การเล่นลูกด้วยศีรษะที่ถูกต้อง

 ขั้นตอนการฝึกการเล่นตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน

1. ผู้เล่นเตรียมรับลูกที่ลอยมา โดยยืนทรงตัวแยกขาทั้งสองข้างย่อตัวลงเล็กน้อยตามองตรงไปยังลูกตะกร้อ ยกเท้าที่จะเตะให้ข้างเท้าด้านในขนานกับพื้นแล้วเตะลูกเป็นแนวตรงและเอนตัว ไปด้านหลัง (ดังรูปที่ 1 – 2)
  

การเล่นลูกด้วยศีรษะที่ถูกต้อง

             
การเล่นลูกด้วยศีรษะที่ถูกต้อง

   2. เมื่อลูกที่เตะลอยขึ้น ผู้เล่นย่อเข่าข้างที่ไม่ได้เตะ ให้เท้าที่จะใช้เตะอยู่ด้านหลังเหวี่ยงเท้าข้างที่จะเตะสัมผัสลูกด้วยข้าง เท้าด้านในเพื่อส่งลูกไปตามทิศทางที่ต้องการ

การเล่นลูกด้วยศีรษะที่ถูกต้อง

การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า

หมายถึง การเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า เบาๆ ซ้ำกันหลายๆครั้ง เป็นการเตะเพื่อบังคับลูกให้อยู่ใกล้ตัวในระดับสูงเกินสะเอว หลักการฝึกเช่นเดียวกับการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า แต่มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งมีหลักการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า ดังนี้
1. การเดาะลูกด้วยหลังเท้า ปลายเท้าที่เดาะลูกจะกระดกขึ้น และลูกตะกร้อจะถูกหลังเท้าค่อนไปทางปลายเท้าบริเวณโคนนิ้วเท้าทั้งห้า ใช้ปลายเท้าตวัดลูกตะกร้อให้ลอยขึ้นมาตรง ๆ
2. ยกเท้าที่เดาะลูกให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. ขณะที่เดาะลูกควรก้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
4. ควรฝึกเดาะลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าให้ได้ทั้งสอง

การเล่นลูกด้วยศีรษะที่ถูกต้อง

การเดาะตะกร้อด้วยเข่า

ยืนในท่าเตรียมพร้อม มือถือลูกตะกร้อโยนแล้วเดาะด้วยเข่าข้างถนัดต่อเนื่องกันจนกว่าลูกตะกร้อจะ ตกพื้น แล้วหยิบลูกตะกร้อขึ้นมาเดาะใหม่ ปฏิบัติเหมือนเดิมหลาย ๆ ครั้ง เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า การเดาะด้วยเข่าข้างที่ถนัดดีแล้ว ให้เปลี่ยนเดาะด้วยเข่าข้างที่ไม่ถนัดบ้าง หรืออาจจะสลับการเดาะด้วยเข่าทั้งสองข้างก็ได้

การเล่นลูกด้วยศีรษะที่ถูกต้อง

การเล่นตะกร้อด้วยศีรษะ

เป็นทักษะพื้นฐานที่มีความสำคัญสำหรับการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อเป็นอย่างมาก นิยมใช้ในการเปิดลูกเสิร์ฟ การรุกด้วยศีรษะ ( การเขก ) การรับ การส่ง การชงลูก หรือการตั้งลูกตะกร้อ และการสกัดกั้นหรือการบล็อกลูกจากการรุกของฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นจะต้องฝึกหัดการเล่นตะกร้อด้วยศีรษะได้หลาย ๆ ลักษณะ โดยเฉพาะผู้เล่นตำแหน่งหน้าซ้ายและหน้าขวา จะต้องเล่นตะกร้อด้วยศีรษะได้เป็นอย่างดี

การเล่นลูกตะกร้อด้วยหลังเท้า

     หลังเท้าเป็นอวัยวะที่สามารถบังคับทิศทางตะกร้อได้ยาก แต่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของผู้เล่นที่สำคัญในตำแหน่งหน้าทำ ลูกตะกร้อหน้าตาข่าย และผู้เล่นตำแหน่งหลังที่เสิร์ฟด้วยเท้า


   วิธีปฏิบัติ

1. ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม
2. ยื่นเท้าที่จะใช้แตะลูกตะกร้อออกมาด้านใน โดยลูกตะกร้อสูงพอประมาณและอยู่ด้านหน้าให้ลูกตะกร้อกระทบหลังเท้าบริเวณโคน นิ้ว และให้งุ้มปลายเท้าด้วยขณะแตะลูกตะกร้อ

การเล่นลูกด้วยศีรษะที่ถูกต้อง

การเล่นลูกด้วยศีรษะที่ถูกต้อง

     การเล่นลูกตะกร้อด้วยหน้าขา
     ส่วนมากใช้ในโอกาสตั้งลูกตะกร้อให้เพื่อนและเปิดลูกตะกร้อจาการเสิร์ฟ หน้าขาเป็นบริเวณที่มีพื้นที่ในการใช้กระทบลูกตะกร้อมากที่สุดของอวัยวะที่ ใช้เล่นลูกตะกร้อ

วิธีปฏิบัติ

1. ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม
2. ก้าวเท้าที่ไม่ได้เล่นลูกตะกร้อไปข้างหน้า และยกเท้าที่จะเล่นลูกตะกร้อที่กำลังเข้ามาใกล้ตัวโดยใช้บริเวณหน้าขาเหนือ ประมาณ 1 ฝ่ามือ กระทบลูกตะกร้อ โดยใช้หน้าขากระทบลูกตะกร้อให้ลอยขึ้นมา ให้หัวเข่าทำมุมกับพื้นมากกว่า 45 องศา

การเล่นลูกด้วยศีรษะที่ถูกต้อง

การเล่นลูกด้วยศีรษะที่ถูกต้อง

การเล่นลูกตะกร้อด้วยศีรษะ
     ส่วนมากใช้ในโอกาสลูกตะกร้อลอยขึ้นมาเหนือศีรษะ

วิธีปฏิบัติ

1. ยืนในท่าเตรียมพร้อม
2. ก้าวเท้าที่ไม่ถนัดเข้าหาลูกตะกร้อ ย่อเข่าเล็กน้อย เมื่อลูกลอยมาต่ำในระยะที่จะใช้ศีรษะเล่นได้ให้สปริงข้อเท้า เหยียดลำตัวและขาสองข้างขึ้นพร้อมกับยืดศีรษะไปกระทบลูกตะกร้อให้ลูกตะกร้อ กระทบกับศีรษะบริเวณตีนผมที่หน้าผาก

การเล่นลูกด้วยศีรษะที่ถูกต้อง

การเล่นลูกด้วยศีรษะที่ถูกต้อง

ประเด็นคำถาม

1. ทักษะการเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะเป็นอย่างไร
2. การเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะมีความสำคัญอย่างไร 

กิจกรรมเสนอเสนอแนะ
1.ก่อนการเล่นควร Warm  Up ทุกครั้ง และหลังการเล่นต้อง Cool Down
2.ศึกษาเพิ่มเติมและติดตามการแข่งขันกีฬาตะกร้อเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเล่นตะกร้อ

การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ

1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เกี่ยวกับ การเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะ
2.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เกี่ยวกับ การวาดภาพ
3.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ แรงและการเคลื่อนไหว ในการเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะ

แหล่งที่มาของข้อมูลที่มา:  http://www.takraw.or.th/th/show_news.

 http://www.youtube.com/watch?v=szWTpfGCQg8