สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานเทศบาล pantip

สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานเทศบาล pantip

สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานเทศบาล pantip

เงินปันผล - เงินเฉลี่ยคืน คืออะไร คำนวณอย่างไร


เงินปันผล หมายถึง

เงินที่สมาชิกได้รับผลตอบแทนจากการที่สมาชิกมีหุ้นอยู่กับสหกรณ์ คิดจากจำนวนเงินค่าหุ้นของสมาชิก ซึ่งสมาชิกสะสมตามระยะเวลาของการส่ง คูณด้วยอัตราเงินปันผลในปีนั้น ๆ 
 

ตัวอย่าง นาย ก 
มีทุนเรือนหุ้นถึง 31 ธันวาคม ปีที่ผ่านมาเป็นเงิน 50,000 บาท และนาย ก ถือหุ้นเดือนละ 500 บาท ทุกเดือน ในสิ้นปี นาย ก จะได้เงินปันผล ดังนี้ (สมมุติสหกรณ์จ่ายเงินปันผล 7%)

วิธีคิดเงินปันผล

วันที่

หุ้น

วิธีคำนวณ

เงินปันผล

31 ธ.ค.

50,000

50,000 x 7/100 x 12/12

3,500.00

31 ม.ค.

500

500 x 7/100 x 11/12

32.08

28 ก.พ.

500

500 x 7/100 x 10/12

29.17

31 มี.ค.

500

500 x 7/100 x 9/12

26.25

30 เม.ย.

500

500 x 7/100 x 8/12

23.33

31 พ.ค.

500

500 x 7/100 x 7/12

20.42

30 มิ.ย.

500

500 x 7/100 x 6/12

17.50

31 ก.ค.

500

500 x 7/100 x 5/12

14.58

31 ส.ค.

500

500 x 7/100 x 4/12

11.67

30 ก.ย.

500

500 x 7/100 x 3/12

8.75

31 ต.ค.

500

500 x 7/100 x 2/12

5.83

30 พ.ย.

500

500 x 7/100 x 1/12

2.92

31 ธ.ค.

500

500 x 7/100 x 0/12

0.00

รวม

56,000

หุ้นรายเดือน x 7% x  เวลา

3,692.50

รวมถึง 31 ธันวาคม 2544 นาย ก. ได้เงินปันผล 3,692.50 บาท


ตอบ 2. เงินเฉลี่ยคืน คือ เงินที่จ่ายคืนให้กับสมาชิกผู้เสียดอกเบี้ย โดยคิดจากดอกเบี้ยเงินกู้ ที่สมาชิกจ่ายให้แก่สหกรณ์จ่ายให้แก่สหกรณ์ ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ในปีเดียวกัน คูณด้วยอัตราเฉลี่ยคืนที่สหกรณ์ กำหนดไว้ในแต่ละปี 

ตัวอย่าง นาย ก
กู้เงินสหกรณ์ 240,000 บาท นาย ก. ชำระดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่สหกรณ์ทั้งปี เป็นเงิน18,521.15 บาท และที่ประชุมใหญ่มีมติให้เฉลี่ยคืนร้อยละ 5 ดังนั้น เงินเฉลี่ยคืน คือ 
จำนวนเงิน = 18,521.15 x 5/100 = 926.06 บาท นาย ก จะได้รับเงินเฉลี่ยคืน 926.06บาท


ตอบ 3. เงินปันผล + เงินเฉลี่ยคืน

กรณีนาย ก. เมื่อรวมเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนแล้วจะเห็นว่า นาย ก. ได้รับเงิน
จำนวน   = เงินปันผล + เงินเฉลี่ยคืน

             = 3,692.50 + 926.06
             = 4,618.56 บาท

หมายเหตุ
สำหรับรายละเอียดการคำนวณดอกเบี้ยจะเห็นว่าสมมุติ นาย ก. กู้เงินจำนวน 240,000 บาท 
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8.5 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2544 ผ่อนชำระ 60 งวด ชำระแบบสามัญปกติ หักเงินต้นงวดละ 4,000 บาท ดอกเบี้ยที่ นาย ก. ชำระทั้งปี เป็นเงิน 18,530 บาท วิธีคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ แบบสามัญปกติ ได้ ดังนี้

วิธีคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ (สามัญปกติดอกเบี้ย 8.5%)

วันที่

เงินต้น

วิธีคำนวณ

ดอกเบี้ย

ม.ค.

240,000

240,000 x 8.5/100 x 31/365

1,732.60

ก.พ.

236,000

236,000 x 8.5/100 x 28/365

1,538.85

มี.ค.

232,000

232,000 x 8.5/100 x 31/365

1,674.85

เม.ย.

228,000

228,000 x 8.5/100 x 30/365

1,592.88

พ.ค.

224,000

224,000 x 8.5/100 x 31/365

1,617.10

มิ.ย.

220,000

220,000 x 8.5/100 x 30/365

1,536.99

ก.ค.

216,000

216,000 x 8.5/100 x 31/365

1,559.34

ส.ค.

212,000

212,000 x 8.5/100 x 31/365

1,530.47

ก.ย.

208,000

208,000 x 8.5/100 x 30/365

1,453.15

ต.ค.

204,000

204,000 x 8.5/100 x 31/365

1,472.71

พ.ย.

200,000

220,000 x 8.5/100 x 30/365

1,397.26

ธ.ค.

196,000

196,000 x 8.5/100 x 31/365

1,414.96

รวมดอกเบี้ยเงินกู้ที่ นาย ก. ชำระทั้งปี

18,521.15

หากที่ประชุมใหญ่ให้จ่ายเฉลี่ยคืน 5% เงินเฉลี่ยคืน = 18,530 x 5/100 = 926.06

หมายเหตุ
การผ่อนชำระอีกวิธีหนึ่งคือแบบสามัญคงที่ หรือแบบธนาคาร ชำระเงินต้นรวมดอกเบี้ยเท่ากัน ทุกเดือน จะมีวิธี คำนวณดอกเบี้ยอีกแบบหนึ่ง โดยคำนวณดอกเบี้ยก่อน ที่เหลือนำมาชำระเงินต้น ซึ่งดอกเบี้ยจะลดลงทุกเดือน ทำให้จำนวนเงินต้นหักเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ เดือน โดยเดือนแรกหักเงินต้น น้อย และเดือนสุดท้ายหักเงินต้นมาก