ปัญหาการจ้างงานผู้ สูงอายุ

เปิดผลวิจัยโครงการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการจ้างงานต่อเนื่อง ในสถานประกอบการและทัศนคติของนายจ้างในภาคเอกชน พร้อมเปิด 6 ข้อเสนอแนะรัฐสนับสนุนการจ้างงานผู้สูงวัยให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริง

ปัญหาการจ้างงานผู้ สูงอายุ

ในเวทีเสวนา “โควิด-19 : ผลกระทบต่อการจ้างงานผู้สูงอายุ” ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยและองค์กรภาคีเครือข่ายได้มีการเผยแพร่งานวิจัยเรื่อง โครงการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการจ้างงานต่อเนื่อง ในสถานประกอบการและทัศนคติของนายจ้างในภาคเอกชนโดยศาสตราจารย์ ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดาคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยมีรายละเอียดจากผลสำรวจที่น่าสนใจดังนี้

ผลการสำรวจบริษัท(มหาชน)และบริษัทจำกัดของโครงการวิจัยฯพบว่า ในปัจจุบันประมาณร้อยละ 64.7 ของบริษัทมหาชน และร้อยละ 47.7 ของบริษัทจำกัดบริษัทกำลังมีปัญหาความขาดแคลนพนักงานและการแสวงหาบุคลากรเพื่อจ้างงานในบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการขาดกลุ่มแรงงานมีฝีมือและทักษะ ทั้งนี้บริษัทจำกัดประมาณหนึ่งในห้า กำลังขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะต่ำด้วยเหมือนกัน

การบริหารจัดการการจ้างงาน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เกือบครึ่งหนึ่งของบริษัททั้งสองกลุ่มมองว่า การจ้างงานผู้สูงอายุสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานของบริษัทได้ หากพิจารณาในด้านวิธีการ การขยายอายุเกษียณจากการทำงานของภาคเอกชนจะยังไม่ใช้เครื่องมือที่แพร่หลายมากนัก ในกลุ่มบริษัทจำกัด มีเพียงร้อยละ 26 เท่านั้นที่มีการกำหนดอายุเกษียณจากการทำงานอย่างเป็นทางการ

และในภาพรวมมีเพียงร้อยละ 5.0 ของบริษัททั้งสองกลุ่มที่มีการกำหนดอายุเกษียณเท่านั้นที่มีแผนในการปรับอายุเกษียณขึ้น ในขณะเดียวกัน ผลการสำรวจพบว่า วิธีการที่บริษัททั้งสองกลุ่มใช้มากได้แก่ จ้างพนักงานที่กำลังจะหมดสัญญาหรือจะเกษียณอายุต่อเนื่องออกไปอีกระยะหนึ่งโดยทำงานเต็มเวลา (กรณีบริษัท มหาชน ร้อยละ 70.0 บริษัทจำกัด ร้อยละ 26.4) หรือ จ้างพนักงานที่เคยทำงานแต่ออกจากบริษัทไปแล้ว กลับเข้ามาทำงานใหม่โดยทำงานเต็มเวลา (กรณีบริษัท มหาชน ร้อยละ 55.1 บริษัทจำกัด ร้อยละ 40.0) ส่วนการจ้างงานผู้สูงอายุ (ที่ไม่เคยทำงานในบริษัทมาก่อน) ให้มาทำงานในบริษัทยังมีไม่มากนัก

บริษัทที่จ้างงานพนักงานสูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า บริษัท (มหาชน) จะจ้างมาเพื่อปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษา ผู้บริหาร หรือ ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ/ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ขณะนี้บริษัทจำกัดจะจ้างเพื่อปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีความสามารถทางฝีมือ ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ/ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค หรือคนงานทั่วไป

ทัศนคติของบริษัทต่อผู้สูงอายุและการจ้างงานผู้สูงอายุ   บริษัททั้งสองกลุ่มมีทัศนติและความคิดเห็นเชิงบวกต่อทั้งผู้สูงอายุและการจ้างงานผู้สูงอายุ    และให้น้ำหนักไปในทิศทางที่ว่า การจ้างงานผู้สูงอายุช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของบริษัทและประเทศโดยรวมได้ ขณะเดียวกันบริษัท (ไม่ว่าจะบริษัทมหาชนหรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทในธุรกิจประเภทใด) แสดงความกังวลอย่างชัดเจนในการจ้างงานผู้สูงอายุเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุอันอาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำงานและมองเป็นจุดอ่อนด้วย

ปัญหาการจ้างงานผู้ สูงอายุ

มาตรการภาครัฐเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ ประมาณร้อยละ 81 ของทั้งบริษัท (มหาชน) และบริษัทจำกัดมองว่า รัฐบาลควรจะมีมาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนจ้างแรงงานสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการด้านภาษีอากร และมาตรการด้านการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาล บริษัทในสัดส่วนที่มากพอสมควรที่ยังไม่รู้จักมาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุนำรายจ่ายหักภาษีและยังมีการใช้ประโยชน์น้อยมาก

คุณสมบัติสำคัญในการพิจารณาเพื่อจ้างงานผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทกลุ่มใด คุณสมบัติสำคัญได้แก่ “ประสบการณ์และความชำนาญในการทำงาน” และ “ความพร้อมของสุขภาพร่างกายและจิตใจ” ส่วน“ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์” หรือ “ความรู้ในงานและประสบการณ์จากการฝึกอบรม” เป็นคุณสมบัติที่สำคัญในธุรกิจบางประเภทที่ต้องการความรู้หรือทักษะเฉพาะ

ปัญหาการจ้างงานผู้ สูงอายุ

โดยงานวิจัยได้ระบุข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ถอดมาจากผลการศึกษาดังนี้

  1. ภาคเอกชนมีการจ้างงานผู้สูงอายุในหลากหลายรูปแบบดังนั้นมาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุไม่ควรจำกัดเฉพาะแต่การจ้างงานผู้สูงอายุเข้ามาทำงานเท่านั้น ควรพิจารณาส่งเสริมการจ้างงานต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
  2. ภาคเอกชนมีความคาดหวังให้รัฐบาลมีบทบาททั้งในส่วนที่ส่งเสริมและเสริมพลังในด้านการจ้างงานผู้สูงอายุ และให้รัฐบาลเป็นตัวอย่างในการดำเนินการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในภาคราชการเองด้วย
  3. บทบาทของนายจ้างภาคเอกชนในด้านการเตรียมความพร้อมของลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นการดูแลสวัสดิการด้านสุขภาพ การส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมเพิ่มพูนประสบการณ์ การเรียนรู้ตลอดชีพ การพัฒนาทักษะด้านไอที ส่งผลให้ลูกจ้างมีโอกาสได้รับการจ้างงานต่อเนื่องแม้มีอายุมากขึ้น
  4. รัฐบาลควรประชาสัมพันธ์ให้บริษัททราบและรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ของสังคมสูงวัย ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยโดยรวม รวมถึงมาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุที่กำลังดำเนินการอยู่ (มาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุนำรายจ่ายหักภาษี) ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มอัตราการใช้ประโยชน์ (utilization rate)
  5. รัฐบาลควรที่จะพิจารณามาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุจากมุมมองระยะยาวด้วยเช่นกัน
  6. รัฐบาลควรส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในความหมายที่กว้างขึ้นกว่าที่ดำเนินการอยู่