การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนอนุบาล

การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย มีความสำคัญต่อเด็ก เนื่องจากธรรมชาติของเด็กในวัยนี้สนใจที่จะเรียนรู้ ค้นคว้า ทดลอง และต้องการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ดังนั้น การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมตามความต้องการของเด็ก จึงมีความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก เด็กสามารถเรียนรู้จากการเล่นที่เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดจากการรับรู้ด้วย ประสาทสัมผัสทั้งห้า จึงจำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการ ของหลักสูตร เพื่อส่งผลให้บรรลุจุดหมายในการพัฒนาเด็ก

ความหมายของสภาพแวดล้อม

                สภาพแวดล้อม หมายถึง สิ่งเร้า หรือสภาพการณ์ต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก เป็นตัวกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้แสดงออกโต้ตอบในลักษณะต่างๆกัน ได้แก่ ธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ พลังงาน คน สังคม วัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ภาวะเศรษฐกิจ การเมือง การอบรมเลี้ยงดู ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม

ความสำคัญและหลักการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัย

                ความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อม มีนักการศึกษากล่าวว่าสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะทำ ให้ภาวะของสมองเหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ และได้กล่าวถึงข้อที่ควรนำมาพิจารณาในการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยดัง นี้

                1. สมองเป็นอวัยวะที่มีความจำเพาะตัว และเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งแวดล้อมต่างๆ จนเกิดเป็นความแตกต่างและหลากหลายของสมองที่สั่งสมมาตลอดชั่วชีวิต

                2. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อสมองเผชิญกับความเครียด และความรู้สึกผ่อนคลายในปริมาณที่สมดุลกัน คือตื่นตัวแบบผ่อนคลายถ้าครูนำไปปฏิบัติก็ต้องสร้างบรรยากาศของห้องเรียน (สภาพแวดล้อม) ที่ไม่ใช่ให้มีความปลอดภัยเพียงเท่านั้น แต่ต้องทำให้เกิดประกาย ของความรู้สึกกระหายใคร่รู้

                3. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมองกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องตระหนักว่ายิ่งสภาพแวดล้อมที่สมบรูณ์เท่าใด ต้องทำให้สมองเกิดการเรียนรู้มากขึ้นเท่านั้น

                4. สภาพแวดล้อมที่สมบรูณ์ จะส่งผลให้สมองมีการเชื่อมโยงของระบบประสาทเพิ่มขึ้นถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ทั้งในช่วงแรกและช่วงหลังของชีวิต ดังนั้นสภาพแวดล้อมของคนเราจึงต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความหลากหลาย

                5. การเชื่อมโยงของระบบปราสาท ขึ้นอยู่กับปัจจัยของสิ่งแวดล้อมนั่นคือลักษณะของโรงเรียนกับสิ่งที่พบในชีวิตประจำวันด้วย

การจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

                1. ความสะอาด ความปลอดภัย

2. ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น

3. ความสะดวกในการทำกิจกรรม

4. ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำห้องส้วม สนามเด็กเล่น ฯลฯ

5. ความเพียงพอ เหมาะสมในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวน สีของสื่อและเครื่องเล่น

6. บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่างๆ

สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน

หลักสำคัญในการจัดต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความสะอาด เป้าหมายการพัฒนาเด็ก ความเป็นระเบียบ ความเป็นตัวของเด็กเอง ให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ และมีความสุข ซึ่งอาจจัดแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมกับการประกอบกิจกรรมตามหลักสูตร ดังนี้

1. พื้นที่อำนวยความสะดวกเพื่อเด็กและผู้สอน

1.1 ที่แสดงผลงานของเด็ก อาจจัดเป็นแผ่นป้าย หรือที่แขวนผลงาน

1.2 ที่เก็บแฟ้มผลงานของเด็ก อาจจัดทำเป็นกล่องหรือจัดใส่แฟ้มรายบุคคล

1.3 ที่เก็บเครื่องใช้ส่วนตัวของเด็ก อาจทำเป็นช่องตามจำนวนเด็ก

1.4 ที่เก็บเครื่องใช้ของผู้สอน เช่น อุปกรณ์การสอน ของส่วนตัวผู้สอน ฯลฯ

1.5 ป้ายนิเทศตามหน่วยการสอนหรือสิ่งที่เด็กสนใจ

2. พื้นที่ปฏิบัติกิจกรรมและการเคลื่อนไหว ต้องกำหนดให้ชัดเจน ควรมีพื้นที่ที่เด็กสามารถจะทำงานได้ด้วยตนเอง และทำกิจกรรมร่วมกันในกลุ่มเล็ก หรือกลุ่มใหญ่ เด็กสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระจากกิจกรรมหนึ่งไปยังกิจกรรมหนึ่งโดยไม่ รบกวนผู้อื่น

3. พื้นที่จัดมุมเล่นหรือมุมประสบการณ์ สามารถจัดได้ตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสภาพของห้องเรียน จัดแยกส่วนที่ใช้เสียงดังและเงียบออกจากกัน เช่น มุมบล็อกอยู่ห่างจากมุมหนังสือ มุมบทบาทสมมติอยู่ติดกับมุมบล็อก มุมวิทยาศาสตร์อยู่ใกล้มุมศิลปะ ฯลฯ ที่สำคัญจะต้องมีของเล่น วัสดุอุปกรณ์ในมุมอย่างเพียงพอต่อการเรียนรู้ของเด็ก การเล่นในมุมเล่นอย่างเสรี มักถูกกำหนดไว้ในตารางกิจกรรมประจำวัน เพื่อให้โอกาสเด็กได้เล่นอย่างเสรีประมาณวันละ 60 นาที การจัดมุมเล่นต่างๆ ผู้สอนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

3.1 ในห้องเรียนควรมีมุมเล่นอย่างน้อย 3-5 มุม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของห้อง

3.2 ควรมีการผลัดเปลี่ยนสื่อของเล่นตามมุมบ้าง ตามความสนใจของเด็ก

                                3.3 ควรจัดให้มีประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้ไปแล้วปรากฏอยู่ในมุมเล่น เช่น เด็กเรียนรู้เรื่องผีเสื้อ ผู้สอนอาจจัดให้มีการเลี้ยงหนอน หรือมีผีเสื้อสต๊าฟใส่กล่องไว้ให้เด็กดูในมุมธรรมชาติศึกษาหรือมุมวิทยา ศาสตร์ ฯลฯ

                                3.4 ควรเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดมุมเล่น ทั้งนี้เพื่อจูงใจให้เด็กรู้สึกเป็นเจ้าของ อยากเรียนรู้ อยากเข้าเล่น

                                3.5 ควรเสริมสร้างวินัยให้กับเด็ก โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าเมื่อเล่นเสร็จแล้วจะต้องจัดเก็บอุปกรณ์ทุกอย่างเข้าที่ให้เรียบร้อย

มุมประสบการณ์ที่ควรจัดมี ดังนี้

มุมบล็อก

เป็นมุมที่จัดเก็บบล็อกไม้ตันที่มีขนาดและรูปทรง ต่างๆ กัน เด็กสามารถนำมาเล่นต่อประกอบกันเป็นสิ่งต่างๆ ตามจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง

การจัด

                มุมบล็อกเป็นมุมที่ควรจัดให้อยู่ห่างจากมุมที่ต้อง การความสงบ เช่น มุมหนังสือ ทั้งนี้เพราะเสียงจากการเล่นก่อไม้บล็อก อาจทำลายสมาธิเด็กที่อยู่ในมุมหนังสือได้ นอกจากนี้ยังควรอยู่ห่างจากทางเดินผ่านหรือทางเข้าออกของห้องเพื่อไม่ให้กีด ขวางทางเดินหรือเกิดอันตรายจากการเดินสะดุดไม้บล็อก

การจัดเก็บไม้บล็อกเหล่านี้ ควรจัดวางไว้ในระดับที่เด็กสามารถหยิบมาเล่น หรือนำเก็บด้วยตนเองได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และควรได้ฝึกให้เด็กหัดจัดเก็บเป็นหมวดหมู่เพื่อความเป็นระเบียบ สวยงาม

มุมหนังสือ

ในห้องเรียนควรมีที่เงียบสงบ สำหรับให้เด็กได้ดูรูปภาพ อ่านหนังสือนิทาน ฟังนิทาน ผู้สอนควรได้จัดมุมหนังสือให้เด็กได้คุ้นเคยกับตัวหนังสือ และได้ทำกิจกรรมสงบๆ ตามลำพังหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ

การจัด

มุมหนังสือ เป็นมุมที่ต้องการความสงบควรจัดห่างจากมุมที่มีเสียง เช่น มุมบล็อก มุมบทบาทสมมติ ฯลฯ และควรจัดบรรยากาศจูงใจให้เด็กได้เข้าไปใช้เพื่อเด็กจะได้คุ้นเคยกับตัว หนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก

มุมบทบาทสมมติ

มุมบทบาทสมมติ เป็นมุมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้นำเอาประสบการณ์ที่ได้รับจากบ้าน หรือชุมชนมาเล่นแสดงบทบาทสมมติ เลียนแบบบุคคลต่างๆ ตามจินตนาการของตน เช่น เป็นพ่อแม่ในมุมบ้าน เป็นหมอในมุมหมอ เป็นพ่อค้าแม่ค้าในมุมร้านค้า ฯลฯ การเล่นดังกล่าวเป็นการปลูกฝังความสำนึกถึงบทบาททางสังคมที่เด็กได้พบเห็นใน ชีวิตจริง

การจัด

มุมบทบาทสมมตินี้ ควรอยู่ใกล้มุมบล็อกและอาจจัดให้เป็นสถานที่ต่างๆ นอกเหนือจากการจัดเป็นบ้าน โดยสังเกตการณ์เล่นและความสนใจของเด็กว่ามีการเปลี่ยนแปลงบทบาท การเล่นจากบทบาทเดิมไปสู่รูปแบบการเล่นอื่นหรือไม่ อุปกรณ์ที่นำมาจัดก็ควรเปลี่ยนไปตามความสนใจของเด็กเช่นกัน ดังนั้นมุมบทบาทสมมติจึงอาจจัดเป็นบ้าน ร้านอาหาร ร้านขายของ ร้านเสริมสวย โรงพยาบาล เป็นต้น ในขณะเดียวกันอุปกรณ์ที่นำมาจัดให้เด็กต้องไม่เป็นอันตราย และมีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น

มุมวิทยาศาสตร์

มุมวิทยาศาสตร์หรือมุมธรรมชาติศึกษาเป็นมุมเล่นที่ ผู้สอนจัดรวบรวมสิ่งต่างๆ หรือสิ่งที่มีในธรรมชาติมาให้เด็กได้สำรวจ สังเกต ทดลอง ค้นพบด้วยตนเองซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก

การจัด

มุมวิทยาศาสตร์หรือมุมธรรมชาติศึกษาเป็นมุมที่ต้อง การความสงบคล้ายมุมหนังสือจึงอาจจัดไว้ใกล้กันได้ และเพื่อเร้าให้เด็กสนใจในสิ่งที่นำมาแสดง ของที่จัดวางไว้จึงควรอยู่ในระดับที่เด็กหยิบ จับ ดูวัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นได้โดยสะดวก และสิ่งที่นำมาตั้งแสดงนั้นไม่ควรจะตั้งแสดงของสิ่งเดียวกันตลอดปี แต่ควรจะปรับเปลี่ยนให้น่าสนใจ

มุมศิลปะ

กิจกรรมศิลปะเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาเด็กได้หลาย ด้าน เช่น ทางด้านกล้ามเนื้อมือ ซึ่งจะช่วยให้มือของเด็กพร้อมที่จะจับดินสอเขียนหนังสือได้เมื่อไปเรียนใน ชั้นประถมศึกษานอกจากนี้ยังช่วยในการพัฒนาอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เด็กจะมีโอกาสทำงานตามลำพังและทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักปรับตัวที่จะทำงานด้วยกันและส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นการจัดให้มีมุมศิลปะจึงเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กได้พัฒนามากขึ้น และยังสนองความสนใจ ความต้องการของเด็กวัยนี้ได้เป็นอย่างดี


การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนอนุบาล



การจัด

                มุมศิลปะเป็นมุมหนึ่งที่เด็กต้องใช้สมาธิในการทำงาน จึงควรจัดให้อยู่ในบริเวณมุมที่ต้องการความสงบ เช่นกัน อาจจัดเป็นโต๊ะสำหรับให้เด็กทำงานศิลปะ โดยมีผ้าพลาสติก หรือกระดาษปูกันเลอะเทอะก่อนทำงาน และจัดวางอุปกรณ์ทำงานศิลปะไว้บนโต๊ะ หรือจัดให้มีกระดานขาหยั่งสำหรับเด็กเขียนภาพระบายสีน้ำ

สภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน

สภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน คือ การจัดสภาพแวดล้อมภายในอาณาบริเวณรอบๆ สถานศึกษา รวมทั้งจัดสนามเด็กเล่น พร้อมเครื่องเล่นสนาม จัดระวังรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณสถานศึกษาและบริเวณรอบนอกสถานศึกษา ดูแลรักษาความสะอาด ปลูกต้นไม้ ให้ความร่มรื่นรอบๆ บริเวณสถานศึกษา สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก

บริเวณสนามเด็กเล่น

ต้องจัดให้สอดคล้องกับหลักสูตร ดังนี้

สนามเด็กเล่น ควรมีพื้นผิวหลายประเภท เช่น ดิน ทราย หญ้า พื้นที่สำหรับเล่นของเล่นที่มีล้อ รวมทั้งที่ร่ม ที่โล่งแจ้ง พื้นดินสำหรับขุด ที่เล่นน้ำ บ่อทราย พร้อมอุปกรณ์ ประกอบการเล่น เครื่องเล่นสนามสำหรับปืนป่าย ทรงตัว ฯลฯ ทั้งนี้ต้องไม่ติดกับบริเวณที่มีอันตราย ต้องหมั่นตรวจตราเครื่องเล่นให้อยู่ในสภาพแข็งแรง ปลอดภัยอยู่เสมอ และหมั่นดูแลเรื่องความสะอาด

ที่นั่งเล่นผักผ่อน จัดที่นั่งไว้ใต้ต้นไม้ที่ร่มเงา อาจใช้กิจกรรมกลุ่มย่อยๆ หรือกิจกรรมที่ต้องการความสงบ หรืออาจจัดเป็นลานนิทรรศการให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครอง

บริเวณธรรมชาติ

ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ พืชผักสวนครัว หากบริเวณสถานศึกษามีไม่มากนักอาจปลูกพืชในกระบะหรือกระถาง

�ปร� / � � x�� �/� ��ภาพ เช่น สามารถทำให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลปฏิบัติตาม

                7. สติปัญญาด้านตน หรือ การเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จักตนเอง และสามารถประพฤติปฏิบัติตนได้จากความรู้จักตนนี้ ความสามารถในการรู้จักตัวตนได้แก่ การรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง เช่น มีจุดอ่อน จุดแข็ง ในเรื่องใด มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด ความปรารถนาของตน มีความสามารถในการฝึกฝนตนเองและเข้าใจตนเอง

                8. สติปัญญาด้านการรักธรรมชาติ (Naturalistic) เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และปรากฎการณ์ธรรมชาติ เข้าใจความสำคัญของตนเองกับสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความสามารถของตนที่จะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติ เข้าใจถึงการพัฒนาการของมนุษย์ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย เข้าใจและจำแนกความเหมือนกันของสิ่งของ เข้าใจการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของสสาร

ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ครูควรจัดกิจกรรมเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนทั้ง 8 ด้าน และต้องสังเกตว่าเด็กแต่ละคนมีทักษะความสามารถ ความถนัดเฉพาะทางด้านใดเป็นพิเศษ เพื่อการจัดกิจกรรมเสริมให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจของเด็ก