน่อย.. แต่ผลที่ได้เกินคุ้มครับ


test

  • şikayet var sikayet com şikayet şikayet sitesi alo şikayet
  • เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการใช้งานห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และห้องพิมพ์รวม ให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติดังนี้

        • แต่งกายสุภาพตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
        • ปฏิบัติตนเป็นสุภาพชน ไม่ส่งเสียงดังหรือกระทำการรบกวนผู้อื่น
        • ช่วยรักษาความสะอาด ไม่นำอาหารหรือเครื่องดื่มเข้ามาในห้องปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์
        • ใช้คอมพิวเตอร์ตามขั้นตอน วิธีการที่ฝ่ายห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กำหนดเพื่อป้องกันความเสียหาย และช่วยกันดูแลรักษาสมบัติของมหาวิทยาลัย
        • ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ ไม่ควรใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เล่นเกมส์
        • ในช่วงเวลาที่มีการเรียนการสอนห้ามนักศึกษาที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
        • ห้ามนำซอฟต์แวร์ (Software) ใด ๆ มาติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และห้ามปรับเปลี่ยนข้อกำหนดของระบบ (System configuration)
        • ห้ามเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ (Hardware) หรือนำอุปกรณ์อื่นใดมาต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หากมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
        • ใช้ระบบเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก (Internet & Intranet) อย่างมีมารยาทหรือขัดต่อศิลธรรมจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของไทย
    < ย้อนกลับ

    ข้อควรปฏิบัติในการใช้งานคอมพิวเตอร์

    เคล็ดลับ 10 ประการในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ในสถานที่ทำงานปัจจุบัน:

        1. ใช้โปรแกรมปรับปรุงล่าสุด ติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงและซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยในเซิร์ฟเวอร์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งชนิดตั้งโต๊ะและชนิดแล็ปท็อปทุกเครื่อง
    – ในการรับโปรแกรมปรับปรุงล่าสุดของระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ของ Windows โปรดไปที่
    Microsoft Update ซึ่งจะสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่อตรวจสอบว่าคุณต้องใช้โปรแกรมปรับปรุงตัวใด จากนั้น คุณจะสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมปรับปรุงโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งหรือทุกโปรแกรมได้

    – เพื่อเป็นการปรับปรุงความปลอดภัยและความเสถียรของซอฟต์แวร์ Microsoft Office ของคุณ ให้ไปที่ Office Update แล้วไปที่ลิงค์ Check for Updates
    หากคุณใช้ Windows XP Professional คุณจะมีวิธีการรับโปรแกรมปรับปรุงที่ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก เพียงเปิดใช้คุณสมบัติ Automatic Updates เท่านั้น คอมพิวเตอร์ของคุณจะแจ้งให้คุณทราบโดยอัตโนมัติทันทีที่มีโปรแกรมปรับปรุงที่สำคัญที่คุณสามารถใช้ได้

    2. ลดความเสี่ยงจากภัยของไวรัส มีวิธีการต่างๆ เป็นจำนวนมากที่คุณสามารถกระทำได้เพื่อป้องกันคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของคุณให้ปลอดภัยจากไวรัส การใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและทำให้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวทันสมัยอยู่เสมอเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นลำดับแรก และยังมีสิ่งอื่นๆ ที่คุณสามารถทำได้ เช่น:
    – ใช้การตั้งค่าเพื่อรักษาความปลอดภัยที่ตั้งมาจากโรงงานใน Office 2003 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่วางจำหน่ายมาของ Office
    – เข้าเว็บไซต์
    Office Update เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมปรับปรุงและ Patch ต่างๆ
    – ห้ามเปิดอีเมลหรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย ให้ใช้ประโยชน์จากตัวกรองอีเมลขยะที่ยอดเยี่ยมของ Outlook 2003 เพื่อส่งอีเมลที่น่าสงสัยตรงไปยังโฟลเดอร์อีเมลขยะของคุณ

    3. ใช้ Windows Security Centre ในการตั้งค่า ดูข้อมูลอย่างชัดเจนของการตั้งค่าการรักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ของคุณที่รวมข้อมูลทุกอย่างไว้ในจอภาพเดียวใน Windows Security Centre โดยคุณสามารถปรับแต่งระดับการป้องกันได้ตามความเหมาะสมสำหรับการใช้งานของคุณ การตั้งค่าที่ใช้ป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณดังกล่าวจะมีผลกับไฟล์หรือข้อมูลทั้งหมดที่ส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งช่วยป้องกันข้อมูลลับทางธุรกิจของคุณ

        4. เข้ารหัสข้อมูลที่มีความสำคัญในเครื่องแล็ปท็อปของคุณ หากคุณเดินทางเพื่อทำธุรกิจและใช้เครื่องแล็ปท็อปที่รันด้วย Windows 2000 Professional หรือ Windows XP Professional ให้ทำการป้องกันการโจรกรรมข้อมูล โดยใช้ Encrypted File System (EFS) เพื่อเข้ารหัสไฟล์และโฟลเดอร์ที่มีความสำคัญ และหากว่าเครื่องแล็ปท็อปของคุณถูกขโมยไป ไฟล์และโฟลเดอร์ของคุณจะได้รับการป้องกันเนื่องจากมีเพียงผู้ที่มีคีย์ถอดรหัสพิเศษเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าใช้ไฟล์ที่เข้ารหัสดังกล่าวได้

    5. ดาวน์โหลดไฟล์ทางอินเทอร์เน็ตเฉพาะจากแหล่งข้อมูลที่ไว้ใจได้เท่านั้น หากคุณไม่แน่ใจว่าไฟล์ที่กำลังจะดาวน์โหลดมีความปลอดภัยหรือไม่ ให้ดาวน์โหลดไฟล์เหล่านั้นลงในดิสก์ที่แยกต่างหากจากฮาร์ดดิสก์ เช่น ซีดี หรือฟล็อปปี้ดิสก์ จากนั้น คุณก็จะสามารถสแกนไฟล์เหล่านั้นด้วยโปรแกรมสแกนไวรัสได้

        6. ใช้ระบบเข้ารหัสที่ใช้รหัสผ่านเพื่อป้องกันไฟล์ในโปรแกรม Office เทคโนโลยีการเข้ารหัสที่ปรับปรุงใหม่ทำให้การรักษาความปลอดภัยด้วยรหัสผ่านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในโปรแกรม Word 2003 และ Excel 2003 และขยายการเข้ารหัสที่ใช้รหัสผ่านไปใช้กับ PowerPoint 2003 อีกด้วย คุณสามารถเปิดใช้งานการป้องกันไฟล์ด้วยรหัสผ่านได้จากเมนู เครื่องมือ ของโปรแกรมทั้งสามดังกล่าว และวิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันการเข้าใช้ข้อมูลลับทางธุรกิจได้

        7. ล้างข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ของคุณก่อนกำจัดทิ้ง หากคุณได้คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คเครื่องใหม่มาและกำลังจะทิ้งเครื่องเก่าไป ให้ตรวจสอบว่าคุณได้ลบข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญทิ้งแล้ว ก่อนที่จะกำจัดเครื่องดังกล่าวทิ้ง ซึ่งมิใช่เพียงแค่การลบไฟล์ต่างๆ แล้วตามลบไฟล์เหล่านั้นออกจาก Recycle Bin เท่านั้น แต่หมายถึงการฟอร์แม็ตฮาร์ดดิสก์ใหม่ หรือใช้ซอฟต์แวร์ในการล้างข้อมูลทั้งหมดในฮาร์ดดิสก์

    8. ใช้ไฟร์วอลล์ หากบริษัทของคุณใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตชนิดบรอดแบนด์ที่เชื่อมต่อตลอดเวลาอยู่ ให้ติดตั้งไฟร์วอลล์ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันขั้นพื้นฐานสำหรับป้องกันผู้บุกรุกจากภายนอก ไฟร์วอลล์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1) ไฟร์วอลล์ชนิดซอฟต์แวร์ เช่น Microsoft Internet Connection Firewall ที่มาพร้อมกับ Windows XP Professional ซึ่งจะป้องกันเครื่องที่ซอฟต์แวร์นั้นใช้รันโปรแกรม และ 2) ไฟร์วอลล์ชนิดฮาร์ดแวร์ที่ใช้สกัดกั้นการรับส่งข้อมูลทั้งหมดระหว่างอินเทอร์เน็ตกับเครือข่ายทั้งหมดของคุณยกเว้นแต่การรับส่งข้อมูลจากผู้ส่งที่คุณกำหนดไว้เท่านั้น

        9. ไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์ในการท่องเว็บ เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์เป็นศูนย์บัญชาการของเครือข่ายทั้งหมดของคุณ จึงเป็นที่เก็บข้อมูลทางธุรกิจที่มีความสำคัญ หากเซิร์ฟเวอร์ของคุณถูกบุกรุก ข้อมูลทั้งหมดตลอดจนเครือข่ายทั้งหมดของคุณก็จะได้รับอันตรายด้วย

        10. ใช้รหัสผ่านอย่างชาญฉลาด ใช้รหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาเสมอ โดยมีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษรและมีตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเลขและสัญลักษณ์ผสมกัน อย่าใช้รหัสผ่านตัวเดียวกันซ้ำๆ กันตลอดเวลา ให้หมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านของคุณเสมอ และหากคุณมีปัญหาในการจำรหัสผ่าน ให้ลองพิจารณาใช้รหัสวลี ซึ่งคุณสามารถใช้ใน Windows 2000 และ Windows XP ได้ ตัวอย่างรหัสวลี เช่น “I had pizza for lunch Tuesday”

    การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย (Make IT Safe)

    เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร
    เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) คือ เทคโนโลยีสองด้านหลักๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

    ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

    • การสื่อสาร มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media  การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)   
    • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่า โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
    • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง
    • เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอกเนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
    • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ IT มีราคาถูกลงมาก

    ภัยแฝงออนไลน์

    • สารสนเทศมากมายมหาศาล ทั้งดีและไม่ดี ส่งตรงถึงห้องนอน
    • คนแปลกหน้า/ผู้ไม่ประสงค์ดี ใช้ไอทีเป็นช่องทางหาเหยื่อ เราอาจตกเป็นผู้ถูกกระทำหรือเป็นผู้กระทำเสียเอง
    • สังคมออนไลน์ การรวมกลุ่ม ค่านิยม แฟชั่น ทำให้เด็กและเยาวชนคล้อยตาม ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี ความฟุ้งเฟ้อ ความเชื่อผิดๆ
    • การที่ใช้งานง่าย แพร่หลาย ราคาถูก ทำให้เสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย/ผิดศีลธรรม ทั้งที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือโดยเจตนาก็ตาม
    • การใช้เวลากับของเล่นไอที/โลกออนไลน์มากจนเกินไป ส่งผลในด้านลบ อาจทำให้เสียโอกาสการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ

    การเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับเด็ก
    กฎสำหรับการใช้อีเมล์

    • ไม่ให้ที่อยู่อีเมล์แก่คนที่เราไม่รู้จัก
    • ไม่เปิดอีเมล์จากคนหรือองค์กร/ธุรกิจที่เราไม่รู้จัก
    • อีเมล์อาจจะมีสิ่งที่ไม่ดีมากมาย เช่น เรื่องราวที่ไม่เป็นจริง การติฉินนินทา และจดหมายลูกโซ่ที่พยายามจะเอาเงินจากกระเป๋าเรา
    • ไวรัส อาจผ่านมากับข้อมูลอีเมล์ เข้ามาสู่คอมพิวเตอร์ของเรา
    • ภาพที่ไม่เหมาะสม ผิดกฎหมาย ภาพยนตร์ อาจถูกส่งมาพร้อมกับข้อมูลอีเมล์

    วิธีการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมที่ปรากฎบนจอคอมพิวเตอร์

    • ปิดหน้าเว็บ
    • ไม่ได้ผล ปิดเบราเซอร์ browser
    • ถ้ายังไม่ได้ผล ปิดคอมพิวเตอร์พร้อมกับแจ้งผู้ปกครองหรือครู
    • จำไว้ว่า เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาโดยการบอกให้คนอื่นทราบหากเราพบอะไรผิดพลาด

    กฎของการแชท

    • ไม่สามารถเชื่อได้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นคนอย่างที่เค้าพูด
    • อย่าให้ชื่อจริง ควรใช้ชื่อสมมุติ
    • อย่าให้ข้อมูลว่าคุณอยู่ทีไหน หมายเลขโทรศัพท์ (โทรศัพท์มือถือ) เรียนอยู่ที่ไหน พ่อแม่เป็นใคร
    • ทำความเข้าใจให้ชัดเจนถึงกฎของแต่ละห้องแชท ที่จะเข้าไปเล่น
    • ให้จำไว้ว่าคุณอาจเป็นบุคคลนิรนามในอินเทอร์เน็ต แต่บ่อยครั้งที่คนอื่นสามารถสืบเสาะได้ว่าใครเป็นคนใส่ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ต้องมีความสุภาพกับผู้อื่นเสมอ

    กฎของการแชท การสื่อสารทางออนไลน์

    • ไม่ออกไปพบกับบุคคลที่พบ รู้จักสื่อสารผ่านทางออนไลน์
    • ถ้ารู้สึกถูกกดดัน จากการสื่อสารออนไลน์กับใคร ให้ปรึกษากับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ
    • ให้ชื่ออีเมลกับเพื่อนที่รู้จักดี ไม่ควรให้กับคนแปลกหน้า
    • ปรึกษา หารือกับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบเสมอ อย่าให้ถูกหลอกล่อ หรือถูกกดดันเพื่อไปพบเจอกับคนที่รู้จักออนไลน์
    • หากถูกใครหรือสิ่งใดรบกวนในห้องแชท ให้รีบออกจากการสนทนา และอย่าติดต่อ สนทนาอีก

    กฎ – การป้องกันไวรัส และข้อมูลขยะ

    • หากข้อมูลบางอันรู้สึกดีเกินที่จะเชื่อได้ สรุปได้เลยว่าไม่จริง
    • ให้ระวังอีเมล์ที่บอกว่าโปรดส่งต่อให้ทุก ๆ คน เพราะอาจจะมีแต่เรื่องหลอกลวงไร้สาระ หรือมีไวรัสที่ไม่ควรส่งต่อ
    • อย่าเข้าไปในเวบไซด์ของธนาคารใด ๆ ที่อ้างบอกให้คุณแจ้งรหัสผ่าน
    • เก็บรหัสผ่านเป็นความลับเสมอ
    • ให้ระมัดระวัง เวบไซด์ที่ให้ดาวน์โหลดฟรี หรือมีเกมให้เล่นฟรี เพราะอาจเต็มไปด้วยไวรัส หรือจะมีข้อมูลที่ไม่เหมาะสมส่งมาให้คุณ
    • บางครั้ง บางคนอาจจะใช้ เล่ห์ ลวงให้คุณเชื่อมต่อไปยังเวบไซด์ที่ไม่เหมาะสม

    กฎการเผยแพร่เรื่องราวในเว็บบล็อก

    • ตรวจสอบให้มั่นใจว่าใส่เฉพาะข้อมูลที่ปลอดดภัย
    • ให้มีรหัสส่วนตัวเพื่อปกป้องรูปภาพของคุณ
    • ต้องได้รับการอนุญาตจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ในการสร้างเวบไซด์ของคุณเอง และให้ท่านเหล่านั้นช่วยตรวจสอบ ทบทวนสม่ำเสมอ
    • อย่าใส่เรื่องราวส่วนตัวเข้าไปในเว็บบล็อก หรือ ในการสนทนากลุ่ม
    • จำเป็นต้องมีความระมัดระวังมาก ๆ ในการใส่อะไรลงไปในอินเทอร์เน็ต เพราะทันทีที่มีการเผยแพร่คนจากทั่วโลกสามารถเห็นได้ และอาจมีการนำข้อมูลไปใช้ในทางผิด ๆ

    ข้อแนะนำการใช้อินเตอร์เน็ต

    • เรียนรู้เกี่ยวกับมารยาททั่วไปในการใช้อินเทอร์เน็ต netiquette
    • ทำตามหลักพื้นฐานความปลอดภัย และเรียนรู้วิธีการ แนวปฏิบัติเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เสี่ยงออนไลน์

    มารยาททั่วไปในการใช้อินเตอร์เน็ต

    • ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อล่วงละเมิดหรือรบกวน ผู้อื่น
    • ไม่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม
    • ไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ในทางที่ผิด หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้น ๆ
    • ไม่บอกรหัสกับผู้อื่นแม้แต่เพื่อนสนิท
    • ไม่ใช้บัญชีชื่อผู้ใช้ของผู้อื่น หรือใช้เครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
    • ไม่ยืมหรือใช้โปรแกรม รูปภาพ หรือข้อมูลของผู้อื่นบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้ร้บอนุญาตจากเจ้าของ
    • ไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
    • ไม่เจาะเข้าระบบของผู้อื่นหรือท้าลองให้ผู้อื่นเจาะระบบของตัวเอง
    • หากพบมีการรั่วไหลในระบบ หรือบุคคลน่าสงสัยให้รีบแจ้งผู้ให้บริการในทันที
    • หากต้องยกเลิกการใช้อินเตอร์เน็ตให้ลบข้อมูลทั้งหมดและแจ้งผู้ดูแลเว็บไซต์
    • ารทิ้งบัญชีชื่อผู้ใช้งานไว้บนอินเตอร์เน็ตอาจทำให้มีผู้ไม่หวังดีเจาะเข้ามาในระบบได้

    กฎความปลอดภัย

    • ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเช่น เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ชื่อเพื่อนหรือผู้ปกครอง
    • ไม่นัดแนะเพื่อพบปะกับบุคคลที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่บอกผู้ปกครอง
    • ไม่ส่งรูปหรือข้อมูลส่วนตัวให้กับคนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต
    • ไม่ให้ความสนใจหรือตอบโต้กับคนที่ถ้อยคำหยาบคาย
    • ไม่โหลดสิ่งที่ไม่คุ้นเคยหรือเปิดเอกสารจากอีเมล์ของคนที่เราไม่รู้จัก
    • หากพบข้อความหรือรูปภาพรุนแรง ให้รีบแจ้งผู้ปกครองหรือคุณครู
    • เคารพในกฎระเบียบ นโยบาย หรือข้อตกลงที่ให้ไว้กับผู้ปกครองและคุณครูในการใช้อินเตอร์เน็ต

    10 วิธี ดูแลบุตรหลานที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต

    • พ่อแม่ควรเรียนรู้เรื่องอินเทอร์เน็ตบ้าง
    • ใช้เวลาท่องอินเทอร์เน็ตกับลูกให้มากที่สุด หรืออย่างน้อยต้องพูดคุยกัน
    • ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องรวมของครอบครัว
    • ท่านต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้งานอินเทอร์เน็ตก่อนที่จะสอนลูก
    • สอนลูกให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานแต่ละอย่าง เช่น อีเมล์ แช็ต กลุ่มข่าว เว็บ การสำเนาข้อมูล รวมถึงกฎกติกามารยาทออนไลน์
    • ส่งเสริมให้ลูกใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสนุก ปลอดภัย และได้ประโยชน์
    • หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก ดูว่าเขาทำตัวแปลกไปกว่าที่เคยหรือไม่
    • พูดคุยกับลูกให้เข้าใจแต่แรก ถึงขอบเขตการใช้งานอินเทอร์เน็ต
    • ผู้ปกครองอาจติดตั้งโปรแกรมบล็อกเว็บไซต์ได้
    • หากท่านพบอะไรที่เหลือบ่ากว่าแรง อย่ารีรอที่จะขอความช่วยเหลือ