จ่ายประกันสังคมผ่านแอพธนาคาร

ทั่วไป

09 ก.พ. 2565 เวลา 9:14 น.57.8k

อัพเดทแจ้งข่าว "ประกันสังคม" ม.33 ม.39 ม.40 บอกง่ายๆ ช่องทางการรับ-จ่ายกองทุนเงินสมทบและเงินทดแทน รวมถึงสิทธิการรักษาป่วย "โควิดติดเชื้อ" ด้วย

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แนะนำช่องทางการรับ-จ่าย เงินสมทบกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 มีหลากหลายช่องทาง ดังนี้

  •  ชำระทางเคาน์เตอร์ 
  • e-Payment 
  •  หักบัญชีเงินฝากธนาคาร
  •  Mobile App
  •  ผ่านช่องทางธนาคาร 
  •  หน่วยบริการต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ไปรษณีย์ไทย แอปพลิเคชัน
  • จ่ายด้วยการโอนผ่านช่องทางธนาคารและบริการพร้อมเพย์

จ่ายประกันสังคมผ่านแอพธนาคาร

เช็กให้ชัวร์! ผู้ประกันตนแต่ละมาตราสามารถจ่ายได้ตามช่องทางที่หลากหลายและแตกต่างกัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.thหรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา - ประกันสังคม

กรณีโควิด สายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ชาวประกันสังคมไม่ต้องหวั่นใจไป เพราะ สำนักงานประกันสังคม พร้อมจ่ายชดเชยให้ทุกมาตรา

มาตรา 33   
กรณีลาป่วย : รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง 
หยุดรักษาตัว เกิน 30 วันสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับ  ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

มาตรา 39
รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 โดย คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) 
ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

มาตรา 40
รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3
พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

จ่ายประกันสังคมผ่านแอพธนาคาร

แรงงาน

12 ม.ค. 2565 เวลา 17:08 น.10.1k

ประกันสังคม ร่วมมือธนาคารกสิกรไทย เพิ่มช่องทางการให้บริการรับชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2565 นี้เป็นต้นไป

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการดำเนินการให้บริการนายจ้างสามารถส่งข้อมูลเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนพร้อมเงินเพิ่มตามกฎหมาย (ถ้ามี) โดยทำรายการผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งสามารถใช้ User และ Password เดียวกับการชำระเงินกองทุนประกันสังคมได้

ชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ผ่านระบบให้บริการรับชำระเงินของธนาคาร ได้แก่ Online Direct Debit (ODD) เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 00.03 น. ถึง 21.30 น. ของแต่ละวัน 

  • 12 ธนาคาร-หน่วยบริการรับชำระเงินสมทบนายจ้าง

ส่วน K Cash Connect plus เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึงเวลา 20.00 น. ของแต่ละวัน ฟรีค่าธรรมเนียม และสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ได้ทันทีที่ชำระเงินเรียบร้อยแล้ว จากเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ทั้งนี้ นายจ้างสามารถติดต่อสอบถามการสมัครใช้บริการของธนาคารหรือแจ้งปัญหาการใช้บริการได้ที่ Call Center เบอร์โทรศัพท์ 02-888-8822

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมมีธนาคารและหน่วยบริการที่ร่วมให้บริการรับชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ทั้งหมด 12 แห่ง ได้แก่

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
  • ธนาคาร มิซูโฮ จำกัด สาขากรุงเทพฯ
  • ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ.
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารดอยซ์ แบงค์
  • ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
  • บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด

  •  
  • 5 ธนาคารรับชำระเงินสมทบกองทุนผ่านe-Payment

สำหรับธนาคารที่ร่วมให้บริการรับชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่

  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารดอยซ์ แบงค์
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

หากนายจ้างมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือโทร 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง