พระยาตากตั้งตนเป็นเจ้าที่เมืองใด

การกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (1)


      ในช่วงที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น พระยาวชิระปราการ (ตำแหน่งสุดท้ายของพระยาตาก) เจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งถูกเรียกตัวมาช่วย
รักษากรุง เห็นว่าจะรักษากรุงไว้ไม่ได้ จึงรวบรวมผู้คนได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าแนวรบของทหารพม่าออกไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก
เมื่อผ่านเมืองใดก็จะส่งทหารเข้าไปชักชวนให้เจ้าเมืองมาร่วมมือกัน ถ้าเมืองใดไม่ยอมก็จะใช้กำลังเข้าโจมตี ทำให้พระยาตากมีกำลังมากขึ้น
พระยาตากเห็นว่าการจะกู้ชาติบ้านเมืองให้สำเร็จนั้นจะต้องมีบารมีเป็นที่นับถือยำเกรงของคนทั้งหลาย จึงประกาศตั้งตนเป็นเจ้าที่เมืองระยอง
ด้วยความเห็นชอบของบรรดาทหารและประชาชน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังจันทบุรี แต่ได้รับการต่อต้าน พระเจ้าตากจึงทรงแสดงความ
สามารถใช้กลวิธีปลุกใจทหารและสร้างแรงบันดาลใจโดยให้ทหารทุบหม้อข้าวหม้อแกงก่อนเข้าตี หวังจะไปกินอาหารมื้อต่อไปในเมือง
ซึ่งได้ผลเพราะทหารเกิดกำลังใจที่จะต้องตีเมืองจันทบุรีให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีอาหารกิน การตีจันทบุรีจึงสำเร็จ และพระเจ้าตากสินจึง
ใช้เมืองจันทบุรีเป็นศูนย์กลางในการกู้เอกราช การยกทัพของพระเจ้าตากสินที่ตีฝ่าพม่าออกไปมีเส้นทางเดินทัพผ่านไปตามเมืองต่างๆ
ถ้าพิจารณาตามสถานที่ของจังหวัดในปัจจุบันก็จะผ่าน อยุธยา----นครนายก-----ปราจีนบุรี-----ฉะเชิงเทรา-----ชลบุรี-----ระยอง-----จันทบุรี

      เมื่อพระเจ้าตากสินมีกำลังไพร่พลมากขึ้น จึงได้ยกทัพมาตีธนบุรีเป็นด่านแรก ได้ปะทะกับกำลังของนายทองอิน คนไทยที่พม่าแต่งตั้ง
ให้เป็นผู้รักษากรุง พระยาตากสินชนะจับนายทองอินประหารชีวิต จากนั้นจึงเดินทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาในค่ำวันเดียวกันนั่นเอง

      ศึกกู้ชาติอย่างแท้จริงได้เริ่มขึ้นในเช้าวันเพ็ญเดือน 12  ตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ณ ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งอยู่เหนือ
กรุงศรีอยุธยาขึ้นไปเล็กน้อย  มีกองกำลังของพม่าคุมเชิงอยู่  มีสุกี้พระนายกองเป็นผู้บังคับบัญชา   พระเจ้าตากสินรบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์
สามต้น   ซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชคืนจากพม่าได้สำเร็จโดยใช้เวลาเพียง  7  เดือนเศษเท่านั้นนับจากเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310
ปีต่อมาพระเจ้าตากได้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยาไปอยู่ที่กรุงธนบุรีซึ่งมีชื่อเต็มว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” และได้ปราบดาภิเษก
ขึ้นเป็นกษัตริย์  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4

พระยาตากตั้งตนเป็นเจ้าที่เมืองใด
ความรู้เพิ่มเติม......

      พิธีปราบดาภิเษก เป็นพิธีขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ผู้ซึ่งปราบเอาชนะผู้อื่น แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ ต่างจากพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งเป็นพิธีขึ้นครองราชย์ ของกษัตริย์ที่ได้รับสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา  

      เมื่อขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แล้ว พระองค์ยังมิได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จครอบคลุมอาณาจักรไทยทั้งหมด เพราะว่าหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว
แผ่นดินว่างกษัตริย์ บ้านเมืองระส่ำระสาย คนไทยแตกแยกออกเป็นชุมนุมใหญ่น้อยมากมายแต่ละชุมนุมต่างรบราฆ่าฟันกันเองเพื่อแย่งชิงเสบียง
อาหารและปล้นสะดมทรัพย์สินหรือเสริมสร้างอำนาจ ซึ่งพระเจ้าตากได้ทรงวางแผนการที่จะรวบรวมชุมนุมต่างๆการปราบปรามชุมนุมต่างๆ
เป็นความจำเป็นทางการเมือง เพราะชุมนุมเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความได้เปรียบพระเจ้าตากทั้งสิ้น ทั้งนี้พิจารณาได้จากชาติกำเนิดอำนาจวาสนา
ของผู้นำชุมนุม นอกจากชุมนุมของสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้ว ยังมีชุมนุมขนาดใหญ่อีก 4 ชุมนุม ดังนี้

      1. ชุมนุมเจ้านคร ตั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช มีหลวงสิทธินายเวร(หนู) เป็นผู้นำหลวงสิทธินายเวรเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
มีอำนาจสิทธิขาดในเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ในภาคใต้ มีผู้คนมาก มีกำลังเข้มแข็งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกจึงถือโอกาสตั้งตัว
เป็นอิสระ
      2. ชุมนุมเจ้าพิมาย ตั้งอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ผู้นำคือ กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งเป็นโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
มีผู้คนมาเข้าด้วยเป็นอันมากเพราะถือว่าเป็นเจ้านายอาวุโสในราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นผู้ที่เหมาะสมจะขึ้นครองราชย์อย่างถูกต้อง
ตามทำนองครองธรรม
      3. ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ผู้นำชื่อ เรือง ปกครองหัวเมืองเหนือ พิษณุโลกเป็นชุมนุมใหญ่มีกำลังมาก
ผู้นำมีความสามารถในการรบ เป็นความหวังของคนทางเหนือว่าจะเป็นผู้นำในการกอบกู้บ้านเมือง ชุมนุมนี้จึงแข็งแกร่งกว่าชุมนุมใดๆ
      4. ชุมนุมเจ้าพระฝาง ตั้งอยู่ที่สวางคบุรี อุตรดิตถ์ ผู้นำเป็นพระชื่อ เรือน เป็นพระสังฆราชาเมืองสวางคบุรี อยู่ที่วัดพระฝาง
เชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์วิชาอาคม มีผู้คนศรัทธามาก จึงมีคนมาเข้าด้วยจำนวนมาก

      ทั้ง 4 ชุมนุมมีข้อได้เปรียบสมเด็จพระเจ้าตากสินตรงที่มีอำนาจอยู่ในหัวเมืองของตนเองอยู่แล้ว ผู้คนเคารพยำเกรงมาก่อนไม่ต้องแสดงความ
สามารถในการรบเพื่อสร้างศรัทธาเพียงแต่อาศัยชาติกำเนิดและอำนาจที่มีอยู่ และยังมีฐานที่มั่นที่มั่นคงแข็งแรง มีกำลังคนมากมายในขณะที่
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีชาติกำเนิดเป็นคนธรรมดาสามัญ ลูกครึ่งไทย-จีน ตำแหน่งเดิมเป็นพระยาตาก เจ้าเมืองตากซึ่งเป็นเมืองเล็กๆไม่สำคัญ
ฉะนั้นเมื่อคิดตั้งตนเป็นใหญ่ ก็ต้องแสดงความสามารถหลายด้านให้ประจักษ์ ทั้งการรบการตัดสินใจที่เด็ดขาดและวางแผนกลยุทธ์ต่างๆด้วย
ความสามารถโดยแท้เท่านั้น จึงจะทำให้ผู้คนมาเข้าด้วย แม้แต่ที่มั่นศูนย์อำนาจก็ต้องใช้ความสามารถในการตีหักเอาเมืองมา เช่น
ระยอง จันทบุรี และธนบุรี 

เมืองตากของพระเจ้าตากก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรีคือที่ไหนกันแน่

ดังนั้น ทั้งจากเอกสารในยุคสมัยพระเจ้าตาก พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารมหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า ได้พบหลักฐานชัดเจนแน่นอนแล้วว่า บ้านตาก คือเมืองตากของพระยาตากตั้งแต่สมัยอยุธยามา คำสำคัญ : ตาก, เมืองตาก, พระเจ้าตาก

พระยา วชิร ปราการ คือ ใคร และ เป็นเจ้าเมือง ใด

พระยาวิเชียรปราการ หรือ พระยาจ่าบ้าน (พระนามเดิม "บุญมา") เป็นพระยาประเทศราชนครเชียงใหม่สมัยกรุงธนบุรี ช่วง พ.ศ. 2317 - พ.ศ. 2319.

เมืองใดที่พระยาวชิรปราการเลือกที่จะไปตั้งเป็นฐานที่มั่นเพื่อสู้กับกองทัพพม่า

ปี พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรีและหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังพลประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมาทางทิศตะวันออกและยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลา 5 เดือน เพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและไพร่พล จากนั้น ...

พระยาตากตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่ใด

ก๊กที่ ๕ คือก๊กพระยาตาก ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองจันทบุรี ซึ่งก๊กต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นพระราชภาระที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะต้องทรงกระทำโดยเร็ว ดังจะได้จำแนกพระราชกรณียกิจของพระองค์ออกเป็น ๒ ด้านคือ การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง และการฟื้นฟูบ้านเมืองทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ