การอนุรักษ์มารยาทในการสนทนา

– ใช้คำทักทายผู้ฟังให้ถูกต้อง เหมาะสมตามสถานภาพผู้ฟัง เช่น สวัสดี / เรียนกราบเรียน / ขอประทานกราบเรียน

– ใช้คำพูดที่แสดงถึงความมีมารยาทอยู่เสมอ เช่น ขอโทษ ขอบใจ ขอบคุณ

– ใช้คำพูดที่สุภาพ ให้เกียรติผู้ฟัง ไม่ใช้เสียงดุดัน หยาบคาย

– ไม่พูดยกตนข่มท่าน คุยโอ้อวดว่าตนเหนือกว่าผู้อื่น

– ไม่ชิงพูด แย่งพูดก่อนคนอื่น หรือผูกขาดการพูดเพียงคนเดียว

– ไม่พูดยืดยาว นอกประเด็น พูดวกวนซ้ำซากน่าเบื่อ

– ไม่พูดเสียงห้วนๆ สั้นๆ ตามอารมณ์

– ไม่พูดหยาบคาย ใช้คำต่ำไม่เหมาะสม

– ไม่โต้เถียง คัดค้านอย่างไม่มีเหตุผล

ข้อใดเป็นการอนุรักษ์มารยาทในการสนทนา

ควรใช้โทรศัพท์พูดเฉพาะที่จำเป็นและเวลาไม่นานเกินสมควร ไม่ควรพูดคุยเวลาเรียน ขณะขับรถ ไม่เสียงดังรบกวนผู้อื่น ใช้ถ้อยคำที่รุนแรง หยาบคาย เมื่อโทรศัพท์ผิดหมายเลข ควรกล่าวคำขอโทษอย่างสุภาพ

มารยาทในการพูดมีอะไรบ้าง

๑. เรื่องที่พูดควรเป็นเรื่องที่ทั้ง ๒ ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน ๒. ไม่พูดเรื่องของตนเองมากจนเกินไป ควรฟังในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด ไม่สอดแทรกเมื่อเขาพูดยังไม่จบ ๓. พูดตรงประเด็น อาจออกนอกเรื่องบ้างพอผ่อนคลายอารมณ์ ๔. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่บังคับให้ผู้อื่นเชื่อหรือคิดเหมือนตน

แนวทางการอนุรักษ์มารยาทไทยมีอะไรบ้าง

พลเมืองไทยมีหน้าที่ต้องอนุรักษ์ความเป็นไทย ด้วยการแสดงความเคารพ การพูดสนทนา การแต่งกาย การมีสัมมาคารวะ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละต่อสังคมและปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย รวมทั้งเผยแพร่ความเป็นไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของชาติอื่นในภูมิภาคและโลก

มารยาทในการสนทนามีความหมายว่าอย่างไร

มารยาทในการพูด หมายถึง ผู้พูดที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ท่าทางสง่างาม อ่อนโยนสุภาพ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไมใช้ท่าทางประกอบคำพูดให้มากจนเกินไป ย่อมช่วยเสริมสร้างให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสผู้พูดได้เป็นอันมาก การฝึกฝนให้มีมารยาทในการพูดที่พึงปฏิบัติมีดังต่อไปนี้ ๑ ) ต้องรู้จักกล่าวคำทักทาย